School of Information & Communication Technology

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
บทที่ 5 การดำรงชีวิตของพืช
Advertisements

การติดตามและ ประเมินผลโครงการ
System Requirement Collection (2)
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
บทที่ 6 บทที่ 6 คำสั่งแก้ไขปัญหาแบบ เลือก (CONDITION)
จัดทำโดย น. ส. ดวงกมล งามอยู่เจริญ เลขที่ 8 น. ส. ณัชชา เชื้อตา เลขที่ 6 เตรียมบริหารธุรกิจปี 1.
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
System Database Semester 1, 2009 Worrakit Sanpote 1.
การใช้งานโปรแกรม SPSS
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 หลักการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์
การติดตามประเมินผล และรายงาน.
การเขียนผังงานเบื้องต้น (Flow chart)
การใช้งาน Microsoft Excel
เรื่อง หลักการเขียนโปรแกรม เบื้องต้น จัดทำโดย นางสาวชาดา ศักดิ์บุญญารัตน์
การเลือกข้อมูลจาก List การกำหนดเงื่อนไขการป้อนข้อมูลด้วย Data Validation การใส่ Comment / แสดง / แก้ไข / ลบ.
หลักการแก้ปัญหา อย่างมีขั้นตอน การแก้ปัญหาด้วย กระบวนการทาง เทคโนโลยี สารสนเทศ หลักการ แก้ปัญหา การใช้หลักการใน การแก้ปัญหา.
ประเภทของ CRM. OPERATIONAL CRM เป็น CRM ที่ให้การสนับสนุนแก่กระบวนการธุรกิจ ที่เป็น “FRONT OFFICE” ต่างๆ อาทิ การขาย การตลาด และการ ให้บริการ SALES FORCE.
การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ ครูชาญณรงค์ ปานเลิศ โรงเรียนพระบางวิทยา ครูชาญณรงค์
ซอร์ฟแวร์ ( Software ). Microsoft excel Microsoft excel Microsoft power point.. Link Link.
คำสั่งควบคุมการทำงาน
Project Management by Gantt Chart & PERT Diagram
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
ง21101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม. 1 เจตคติต่อการประกอบอาชีพ
ผังงาน..(Flow Chart) หมายถึง...
เรื่อง กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
“วิธีการใช้งาน PG Program New Version สำหรับ PGD”
Microsoft Access 2007 การสร้างฟอร์ม
stack #2 ผู้สอน อาจารย์ ยืนยง กันทะเนตร
หน่วยการเรียนที่ 6 เรื่อง การจัดการฐานข้อมูลด้วย PHP Function
บทที่ 1 สถาปัตยกรรมของระบบฐานข้อมูล (Database Architecture)
บทที่ 3 การวิเคราะห์ Analysis.
การบริหารโครงการ Project Management
แล้วทำการเรียงลำดับข้อมูลใหม่โดยเรียงจากน้อยไปหามาก
การบันทึกรายการค้าในสมุดบัญชี
การบัญชีต้นทุนช่วง (Process Costing).
หน่วยการเรียนที่ 4 เรื่อง การควบคุมทิศทางการทำงาน
Vernier เวอร์เนียร์ คือเครื่องมือที่ใช้วัดระยะ (distance) หรือ ความยาว (length) ให้ได้ค่าอย่างละเอียด เวอร์เนียร์ต่างจากไม้บรรทัดทั่วๆไป เพราะมี 2 สเกล.
บทที่ 7 การเขียนโปรแกรม แบบวนรอบทำซ้ำ (Loop)
สาระการเรียนรู้ ความหมายของอัลกอริทึม วิธีการเขียนผังงานที่ดี
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
บทที่ 3 แฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูล
กรอบอัตรากำลังของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ขั้นตอนการออกแบบ ผังงาน (Flow Chart)
การเขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำ: คำสั่ง while คำสั่ง do….while
บริษัท พัฒนาวิชาการ (2535) จำกัด
บทที่ 9 การทำซ้ำ (Loop).
State Table ตารางสถานะ ปรับปรุง 18 เมษายน 2562
SMS News Distribute Service
บทที่7 ทฤษฎีกราฟเบื้องต้น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑาวุฒิ จันทรมาลี
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
การสร้างแบบสอบถาม และ การกำหนดเงื่อนไข.
บรรยายครั้งที่ 8 - กราฟฟิกวิศวกรรม 1
บทที่ 9 การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting)
บทที่ 7 การประมวลผลอาร์เรย์
บทที่ 8 การแก้ไขข้อผิดพลาดโปรแกรม(Debugging)
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
งานนำเสนอสำหรับโครงการ นิทรรศการวิทยาศาสตร์
กิจกรรมที่ 7 นายปรีชา ขอวางกลาง
ชัยพฤกษ์รัตนาธิเบศร์ - วงแหวน
บทที่ 4 การจำลองข้อมูลและกระบวนการ (Data and Process Modeling)
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน การเขียนโปรแกรมแบบทางเลือก
Decision: Single and Double Selection (if and if-else statement)
บทที่ 7 การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม
Class Diagram.
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

