บทที่ 6 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพูด

Slides:



Advertisements
Similar presentations
การพูดในที่สาธารณะ.
Advertisements

ข้อสรุปหลักสูตรการอบรมการผลิต รายการเด็ก TV4Kids.
สัมมนาทางการประกอบการธุรกิจ
อ. สิริพร มีนะนันทน์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา
คำถามตามเกณฑ์ PMQA:105คำถาม หมวด1 12คำถาม.
แนวทางการสอน เพื่อพัฒนาทักษะเด็กตามรูปแบบการสอน
การใช้ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
กระบวนการถ่ายทอดความรู้
ส่วนประกอบของการอรรถาธิบาย
บทที่ 3 ประเภทของบทและรูปแบบของรายการวิทยุโทรทัศน์
กระบวนการของการอธิบาย
ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาบริการกลุ่มวัยรุ่น ปี 2558 วันที่ 15 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จำกัด.
หลักสูตร วิทยากรแนว ปฏิบัติ การใช้แรงงานที่ดี (Training of Trainer : TOT) โดย กรวรรณ จงสถาพรพันธ์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนาระบบ มาตรฐานแรงงาน 1.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
ประวัติ ส่วนตัว ชื่อ นางสาวสุภาวรรณ อินสวัสดิ์ อายุ ๒๘ ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๑๙ / ๕ หมู่ที่ ๑ ตำบลแสงอรุณ อำเภอทับสะแก จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ การศึกษา.
ปรานอม ประทีปทวี 25/09/591 หน้าที่ของครูผู้นิเทศ สพม.5.
เก่ง. ความรู้และทักษะ คุณลักษณะที่เน้น ความรู้ ทักษะเชิง วิชาชีพ และศาสตร์ที่ เกี่ยวข้อง.
การฟัง การดู และการพูด. การวิเคราะห์เรื่องและประเมินเรื่องที่ฟังและดู การฟังและการดู เป็นทักษะที่จำเป็นในการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจได้รับจากบุคคล.
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
ง21101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม. 1 เจตคติต่อการประกอบอาชีพ
ALLPPT.com _ Free PowerPoint Templates, Diagrams and Charts.
เทคนิคการประชุมสัมมนา
บทที่ 3 องค์ประกอบของการสัมมนา
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
การแพร่กระจายนวัตกรรม Diffusion of Innovation
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
กลุ่มคำและประโยค ภาษาไทย ม. ๓
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
บทที่ 8 การเขียนประเภทอื่น ๆ เพื่อการประชาสัมพันธ์
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
ประเภทที่ ๑ วิจัยในชั้นเรียน.
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
โดย ศรีปัญญา ม่วงเพ็ชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
ณ ห้องประชุม พธ.ทร.(๒) วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๙๓๐
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานบริหารและธุรการ คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
การบริหารงานประชาสัมพันธ์ของจังหวัด : การประชาสัมพันธ์และการจัดการสื่อ
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ การพัฒนาทักษะการพูด แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒๑
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ผู้สอน : คุณครูภาคภูมิ คล้ายทอง
หมวดศึกษาทั่วไป ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ผู้สอน : อ.สำราญ ผลดี
การฟัง.
ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
พื้นฐานการออกแบบ กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้การสื่อความหมาย ด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายของข้อมูลได้ถูกต้องตรง.
การพูดเพื่องานวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
วิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๒ สาระการเรียนรู้ พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๑ หน่วยกิต Dr. Bualak Petchngam.
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
ความหมายของเรียงความ
สร้างภูมิคุ้มกัน (แสงหิ่งห้อย)
มาฝึกสมองกันครับ.
การพูด ในโอกาสต่าง ๆ.
รายวิชา การบริหารการศึกษา
เรียนอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ
ความหมาย ความสำคัญ และจุดมุ่งหมายของการศึกษา
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา และ จุดประสงค์การเรียนรู้
บทที่ ๑ การพูดและการนำสนอเพื่องานนิเทศศาสตร์
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การกำหนดประเด็นปัญหา
สถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบัน
การจัดการความรู้ สำนักชลประทานที่ 15
แนวทางการออกแบบนิตยสาร
Lean Management การลดขั้นตอนการนัดตรวจสุขภาพจิตของ นร.กพ
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
หลักการเขียนข่าว เพื่อการประชาสัมพันธ์องค์กร
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
การใช้ระบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ข่าว
Presentation transcript:

บทที่ 6 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพูด บทที่ 6 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพูด

