การออกแบบการจัดการเรียนรู้ สะท้อนธรรมชาติวิทยาศาสตร์ ผศ.ดร.สิรินภา กิจเกื้อกูล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
คำถามทบทวน ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ คือ อะไร ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ 8 ประเด็น (สำหรับการอบรมครั้งนี้) มีอะไรบ้าง ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือไม่ อย่างไร โปรดยกตัวอย่าง
ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้มาจากการศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติ ซึ่งต้องอาศัยหลักฐาน ข้อมูล ผ่านการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผล ความรู้ทางวิทยาศาสตร์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากมีหลักฐานหรือข้อมูลใหม่มาสนับสนุน
ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ กฎและทฤษฎีเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างกัน กฎจะบอกถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างมีแบบแผนที่แน่นอน ณ สภาวะใด ๆ แต่ทฤษฎีจะอธิบายที่มาหรือเหตุผลของการเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาตินั้นๆ ...
ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ 4. การศึกษาหาความรู้วิทยาศาสตร์มีหลากหลายวิธี 5. ...การสังเกตจะให้ข้อมูลที่เป็นหลักฐานในการ ลงข้อสรุป ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มากมายอาศัยการลงข้อสรุปจากหลักฐานที่ได้โดยการสังเกต เช่น การศึกษาเกี่ยวกับอะตอม เป็นต้น 6. การทำงานทางวิทยาศาสตร์ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการควบคู่กับการคิดวิเคราะห์
ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ 7. วิทยาศาสตร์คือกิจกรรม...จากประสบการณ์ การฝึกฝน ความเชื่อ ความรู้สึกนึกคิดของคน เช่น ศีลธรรม ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ การตีความ...ดังนั้นในการทำงานวิทยาศาสตร์ จึงต้องมีกระบวนการตรวจสอบและประเมินความถูกต้อง... 8. วิทยาศาสตร์คือกิจกรรมการทำงานของมนุษย์ซึ่งทำภายใต้สภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งจะส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน
สิรินภา กิจเกื้อกูล
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ สิ่งมีชีวิตกับ กระบวนการดำรงชีวิต 6. กระบวนการ เปลี่ยนแปลงของโลก ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ดาราศาสตร์และ อวกาศ สารและสมบัติของสาร ธรรมชาติของ วิทยาศาสตร์ แรงและการเคลื่อนที่ พลังงาน และเทคโนโลยี สิรินภา กิจเกื้อกูล
ตัวชี้วัด ว 1.1 ป.1/1
ตัวชี้วัด ว 8.1 ป.1/2
เราจะจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร
วิธีสอนแบบบูรณาการ NoS กิจกรรม วิธีสอนแบบบูรณาการ NoS บูรณาการกับการทดลองหรือปฏิบัติการ เช่น ใช้กรณีศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ ที่ได้ค้นพบความรู้วิทยาศาสตร์ในอดีต แล้วนำมาทำการทดลองซ้ำ (rediscovery) เพื่อให้ได้เนื้อหาความรู้ วิธีทดลอง และกระบวนการค้นพบ
วิธีสอนแบบบูรณาการ NoS กิจกรรม วิธีสอนแบบบูรณาการ NoS 2. บูรณาการกับการบรรยายเนื้อหา ใบงาน การบ้าน แบบฝึกหัด เอกสาร เช่น ใช้การเล่าเรื่อง (narrative/story telling) ประวัติวิทยาศาสตร์ (history of science) หรือ บทบาทสมมติ
วิธีสอนแบบบูรณาการ NoS กิจกรรม วิธีสอนแบบบูรณาการ NoS 3. บูรณาการกับการแสดงพฤติกรรมการสอน ที่บ่งบอกถึงการมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นตัวอย่างแก่นักเรียน เช่น อภิปรายเกี่ยวกับ NoS หลังการบรรยาย สาธิตการทดลอง ทำการทดลอง โครงงาน หรือบทบาทสมมติ และให้นักเรียนอภิปรายสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ NoS
กิจกรรม 1 กิจกรรม จับคู่เลือกตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง วิเคราะห์เลือกประเด็นของธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการระหว่างตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง และธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ เตรียมนำเสนอ และสะท้อนผล
ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ตัวอย่าง ตัวชี้วัด ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ กิจกรรม ว 1.1 ป.1/1 เปรียบเทียบความแตกต่าง... ว 8.1 ป.1/2 วางแผนการสังเกต... 4. การศึกษาหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีหลากหลายวิธี 5.สังเกตและลงข้อสรุป ? 16
กิจกรรม 2 กิจกรรม นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เตรียมมา แลกกับคู่ของตนเอง วิเคราะห์หาประเด็นของธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ที่อาจแทรกอยู่ในเนื้อหา หรือ กิจกรรม หากไม่พบ ให้ช่วยกันสอดแทรกธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ลงไป ปรับปรุงแผนของตน พร้อมเตรียมนำเสนอ