School of Information & Communication Technology Process Description Start Sanchai Yeewiyom School of Information & Communication Technology University of Phayao Next

Process Description วัตถุประสงค์ เพื่อให้สามารถอธิบายการประมวลผลได้อย่างชัดเจนถูกต้อง เพื่อให้รู้จักเครื่องมือที่ช่วยในการอธิบายการประมวลผลแบบ ต่าง ๆ คือการใช้โครงสร้างภาษา (Structured Language) ตาราง การตัดสินใจ (Decision Table) และผังต้นไม้ (Decision Tree) เพื่อให้สามารถเลือกใช้เครื่องมือดังกล่าวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม กับการประมวลผล เพื่อให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของแผนภาพการไหลของข้อมูล (Data Flow Diagram) พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) และการอธิบายการประมวลผล (Process Description) Back Next

จุดมุ่งหมายในการใช้การอธิบายการประมวลผล จุดมุ่งหมายในการใช้การอธิบายการประมวลผลสรุปได้ 3 ข้อ คือ เพื่อให้การประมวลผลนั้นชัดเจน เข้าใจง่าย การใช้วิธีนี้ทำให้ผู้วิเคราะห์ได้เรียนรู้รายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนในการประมวลผลการทำงาน ส่วนที่ไม่ชัดเจนต่าง ๆ จะถูกบันทึก และเขียนออกมาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจถูกต้องในการอธิบายในรูปแบบเฉพาะของการประมวลผลนั้นระหว่าง System Analyst และ Programmer Back Next

จุดมุ่งหมายในการใช้การอธิบายการประมวลผล เพื่อตรวจสอบการออกแบบระบบ การประมวลผลเพื่อนำข้อมูลเข้าระบบ การออกรายงานทางหน้าจอ และการพิมพ์รายงานต้องเป็นไปตามการวิเคราะห์ตามแผนภาพการไหลของข้อมูล ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากการอธิบายการประมวลผล โดยให้ผู้ใช้ระบบช่วยพิจารณาตรวจสอบซึ่งผู้ใช้สามารถตรวจสอบได้สะดวก Back Next

ประเภทของการประมวลผลที่ไม่ต้องมีการอธิบายการประมวลผล การประมวลผลที่ใช้การแทนที่ทางกายภาพในส่วนของการนำข้อมูลเข้าระบบ หรือการออกรายงานที่เป็นรูปแบบที่ไม่ซับซ้อน เช่น การอ่านค่า การเขียนค่า ฯลฯ การประมวลผลที่แทนที่กระบวนการตรวจสอบข้อมูล การแก้ไขข้อมูล ซึ่งแสดงรายละเอียดไว้ในพจนานุกรมข้อมูลหรือมีอยู่ในรหัสโปรแกรม การประมวลผลที่เป็นการประมวลผลในลักษณะการดึงฟังก์ชันที่มีอยู่เดิมหรือเป็นการใช้โปรแกรมย่อยมาใช้ซึ่งมีการอธิบายการประมวลผลนี้มาอย่างน้อยหนึ่งครั้งแล้ว Back Next

เครื่องมือที่ช่วยในการอธิบายการประมวลผล Back โครงสร้างภาษา (Structured Language) ตารางการตัดสินใจ (Decision Table) ผังต้นไม้ (Decision Tree) Next

Data Flow Diagram Process Specification and Logic ความสัมพันธ์ระหว่างแผนภาพการไหลของข้อมูล (Data Flow Diagram) และการอธิบายการประมวลผล (Process Description) Data Flow Diagram Process Specification and Logic Back โครงสร้างภาษา (Structure Language) Action 1 . Action N การประมวลผล การประมวลผล ตารางการตัดสินใจ (Decision Table) เงื่อนไข กฎ กิจกรรม การกระทำ Next ผังต้นไม้ 30 10 20 50 40