ความหมายของการพูด วาทการ เป็นคำศัพท์หนึ่ง ซึ่งทางวิชาการนิยมใช้แทน การพูด พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน (2513:831) ได้ให้ความหมายของคำว่า “วาท” หมายถึง คำพูด ถ้อยคำ,ลัทธิรวมกันเข้าเป็นวาทการ “วาทการ” หมายถึง กิจพูดหรือกิจเกี่ยวกับถ้อยคำ, งานพูดหรืองานเกี่ยวกับถ้อยคำในการสื่อสาร

การพูดเป็นพฤติกรรมการสื่อสารที่ใช้กันแพร่หลาย โดยผู้พูดสามารถใช้ทั้งวัจนะภาษาและ อวัจนะภาษาในการส่งสารติดต่อไปยังผู้ฟังได้อย่างชัดเจนและรวดเร็ว วัจนะภาษา (Verbal) ได้แก่ การสื่อสารในระบบคำและประโยค โดยผ่านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน โดยมีคำและประโยคเป็นตัวสื่อความหมาย อวัจนะภาษา (Unverbal) ได้แก่ การสื่อสารโดยการใช้กิริยา สีหน้าท่าทาง การแต่งกาย การเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น นัยน์ตา น้ำเสียง ที่ให้อารมณ์ความรู้สึกเพื่อการสื่อความหมาย  

การพูด หมายถึง การใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง รวมทั้งกิริยาอาการถ่ายทอดความรู้ความคิดและความรู้สึกของผู้พูดให้ผู้ฟังได้รับรู้และเกิดการตอบสนอง ในการติดต่อสื่อสารด้วยการพูด ผู้พูดจะต้องระลึกว่าไม่เพียงแต่พูดเท่านั้นจะต้องรู้จักพูดให้ดีด้วย การพูดที่ดี คือ การใช้ถ้อยคำ น้ำเสียงรวมทั้งกิริยาอาการอย่างมีประสิทธิภาพ และถูกต้องตามจรรยามารยาทและประเพณีนิยมของสังคม เพื่อถ่ายทอดความคิดความรู้ ความรู้สึกและความต้องการ ที่เป็นประโยชน์ ให้ผู้ฟังได้รับรู้และเกิดการตอบสนอง สัมฤทธิ์ผลตามจุดมุ่งหมายของผู้พูด

แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการพูด 1. ทุกคนพูดได้แต่บางคนเท่านั้นที่พูดเป็น 2. การพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ การพูด เป็นศาสตร์อย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า วาทศาสตร์ คือมีทฤษฎี มีระเบียบกฎเกณฑ์ สามารถศึกษาเรียนรู้ และถ่ายทอดได้ เช่นเดียวกับศาสตร์แขนงอื่นๆ ความเป็นศิลป์ คือ ผู้พูดต้องมีศิลปะ คือมีความสามารถในการถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ ได้เป็นอย่างดี มีลีลาการพูดที่มีชีวิตชีวา น่าสนใจ เป็นต้น 3. ทุกคนมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไขในการพูด 4. นักพูดที่ดีไม่ต้องอาศัยพรสวรรค์เสมอไป

5. การฝึกพูดจะมีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพทั้งภายนอกและภายใน 5. การฝึกพูดจะมีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพทั้งภายนอกและภายใน ภายนอก คือ บุคลิกภายนอก เช่น การฝึกพูดที่สม่ำเสมอจะสามารถปรากฏตัวและการแสดงออกในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ภายใน หรือ บุคลิกภายใน เช่น การฝึกพูดอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ผู้พูดเกิดความมั่นใจในตนเอง มีความปรารถนา มีความกระตือรือร้นที่จะพูด และมีความสุขเมื่อได้พูด

องค์ประกอบของการพูด (1) (2) ผู้พูดหรือผู้ส่งสาร ( Sender or Speaker)   (2) ผู้ฟัง หรือผู้รับสาร (Receiver or Listener)     (4) เครื่องสื่อสาร หรือ คำพูด (Channel) (3) เนื้อหาสาระหรือ เรื่องที่จะพูด (Message)

