วัฒนธรรมในอาเซียน (ประเทศกัมพูชา)
อาหารประจำชาติ การแต่งกาย ภาษา ดอกไม้ประจำชาติ สถานที่สำคัญ ดนตรี
การแต่งกาย การแต่งกายของชาวกัมพูชาจะนุ่งผ้าซัมปอต (Sompot) เป็นผ้าทอมือ ถือว่าเป็นการ แต่งกายประจำชาติ สำหรับข้าราชการผู้ใหญ่จะนุ่งผ้าโฮลกับเสื้อมีกระดุมสีทอง ในงานพิธีจะนุ่ง ผ้าโจงกระเบน เวลาไปวัดจะนุ่งผ้าม่วง หญิง นิยมนุ่งผ้าถุงสีดำ เนื้อมัน คาดเข็มขัด ใส่เสื้อสี งานพิธีนุ่งผ้ายก พวกในวังมักนุ่งผ้า โจงกระเบน ไว้ผมตัด ทานหมากจนฟันดำ ผู้ชาย นุ่งผ้าโจงกระเบน ใส่เสื้อคอปิด ขัดกระดุมห้าเม็ด
ภาษา ภาษาเขมร เป็นหนึ่งในภาษาหลักของภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติก และได้รับอิทธิพลมาจากภาษาสันสกฤต และภาษาบาลี พอสมควร ซึ่งอิทธิพลเหล่านี้ มาจากอิทธิพลของศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู ต่อวัฒนธรรมของชาวเขมร ในขณะที่อิทธิพลอื่นๆ เช่น จากภาษาไทย และภาษาลาว เป็นผลมาจากการติดต่อกันทางด้านภาษา และความใกล้ชิดกันในทางภูมิศาสตร์ ภาษาเขมรแปลกไปจากภาษาในประเทศเพื่อนบ้าน (ภาษาไทย ภาษาลาว และภาษาเวียดนาม) เนื่องจากไม่มีเสียงวรรณยุกต์
สถานที่สำคัญ นครวัด เป็นศาสนสถานตั้งอยู่ในเมือง พระนคร จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา สร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยเป็นศาสนสถานประจำพระนครของพระองค์ ตัวเทวสถานได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี จนเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญ เพียงแห่งเดียวที่ยังเหลือรอด มาจนถึงปัจจุบันนับตั้งแต่ก่อสร้างแล้วเสร็จ
อาหารประจำชาติ อาม็อก (Amok) อาหารคาวยอดนิยมของกัมพูชา มีลักษณะคล้ายห่อหมกไทย โดยเป็นการนำเนื้อปลาสดๆ มาลวกเครื่องแกง และกะทิ แล้วทำให้สุกโดยการนำไปนึ่ง ซึ่งนอกจากจะใช้เนื้อปลาแล้ว อาจเลือกใช้เนื้อไก่แทน ส่วนสาเหตุที่คนในประเทสกัมพูชานิยมรับประทานปลา เนื่องจากสภาพภูมิประเทศของกัมพูชา มีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้ปลาเป็นอาหารที่หารับประทานได้ง่ายนั่นเอง
ดอกไม้ประจำชาติ กัมพูชามีดอกไม้ประจำชาติเป็น ดอกลำดวน (Rumdul) ดอกไม้สีขาวปนเหลืองนวล กลีบดอกหนาทึบและแข็งเล็กน้อย มีกลิ่นหอมเย็นแบบกรุ่น ๆ ถูกจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งเพราะมีความหมายถึงความสดชื่นหอมกรุ่น และเป็นดอกไม้สำหรับสุภาพสตรี วิธีปลูกที่ถูกต้อง ต้องปลูกไว้ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน ที่สำคัญต้องปลูกใน วันพุธ ด้วยนะ
ดนตรี ศิลปะการดนตรีของกัมพูชาได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมพราหมณ์-ฮินดู มีนาฏกรรมทางศาสนาและเรื่องเล่าศักดิ์สิทธิ์ การแสดงบางชนิดใช้วงพิณพาทย์ (pinpeat) ที่ประกอบด้วย ฉิ่ง ระนาด ปี กระจับปี่ฆ้อง ซอ และกลองหลายชนิด การเคลื่อนไหวแต่ละท่าจะเป็นแนวคิดแทนสิ่งต่างๆ การฟื้นฟูนาฏศิลป์เกิดขึ้นมากในราว พ.ศ. 2493 โดยพระนางสีสุวัตถิ์ กุสุมนารีรัตน์
เด็กหญิงวาสนา ปานสีสอาด จัดทำโดย เด็กหญิงวาสนา ปานสีสอาด ชั้น ม.2/5 เลขที่ 33