โครงสร้างภาษา (Structured Language) Back วิธีนี้เป็นการใช้ภาษาในการเขียนอธิบายขั้นตอนในการประมวลผล เนื่องจากการเขียนโปรแกรมส่วนใหญ่จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักในการเขียน ดังนั้น โครงสร้างของการประมวลผลจึงมักนิยมใช้ภาษาอังกฤษในการอธิบายคำเฉพาะ Next

ลักษณะการเขียนอธิบายการประมวลผลแบบโครงสร้างภาษา หลักการโดยทั่วไปในขั้นตอนของการประมวลผลนั้น ประกอบด้วยโครงสร้าง 4 ส่วนดังตาราง ลักษณะโครงสร้างภาษา คำอธิบาย ตัวอย่างการเขียน Back กิจกรรม 1 กิจกรรม 2 . กิจกรรม N 1. การเรียงลำดับกิจกรรม (Sequence Structure) เขียนกิจกรรมตามลำดับการเกิดก่อนหลังโดยปฏิบัติกิจกรรมจากบนลงล่าง คลิกดูตัวอย่าง 2. การตัดสินใจ (Decision Structure) เขียนเงื่อนไขที่ต้องพิจารณาและ ผลลัพธ์ในการกระทำ ถ้าเป็นไปตามเงื่อนไขนั้น ถ้า (IF) เงื่อนไขเป็นจริง แล้ว (THEN) ให้ทำกิจกรรม ก มิฉะนั้น (ELSE) ให้ทำกิจกรรม ข คลิกดูตัวอย่าง กรณีที่ 1 (CASE 1) เงื่อนไข A เป็นจริงกระทำกิจกรรม ก กรณีที่ 2 (CASE 2) เงื่อนไข B เป็นจริงกระทำกิจกรรม ข กรณีที่ N (CASE N) เงื่อนไข Z เป็นจริง กระทำกิจกรรม ฮ 3. การเกิดหลายกรณี (Case Structure) เขียนเพื่ออธิบายการประมวลผลที่เกิดหลายเงื่อนไข และหลายกรณีที่ต้องกระทำกิจกรรม Next คลิกดูตัวอย่าง 4. กรณีทำซ้ำ (Iteration) เขียนเพื่ออธิบายการประมวลผลที่เกิดขึ้นจากกรณีที่มีการกระทำซ้ำเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด กระทำขณะ (DO WHILE) ที่เป็นเงื่อนไข A กิจกรรม 1 . กิจกรรม N สิ้นสุดการกระทำ (END DO) คลิกดูตัวอย่าง

การเรียงลำดับกิจกรรม Back การฝากเงิน ป้อนเลขที่บัญชีผู้ฝาก ตรวจสอบเลขที่บัญชีผู้ฝากถูกต้อง ป้อนจำนวนเงิน ปรับปรุงยอดเงินฝากในบัญชี พิมพ์รายการฝากเงินพร้อมยอดลงในสมุดฝาก Next

การตัดสินใจ การปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด การคำนวณเบี้ยประกัน ถ้า ผู้เอาประกันมีอายุน้อยกว่า 26 ปี แล้ว เบี้ยประกันคือ 1,000 บาทต่อเดือน มิฉะนั้น เบี้ยประกันคือ 2,000 บาทต่อเดือน Back Next

การเกิดหลายกรณี การให้ยา กรณีที่ 1 ผู้ป่วยเป็นผู้ใหญ่เพศชาย กรณีที่ 1 ผู้ป่วยเป็นผู้ใหญ่เพศชาย ให้วิตามินซี กรณีที่ 2 ผู้ป่วยเป็นผู้ใหญ่เพศหญิง ให้วิตามินบี กรณีที่ 3 ผู้ป่วยเป็นเด็ก ให้วิตามินรวม Back Next

กรณีทำซ้ำ การพิมพ์ใบแจ้งหนี้ กระทำขณะที่ มีรายการผู้เป็นหนี้ Back การพิมพ์ใบแจ้งหนี้ กระทำขณะที่ มีรายการผู้เป็นหนี้ พิมพ์ใบแจ้งหนี้ สิ้นสุดเมื่อ ไม่มีรายการผู้แจ้งหนี้ Next