1) ผู้พูดหรือผู้ส่งสาร ( Sender or Speaker) ผู้พูดทำหน้าที่ส่งสารผ่านสื่อไปให้ผู้ฟัง ดังนั้นผู้พูดจะต้องมีความสามารถใช้ทั้งศาสตร์และศิลปะของตนเอง ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดไปสู่ผู้ฟังให้ได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน ความสามารถของผู้พูดที่จะทำให้ฟังได้เข้าใจมากน้อยแค่ไหนนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้ ผู้พูดมีความสามารถในการใช้ภาษา เสียง และกิริยาท่าทางเพียงไร ผู้พูดมีเจตคติต่อเรื่องที่จะพูด และต่อผู้ฟังแค่ไหน ผู้พูดมีระดับความรู้ในเรื่องที่พูดมากน้อย และลึกซึ้งเพียงใดผู้พูดมีฐานะทางสังคม พื้นฐานทางจริยธรรม และวัฒนธรรมอยู่ในระดับใด ผู้พูดต้องแสดงบุคลิกภาพและแต่งกายให้เหมาะสมเพื่อให้ผู้ฟังประทับใจ

2) ผู้ฟัง หรือผู้รับสาร (Receiver or Listener)             ผู้ฟังอยู่ในฐานะที่จะต้องรับสารของผู้พูดโดยอาศัยเครื่องสื่อสารเป็นเครื่องนำพา เพื่อให้ผู้ฟังสามารถรับสารได้ตรงกับเจตนาของผู้พูด ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น ๆ เช่น ทักษะ ความพร้อม ความสนใจ พื้นความรู้ วัฒนธรรม และเจตคติของผู้ฟัง

3) เนื้อหาสาระหรือ เรื่องที่จะพูด (Message) เนื้อหาที่ผู้พูดส่งไปนั้นจะต้องมีคุณค่า และคุ้มค่าแก่การเสียเวลาของผู้ฟัง มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน ดังนั้น สารที่ผู้พูดส่งไปนั้นจะต้องเตรียมมาแล้วอย่างดี เช่น การ คัดเลือก จัดลำดับขั้นตอน และการฝึกฝนตนเองของผู้พูด จะทำให้การพูดมีประสิทธิภาพมากขึ้น

4) เครื่องสื่อสาร หรือ คำพูด (Channel)         หมายถึง การที่ผู้พูดต้องการให้ผู้ฟังรับทราบ และเข้าใจตามความมุ่งหมายของผู้พูด โดยการถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด และสิ่งที่นำสารไปสู่ผู้ฟัง ได้แก่ เวลา สถานที่ อากาศ และเครื่องรับรู้ต่าง ๆ เช่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นอกจากนี้ยังรวมไปถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อื่น ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ เป็นต้น

จุดมุ่งหมายของการพูด 1) พูดเพื่อให้ความรู้หรือข่าวสารข้อเท็จจริง   2) พูดเพื่อโน้มน้าวจิตใจหรือชักจูงใจ 3) พูดเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินหรือเพื่อจรรโลงใจ

1) พูดเพื่อให้ความรู้หรือข่าวสารข้อเท็จจริง การพูดแบบนี้เป็นการพูดโดยอาศัยข้อมูลต่าง ๆ ในเรื่องที่ผู้ฟังต้องการจะทราบ การพูดต้องพูดให้ตรงประเด็นและหัวข้อที่กำหนดให้ บางครั้งผู้พูดต้องเตรียมอุปกรณ์ประกอบการบรรยายไปด้วย เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจแจ่มแจ้งในเรื่องที่พูดมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การพูด เช่นนี้ส่วนมากจะใช้วิธีการพูดด้วยการบรรยาย อธิบาย พรรณนา เล่าเรื่อง ชี้แจง สาธิตและวิธีเสนอรายงาน ฯ

หลักทั่วไปของการพูดเพื่อให้ความรู้หรือข่าวสารข้อเท็จจริง ดังนี้ 1.1) ลำดับความดี ไม่วกไปวนมา เรียบเรียงใจความเป็นหมวดหมู่ เป็นขั้นตอน มีความกลมกลืนกันในแต่ละตอน 1.2) ขยายความดี มีตัวอย่างประกอบ อ้างเหตุผลทำให้ผู้ฟังเข้าใจชัดเจนขึ้น 1.3) จังหวะดี จังหวะของการพูดมีส่วนที่จะทำให้ง่ายหรือยากต่อการเข้าใจ เช่น พูดให้ยากลงเมื่อถึงต่อยากและพูดเร็วเมื่อถึงตอนง่าย แทรกอารมณ์ขันเมื่อถึงตอนที่เป็นเรื่องหนักสมอง เพื่อช่วยเปลี่ยนบรรยากาศ ความเครียด เป็นต้น

