สังคม เศรษฐกิจ กับการศึกษา สังคม เศรษฐกิจ กับการศึกษา
ความหมายของสังคม คนตั้งแต่สองคนขึ้นไปที่มีความสัมพันธ์และพึ่งพาอาศัยกันตามระเบียบ กฎเกณฑ์ ประเพณีและวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา
กระบวนการทางสังคม (สังคมประกิต) (Socialization) การอบรมสั่งสอนหรือขัดเกลาให้ผู้ที่เป็นสมาชิกในสังคมประพฤติ ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ และตระหนักในคุณค่าต่างๆ ที่กลุ่มหรือสังคมนั้นกำหนดไว้ ทำให้สมาชิกในสังคมนั้นเรียนรู้และรับเอาค่านิยม (value) ความเชื่อ (beliefs) และ บรรทัดฐาน (norms) ของสังคมนั้น มาอยู่ในบุคลิกภาพของตน
สภาพแวดล้อมทางสังคม อธิบายโดยใช้ความสัมพันธ์ทางสังคม ในเชิงสังคมวิทยา มีลักษณะที่สำคัญ 4 ประการ 1. อธิบายในเชิงความน่าจะเป็น (Probabilistic Thinking) ในลักษณะทั่วไป เช่น "หากมีสภาพอย่างนี้...แล้วจะเกิดสภาพอย่างนี้...หรือผล อย่างนี้ เป็นต้น 2. อธิบายโดยอาศัยทฤษฎีสังคมวิทยา ทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่ง ซึ่งเป็นกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี (Theoretical frame) ที่ไม่ได้เป็นการเดาตามเหตุผลเท่านั้น
สภาพแวดล้อมทางสังคม 3. อธิบายโดยมองปัจจัยรอบด้าน (Holistic Approach) การศึกษาปรากฎการณ์ ทางสังคมเรื่องใด ต้องมองไปรอบด้านของปัญหาว่า อาจสืบเนื่อง มาจากสาเหตุใดได้บ้าง ตามทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ มองระบบสังคมที่มีความเชื่อมโยงของสาเหตุของปัญหา เช่น ปัญหาจราจรติดขัด ไม่ได้เกิดจากรถมาก ถนนแคบ ถนนน้อยเท่านั้น แต่สืบเนื่องมาจาก การที่กรุงเทพฯ เป็นเมืองศูนย์กลาง ทางเศรษฐกิจ การศึกษา การเมือง การขนส่ง รวมถึงนิสัยการใช้รถ ของคนที่ขาดวินัย ไม่เคารพกฎจราจร เป็นต้น
สภาพแวดล้อมทางสังคม 4. อธิบายโดยอาศัยข้อมูลประวัติศาสตร์ (Historicity) มาประกอบ โดยศึกษาจากสภาพปัจจุบัน ถอยหลังไปในอดีต เพื่อหาดูว่าอาจมีสิ่งใด มาเป็นเหตุของปัญหาได้บ้าง สภาพเดิมเป็นอย่างไร มีการคลี่คลายแก้ไขปัญหาอย่างไร จนกระทั่งเกิดปัญหาอยู่ในปัจจุบัน แล้วจึงลงความเห็น เกี่ยวกับปัญหานั้น
ทฤษฎีทางสังคมวิทยา ทฤษฎีใหญ่ ๆ ที่สำคัญ ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ (Structural-functional Theory) 2. ทฤษฎีความขัดแย้ง (Conflict Theory) 3. ทฤษฎีการแลกเปลี่ยน (Exchange Theory) ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ (Symbolic Interaction)
ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ (Structural -functional Theory) หลักสำคัญ สังคมเป็นระบบที่ซับซ้อน มีความสัมพันธ์ระหว่างกัน และมีส่วนที่พึ่งพากัน แต่ละส่วนของสังคมมีอิทธิพลต่อกัน แต่ละส่วนของสังคมคงอยู่ได้ เพราะมีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการ เพื่อบำรุงรักษาให้สังคมคงอยู่ หรือเกิดเสถียรภาพของสังคมทั้งสังคม ความคงอยู่ของแต่ละส่วนของสังคม สามารถอธิบายหน้าที่ในสังคมโดยรวมได้ สังคมทุกสังคม มีกลไกที่บูรณาการซึ่งกันและกัน กลไกหนึ่งที่สำคัญคือ ความเชื่อ ค่านิยม ที่สมาชิกในสังคมมีต่อสังคม
ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ (Structural -functional Theory) 4. สังคมจะมุ่งไปสู่สมดุล หรือมีเสถียรภาพ ไม่ว่าจะมีสิ่งใด เข้ามารบกวนส่วนใดส่วนหนึ่งของสังคม สังคมมีแนวโน้ม ที่จะปรับตัวเองไปสู่จุดสมดุล 5. เมื่อมีเรื่องที่ไม่เป็นปกติปรากฎขึ้นในสังคม จะนำไปสู่ การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้สังคมโดยรวมได้รับผลประโยชน์ มากขึ้น
ทฤษฎีความขัดแย้ง (Conflict Theory) มีสมมุติฐานว่า พฤติกรรมของสังคมสามารถเข้าใจได้จากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่าง ๆ และบุคคลต่าง ๆ เพราะการแข่งขันกันในการเป็นเจ้าของทรัพยากรที่มีค่าและหายาก
ทฤษฎีความขัดแย้ง (Conflict Theory) ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงของสังคม ตามแนวคิดของ คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ชาวเยอรมัน 1. ขั้นสังคมแบบคอมมิวนิสต์ดั้งเดิม (Primitive communism) กรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตเป็นของเผ่า (Tribal ownership) ต่อมาเผ่าต่าง ๆ ได้รวมตัวกันเป็นเมืองและรัฐ ทำให้กรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตเปลี่ยนไปเป็นของรัฐแทน
ทฤษฎีความขัดแย้ง (Conflict Theory) ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงของสังคม ตามแนวคิดของ คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ชาวเยอรมัน 2. ขั้นสังคมแบบโบราณ (Ancient communal) กรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตเป็นของรัฐ (State ownership) สมาชิกในสังคมได้รับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนตัวที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ซึ่งได้แก่ เครื่องใช้ส่วนตัว และทาส ความเป็นทาส (Slavery) เป็นกำลังสำคัญในระบบการผลิตทั้งหมด และต่อมาระบบการผลิตได้เกิดความขัดแย้งระหว่างเจ้าของทาสและทาส
ทฤษฎีความขัดแย้ง (Conflict Theory) ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงของสังคม ตามแนวคิดของ คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ชาวเยอรมัน 3. ขั้นสังคมแบบศักดินา (Feudalism) กรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตเป็นของขุนนาง ซึ่งมีที่ดินในครอบครอง และมีทาสเป็นแรงงานในการผลิต
ทฤษฎีความขัดแย้ง (Conflict Theory) ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงของสังคม ตามแนวคิดของ คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ชาวเยอรมัน 4. ขั้นสังคมแบบทุนนิยม (Capitalism) กรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตเป็นของนายทุน คือ ที่ดิน ทุน แรงงาน และเครื่องจักร โดยมีผู้ใช้แรงงานเป็นผู้ผลิต
ทฤษฎีความขัดแย้ง (Conflict Theory) ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงของสังคม ตามแนวคิดของ คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ชาวเยอรมัน 5. ขั้นสังคมแบบคอมมิวนิสต์ (Communism) กรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตเป็นของทุกคน ทุกคนมีสิทธิ เท่าเทียมกัน ไม่มีการเอาเปรียบซึ่งกันและกัน