เทคนิคในการเขียนโครงสร้างภาษา มีดังนี้ 1. การใช้แนวเส้นช่วยให้อ่านการอธิบายการประมวลผลแบบโครงสร้างภาษาได้ง่าย 2. การใช้ชื่อตัวแปรต่าง ๆ ต้องให้ตรงกับที่เขียนไว้ในพจนานุกรมข้อมูลและคำสั่งต่างๆ ตามการประมวลผล แต่ถ้าหากเป็นสูตรคำนวณ การเปรียบเทียบค่าอาจใช้ประโยคทางคณิตศาสตร์ เขียนได้โดยตรง ถ้าเป็นคำสั่งหรือกริยาต่างๆ ให้เขียนแทนด้วยตัวอักษรตัวแรกของคำเป็นตัวใหญ่ตามด้วยตัวเล็ก ส่วนตัวแปรต่าง ๆ จะใช้ตัวใหญ่ทั้งหมด 3. ให้ระวังการใช้คำ “และ (And)” / “หรือ (Or)” ให้มาก เนื่องจากความหมายของคำทั้งสองต่างกันในการเขียนโปรแกรม Back คลิกดูตัวอย่าง Next

เทคนิคการเขียนโดยใช้แนวบรรทัดช่วย Back IF Action 1 Action 2 Action 3 ELSE Action 4 Action 5 Action 6 ถ้า เงื่อนไข A กิจกรรมที่ 1 ถ้า เงื่อนไข B กิจกรรมที่ 2 มิฉะนั้น กิจกรรมที่ 3 ถ้า เงื่อนไข C กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 5 Next

โครงสร้างภาษา (Structured Language) Back Next

โครงสร้างภาษา (Structured Language) Back Next

โครงสร้างภาษา (Structured Language) Back Next

โครงสร้างภาษา (Structured Language) Back Next

โครงสร้างภาษา (Structured Language) Back Next

ตารางการตัดสินใจ (Decision Table) Back ตารางการตัดสินใจมาใช้ในลักษณะของการตัดสินใจ (Decision Structure) และการเกิดหลายกรณี (Case Structure) โดยตารางแบ่งเป็น 4 ส่วน ด้วยกัน ช่องบนซ้ายมือ คือ เงื่อนไข ช่องบนขวามือ คือ กฎ ช่องล่างซ้ายมือ คือ กิจกรรม และช่องล่างขวามือ คือ การกระทำ Next

รูปแสดงหลักการเขียนตารางการตัดสินใจ Back เงื่อนไข กฎ กิจกรรม การกระทำ Next

ขั้นตอนการอธิบายการประมวลผลแบบตารางการตัดสินใจ (Decision Table) พิจารณาว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ใช้ในการตัดสินใจของการประมวลผลนั้น และดูเงื่อนไขในการตัดสินใจว่ามีเงื่อนไขใดบ้าง เขียนลงในช่องบนซ้ายมือ (ช่องเงื่อนไข) ของตารางเรียงเงื่อนไขแต่ละเงื่อนไขลงมาจนครบทุกเงื่อนไข พิจารณากิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเขียนลงในตารางการตัดสินใจ ช่องล่างด้านซ้ายมือ (ช่องกิจกรรม) เรียงกิจกรรมแต่ละกิจกรรมลงมาจนครบทุกกิจกรรม Back Next

ขั้นตอนการอธิบายการประมวลผลแบบตารางการตัดสินใจ (Decision Table) ตัดสินใจถึงความสัมพันธ์ของเงื่อนไขที่มีผลต่อกิจกรรมซึ่งจะเกิดเป็นกฎที่ใช้ตัดสินใจให้เกิดการกระทำ (กิจกรรมนั้น) เขียนเป็นกฎแต่ละข้อเรียงไปในแนวตั้งของช่องบนขวามือ (ช่องกฎ) โดยใส่ “ใช่ (Y)” เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขนั้นให้ตรงกับแถวของเงื่อนไขนั้นและใส่ “ไม่ (N)” ในกรณีที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขนั้นให้ตรงกับแถวของเงื่อนไขนั้น โดยทั่วไปสามารถคำนวณได้เป็น 2n โดยที่ n คือจำนวนเงื่อนไข Back Next