2) พูดเพื่อโน้มน้าวจิตใจหรือชักจูงใจ  2) พูดเพื่อโน้มน้าวจิตใจหรือชักจูงใจ การพูดแบบนี้ ผู้พูดจะต้องใช้ศิลปะในการพูดหลายๆ แบบเพื่อจูงใจให้ผู้ฟังเกิดความศรัทธาเลื่อมใสมีความคิดเห็นคล้อยตาม หรือกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้พูดตั้งความมุ่งหมายไว้ เช่น การพูดชักชวนให้เลื่อมใสในลัทธิทางศาสนา การพูดให้ประชาชนเลือกตนเองเป็นผู้แทนของนักการเมือง การพูดโฆษณาขายสินค้าของผู้แทนบริษัท ฯ

หลักทั่วไปของการพูดเพื่อโน้มน้าวจิตใจหรือชักจูงใจ ดังนี้ 2.1) สร้างความสนใจ ผู้พูดต้องสร้างความสนใจให้เกิดแก่ผู้ฟังตั้งแต่วินาทีแรกที่เริ่มพูด เพราะโดยปกติแล้วผู้ฟังจะมีความสนใจและตั้งใจในช่วง 15 – 20 นาทีแรกเท่านั้น 2.2) สร้างความต้องการ ผู้พูดต้องอ้างเหตุผลหรือความจำเป็นบางอย่างที่ผู้ฟังต้องทำหรือปฏิบัติตามที่ผู้พูดแนะนำ 2.3) สร้างความพอใจ ทำให้ผู้ฟังเห็นจริงกับคำพูดของผู้พูด เช่น อยู่ในสถานการณ์เดียวกัน 2.4) สร้างมโนภาพ ผู้พูดต้องยกตัวอย่าง อุปมาอุปไมย หรือเหตุการณ์มาประกอบขยายความ 2.5) เรียกร้องกระตุ้นความสนใจให้ทำตามที่ผู้พูดต้องการ ช่วงนี้สำคัญที่สุดเป็นการสรุปการพูดแบบชักจูงใจ ผู้พูดต้องอาศัยหลักจิตวิทยาเข้าช่วย กระตุ้นให้ผู้ฟังเชื่อ คิด และทำตาม

3) พูดเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินหรือเพื่อจรรโลงใจ การพูดแบบนี้ ผู้พูดต้องเข้าใจว่าบรรยากาศในการพูดก็ดี ความต้องการของผู้ฟังก็ดี เป็นการพูดที่ผู้พูดจะต้องเน้นให้ผู้ฟังเกิดความสนุกสนานบันเทิงควบคู่ไปกับการได้รับความรู้สึกนึกคิดที่แปลกใหม่ เล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นการพูดในลักษณะเสริมสร้างความนึกคิดของผู้ฟังให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เพื่อยกระดับจิตใจของผู้ฟังในทางที่ดีมีความสุขในขณะที่ฟังการพูด เช่น การกล่าวคำสดุดี กล่าวคำอวยพร กล่าวขอบคุณ หรือกล่าวคำปราศรัยในงานบันเทิงต่างๆ ที่จัดขึ้นในโอกาสต่างๆ

หลักทั่วไปของการพูดเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินหรือเพื่อจรรโลงใจ ดังนี้ หลักทั่วไปของการพูดเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินหรือเพื่อจรรโลงใจ ดังนี้ 3.1) พูดให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ได้เนื้อหาเรื่องราวเหมาะสมกับงาน 3.2) ไม่ควรพูดนานเกินไป ถ้าเป็นการพูดคนเดียว อาจจะใช้เวลาประมาณ 35 – 45 นาทีก็พอ หรือถ้าพูดหลายคน ควรใช้เวลาคนละประมาณ 10 นาที ถ้านานกว่านี้ผู้ฟังจะเกิดความเบื่อหน่าย 3.3) เรื่องที่พูดสนุกสนานให้ความบันเทิงและเบาสมอง ตลกขบขันได้แต่ไม่หยาบโลน

การแบ่งระดับการพูด การพูดแบ่งได้ 2 ประการ คือ การพูดระหว่างบุคคล และ การพูดในกลุ่ม           1. การพูดระหว่างบุคคล              เป็นการพูดที่ไม่เป็นทางการ ไม่มีเนื้อหาจำกัดแน่นอน ทั้งผู้พูดและผู้ฟังไม่ได้เตรียมตัวมาล่วงหน้า แต่เป็นการพูดที่ใช้มากที่สุด ใช้ในชีวิตประจำวัน การพูดชนิดนี้พอจะแยกได้ดังนี้           