ทฤษฎีความขัดแย้ง (Conflict Theory) แนวคิดของ ลิวอิส เอ. โคเซอร์ (Lewis A. Coser) ความขัดแย้งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม ไม่มีกลุ่มทางสังคมกลุ่มใดที่มีความสมานสามัคคีอย่างสมบูรณ์ ความขัดแย้งเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ ความขัดแย้งสามารถแก้ปัญหาความแตกแยกและทำให้เกิดความสามัคคีภายในกลุ่มได้ เพราะในกลุ่มมีทั้งความเป็นมิตรและความเป็นศัตรูอยู่ด้วยกัน ความขัดแย้งเป็นตัวสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม หากสมาชิกในสังคมเกิดความไม่พึงพอใจต่อสภาพสังคมที่เขาอยู่ เขาจะพยายามทำการเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์นั้นให้เป็นไปตามเป้าหมายของเขา
ทฤษฎีความขัดแย้ง (Conflict Theory) แนวคิดของ ลิวอิส เอ. โคเซอร์ (Lewis A. Coser) ชาวอเมริกัน นอกจากนี้ ความขัดแย้งยังสามารถทำให้เกิดการแบ่งกลุ่ม ลดความเป็นปรปักษ์ พัฒนาความซับซ้อนของโครงสร้างกลุ่มในด้านความขัดแย้งและร่วมมือ และสร้างความแปลกแยกกับกลุ่มต่าง ๆ เป็นต้น
ทฤษฎีความขัดแย้ง (Conflict Theory) แนวคิดของ ราล์ฟ ดาห์เรนดอร์ฟ (Ralf Dahrendorf) ชาวเยอรมัน ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมนั้นเกิดจากความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องของสิทธิอำนาจ (Authority) กลุ่มที่เกิดขึ้นภายในสังคมสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ กลุ่มที่มีสิทธิอำนาจ กับ กลุ่มที่ไม่มีสิทธิอำนาจ สังคมจึงเกิดกลุ่มแบบไม่สมบูรณ์ (Quasi-groups) ของทั้งสองฝ่ายที่ต่างก็มีผลประโยชน์แอบแฝง (Latent interest) อยู่เบื้องหลัง แต่ละฝ่ายจึงต้องพยายามรักษาผลประโยชน์ของตนเอาไว้ โดยมีผู้นำทำหน้าที่ในการเจรจาเพื่อปรองดองผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน
ทฤษฎีความขัดแย้ง (Conflict Theory) แนวคิดของ ราล์ฟ ดาห์เรนดอร์ฟ (Ralf Dahrendorf) ชาวเยอรมัน ระดับของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจะรุนแรงมากหรือรุนแรงน้อยนั้นขึ้นอยู่กับการจัดการและการประสานผลประโยชน์ของกลุ่มที่ครอบงำ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมเป็นผลมาจากความกดดันจากภายนอกโดยสังคมอื่น ๆ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมสามารถควบคุมได้ด้วยการประนีประนอม ความขัดแย้งสามารถทำให้โครงสร้างมีการเปลี่ยนแปลงได้
ทฤษฎีความขัดแย้ง (Conflict Theory) แนวคิดของ ราล์ฟ ดาห์เรนดอร์ฟ (Ralf Dahrendorf) ชาวเยอรมัน ประเภทของการเปลี่ยนแปลง ความรวดเร็วของการเปลี่ยนแปลง และขนาดของการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของการเปลี่ยนแปลง เช่น อำนาจของกลุ่ม ความกดดันของกลุ่ม