ขั้นตอนการอธิบายการประมวลผลแบบตารางการตัดสินใจ (Decision Table) Back ใส่ “กากบาท (X)” ให้ตรงกับกิจกรรมที่จะต้องกระทำ (Action) ในช่องล่างขวามือ (ช่องการกระทำ) เมื่อเป็นไปตามกฎนั้น ถ้าไม่เกิดการกระทำกับกิจกรรมใดให้ขีดเส้น (-) แทน หรือเว้นว่างที่ช่องนั้น Next

ตัวอย่างตารางการตัดสินใจในการจ่ายค่าคอมมิชชั่น ตัวอย่างตารางการตัดสินใจในการจ่ายค่าคอมมิชชั่น โดยใช้ตารางตัดสินใจเพื่อ อธิบายการจ่ายค่าคอมมิชชั่น โดยดูจากยอดขายของพนักงานคนนั้น และยอดขาย ของแผนก โดยมีเงื่อนไขคือ กำหนดยอดขายของพนักงานมากกว่า 50,000 บาท และยอดขายทั้งแผนกมากกว่า 1 ล้านบาท พนักงานคนนั้นจะได้ค่าคอมมิชชั่น 5% พร้อมจดหมายเชิดชูเกียรติ และได้เลื่อนตำแหน่ง ถ้าหากยอดขายของ พนักงานคนนั้นได้มากกว่า 50,000 บาท แต่ยอดขายของทั้งแผนกได้ไม่มากกว่า 1 ล้านบาท จะได้ค่าคอมมิชชั่น 2% พร้อมจดหมายเชิดชูเกียรติ ถ้าหากยอดขาย ของพนักงานไม่มากกว่า 50,000 บาท และยอดขายของทั้งแผนกมากกว่า 1 ล้าน บาท พนักงานคนนั้นจะได้ค่าคอมมิชชั่น 5% พร้อมจดหมายเชิดชูเกียรติ ถ้าหาก ยอดขายของพนักงานไม่มากกว่า 50,000 บาท และยอดขายทั้งแผนกไม่มากกว่า 1 ล้านบาท พนักงานคนนั้นจะไม่ได้รับอะไรเลย ซึ่งจะใช้เป็นหลักในการเขียนตารางได้ดังนี้ Back Next

ตัวอย่างตารางการตัดสินใจในการจ่ายค่าคอมมิชชั่น 1. เงื่อนไขในการจ่ายค่าคอมมิชชั่นมี 2 เงื่อนไข คือ ยอดขายของทั้งแผนกเกินกว่า 1 ล้านบาท หรือผู้ขายนั้นสามารถขายสินค้าได้มากกว่า 50,000 บาท ซึ่งจะเขียนลงในตารางทางด้านบนซ้ายมือ (ช่องเงื่อนไข) 2. กิจกรรมที่เกิดขึ้นในการจ่ายค่าคอมมิชชั่น คือ จ่ายค่าคอมมิชชั่นเป็น 2% จ่ายค่าคอมมิชชั่นเป็น 5%ของยอดขาย ให้จดหมายเชิดชูเกียรติและได้เลื่อนตำแหน่ง ซึ่งจะเขียนลงในตารางทางด้านล่างซ้ายมือ (ช่องกิจกรรม) 3. กฎที่ได้คือ 22 = 4 ข้อ ใส่กฎต่างๆที่เป็นไปได้ทั้งหมด คือใส่ “ใช่ (Y)” เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขนั้นให้ตรงกับแถวของเงื่อนไข และใส่ “ไม่ (N)” เมื่อไม่เป็นไปตามเงื่อนไขนั้นให้ครบทุกกรณี 4. ใส่กากบาท (X) เมื่อมีการกระทำกิจกรรมนั้น โดยพิจารณาจากเนื้อหาดังสไลด์ถัดไป Back Next

