บทที่ 2 ระบบเครือข่ายและอินเทอร์เน็ต

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การบริหารจัดการระบบเครือข่าย (Network management system)
Advertisements

ตัวอย่างการใช้ประโยชน์ของการสื่อสาร
หนังสืออ้างอิง Course Syllabus
เครือข่ายการสื่อสารข้อมูลท้องถิ่น
เนื้อหา วัตถุประสงค์ของการใช้ระบบเครือข่าย
4/4/2017 การสื่อสารข้อมูล เทคโนโลยีเพื่อการส่งสัญญานข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยมีองค์ประกอบพื้นฐาน 4 อย่าง คอมพิวเตอร์ หรือ หน่วยรับข้อมูล หรือ.
Internet, & Network โดย ศน.ไพฑูรย์ ปลอดอ่อนและ อ.ศรชัย เกษมสุข.
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network)
Data Communication and Network
การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
Data transfer rate(bandwidth) protocol file server web server.
Chapter 3 เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
กิจกรรมที่ เครือข่ายและ Internet explorer จุดมุ่งหมาย ให้ผู้เรียนรู้จักการใช้ประโยชน์ จากเครือข่าย ให้ผู้เรียนรู้จักการใช้ประโยชน์ จากเครือข่าย ให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการเผยแพร่
INTERN ET Internet คือ อะไร ? เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่ที่ทำการ เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หลายล้านเครื่องกว่า 130 ประเทศทั่วโลกเข้า ด้วยกัน มีบริการต่าง.
Network Management and Design
NETWORK.
บทที่ 7 Networks and Data Communications
เครือข่ายคอมพิวเตอร์และ อินเทอร์เน็ต. LAN Overview LANs were created to save time, money, and enable users to share information and resources more easily.
BY KIADTIPONG YORD. CHANDRA 2004 :: COMPUTER NETWORK ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการกระจาย Computer Network and Distributed เทคโนโลยี Internet Internet.
© 2006 Cisco Systems, Inc. All rights reserved.Cisco PublicITE I Chapter 6 1 CCNA Cisco Certified Network Associate.
OSI Network Layer TCP/IP Internet Layer วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย นายวุฒิชัย คำมีสว่าง.
CSIT-URU อ. กฤษณ์ ชัยวัณณคุปต์ Mathematics and Computer Program, URU บทที่ 3 ระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ Computer Network System.
การสื่อสารข้อมูล.
ศูนย์ข้อมูลกลางเพื่อบริหารจัดเก็บและใช้ประโยชน์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
โรงเรียนห้วยเม็กวิทยาคม
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต
2.4 โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Topologies)
Information Technology For Life
การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
บทที่ 8 เครือข่ายการสื่อสารทางไกลระหว่างประเทศ
HTML5 (Hypertext Markup Language 5)
การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
Wireless Network เครือข่ายไร้สาย
บทที่ 6 โลกของเครือข่าย.
บทที่ 4 อินเตอร์เน็ต.
การติดตั้งระบบเครือข่ายภายในสถานีตำรวจ
Computer Network.
ความรู้พื้นฐานกล้องไอพี
อินเทอร์เน็ตและบริการออนไลน์
เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต Internet Technology
การเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน สวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการ
TCP/IP Protocol นำเสนอโดย นส.จารุณี จีนชาวนา
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
LAB03 : BASIC NETWORK DESIGN
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 1 : Introduction to Data Communication and Computer Network Part2 สธ313 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ.
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (COMPUTER NETWORK)
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า
อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น
การบริหารความปลอดภัยสารสนเทศ
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ เบื้องต้น
บทที่ 4 การใช้งานอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น Introduction to Internet
3.2 อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายสารสนเทศ ครั้งที่ 1
การสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่าย
การสื่อสารโทรคมนาคมและเครือข่าย
สรุปรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือน เมษายน 2555
คลิก Start เพื่อเข้าสู่เกม
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ขั้นสูง
บทที่ 4 อินเตอร์เน็ต.
อบรมการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น หัวข้อ การคีย์ใบงาน IT Service สำหรับผู้ใช้บริการ โดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ศูนย์การแพทย์ ฯ.
งานระบบเครือข่าย (Networking System and Internet Services )
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ Internet
เครือข่ายการเรียนรู้
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์
การพัฒนา IT ให้บูรณาการเข้ากับโครงสร้างและระบบงาน
การพัฒนาเว็บไซต์ ในงานธุรกิจ
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
บทที่ 5 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสาร Part2
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 2 ระบบเครือข่ายและอินเทอร์เน็ต รหัสวิชา: TAH2201 รายวิชา: เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการท่องเที่ยวและการโรงแรม

