ความขัดแย้งทางสังคมและวัฒนธรรม กรณี ติมอร์ตะวันออก จัดทำโดย นางสาวพิมพ์กานต์ คงอ่อน รหัสประจำตัวนักศึกษา 5120710113 เสนอ ผู้ช่วย ศจ.ชิดชนก ระฮิมมูลา งานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ( 196-415 ) Conflict Resolution in Southeast Asia คณะ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ความขัดแย้งทางสังคมและวัฒนธรรม กรณีติมอร์ตะวันออก
ความเป็นมาของความขัดแย้ง ติมอร์ตะวันออก เป็นอาณานิคมของโปรตุเกสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2063 (ค.ศ. 1520) ภายหลังโปรตุเกสถอนตัวออกไป เมื่อปี พ.ศ. 2518 อินโดนีเซียได้ส่งทหารเข้ายึดครองติมอร์ตะวันออกโดยผนวกเข้าเป็นจังหวัดที่ 27 ของอินโดนีเซีย
การก่อตัวของความขัดแย้ง ชาวติมอร์ตะวันออกต้องการแยกตัวเป็นเอกราช รัฐชายขอบ ความแตกต่างทางอัตลักษณ์ อิสลาม (ชาวอินโดนีเซีย) คริสต์ (ชาวติมอร์ตะวันออก)
รัฐบาลอินโดนีเซียยินยอมให้ชาวติมอร์ตะวันออกลงประชามติเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชจากอินโดนีเซีย ในวันที่ 30 สิงหาคม 2542 ประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกกว่าร้อยละ 80 ออกเสียงสนับสนุนการแยกตัวเป็นเอกราช จึงก่อให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงในติมอร์ตะวันออกโดยกลุ่มกองกำลัง militia ที่นิยมอินโดนีเซีย
การจัดการปัญหาความขัดแย้ง ระยะเริ่มแรกรัฐบาลอินโดนีเซียมีการจัดการปัญหาด้วยการใช้ความรุนแรง ในการยุติความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
ผลของการจัดการความขัดแย้ง ความขัดแย้งมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น การจัดการความขัดแย้ง โดยใช้ความรุนแรงของรัฐบาลอินโดนีเซียขณะนั้นถูกกล่าวหาว่าเป็น การละเมิดสิทธิมนุษยชน เมื่อรัฐบาลอินโดนีเซียไม่มีความสามารถในการจัดการปัญหา ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในชาติตนได้ สหประชาชาติจึงต้องเข้ามา แทรกแซง
บทบาทของสหประชาชาติในการจัดการปัญหาความขัดแย้ง สหประชาชาติได้ตัดสินใจจัดตั้งกองกำลังนานาชาติ (International Force in East Timor - INTERFET) เมื่อ 15 กันยายน พ.ศ. 2542 เพื่อส่งเข้าไปรักษาสันติภาพในติมอร์ตะวันออก ก่อนที่จะประกาศเอกราชในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2545 เริ่มตั้งแต่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 - 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 สหประชาชาติดำเนินการสนับสนุนติมอร์ตะวันออกภายใต้ United Nations Mission of Support in East Timor (UNMISET)
แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้การพัฒนาของติมอร์ตะวันออกมีความล่าช้า คือ ระบบการเมืองภายในประเทศยังคงอยู่ในระยะการสร้างชาติ มีกลุ่มการเมืองต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย จนก่อให้เกิดเป็นปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง การแข่งขันเพื่อแย่งชิงอำนาจทางการเมืองระหว่างกลุ่มการเมืองต่าง ๆ และปัญหาความขัดแย้งที่ฝังลึกตั้งแต่สมัยอยู่ใต้การปกครองของอินโดนีเซียที่มีการแบ่งกลุ่มอุดมการณ์ออกเป็น ๒ ขั้ว คือ กลุ่มนายกุสเมา นายฮอร์ตา และกลุ่มศาสนจักร กับกลุ่มของนายมารี อัลคาทีรี (Mari Alkatiri) และพรรค FRETILIN