1.1)  การทักทายปราศรัย การพูดชนิดนี้เป็นการช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันทั้งผู้ที่เรารู้จักอยู่แล้วหรือผู้ที่เรายังเคยไม่รู้จัก โดยการพูดชนิดนี้ผู้พูดควรยิ้มแย้มและไม่ควรก้าวก่ายเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น เมื่อเราทักทายผู้ที่อาวุโสมากกว่าก็ควรที่จะกล่าวคำว่า สวัสดีครับ พร้อมทั้งพนมมือไหว้ การกระทำดังกล่าวนั้นจะก่อให้เกิดไมตรีจิตแก่กันทั้งผู้พูดและผู้ฟัง

1.2)  การแนะนำตนเอง การแนะนำตัวเองนั้นมีความสำคัญในการดำเนินชีวิตในชีวิตประจำวัน เพราะเราต้องได้พบ ได้รู้จักกับคนอื่นๆอยู่เสมอ การแนะนำตนเองมี 3 โอกาสสำคัญ ดังนี้       -  การแนะนำตนเองในที่สาธารณะ การแนะนำชนิดนี้ควรจะพูดจากันเล็กน้อยก่อนแล้วค่อยแนะนำตัว มิใช่ว่าจู่ๆก็แนะนำตัวขึ้นมา       -  การแนะนำตนเองในการทำกิจธุระ การแนะนำชนิดนี้มักจะต้องไปพบผู้ที่ยังไม่รู้จักกันซึ่งจะต้องนัดหมายไว้ล่วงหน้า ควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย ไปให้ตรงตามเวลานัด แนะนำตนเองด้วยน้ำเสียงที่สุภาพ ไม่ดังหรือค่อยจนเกินไป       -  การแนะนำตนเองในกลุ่มย่อย ควรแนะนำตนเองเพื่อให้เกิดความเป็นกันเอง และสามารถคุยหรือประชุมได้อย่างสะดวกใจยิ่งขึ้น

1.3)  การสนทนา  เป็นกิจกรรมที่บุคคลสองคนหรือมากกว่านั้น พูดคุยกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ความรู้สึก และประสบการณ์ระหว่างกันอย่างไม่เป็นทางการ แบ่งได้ 2 แบบคือ 1. การสนทนาระหว่างบุคคลที่คุ้นเคยกัน การสนทนาชนิดนี้ผู้พูดไม่ต้องคำนึงถึงมากนัก แต่ก็ไม่ควรก้าวก่ายเรื่องส่วนตัวของกันและกัน        2. การสนทนากับบุคคลแรกรู้จัก ควรที่จะสำรวมถ้อยคำ กิริยา มารยาท ควรจะสังเกตว่าคู่สนทนานั้นชอบพูดหรือชอบฟัง

2. การพูดในกลุ่ม การพูดในกลุ่มนั้นเป็นกิจกรรมที่สำคัญในสมัยปัจจุบัน ทั้งในชีวิตประจำวันและในการศึกษา โดยเฉพาะในการศึกษานั้นหากมีการแบ่งกลุ่มให้ทุกคนได้ช่วยกันออกความคิดเห็น ก็จะเป็นการเสริมสร้างทั้งด้านความคิด และด้านทักษะภาษา

2.1) การเล่าเรื่องที่ได้อ่านหรือฟังมา 2.1)  การเล่าเรื่องที่ได้อ่านหรือฟังมา การเล่าเรื่องที่ตนได้อ่านหรือฟังมานั้นไม่จำเป็นต้องเล่าทุกเหตุการณ์แต่ควรเล่าแต่ประเด็นที่สำคัญๆ ภาษาที่ใช้เล่าก็ควรเป็นภาษาที่เข้าใจได้ง่ายๆ ใช้น้ำเสียงประกอบในการเล่าเรื่อง เช่น เน้นเสียงในตอนที่สำคัญ รวมไปถึงการใช้กริยาท่าทางประกอบตามความเหมาะสมของเรื่องที่เล่า ผู้เล่าควรเรียงลำดับเรื่องให้ถูกต้องและอาจจะสรุปเป็นข้อคิดในตอนท้ายก็ได้