เนื้อหาย่อย 1. ความหมายของระบบเครือข่าย (Networking) 2. โครงร่างของเครืองข่าย (Topology) 3. องค์ประกอบพื้นฐานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 4. ประเภทของเครือข่าย (Categories of Network) 5. อินเทอร์เน็ต (Intranet) 6. เงื่อนไขของเครือข่าย (Network Criteria) 7. ความปลอดภัยของระบบเครือข่าย

1. ความหมายของระบบเครือข่าย (Networking) เครือข่าย หรือที่มักเรียกติดปากว่า เน็ตเวิร์ก (network) ก็คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารชนิดต่าง ๆ ที่นำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้ในเครืข่าย สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกันในเครือข่ายได้ ตัวอย่างของเครือข่ายที่เราคุ้นเคย ได้แก่ เครือข่ายของโทรศัพท์ เครือข่ายดาวเทียม เครือข่ายวิทยุ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยช่องทางที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน เรียกว่า ช่องสัญญาณ (communication channel)

1. ความหมายของระบบเครือข่าย (Networking) (ต่อ)

1. ความหมายของระบบเครือข่าย (Networking) (ต่อ) ปรเมศวร์ ห่อแก้ว (2550: 6) ได้ให้ความหมายของ เครือข่าย (Network) คือ กลุ่มของอุปกรณ์ (Devices) ซึ่งเชื่อมต่อการด้วยเส้นทางการสื่อสาร (Links) ในระบบคอมพิวเตอร์ เราอาจนิยาม เครือข่าย (Network) แหล่งข้อมูล: https://www.slideshare.net/tumetr/graph-43943214

1. ความหมายของระบบเครือข่าย (Networking) (ต่อ) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึง เครืองข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปด้วยกัน เพื่อแลกเปลี่ยนสารสนเทศและใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ร่วมกัน โดยผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายได้หลายๆ รูปแบบตามความต้องการและเหมาะสมกับการใช้งาน และสภาพแวดล้อม

2. โครงร่างของเครืองข่าย (Topology)

3. องค์ประกอบพื้นฐานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การที่คอมพิวเตอร์จะสามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ ต้องมีองค์ประกอบพื้นฐาน ดังต่อไปนี้ 1. คอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่อง ขึ้นไป เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล สื่อสารในลักษณะต่างๆ ตามวัตถุประสงค์การใช้งาน

3. องค์ประกอบพื้นฐานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) 2. เน็ตเวิร์คการ์ด หรือ NIC (Network Interface Card) เน็ตเวิร์คการ์ดเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย ส่วนใหญ่จะเรียกว่า NIC (Network Interface Card) หรือบางทีเรียกว่า แลนการ์ด (LAN Card) อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่แปลงข้อมูลเป็นสัญญาณที่สามารถส่งไปตามสายสัญญาณหรือสื่อแบบอื่นได้

3. องค์ประกอบพื้นฐานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) 3. สื่อกลางและอุปกรณ์สำหรับการรับส่งข้อมูล เช่น 3.1 สายสัญญาณ ที่นิยมใช้ในระบบเครือข่าย คือ สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) สายคู่บิดเกลียว (Twisted pair) เส้นใยแก้วนำแสง (Fiber Optic)