ตัวอย่างตารางการตัดสินใจในการจ่ายค่าคอมมิชชั่น กฎที่ 1 ผู้ขายนั้นสามารถขายสินค้าได้มากกว่า 50,000 บาทและยอดขายทั้งแผนกมากกว่า 1 ล้านบาท แล้วการกระทำคือ ค่าคอมมิชชั่นเป็น 5% ของยอดขาย และให้จดหมายเชิดชูเกียรติ และได้เลื่อนตำแหน่ง กฎที่ 2 ผู้ขายนั้นสามารถขายสินค้าได้มากกว่า 50,000 บาท แล้วยอดขายทั้งแผนกไม่มากกว่า 1 ล้านบาท การกระทำคือ ค่าคอมมิชชั่นเป็น 2% ของยอดขาย และได้รับจดหมายเชิดชูเกียรติ กฎที่ 3 ผู้ขายนั้นสามารถขายสินค้าได้ไม่มากกว่า 50,000 บาท และยอดขายทั้งแผนกได้มากกว่า 1 ล้านบาท แล้วค่าคอมมิชชั่นเป็น 5% ของยอดขาย และได้รับจดหมายเชิดชูเกียรติ กฎที่ 4 ผู้ขายนั้นไม่สามารถขายสินค้าได้มากกว่า 50,000 บาท และยอดขายของทั้งแผนกได้ไม่มากกว่า 1 ล้านบาท ดังนั้นจึงไม่ได้รับผลใดๆ ดังนั้นช่องการกระทำในกฎข้อนี้จึงเป็นช่องว่าง จะได้ตารางดังสไลด์ถัดไป Back Next

ตัวอย่างตารางการตัดสินใจในการจ่ายค่าคอมมิชชั่น Back Next

การปรับปรุงตารางการตัดสินใจ เนื่องจากในการสร้างตารางการตัดสินใจนั้นจะเป็นการสร้างตารางให้ครอบคลุมเงื่อนไข และกิจกรรมต่างๆให้ครบถ้วน ซึ่งเมื่อนำตารางนี้ไปทำการเขียนรหัสโปรแกรม อาจจะมีกฎบางข้อของตารางนั้นที่ไม่จำเป็นต้องเขียนรหัสโปรแกรม เนื่องจากมีกฎบางข้อที่ครอบคลุมกฎข้อนั้นได้ ซึ่งจะเรียกกฎข้อนั้นว่าเป็น กฎที่ฟุ่มเฟือย (Redundant Rule) และในตารางบางตารางที่สร้างขึ้นอาจมี กฎบางข้อที่ขัดแย้งกัน (Contradiction Rule) ซึ่งจะทำให้เกิดมีปัญหาในการกระทำได้ ซึ่งต้องมีการตรวจสอบและหาข้อสรุปก่อนนำไปใช้ Back Next

ตารางที่มีกฎที่ฟุ่มเฟือยและมีกฎที่ขัดแย้งกัน Back กฎที่ฟุ่มเฟือย Next กฎที่ฟุ่มเฟือย

ตารางที่มีการแก้ไขกฎที่ฟุ่มเฟือยและมีกฎที่ขัดแย้งกัน Back Next

Decision Table - Jacket Weather Determine whether you need to wear a light jacket, heavy jacket, or no jacket at all when you leave the house. You need a heavy jacket if the temperature is below 50 degrees. You can make do with a light jacket if the temperature is between 50 and 70. At 70 and above you only need a light jacket if there is precipitation. There will be 6 rules. The first condition (Is there precipitation?) has two possible outcomes, yes or no. The second condition (temperature) has three possible outcomes. Two times three is 6. Back Next

Decision Table - Jacket Weather Conditions 1 2 3 4 5 6 1. Precipitation? Y N 2. Temperature Less than 50 Between 50-70 More than 70 Actions 1. Heavy Jacket X 2. Light Jacket 3. No Jacket Back Next

ประเภทของตารางการตัดสินใจ ตารางการตัดสินใจที่จำกัดหัวข้อ (Limited-Entry Form) จะเป็นตารางการตัดสินใจที่มีการจำกัดหัวข้อในการเช็คเงื่อนไข และการกระทำกิจกรรม นั่นคือจะมีเพียงการเช็คว่า “ใช่ (Y)” หรือ “ไม่ (N)” หรือไม่ต้องเช็คเงื่อนไข “-” และในการกระทำกิจกรรมก็เช่นกันมีเพียงกระทำ “X” หรือไม่กระทำ “ - ”, “ ” เท่านั้น ตารางการตัดสินใจที่ไม่จำกัดหัวข้อ (Extended-Entry Form) จะเป็นตารางการตัดสินใจที่ไม่มีการจำกัดหัวข้อในการตรวจสอบเงื่อนไขและการกระทำกิจกรรม คือมีเงื่อนไขอย่างไรก็ได้ มีการกระทำอย่างไรก็ได้ไม่จำกัดหัวข้อ Back คลิกดูตัวอย่าง Next คลิกดูตัวอย่าง

