Public-Choice School การคาดคะเนและตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล อารีลักษณ์ พูลทรัพย์
Rational-Choice School พฤติกรรมการตัดสินใจของมนุษย์ ซึ่งให้ความสำคัญกับการคาดคะเนล่วงหน้าควบคู่กับการคำนวน ต้นทุน-กำไร โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่ตั้ง มีสมมุติฐานว่าพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมเกิดจากความต้องการที่จะแสวงหาและปกป้องผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นสำคัญ โดยใช้การพิจารณาอย่างมีเหตุผล คือการคำนวนต้นทุนกำไรพร้อมคาดคะเนผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจเลือกนั้นๆ เพื่อให้ได้ผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุด (Homo Economicus)
Rational-Choice School ทฤษฎีเกมส์ (Game Theory) กระบวนการตัดสินใจที่ไม่ซับซ้อนอยู่ใน Common Sense ของมนุษย์ แต่ในบางสถานการณ์ ที่มีความสลับซับซ้อนสูง ทฤษฎีเกมส์ หรือ Game Theory จะเป็นกระบวนการที่มาช่วยวิเคราะห์ เรียบเรียง และทำให้การตัดสินใจดีขึ้น และแม่นยำขึ้น
ทฤษฎีเกมส์ (Game Theory) ทฤษฎีเกมส์ถูกคิดค้นขึ้นมาครั้งแรกโดย นักคณิตศาสตร์ ชื่อ Von Neumann และนักเศรษฐศาสตร์ชื่อ Oskar Morgenstern ในปี 1944 50 ปีต่อมา ทฤษฎีเกมส์โด่งดังอีกครั้ง เมื่อจอห์น เอฟ. แนช (John F. Nash) ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน (Princeton University) ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ร่วมกับนักเศรษฐศาสตร์อีกสองท่าน ในด้านทฤษฎีเกี่ยวกับ Non-Cooperative Games
ทฤษฎีเกมส์ (Game Theory) ผู้ต้องหาร่วมกันฆ่าคนตาย 2 คนถูกนำตัวมาสอบสวน โดยตำรวจแจ้งข้อหาร่วมกันฆ่าคนตาย แต่ทั้งคู่ไม่ยอมรับสารภาพ เมื่อตำรวจไม่มีหลักฐานเอาผิด จึงได้แยกสอบสวนผู้ต้องสงสัยทั้ง 2 คน คนละห้อง โดยยื่นข้อเสนอว่าถ้าใครรับสารภาพและให้การซัดทอดอีกคนจะกันคนที่รับสารภาพเป็นพยาน ซึ่งจะถูกลดโทษลงเป็นโทษจำคุก 1 ปี ส่วนผู้ที่ถูกซัดทอดจะต้องโทษจำคุก 10 ปี แต่ถ้ารับสารภาพทั้งคู่จะได้ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง นั่นก็คือ เหลือโทษจำคุก 5 ปี อย่างไรก็ตามถ้าทั้งคู่ “ไม่สารภาพทั้งคู่” ตำรวจก็ไม่สามารถเอาผิดได้เพราะไม่มีพยานหลักฐาน จึงต้องปล่อยตัวทั้งคู่ไป
ทฤษฎีเกมส์ (Game Theory) Prisoner’s Dilemma
ทฤษฎีเกมส์ (Game Theory) กรณีที่ 1 “นาย A” สารภาพ “นาย B” สารภาพ = จำคุก คนละ 5 ปี (5,5) กรณีที่ 2 “นาย A” สารภาพ “นาย B” ปฏิเสธ = จำคุก นาย A = 1 ปี, นาย B = 10 ปี (1,10) กรณีที่ 3 “นาย A” ปฏิเสธ “นาย B” สารภาพ = จำคุกนาย A = 10 ปี, นาย B = 1 ปี (10,1) กรณีที่ 4 “นาย A” ปฏิเสธ “นาย B” ปฏิเสธ = ตำรวจต้องปล่อยตัวทั้งคู่ไม่มีใครติดคุก
ทฤษฎีเกมส์ (Game Theory) แน่นอนว่าทั้งสองคนไม่มีใครอยากจะติดคุก วิธีที่ดีที่สุดก็คือการ “ปฏิเสธ” ทั้งคู่ แต่ควาลำบากใจเกิดขึ้นเมื่อตำรวจได้แยกห้องกันสอบสวน ทำให้ทั้งคู่ไม่แน่ใจว่าเพื่อนจะสารภาพหรือไม่ เพราะถ้าเพื่อนสารภาพเขาก็จะต้องติดคุกถึง 10 ปี การคิดคำนวนผลประโยชน์จึงเข้ามามีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง นาย A และ นาย B เริ่มไม่ไว้ใจกันและกัน ดังนั้น ทั้งคู่จะสารภาพนั่นก็คือ ถ้าสารภาพเขาจะ “เสี่ยงน้อย” กว่าเพราะอาจได้กันตัวเป็นพยาน ซึ่งมีโทษจำคุกเพียง 1 ปี หรือถ้าอีกฝ่ายสารภาพด้วยก็จะได้ลดโทษลดครึ่งหนึ่งคือจำคุก 5 ปี ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดและได้ผลประโยชน์มากที่สุด