3. องค์ประกอบพื้นฐานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) 3.2 อุปกรณ์เครือข่าย มีดังนี้ - Hub ฮับ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงสัญญาณของอุปกรณ์เครือข่ายเข้าด้วยกัน การจะทำให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักกัน หรือส่งข้อมูลถึงกันได้จะต้องผ่านอุปกรณ์ตัวนี้ ปัจจุบันฮับถูกเปรียบเทียบกับ Switch ซึ่งมีความสามารถสูงกว่า และถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์มาตราฐานที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงสัญญาณในระบบเครือข่าย

3. องค์ประกอบพื้นฐานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) - SWITCH กับ HUB นั้นจะทำหน้าที่คล้าย กัน เพียงแต่ HUB นั้นเวลาส่งข้อมูลนั้ นจะเป็นแบบ broadcast กระจายไปทุกเครื่องแต ่ถ้าเป็น switch นั้น จะดูว่าข้อมูลนี่เป็น ของเครื่องไหนแล้วค่อยส่งไปยังเครื่องนั้น

3. องค์ประกอบพื้นฐานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) - Repeater รีพีตเตอร์หรือเครื่องทวนซ้ำสัญญาณ เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อสำหรับขยายสัญญาณให้เครือข่าย เพื่อเพิ่มระยะทางในการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายให้ไกลออกไปได้กว่าปกติ

3. องค์ประกอบพื้นฐานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) - Bridge บริดจ์ เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายของเครือข่ายที่แยกจากกัน แต่เดิมบริดจ์ได้รับการออกแบบมาให้ใช้กับเครือข่ายประเภทเดียวกัน เช่น ใช้เชื่อมโยงระหว่างอีเทอร์เน็ตกับ อีเทอร์เน็ต (Ethernet) บริดจ์จึงเป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างสองเครือข่ายการติดต่อภายในเครือข่ายเดียวกันมีลักษณะการส่ง ข้อมูลแบบกระจาย(Broadcasting) ที่มา: http://chatreehardware.blogspot.com/p/bridge-connection.html

3. องค์ประกอบพื้นฐานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) - Gateway เกตเวย์ Gateway เป็นจุดต่อเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ระบบเครือข่ายต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต เช่น เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างประเภทเข้าด้วยกัน เช่น การใช้เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ที่เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี (PC) เข้ากับคอมพิวเตอร์ประเภทแมคอินทอช (MAC) เป็นต้น เป็นประตูสื่อสาร ช่องทางสำหรับเชื่อมต่อข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่ต่างชนิดกันให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยทำให้ผู้ใช้บริการของคอมพิวเตอร์หนึ่งหรือในข่ายงานหนึ่งสามารถติดต่อเข้าสู่เครื่องบริการหรือข่ายงานที่ต่างประเภทกันได้ เป็นต้น

3. องค์ประกอบพื้นฐานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) - Router อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายซึ่งถ้าแปลความหมายคำว่า Route ก็คือ ถนนดังนั้น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วย Router ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ได้มากกว่าหนึ่งเครื่องในเวลาเดียวกัน หน้าที่หลักของ Router คือการหาเส้นทางใน การส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น

3. องค์ประกอบพื้นฐานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) 4. โปรโตคอล (Protocol) โปรโตคอลเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้สื่อสารกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่สามารถสื่อสารกันได้นั้นจำเป็นต้องใช้ภาษา หรือโปรโตคอลเดียวกัน เช่น OSI, TCP/IP, IPX/SPX เป็นต้น

3. องค์ประกอบพื้นฐานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) 5. ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หรือ NOS (Network Operating System) ระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะเป็นตัวที่คอยจัดการเกี่ยวกับการใช้งานเครือข่ายของผู้ใช้แต่ละคน หรือเป็นตัวจัดการและควบคุมการใช้ทรัพยากรต่างๆ ของเครือข่าย