ประเภทของตารางการตัดสินใจ Back ตารางการตัดสินใจที่ผสมหัวข้อ (Mixed-Entry Form) เป็น ตารางการตัดสินใจที่ผสมระหว่างการจำกัดหัวข้อ และไม่จำกัดหัวข้อในการตรวจสอบเงื่อนไข และการกระทำกิจกรรม ตารางการตัดสินใจที่มีหัวข้ออื่น (ELSE Form) จะเป็นตารางการตัดสินใจที่มีหัวข้ออื่นที่นอกเหนือจากที่แสดงในกฎของตาราง นั่นคือใช้ “อื่น ๆ (ELSE)” แทนกฎข้ออื่นที่นอกเหนือจากที่มีในตารางนั้น คลิกดูตัวอย่าง Next คลิกดูตัวอย่าง

ตารางการตัดสินใจที่จำกัดหัวข้อ 1 Back Next

ตารางการตัดสินใจที่จำกัดหัวข้อ 2 Back Next

ตารางการตัดสินใจที่ไม่จำกัดหัวข้อ Back Next

ตารางการตัดสินใจที่ผสมหัวข้อ Back Next

ตารางการตัดสินใจที่มีหัวข้ออื่น 1 Back Next

ตารางการตัดสินใจที่มีหัวข้ออื่น 2 Back Next

หลักการถ่ายทอดข้อมูลระหว่างตาราง Back การถ่ายทอดข้อมูลโดยตรง (Direct Transfer) เป็นการถ่ายทอดข้อมูลโดยมีการกำหนดชื่อตารางที่ต้องการส่งผ่านการตัดสินใจไปยังตารางนั้น โดยไม่มีการย้อนกลับไปที่ตารางเดิมอีก การถ่ายทอดชั่วคราว (Temporary Transfer) คือ การถ่ายทอดข้อมูลโดยมีการกำหนดชื่อตารางที่ต้องการส่งผ่านการตัดสินใจไปยังตารางอื่นชั่วคราว โดยเมื่อเสร็จจากการใช้ตารางนั้นแล้วจะย้อนกลับไปที่ตารางเดิมอีกครั้ง คลิกดูตัวอย่าง Next คลิกดูตัวอย่าง

การถ่ายทอดข้อมูลโดยตรง Back ตาราง 2 ไปที่ตาราง 2 X ใส่กิจกรรมเพิ่มในช่องกิจกรรมว่าไปที่ตาราง 2 เมื่อกฎข้อนั้นมีการกระทำ คือ “ไปที่ตาราง 2” ก็ไปเช็คที่ตาราง 2 โดยไม่มีการย้อนกลับมาที่ตาราง 1 อีก Next

การถ่ายทอดข้อมูลชั่วคราว Back ตารางที่ 2 X ไปที่ตาราง 2 ชั่วคราว X ย้อนกลับ X Next ใช้ “ไปที่ตาราง 2 ชั่วคราว” ในช่องกิจกรรม เมื่อกฎข้อนั้นมีผลการกระทำ คือ ต้องไปที่ตาราง 2 ชั่วคราว ก็จะทำการส่งข้อมูลไปยังตารางที่ 2 และเมื่อใช้ตารางที่ 2 และผลการกระทำคือ “ย้อนกลับ” ก็จะส่งค่ากลับมาที่ตารางเดิม

ตารางการตัดสินใจ (Decision Table) Back Next

ตารางการตัดสินใจ (ปรับปรุง) Back Next

ผังต้นไม้ (Decision Tree) Back วิธีนี้เป็นการใช้ผังต้นไม้ในการเขียนอธิบายการประมวลผลโดยจำลองกิ่งก้านสาขาของต้นไม้เป็นหลักโดยแตกจากรากทางซ้ายมือ แตกเป็นกิ่งอยู่ทางขวามือ แตกกิ่งไปเรื่อย ๆ จนครบเงื่อนไขทั้งหมดและกิ่งสุดท้ายของทุกกิ่งคือกิจกรรมที่ต้องกระทำ เมื่อเป็นตามเงื่อนไขนั้น Next