สกินเนอร์ (B.F. Skinner) ทฤษฎีการแลกเปลี่ยน (exchange theory) ได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ผสมผสานกับแนวคิดอื่น ๆ ทางเศรษฐศาสตร์ และมานุษยวิทยาสายการหน้าที่ ที่ว่าด้วยเรื่องของพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนสิ่งของกันในหมู่คนในชนเผ่า (หน้าที่ของของขวัญกับพฤติกรรมการแลกเปลี่ยน) บุคคลผู้มีอิทธิพลต่อทฤษฎีนี้ก็คือ สกินเนอร์ (B.F. Skinner)
ทฤษฎีการแลกเปลี่ยน (exchange theory) แนวคิดของ สกินเนอร์ (B.F. Skinner) สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากปฏิสัมพันธ์ของปัจเจกบุคคล และสำนึกในการกระทำที่มีต่อสังคม หรือต่อปัจเจกบุคคลด้วยกัน การเป็นสังคม ดูได้จากการตรวจสอบและควบคุมพฤติกรรมต่าง ๆ ในสภาวการณ์ในช่วงต่าง ๆ ของบุคคลที่มีต่อพฤติกรรมหนึ่ง ๆ กระบวนการศึกษาที่สำคัญคือการศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ว่า พฤติกรรมหนึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมการเรียนรู้หนึ่ง ๆ
ทฤษฎีแลกเปลี่ยน (exchange theory) แนวคิดของ สกินเนอร์ (B.F. Skinner) พฤติกรรมของมนุษย์อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ พฤติกรรมที่ไม่โจ่งแจ้งกับพฤติกรรมที่โจ่งแจ้ง แนวคิด “การเสริมแรง (reinforcement)” จำแนกได้ 2 ประเภทคือ การให้รางวัล (reward) ซึ่งจะทำให้เกิดพฤติกรรมหรือการกระทำนั้น ๆ ขึ้นอีกในอนาคต การทำโทษ (punishment) ซึ่งมีผลทำให้เกิดการละพฤติกรรมนั้นหรือไม่ให้เกิดพฤติกรรมนั้นอีก
ทฤษฎีแลกเปลี่ยน (Exchange theory) แนวคิดของ สกินเนอร์ (B.F. Skinner) การเสริมแรงจะได้ผลดีเพียงใดขึ้นอยู่กับ “เงื่อนไข” การเสริมแรงนำไปสู่การสร้างลักษณะทั่วไปของสังคม และนำไปสู่การวิเคราะห์สังคมได้
ทฤษฎีแลกเปลี่ยน (Exchange theory) สมมติทางเศรษฐศาสตร์ มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผล และย่อมใช้เหตุผลในการหาผลประโยชน์สูงสุดแก่ตนเอง สิ่งที่มนุษย์ได้ครอบครองเป็นเจ้าของแล้ว ความสำคัญ ของสิ่งนั้นย่อมน้อยลง ราคาของสิ่ง ๆ ใด เกิดขึ้นจากความต้องการและปริมาณ รวมถึงรสนิยมของมนุษย์เอง ราคาจะยิ่งสูงถ้าหายากและความต้องการมีมาก รวมถึงกระบวนการผลิตอันผูกขาดทำให้ราคาสินค้าสูง
ทฤษฎีแลกเปลี่ยน (Exchange theory) สมมติทางเศรษฐศาสตร์ นักสังคมวิทยาพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ให้ความสำคัญต่อการศึกษาพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลอย่างมากในทางสังคมวิทยา โดยเชื่อว่าสังคมวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ทางสังคม และกระบวนการในการศึกษาวิทยาศาสตร์ทางสังคมต้องสนใจกระบวนการทางวิทยาศาตร์คือจิตวิทยา ได้สร้างแนวคิดที่เชื่อมโยงระหว่างจิตวิทยาและเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น เช่น แนวคิดว่าด้วยเรื่องของการกระทำ รางวัล คุณค่า ต้นทุน แรงกระตุ้น การรับรู้ การคาดหวัง และการลงโทษ และได้นำแนวคิดต่าง ๆ เชื่อมโยงกลายเป็นประพจน์