2.2)  การเล่าเหตุการณ์ ในชีวิตประจำวันของเรานั้น มักจะมีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นได้เสมอ ในบางครั้งผู้พูดก็มีความจำเป็นที่จะต้องเล่าเหตุการณ์นั้นให้ผู้อื่นฟัง อาจจะเป็นเหตุการณ์ที่ประทับใจ ตื่นเต้น โดยการที่จะเล่าเหตุการณ์นั้นๆให้น่าสนใจ ก็ควรที่จะเริ่มต้นด้วยการแสดงเหตุผลว่าเหตุการณ์นี้มีเรื่องที่น่าสนใจยังไง ใช้ถ้อยคำและภาษาสำนวนที่ทำให้ผู้ฟังได้เห็นภาพ เล่าเหตุการณ์ให้ต่อเนื่องกันเพื่อผู้ฟังจะได้ติดตามเรื่องได้ดี น้ำเสียงชัดเจน เน้นตอนที่สำคัญ ใช้ท่าทาง กิริยาประกอบในการเล่าด้วยเพื่อที่จะได้ดูเป็นธรรมชาติ แหละสุดท้ายควรที่จะแสดงข้อคิดเพิ่มเติมตามสมควร

การพูดแบบที่ 1 แบ่งตามวิธีการพูดมี 4 ประเภท คือ ประเภทของการพูด การพูดแบบที่ 1 แบ่งตามวิธีการพูดมี 4 ประเภท คือ          1) การพูดโดยฉับพลันหรือกะทันหัน            2) การพูดโดยการเตรียมการมาล่วงหน้า  3) การพูดโดยอาศัยอ่านจากต้นฉบับ 4) การพูดโดยวิธีท่องจำ

1) การพูดโดยฉับพลันหรือกะทันหัน   1) การพูดโดยฉับพลันหรือกะทันหัน ได้แก่การพูดที่ผู้พูดไม่รู้ตัวมาก่อนจะต้องพูดไม่ได้มีการเตรียมตัวล่วงหน้าทั้งในด้านเนื้อเรื่องที่จะพูด แต่ก็ได้รับเชิญหรือได้รับมอบหมายให้พูด เช่น การพูดกล่าวอวยพรในวันเกิด กล่าวอวยพรคู่บ่าวสาว กล่าวต้อนรับผู้มาเยือน กล่าวขอบคุณผู้มีอุปการะสนับสนุน การพูดกะทันหันนี้ หากผู้พูดได้รับเชิญในลักษณะดังกล่าวข้อที่ควรปฏิบัติเพื่อให้การพูดประสบความสำเร็จ ก็ควรปฏิบัติตนดังต่อไปนี้        1.1 )ต้องคุมสติให้มั่น อย่าประหม่าหรือตกใจตื่นเต้นจนเกินไป ทำจิตใจให้ปกติและสร้างความมั่นใจให้แก่ตนเองด้วยการสร้างความพึงพอใจและความยินดีที่จะได้พูดในโอกาสเช่นนั้น        1.2 )ให้นึกถึงประสบการณ์ต่างๆ ที่เรียนรู้หรือได้พบเห็นมา ซึ่งเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีมีประโยชน์แก่ผู้ฟังและเป็นเรื่องราวที่เข้ากับบรรยากาศที่จะพูดแม้ว่าขณะนั้นจะมีเวลาโอกาสสั้นๆ ก่อนจะพูดก็ควรนึกคิดรวมทั้งขณะที่เดินจากที่นั่งไปยังที่จะพูด         1.3 ) กำหนดเรื่องที่จะพูดให้ชัดเจน กำหนดเวลาพูดให้เหมาะสมกับโอกาสและงานนั้นๆอย่าพูดไปโดยไม่มีการกำหนดหัวเรื่องและกำหนดเวลาไว้เพราะจะมีผลให้การพูดไม่ดี คนฟังก็เบื่อหน่าย

2) การพูดโดยการเตรียมการมาล่วงหน้า  2) การพูดโดยการเตรียมการมาล่วงหน้า การพูดแบบนี้เป็นการพูด ที่ผู้พูดได้มีโอกาสเตรียมตัวมาก่อนคือ ผู้พูดรู้ว่าตนเองได้รับเชิญหรือจะต้องพูดในเรื่องอะไรบ้าง จึงต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้าเท่าที่โอกาสเวลาจะอำนวยให้ ดังนั้นการเตรียมในเรื่องต่างๆ ที่จะพูดเป็นคุณสมบัติสำคัญที่นักพูดจะต้องปฏิบัติตนอย่างสม่ำเสมอ

