บทเรียนคอมพิวเตอร์แบบมัลติมีเดีย Multimedia Computer Instruction ดร.วีรพันธุ์ ศิริฤทธิ์ Dr. Weeraphan Siririth Siririth @ Gmail.com
รูปแบบการนำเสนอมัลติมีเดีย แบบเชิงเส้น (Linear Progression) แบบอิสระ (Perform Hyper jumping) แบบวงกลม (Circular Paths) แบบฐานข้อมูล (Database) แบบผสม (Compound)
แบบอิสระ (Perform Hyper jumping) ผู้ใช้สามารถข้ามไปมาระหว่างเฟรมได้อย่างอิสระ ซึ่งช่วยกระตุ้นความสนใจ แต่มีข้อความระวังเรื่อง Lost in Space เหมาะสำหรับข้อมูลที่สัมพันธ์กัน 2 4 Site Map 1 3 5 6 7
แบบวงกลม (Circular Paths) ประกอบด้วยการนำเสนอแบบเชิงเส้นชุดเล็กๆ จำนวนหลายชุดต่อเนื่องกันเป็นชุดใหญ่ ที่ทำงานคล้ายกับวงกลม เหมาะสำหรับข้อมูลที่สัมพันธ์กันในแต่ละส่วนย่อยๆ แต่จำแนกออกเป็นหลายหัวข้อ menu
แบบฐานข้อมูล (Database) เป็นการนำเสนอโดยการใช้หลักการฐานข้อมูลเป็นหลัก มีการใช้ดัชนี (Index) เป็นตัวค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะรู้จักกันในนามของ Search Engine Text Image index Animation Sound WIKI
ส่วนประกอบพื้นฐานของบทเรียนคอมพิวเตอร์แบบมัลติมีเดีย Visual Media สื่อที่อาศัยการมองเห็น เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว วีดีทัศน์ Audio Media สื่อที่อาศัยการได้ยิน เช่น เสียง Interaction การปฏิสัมพันธ์ และการโต้ตอบต่างๆ CMI (Computer Managed Instruction) ส่วนของการจัดการบทเรียนโดยอาศัยคอมพิวเตอร์
หลักการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์แบบมัลติมีเดีย Robert Gagne’ เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention) บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective) ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge) นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information) ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning) กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response) ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback) ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance) สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer)
หลักการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์แบบมัลติมีเดีย Robert Gagne’ เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention) - เลือกใช้ภาพกราฟิกที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา เพื่อเร่งเร้าความสนใจ - ใช้ภาพเคลื่อนไหวหรือใช้เทคนิคการนำเสนอภาพผลพิเศษเข้าช่วย - เลือกใช้สีที่ตัดกับฉากหลังอย่างชัดเจน โดยเฉพาะสีเข้ม - เลือกใช้เสียงที่สอดคล้องกับภาพกราฟิกและเหมาะสม - ควรบอกชื่อเรื่องบทเรียนไว้ด้วยในส่วนของบทนำเรื่อง
หลักการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์แบบมัลติมีเดีย Robert Gagne’ บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective) วัตถุประสงค์บทเรียนจำแนกได้ 2 ชนิด คือ วัตถุประสงค์ทั่วไป และวัตถุประสงค์เฉพาะหรือวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge) วิธีปฏิบัติโดยทั่วไป คือ การทดสอบก่อนบทเรียน (Pretest) เพื่อจัดระดับความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน 4) นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information) เนื้อหาของบทเรียน ตามรูปแบบ โครงสร้างบทเรียน
หลักการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์แบบมัลติมีเดีย Robert Gagne’ ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning) การเรียนรู้ที่กระจ่างชัด (Meaningful Learning) คือ การที่ผู้เรียนวิเคราะห์และตีความในเนื้อหาใหม่บทพื้นฐานของความรู้และประสบการณ์เดิมรวมกันเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ ผู้ออกแบบอาจใช้วิธีการค้นพบ (Guided Discovery) คือ พยายามให้ผู้เรียนคิดหาเหตุผล ค้นคว้า และวิเคราะห์หาคำตอบด้วยตนเอง โดยบทเรียนจะค่อยๆชี้แนะจากจุดกว้างๆและแคบลงๆ จนผู้เรียนหาคำตอบเองได้
หลักการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์แบบมัลติมีเดีย Robert Gagne’ 6) กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response) การให้ผู้เรียนมีโอกาสร่วมคิด ร่วมกิจกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อหา และร่วมตอบคำถาม จะส่งผลให้มีความจำดีกว่าผู้เรียนที่ใช้วิธีการอ่านหรือการคัดลอกจากผู้อื่นเพียงอย่างเดียว ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback) การกระตุ้นความสนใจจากผู้เรียนได้มากขึ้น มีความท้าทาย โดยการบอกเป้าหมายที่ชัดเจน และแจ้งให้ผู้เรียนทราบว่าขณะนั้นอยู่ที่ส่วนใดของบทเรียน ห่างจากเป้าหมายเท่าใด
หลักการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์แบบมัลติมีเดีย Robert Gagne’ ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance) การทดสอบหลังบทเรียน (posttest) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดสอบความรู้ด้วยตนเอง และยังสามารถวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ เพื่อที่จะไปศึกษาบทเรียนต่อไปหรือย้อนหลังกลับไปศึกษาใหม่ สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer) การสรุปความคิดรวบยอดของเนื้อหาเฉพาะประเด็นสำคัญๆ รวมทั้งของเสนอแนะต่างๆ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทบทวนความรู้ของตนเองหลังศึกษาเนื้อหาผ่านมาแล้ว ชี้แนะเนื้อหาบทต่อไป หรือการประยุกต์ใช้งานอื่นต่อไป
แบบฝึกหัด (3) 1) Gain Attention ตามหลักการสอนของ Robert Gagne’ มีความหมายอย่างไร 2) เพราะเหตุใดจึงต้องมีการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback) ในการเรียนการสอน 3) Activate Prior Knowledge มีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร กับการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ 4) บทเรียนคอมพิวเตอร์ ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนออกจากการศึกษาเนื้อหาหรือออกจากการทำแบบทดสอบ เพื่อกลับไปศึกษาทบทวนได้ตลอดเวลา จงอภิปรายประเด็นนี้ 5) การทำแบบทดสอบ เมื่อผู้เรียนตอบผิดหรือทำผิด 2 – 3 ครั้ง ควรตรวจปรับเนื้อหาทันที และเปลี่ยนกิจกรรมเป็นอย่างอื่นต่อไป จงอภิปรายประเด็นนี้