ทฤษฎีแลกเปลี่ยน (Exchange theory) สมมติทางเศรษฐศาสตร์ ตัวอย่างประพจน์ * สำหรับการกระทำทุกอย่างที่ได้กระทำไปโดยบุคคลต่าง ๆ ยิ่งการกระทำของบุคคลดังกล่าวได้รับรางวัลหรือผลตอบแทนมาก บุคคลคนนั้นก็จะกระทำการอย่างนั้นบ่อยครั้งมากขึ้น * ยิ่งบุคคลคาดหวังว่าจะได้กำไรจากการกระทำในกิจกรรม ก็ยิ่งมีแนวโน้มที่เขาจะทำกิจกรรมนั้น
ทฤษฎีแลกเปลี่ยน (Exchange theory) สมมติทางเศรษฐศาสตร์ ประพจน์ * ยิ่งมีการแลกเปลี่ยนผลตอบแทนมาก ก็จะยิ่งมีความผูกพันระหว่างกันมากและจะมีผลต่อกิจกรรมที่เปลี่ยนไป * ยิ่งมีการฝ่าฝืนบรรทัดฐานแห่งการตอบแทนผู้เสียประโยชน์ก็จะยิ่งแสดงสิทธานุมัติ * บุคคลยิ่งได้รับรางวัลที่คาดหวังจากการกระทำบ่อยขึ้น จะยิ่งลดคุณค่าของกิจกรรมนั้นลง
ทฤษฎีแลกเปลี่ยน (Exchange theory) สมมติทางเศรษฐศาสตร์ ประพจน์ * ยิ่งมีความสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยนมั่นคงขึ้น จะยิ่งมีการใช้กฎแห่งความยุติธรรมในการแจกจ่ายมากขึ้น * ยิ่งมีการปฏิบัติตามกฎแห่งความยุติธรรมในการแจกจ่ายน้อย ฝ่ายที่ไม่ได้รับความยุติธรรมจะยิ่งให้สิทธานุมัติทางลบกับอีกฝ่าย * ยิ่งมีความสัมพันธ์ในการแลกเปลี่ยนในหน่วยของสังคมมากจะยิ่งมีความไม่สมดุลและไม่มั่นคงในหน่วยอื่น ๆ ของสังคมเดียวกัน (เช่น ระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ต่อภาคเกษตรกรรม)
ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ (Symbolic Interaction) จากแนวคิดของ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) วิลเลี่ยม ไอ โทมัส (William I .Thomas) จอร์จ เฮอร์เบริ์ต มีด (George Herbert Mead) สมาชิกในสังคมกระทำและตีความหมายของความจริงทางสังคมโดยใช้สัญลักษณ์ร่วมกัน
ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ (Symbolic Interaction) แนวคิดของ จอร์จ เฮอร์เบริ์ต มีด (George Herbert Mead) ความคิด ประสบการณ์ และพฤติกรรม มีส่วนสำคัญต่อสังคม มนุษย์สร้างความสัมพันธ์ผ่านระบบสัญลักษณ์ (Symbols) สัญลักษณ์ที่สำคัญที่สุด คือ ภาษา
ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ (Symbolic Interaction) แนวคิดของ จอร์จ เฮอร์เบริ์ต มีด (George Herbert Mead) สัญลักษณ์อาจเป็นวัตถุ เหตุการณ์ หรือ การกระทำจากวัตถุและเหตุการณ์นั้น เช่น เมื่อพูดถึง “เก้าอี้” อาจหมายถึง ที่นั่ง การนั่ง ท่านั่ง หรือ การครอบครองตำแหน่ง
ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ (Symbolic Interaction) แนวคิดของ จอร์จ เฮอร์เบริ์ต มีด (George Herbert Mead) สัญลักษณ์ หมายถึง วิธีการที่มนุษย์ปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมายกับธรรมชาติและบริบททางสังคม สัญลักษณ์ไม่ใช่สัญชาตญาณ แต่เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ถ้าไม่มีสัญลักษณ์ มนุษย์จะมีปฏิสัมพันธ์กันไม่ได้และจะไม่มี “สังคม” เกิดขึ้นมา
ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ (Symbolic Interaction) แนวคิดของ จอร์จ เฮอร์เบริ์ต มีด (George Herbert Mead) ปฏิสัมพันธ์โดยใช้สัญลักษณ์ ทำให้มนุษย์ไม่ต้องใช้สัญชาตญาณในการสร้างพฤติกรรมเพื่อความอยู่รอด มนุษย์จึงสร้างระบบสัญลักษณ์ขึ้นมาและต้องอยู่ในโลกแห่งการตีความหมาย (World of Meaning) คือ ตีความหมายต่อสิ่งเร้า และตอบสนองต่อสิ่งนั้น เช่น พิจารณาว่า อาหารคืออะไร สิ่งนั้นใช่อาหารหรือไม่ แล้วจึงตอบสนองด้วยการกินหรือไม่กินสิ่งนั้น
ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ (Symbolic Interaction) แนวคิดของ จอร์จ เฮอร์เบริ์ต มีด (George Herbert Mead) สัญลักษณ์ร่วม (Common Symbols) ที่มนุษย์ในสังคมตีความร่วมกัน ทำให้มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กัน สามารถสื่อสารกัน ให้ชีวิตในสังคมดำเนินไปได้ มี้ด เรียก การรู้จักความหมายของสัญลักษณ์ที่ใช้ในการสัมพันธ์กับผู้อื่น ว่า การรับรู้บทบาท (role – taking)
ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ (Symbolic Interaction) แนวคิดของ จอร์จ เฮอร์เบริ์ต มีด (George Herbert Mead) การรับรู้บทบาท (role – taking) ทำให้เราทราบความหมายและความตั้งใจของผู้อื่น และ สามารถตอบสนองในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ (Symbolic Interaction) แนวคิดของ จอร์จ เฮอร์เบริ์ต มีด (George Herbert Mead) เมื่อบุคคลคิดออกไปนอกตัว แล้วมองย้อนกลับมาที่ตัวเอง เหมือน การรับรู้บทบาท (role – taking) ของผู้อื่น จะทำให้บุคคลได้รู้จัก ตนเอง (Self) ดีขึ้น และรู้ว่าผู้อื่นคิดอย่างไรกับตน ทำให้สามารถอยู่ในสังคมและสร้างความร่วมมือทางสังคม (Cooperative Action) ได้อย่างดี
ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ (Symbolic Interaction) แนวคิดของ จอร์จ เฮอร์เบริ์ต มีด (George Herbert Mead) ขั้นตอนการพัฒนา การรับรู้บทบาท (role – taking) 1. ขั้นการเล่นในเด็กเล็ก (Play Stage) เด็กเล็ก ๆ มักเล่นบทบาทที่ไม่ใช่ของตนเอง เช่น บทพ่อแม่ ทหาร ตำรวจ นักฟุตบอล ฯลฯ ซึ่งทำให้เด็กรู้ถึงความแตกต่างระหว่างตนเองกับผู้อื่นและบทบาทการเล่นที่แตกต่างออกไป 2. ขั้นการเล่นเกม (Game Stage) เด็กต้องเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับผู้อื่น ผ่านกติกาของเกมที่เล่น เขาต้องวางตัวเองไว้ในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งในเกม เพื่อจะเล่นกับผู้อื่นให้ได้
ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ (Symbolic Interaction) แนวคิดของ จอร์จ เฮอร์เบริ์ต มีด (George Herbert Mead) การพัฒนาความสำนึกในตนเอง (Consciousness of Self) เป็นสิ่งสำคัญของความเป็นมนุษย์ เป็นพื้นฐานของความคิด การกระทำและการสร้างสังคม ผู้ที่ไม่รู้จัก “ตนเอง” จะไม่สามารถตอบสนองและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้
ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ (Symbolic Interaction) แนวคิดของ จอร์จ เฮอร์เบริ์ต มีด (George Herbert Mead) ถ้าปราศจากการสื่อสารด้วยสัญลักษณ์ที่มีการตีความหมายร่วมกัน กระบวนการทางสังคมจะไม่เกิดขึ้น ดังนั้น มนุษย์จึงอยู่ในโลกแห่งสัญลักษณ์ที่มีความหมายและมีความสำคัญต่อชีวิตและพื้นฐานหลักของการมีปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์