3) การพูดโดยอาศัยอ่านจากต้นฉบับ   3) การพูดโดยอาศัยอ่านจากต้นฉบับ  การพูดประเภทนี้เป็นการพูดตามต้นฉบับที่เขียนขึ้นซึ่งเป็นการเตรียมไว้ล่วงหน้าเป็นอย่างดี ส่วนมากเป็นการพูดทางพิธีการต่าง ๆ สำคัญๆ เช่น การกล่าวเปิดงานการกล่าวรายงาน การกล่าวเปิดประชุม การกล่าวรายงานการประชุม การกล่าวคำปราศรัย การกล่าวคำสดุดีการกล่าวคำให้โอวาท การกล่าวต้อนรับที่เป็นพิธีการสำคัญๆ ฯลฯ การพูดประเภทนี้ผู้พูดจะต้องฝึกฝนตนในเรื่องการอ่านต้นฉบับให้คล่อง การฝึกสายตาเวลาพูดการฝึกอ่านย่อหน้าวรรคตอนและคำศัพท์ที่ยากตลอดทั้งสำนวนการพูดให้เหมาะสม

4) การพูดโดยวิธีท่องจำ การพูดลักษณะนี้เป็นการพูด ที่ผู้พูดจะต้องเตรียมตัวท่องจำเนื้อหาอย่างละเอียดจากเอกสาร ตำรา หนังสือต่างๆ อย่างแม่นยำ เช่น การท่องจำตัวเลข จำสุภาษิตคำพังเพย เนื้อหาที่สำคัญๆ การพูดแบบนี้เป็นการพูดที่ผู้พูดจะต้องใช้ความเพียรพยายามมากในการจดจำเนื้อหา และจะต้องมีเวลาในการเตรียมตัว เช่น การเทศน์ของพระสงฆ์ การสวดอ้อวอนบวงสรวงพิธีกรรมของพราหมณ์ การทำพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ และการทำพิธีกรรมของศาสนาต่างๆ เป็นต้น

การพูดแบบที่ 2 แบ่งตามจำนวนผู้ฟัง มี 2 ประเภท คือ  1) การพูดรายบุคคล เป็นการพูดตัวต่อตัว ได้แก่ การพูดที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น การสนทนา การสัมภาษณ์ การเล่าเรื่อง การแนะนำตัว เป็นต้น       2) การพูดในที่ชุมนุมชน เป็นการพูดที่มีผู้ฟังเป็นจำนวนมาก เป็นการพูดที่มีแบบแผนต้องมีการเตรียมตัว และฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ การพูดประเภทนี้ได้แก่ การบรรยาย การอภิปราย การปาฐกถา การแสดงสุนทรพจน์ เป็นต้น

คุณสมบัติเบื้องต้นของนักพูดที่ดี  นักพูดที่ดีจำต้องปรับปรุงพื้นฐานของตนให้มีคุณสมบัติที่สำคัญเบื้องต้น 5 ประการดังนี้      1) เป็นนักฟังที่ดี นักพูดไม่ใช่ฝึกพูดอย่างเดียว ต้องฝึกฟังด้วย ต้องรู้ว่า เมื่อไรควรพูดเมื่อไรควรฟัง การฟังผู้อื่นทำให้เราได้รับความรู้เพิ่มขึ้น หรืออย่างน้อยก็ได้ทบทวนความรู้เดิมที่เรามีอยู่แล้ว ข้อสำคัญถ้าเลือกฟังในสิ่งที่มีประโยชน์ก็จะทำให้เพิ่มคุณค่าให้แก่ตัวเองมากขึ้น      2) ศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ นักพูดต้องศึกษาหาความรู้ไม่หยุดยั้ง ความรู้ที่ว่านี้นอกจากจะได้จากการฟังแล้วความรู้ที่ได้จากการอ่านสำคัญที่สุด การอ่านเป็นวิธีตักตวงความรู้ที่รวดเร็วและรวบรัดที่สุด นักพูดต้องรักการอ่านให้มากจะเป็นประโยชน์แก่การพูด การพูดก็จะวนเวียนอยู่ที่เดิมไม่ไปไหน พอพูดซ้ำมากๆ เข้าก็จะเกิดความเบื่อตัวเอง เมื่อผู้พูดเบื่อตัวเองก็จะไม่มีผู้ฟังคนไหนอยากฟัง