ขั้นตอนการสร้างผังต้นไม้ Back เขียนเริ่มต้นจากรากแตกกิ่งไปตามจำนวนเงื่อนไขที่เป็นไปตามกฎโดยพิจารณาเงื่อนไขที่เกิดขึ้นในการตัดสินใจเริ่มแรก แตกกิ่งของเงื่อนไขแรกนั้นเป็นเงื่อนไขถัดไป แตกกิ่งของเงื่อนไขต่อไป จนกระทั่งหมดเงื่อนไขที่เกิดขึ้น เขียนกิ่งของกิจกรรมที่จะต้องกระทำเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขจากรากไปปลายกิ่งเงื่อนไขแต่ละกิ่ง Next

หลักการสร้างผังต้นไม้ Back Next

ตัวอย่างการเขียนผังต้นไม้ ได้รับ 5% ของยอดขาย ได้รับจดหมายเชิดชูเกียรติ ได้เลื่อนตำแหน่ง Back ยอดขาย > 50,000 บาท ยอดขายทั้งแผนก > 1 ล้านบาท ได้รับ 5% ของยอดขาย ได้รับจดหมายเชิดชูเกียรติ ยอดขาย <= 50,000 บาท ได้รับ 2% ของยอดขาย ได้รับจดหมายเชิดชูเกียรติ ยอดขาย > 50,000 บาท Next ยอดขายทั้งแผนก <= 1 ล้านบาท ยอดขาย <= 50,000 บาท

ผังต้นไม้ (Decision Tree) Back Next

ผังต้นไม้ (Decision Tree) Back Next

ผังต้นไม้ (Decision Tree) Back Next

เทคนิคในการเลือกวิธีการอธิบายการประมวลผล จะเลือกวิธีโครงสร้างภาษา (Structure Language) เมื่อ - การประมวลผลนั้นเป็นกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่มีการกระทำไป ตามลำดับและมีการกระทำซ้ำ จะเลือกวิธีใช้ตารางการตัดสินใจ (Decision Table) เมื่อ - เงื่อนไขกิจกรรมที่จะกระทำและกฎในการประมวลผลมีความ ซับซ้อนมาก - เมื่อการประมวลผลนั้นมีกฎต่าง ๆ ที่ขัดแย้งและเกิดกรณีฟุ่มเฟือยได้ จะเลือกวิธีผังต้นไม้ (Decision Tree) เมื่อ - การเกิดเงื่อนไขต่าง ๆ และการกระทำกิจกรรมเป็นไปตามลำดับ ก่อนหลัง - กรณีที่มีเงื่อนไขหลากหลายแบบ ในการแตกกิ่งที่แตกต่างกันไป โดย เงื่อนไขไม่จำกัด Back Next

สรุป Back การอธิบายการประมวลผลนั้นมีเครื่องมือที่ช่วยในการอธิบาย คือ การใช้โครงสร้างภาษา (Structured Language) ตารางการตัดสินใจ (Decision Table) และผังต้นไม้ (Decision Tree) ซึ่งแต่ละวิธีมีหลักการเขียนที่ต่างกัน แต่ผลที่ต้องการคือการนำไปใช้เพื่อให้สามารถอธิบายการประมวลผลได้ชัดเจนถูกต้อง ทำให้เกิดความเข้าใจการประมวลผลระหว่างนักวิเคราะห์ระบบกับโปรแกรมเมอร์ได้ถูกต้องและเพื่อใช้เป็นการตรวจสอบการออกแบบระบบในการลงรหัสโปรแกรม การเลือกใช้เครื่องมือในการอธิบายการประมวลผลนั้นควรเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะการประมวลผล Next

Homework บริษัท กู้แล้วจน กำหนดเงื่อนไขการกู้ยืมเงินของบริษัทว่า สามารถกู้ได้ไม่เกิน 50% ของเงินเดือนที่ผู้กู้ได้รับ แต่ถ้าเงินเดือน มากกว่า 50,000 บาท จะสามารถกู้ได้ไม่เกิน 30,000 บาท และถ้า มากกว่า 100,000 บาท จะสามารถกู้ได้ไม่เกิน 50,000 บาท จงเขียนการอธิบายการประมวลผลโดยวิธีโครงสร้างภาษา จงเขียนการอธิบายการประมวลผลโดยตารางการตัดสินใจ จงเขียนการอธิบายการประมวลผลโดยผังต้นไม้ Back Stop