หมอลำ “หมอลำ” หมายถึง การร้องเป็นทำนองตามคำกลอนในหนังสือผูก คนที่จำคำกลอนในลำต่างๆได้มากและไปแสในงานบุญต่างๆเรียกว่า “หมอลำ” การแสดงหมอลำมีพัฒนาการอย่างยาวนาน คู่กับคนที่พูดภาษาลาว ไทย ในยุคแรกเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมรักษาโรคภัยไข้เจ็บ เรียกว่า ลำผีฟ้า ลำส่องลำทรงหรือลำเหยา ดังปรากฏในชุมชนลาวแลผู้ไท “หมอลำ” เป็นศิลปะการแสดงที่เป็นหนึ่งในวิญาณทั้งห้าของความเป็นอีสาน อันได้แก่ลาบ ข้าวเหนียว ส้มตำ หมอลำ หมอแคน ศิลปะการแสดงที่เรียกว่า “หมอลำ” คือ การขับลำผู้ที่มีความสามารถสนใจใฝ่รู้ชุมชนคนอีสานจะเรียกว่า “หมอ” เช่น ผู้ที่มีความชำนาญในการใช้ยาเรียกว่า “หมอยา” ผู้ที่มีความชำนาญในการใช้โหราศาสตร์เรียกว่า “หมอ มอ” ผู้ที่ชำนาญในการใช้เวทย์มนต์ เรียกว่า “หมอมนต์” ผู้ชำนาญในการไล่ผีเรียกว่า “หมอผี” ผู้ที่มีความชำนาญในการเป่าแคนเรียกว่า “หมอแคน” ดังนั้นผู้มีความชำนาญในการอ่านหนังสือและขับลำประกอบเสียงแคนจึงเรียกว่า “หมอลำ”ดังนั้นสมัยโบราณลำพื้นเป็นที่นิยมกันมาก เวลามีงานบุญ เช่น บุญแจกข้าว บุญกฐิน ชาวบ้านมักจะหาลำพื้น มาลำเป็นมหรสพ
หมอลำพื้น หมอลำพื้น หมายถึง การลำที่ลำเป็นนิทานหรือลำเป็นเรื่องใช้คนเล่นคนเดียว
หมอลำกลอน หมอลำกลอน หมายถึง การลำที่ประชันกันด้วน กลอนลำที่หมอลำใช้ลำเป็นทำนอง
หมอลำหมู่ หมอลำหมู่ หมายถึงหมอลำที่ลำเป็นลำทางยาวใช้ผู้เล่นหลายคน การลำแสดงเหมือนละครหรือลิเกของภาคกลาง
ลำเพลิน ลำเพลิน หมายถึง หมอลำหมู่ที่ใช้ทำนองลำที่ครึกครื้นสุกสนาน นางเอกหมอลำเพลินนิยมนุ่งกระโปงสั้นเน้นเรื่องการเต้น เป็นสำคัญ
หมอลำซิ่ง หมอลำซิ่งหมายถึงหมอลำเล่นประกอบดนตรีสากล เป็นหมอลำที่มีลีลาการแสดงประกอบจังหวะท่าทางที่เร่งเร้าครื้นเครง
หมอลำผีฟ้า หมอลำผีฟ้าหมายถึง หมอลำที่ใช้ในการรักษาคนไข้ คนป่วย โดยใช้ผู้หญิงประมาน 4-5 คน ลำเป็นทำนองลำพื้น
หมอลำภูไท หมอลำภูไท หมายถึง หมอลำพื้นถิ่นของชนเผ่าภูไทมีทำนองที่เป็นเอกลักษณ์
หมอลำฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง หมอลำฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง หมายถึง หมอลำที่นิยมเล่นแถบฝั่งซ้ายแม่โขงเช่น หมอลำ ตังหวาย คอนสวรรค์ สีพันดอน มหาชัย บ้านซอก สาละวัน
กันตรึม กันตรึม หมายถึง เป็นการละเล่นของกลุ่มวัฒนธรรมอีสานใต้
เพลงโคราช เพลงโคราช หมายถึง การละเล่นของกลุ่มวัฒนธรรมโคราช