    3) ยอมรับฟังคำวิจารณ์ นักพูดต้องยอมรับฟังวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่นต้องต้อนรับทั้งคำติและชม น้อมรับคำวิพากษ์วิจารณ์เหล่านั้น นำมาปรับปรุงแก้ไขตัวเอง     4) เป็นตัวของตัวเอง นักพูดที่ดีต้องเป็นตัวของตัวเอง อย่าเลียนแบบใคร งานเลียนแบบเป็นงานที่ไร้เกียรติไม่สร้างสรรค์ และไม่ทำความภูมิใจให้แก่ตัวเอง ถ้ามีบุคคลใดเป็นตัวอย่างในการพูดที่ดี ขอให้จดจำนำเอาบางสิ่งบางอย่างของเขามาลองปฏิบัติดู อย่าเลียนแบบเขาทั้งหมด จงเป็นตัวของตัวเอง ได้ของดีจากใครได้ความรู้ข้อคิดดีๆจากใคร ถ้าทำได้ควรเอ่ยนามเขาให้ปรากฏ นอกจากจะได้แสดงมารยาทอันงดงามแล้ว ยังสามารถถ่ายทอดสิ่งต่างๆ เหล่านั้นได้อย่างเต็มปากเต็มคำไม่เคอะเขินอีกด้วย     5) มีความสุขในการถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่น นักพูดต้องมีความสุขและความพอใจที่จะถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ฟัง และถ่ายทอดให้จบสิ้นตามที่ผู้ฟังกำหนด นอกเสียจากเวลาหรือเงื่อนไขอื่นบังคับ เมื่อหมดแล้วก็แสวงหาสิ่งใหม่ทุกครั้งที่มีโอกาสพูดขอให้ถือว่าเป็นโอกาสดีที่เราจะได้ทำประโยชน์เป็นเกียรติยศที่ผู้ฟังหยิบยื่นให้แก่เรา ซึ่งจะทำให้มีความมุ่งมั่น ความกล้าที่จะทุ่มเทให้กับการพูดทุกครั้ง ขอให้จำง่าย ๆ ว่า “ เป็นนักฟัง ยังศึกษา ท้าวิจารณ์ งานริเริ่ม เติมความสุข ”

วิธีการพูดที่ดี การพูดเป็นเรื่องของการสร้างความเชื่อถือและศรัทธาให้เกิดแก่ผู้ฟัง แต่ก่อนจะให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือจะต้องทำให้เกิดความสนใจ เร้าใจ ใคร่รู้ในช่วงแรกทันที ดังนั้น คำพูดประโยคแรก (Opening Sentence) หรือข้อความตอนต้นในการเริ่มพูด (Opening Statement) จึงมีความสำคัญมาก

การเริ่มพูด ตอนต้นให้ตื่นเต้น ต้องไม่กล่าวนำหรือพูดอารัมภบท ยืดยาด เยิ่นเย่อ ต้องพูดถึงความเป็นมาที่มีความสำคัญจริงๆ ต้องกล่าวนำว่าจะพูดเรื่องอะไร มีความสำคัญอย่างไรต่อผู้ฟังการพูด ต้องนำความสนใจ ข้อเท็จจริง ไปสู่เรื่องราวทีจะพูดโดยไม่ชักช้า การพูดตอนกลางให้กลมกลืน ระมัดระวังว่าจะพูดอะไร และพูดอย่างไร ไม่พูดออกตัวกล่าวอย่างล่องลอย ไร้น้ำหนัก แถลงข้อเท็จจริง เป็นข้อๆ ให้เด่นชัด พูดให้เรียงลำดับ ไม่สับสน ใช้โสตทัศนูปกรณ์ในจังหวะที่เหมาะสมช่วยเร้าความสนใจและสร้างความเข้าใจ การพูดตอนท้ายให้ทบทวน สรุปข้อเท็จจริงโดยพูดเน้นย้ำประเด็นสำคัญ แต่ไม่พูดซ้ำ เพราะจะทำให้เป็นการน่าเบื่อหน่าย รำคาญเหมือนการพูดวกวน การพูดตอนจบให้จับใจ ต้องเตรียมคำพูดสรุปจบให้กระชับและจูงใจให้เห็นด้วย หากไม่มีคำพูดใดดีกว่าวัตถุประสงค์ที่แถลงข้อเท็จจริงก็พูดลงท้ายด้วยการตอกย้ำถึงวัตถุประสงค์ในการพูดแถลงข้อเท็จจริงนั่นเอง

แบบฝึกหัดทบทวน  1.ให้นักศึกษาพูดแนะนำตัวเอง โดยนำประวัติส่วนตัวมาเชื่อมโยงกับเรื่องราวที่เป็นประเด็น สำคัญในปัจจุบัน ให้สามารถพูดได้ภายในเวลา 3-5 นาที 2.ให้นักศึกษาฝึกการฟังและวิจารณ์การพูดของเพื่อนนักศึกษาที่พูดหน้าชั้น 3. ให้นักศึกษาบอกถึงคุณสมบัติที่ดีของนักพูดมา 10 ข้อ