4. ประเภทของเครือข่าย (Categories of Network) เครือข่ายสามารถจัดจําแนกตาม ขนาดของเครือข่าย บริเวณที่ครอบคลุม เจ้าของเครือข่าย และ สถาปัตยกรรม ออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. Local Area Network (LAN) 2. Metropolitan Area Network (MAN) 3. Wide Area Network (WAN)

4. ประเภทของเครือข่าย (Categories of Network) (ต่อ) 1. Local Area Network (LAN) เจ้าของ LAN มักได้แก่ เอกชน หรือหน่วยงานขนาดเล็ก และ เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์ ภายในสํานักงาน อาคาร หรือ สถานศึกษา (ในปัจจุบันระยะทางจํากัดเพียง ไม่กี่กิโลเมตร) สถาปัตยกรรมของ LAN อาจเป็นเพียงการเชื่อมต่อ PCs กับ Printer ไปจนถึง ระดับเครือข่ายของอุปกรณ์สื่อผสม (Multimedia)

1. Local Area Network (LAN) 4. ประเภทของเครือข่าย (Categories of Network) (ต่อ) 1. Local Area Network (LAN)

4. ประเภทของเครือข่าย (Categories of Network) (ต่อ) 2. Metropolitan Area Network (MAN) เจ้าของ MAN มักได้แก่ รัฐผู้ปกครองท้องถิ่น หรือ องค์กรขนาดใหญ่ และเป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์ ภายในเมืองเดียวกัน สถาปัตยกรรมของ MAN อาจเป็นเพียงการเชื่อมต่อ LAN ตั้งแต่ 2 ระบบขึ้นไป หรือแม้แต่ระหว่างอุปกรณ์ เช่น Television Network

2. Metropolitan Area Network (MAN) 4. ประเภทของเครือข่าย (Categories of Network) (ต่อ) 2. Metropolitan Area Network (MAN)

4. ประเภทของเครือข่าย (Categories of Network) (ต่อ) 3. Wide Area Network (WAN) WAN คือ ระบบเชื่อมต่อเครือข่ายที่ครอบคลุม อาณาบริเวณกว้าง เพื่อการสื่อสารข้อมูลแบบสื่อผสม (Multimedia) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมต่อครอบคลุมทั่วประเทศหรือทั่วโลก โดยช่องทางการสื่อสารอาจจะเป็นสายเคเบิลระหว่างประเทศ ไมโครเวป หรือดาวเทียม เพื่อส่งข้อมูลไปยังผู้ใช้ที่อยู่ไกล

อินเทอร์เน็ต (Internet)

5. อินเทอร์เน็ต (Internet) อินเทอร์เน็ต (Internet) หรือ เน็ต (Net) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 เมื่อประเทศสหรัฐอเมริกาเริ่มทำโครงงานพัฒนาเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์สากลที่มีชื่อว่า อาร์พาเน็ต (ARPANET) หรือ เครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Project Agency Network)

5. อินเทอร์เน็ต (Internet) (ต่อ) เว็บ (Web) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1991 โดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปยุโรปเพื่อวิจัยและพัฒนาทางด้านนิวเคลียร์ (Center for European Nuclear Research: CERN) เป็นเว็บที่ออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้เพื่อให้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ

อินเทอร์เน็ต มีด้วยกัน 5 ยุค เว็บไซต์ที่ทำงานแบบ Artificial Intelligence (AI) ที่ฉลาดมากยิ่งขึ้น คอมพิวเตอร์สามารถคิดได้ ในการอ่านทั้งเนื้อหา ข้อความ และรูปภาพ หรือวีดีโอ ก็สามารถที่จะตอบสนองแล้วตัดสินใจได้ว่าจะ load ข้อมูลอะไร จากไหนที่จะให้ประสิทธิภาพดีที่สุดมาให้ผู้ใช้งานก่อน สามารถทำงานได้แทบจะทุก Device หรืออาจจะช่วยระบุตัวตนที่แท้จริงของผู้ใช้งาน เว็บ 4.0 มีการพัฒนาเพื่อสนับสนุนการสร้างเนื้อหาแบบคอนเทนต์แบบ ไดนามคิ (dynamic Content) มีการสื่อสารระหว่างกันทางสังคม เว็บ 2.0 ยุคที่ 2 ยุคที่ 4 จะมุ่งเน้นไปที่การเชื่อมโยงข้อมูล เว็บ 1.0 มุ่งเน้นวิธีการที่ข้อมูลจากอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันถูกนำมาเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างอัตนโนมัติ เว็บ 3.0 คือสภาพแวดล้อมในการรับชมเว็บไซต์ได้เสมือนจริง ที่แสดงผลเป็นโฮโลแกรม โดยใช้อุปกรณ์พิเศษในการใช้โฮโลแกรม เช่น ใช้โฮโลแกรมในการประชุมเสมือนจริงผ่านเว็บ เป็นต้น เว็บ 5.0 ยุคที่ 1 ยุคที่ 3 ยุคที่ 5

การใช้งานทั่วไป (Common Users) การสื่อสาร เป็นกิจกรรมทางอินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมมากที่สุด การเลือกซื้อสินค้า เป็นกิจกรรมบนอินเทอร์เน็ตที่เติบโตอย่างรวดเร็ว Shopping Communication การค้นหา การค้นหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต การศึกษา สามารถเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Education Searching ความบันเทิง ช่วยให้สามารถฟังเพลง ดูภาพยนต์ อ่านนิตยสาร เล่มเกม เป็นต้น Entertainment

ผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider) หรือ ไอเอสพี (ISP) ผู้ให้บริการทำการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และจัดเตรียมขั้นตอนหรือการเชื่อมต่อเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เช่น True, CAT, 3BB, AIS และ DTAC

เบราว์เซอร์ (Browser) เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้เข้าใช้ทรัพยากรต่างๆ บนเว็บไซต์ โดยสามารถเรียกดูข้อมูล ส่งข้อมูล แสดงข้อความ ภาพ และมัลติมีเดีย เว็บเบราว์เซอร์ คือ Safari, Google Chrome, Microsoft Internet Explorer และ Mozilla Firefox Browser Google Chrome Internet Explorer

เบราว์เซอร์ (Browser) (ต่อ) การที่เบราว์เซอร์จะเชื่อมไปยังแหล่งทรัพยากรต่างๆ ได้นั้น จะต้องระบุสถานที่ตั้ง (Location) หรือที่อยู่ของทรัพยากรซึ่งเรียกว่า URLs (Uniform Resource Locator) โดยจะประกอบด้วย

เบราว์เซอร์ (Browser) (ต่อ) โพรโตคอล (Protocol) ใช้ในการเชื่อมต่อกับแหล่งที่อยู่ของทรัพยากร เป็นกฎสำหรับการแลกเปลี่นข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ ซึ่ง http เป็นโพรโตคอลพื้นฐานสำคัญที่ใช้บนเว็บ โดเมน (Domain name) ซึ่งใช้ระบุเครื่องคอมพิวเตอร์ ชื่อโดเมนจะถูกแบ่งเป็นส่วนๆ คั่นด้วยจุด (.) ส่วนสุดท้ายของโดเมนเรียกว่า โดเมนระดับบนสุด (Top Level Domain: TLD) หรือรู้จักกันในชื่อ เว็บซัฟฟิก (Web suffix)

6. เงื่อนไขของเครือข่าย (Network Criteria) ดัชนีชี้วัดการทํางานของเครือข่ายที่สําคัญมี ดังต่อไปนี้ 1. สมรรถนะ (Performance) วัดได้จาก 1.1 เวลาที่ใช้ในการเดินทางของข่าวสาร ระหว่างอุปกรณ์ (Transit Time: TT) 1.2 เวลาตอบสนอง (Response Time: TR) หรือ เวลาที่ผ่านไป นับจากเริ่มต้นการร้องขอ (Enquiry) จนกระทั่ง ได้รับการตอบกลับ (Response)

