Chapter 4 Well logging methods and interpretation
Contents 4.1 Borehole environment 4.2 Drill return logging 4.3 Spontaneous potential log 4.4 Resistivity logs and Induction logs 4.5 Gamma ray log 4.6 Porosity logs
Well logs, wireline logs, logs หรือ การหยั่งธรณีในหลุมเจาะ เป็นการเก็บข้อมูลสมบัติของชั้นหินหรือตรวจสอบของไหลที่ถูกกักเก็บในชั้นหิน โดยการหย่อนเครื่องมือ (logging tools, probe, electrode, sonde) ลงในหลุมเจาะ ข้อมูลที่วัดได้ถูกส่งตามสายเคเบิลขึ้นสู่ผิวดินและอาจถูกบันทึกบนกระดาษ ฟิล์ม หรือเทปแม่เหล็ก ข้อมูลที่ได้อาจถูกวิเคราะห์ในรถเก็บข้อมูลที่อยู่บริเวณใกล้หลุมเจาะหรืออาจส่งไปยังศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลผ่านทางสายโทรศัพท์ ทางคลื่นวิทยุ หรือระบบดาวเทียม การหยั่งธรณีในหลุมเจาะจะกระทำทันทีที่เสร็จสิ้นขบวนการเจาะ
การหยั่งธรณีในหลุมเจาะถูกนำไปประยุกต์ใช้ในงานวิทยาศาสตร์ต่างๆ มากมาย งานด้านปิโตรเลียมเป็นอีกสาขาหนึ่งที่นำความรู้ทางด้านการหยั่งธรณีในหลุมเจาะไปใช้มาก ตั้งแต่การขั้นตอนการสำรวจ การพัฒนาแหล่ง ไปจนกระทั่งถึงการประเมินผลผลิต
ตัวอย่างของการนำผลจากการหยั่งธรณีในหลุมเจาะไปใช้ในงานด้านปิโตรเลียมโดยนักธรณีวิทยาและนักธรณีฟิสิกส์ได้แก่ - การกำหนดชนิด ความลึก และ ความหนา ของชั้นหิน - การหาความสัมพันธ์ระหว่างชั้นหินต่างๆ - การตรวจสอบหาชั้นหินน้ำซึมผ่านได้ - การหาค่าความพรุนและค่าความซึมได้ของชั้นหิน - การหาค่าการอิ่มตัวด้วยน้ำของชั้นหิน
- การตรวจสอบสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการกักเก็บสารไฮโดรคาร์บอน - การตรวจหาหลักฐานการสะสมตัวของสารไฮโดรคาร์บอน - การหาชนิดและปริมาณของสารไฮโดรคาร์บอนในชั้นหินกักเก็บ - การตรวจสอบระดับรอยสัมผัสของ สารไฮโดรคาร์บอน-น้ำ หรือ ก๊าซ-น้ำมัน - เปรียบเทียบผลที่ได้การสำรวจด้วยการหยั่งธรณีในหลุมเจาะกับการสำรวจด้วยคลื่นไหวสะเทือน