6. เงื่อนไขของเครือข่าย (Network Criteria) (ต่อ) ตัวชี้วัดเหล่านี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัย หลายประการ อาทิเช่น จํานวนของผู้ใช้งานเครือข่ายขณะนั้น ชนิดของตัวกลางที่ใช้ในการสื่อสาร ความสามารถของอุปกรณ์แวดล้อม และ ของซอฟท์แวร์ปฏิบัติการ 2. ความน่าเชื่อถือ (Reliability) วัดได้จากความถี่ (Frequency) ของการเกิดความล้มเหลวในการเชื่อมต่อ เวลาที่ใช้ในการ กู้การเชื่อมต่อกลับคืน และ ความคงทนต่อสภาวะแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อระบบการสื่อสาร (เช่นภัยธรรมชาติ ต่างๆ)

6. เงื่อนไขของเครือข่าย (Network Criteria) (ต่อ) 3. ความปลอดภัย (Security) ในแง่ของความมั่นคง และ ความปลอดภัยของระบบเครือข่าย หมายรวมถึง การปกป้อง ข้อมูล จากการเข้าถึงโดยผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต (Unauthorized Access)

7. ความปลอดภัยของระบบเครือข่าย ไฟร์วอล (Firewall) คือ ระบบซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบของอุปกรณ์ฮาร์แวร์หรือซอฟ์แวร์หรือทั้งสองชนิดรวมกันภายในอุปกรณ์เดียวกัน จะทำหน้าที่ควบคุมการเข้าออกของกลุ่มข้อมูลที่เข้าออกระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไฟร์วอลล์ที่มีใช้อยู่ โดยทั่วไปคือไฟร์วอลล์ แบบพร็อกซี่ (Proxy server) พร็อกซี่ทำงานในระดับชั้นประยุกต์ใช้งาน มีจุดเด่นคือ สามารถจัดการกับการบุกรุกได้ในระดับชั้นประยุกต์ใช้งาน มีกระบวนการพิสูจน์ตัวจริงของผู้ใช้ มีกระบวนการซ่อนตัวโดยใช้เทคนิคการแปลเลขที่อยู่เครือข่ายมีการเก็บสถิติ และกิจกรรมที่เกิดขึ้นอย่างละเอียดทำให้สามารถติดตามการบุกรุกได้สะดวกขึ้น แต่ข้อเสีย ประสิทธิภาพการทำงานอาจจะต่ำลงหากมีจำนวนกลุ่มข้อมูลและผู้ใช้จำนวนมาก

7. ความปลอดภัยของระบบเครือข่าย ไอดีเอส (Intrusion detection systems: IDS) ระบบไอดีเอสทำงานร่วมกันระบบไฟร์วอลล์คอยตรวจจับผู้ที่ไม่ประสงค์ดีเข้าโจมตีเครือข่ายรวมไปถึงป้องกันข้อมูลจําพวกไวรัสด้วยโดยสามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดที่ผ่านเข้าออก วีพีเอ็น (Virtual private Network: VPN) คือ เครือข่ายส่วนบุคคลเสมือนที่ทำงานโดยอาศัย โครงสร้างของระบบเครือข่ายสาธารณะ หรือเครือข่าย อินเทอร์เน็ต แต่ยังสามารถคงความเป็นเครือข่ายเฉพาะขององค์กรไว้ด้วยการเข้ารหัสลับกลุ่ม (packet encryption) เพื่อให้ข้อมูลมีความปลอดภัยมากขึ้น ก่อนส่งข้อมูลออกไปในระบบเครือข่ายสาธารณะ

อ้างอิง ปริญญา น้อยดอนไพร. (2556). การสื่อสาร ข้อมูลและ. เครือข่าย อ้างอิง ปริญญา น้อยดอนไพร. (2556). การสื่อสาร ข้อมูลและ เครือข่าย. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัย ราชภัฏสุ ราษฎร์ธานี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. (ม.ป.ป.). Computer and Communication. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี.