บทที่ 3 ความรู้เกี่ยวกับการจัดการ
ความหมายและความแตกต่างของการจัดการ กับ การบริหาร ร็อบบินส์ และเคาล์เตอร์ ได้ให้ความหมายว่า การจัดการ คือ กระบวนการในการประสานงาน กิจกรรมการดำเนินงานต่างๆขององค์การให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ ดับบริน และไอร์แลนด์ ได้ให้คำจำกัดความว่า การจัดการ หมายถึง กระบวนการเพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายขององค์การโดยอาศัยขั้นตอนการวางแผน การจัดองค์การ การนำ และการควบคุม สรุป การจัดการ คือ การที่ผู้จัดการหรือนักบริหารประสานกิจกรรมในองค์การต่างๆให้ดำเนินไปด้วยกันอย่างเหมาะสม เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายตามที่องค์การกำหนดไว้โดยอาศัยกระบวนการทางการบริหาร ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์การ การนำ และการควบคุม เพื่อให้การใช้ทรัพยากรขององค์การ คือ คน วัสดุอุปกรณ์ เงินทุน และเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนวิธีการจัดการที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ความหมายและความแตกต่างของการจัดการ กับ การบริหาร การบริหาร เสนาะ ติเยาว์ กล่าวว่า การบริหาร คือ กิจกรรมในการใช้ทรัพยากรขององค์การให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตามความหมายดังกล่าว การบริหาร ได้แก่ กิจกรรมในการวางแผน การจัดองค์การ การจูงใจ และการควบคุมทรัพยากรบุคคล รวมทั้งทรัพยากรวัตถุให้บรรลุเป้าหมายขององค์การด้วยดี การบริหารยังมีอีกความหมายหนึ่ง คือ การบริหารเป็นกระบวนการทำงานร่วมกับคน และโดยอาศัยคนเพื่อบรรลุเป้าหมายขององ๕การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยสามารถแยกลักษณะการบริหารออกเป็น 5 อย่าง คือ 1. การทำงานร่วมกับคน 2. การมีเป้าหมายร่วมกันขององค์การ 3. การสร้างความสมดุลระหว่างประสิทธิผลกับประสิทธิภาพ 4. การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดในโลกให้เกิดประโยชน์สูงสุด 5. การบริหารต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ความแตกต่างของการจัดการ กับ การบริหาร จากความหมายของการจัดการ กับ การบริหาร จะเห็นว่า ทั้งสองคำนี้มีความหมายเหมือนกัน คือ ทั้งการจัดการและการบริหาร หมายถึง กิจกรรมในการบริหารทรัพยากรและกิจการรายอื่นๆเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ องค์การต่างๆจึงใช้คำสองคำนี้สลับกันไปมา หรือใช้แทนกันได้ ความแตกต่างระหว่างคำว่า การจัดการ และคำว่า การบริหาร การจัดการมักใช้ในวงการธุรกิจหรือเอกชนเป็นหลัก การจัดการใช้กับผู้ปฏิบัติงานในระดับบริหารรองลงมาที่มีหน้าที่ในการนำนโยบายไปปฏิบัติมักเรียกบุคคลเหล่านี้ว่า ผู้จัดการ การบริหารมักใช้ในวงการสาธารณะหรือราชการ การบริหารใช้กับผู้ปฏิบัติงานในระดับสูงขององค์การที่มีหน้าที่ในการกำหนดกรอบนโยบายและแผนต่างๆมักเรียกคนเหล่านี้ว่า ผู้บริหาร
ผลลัพธ์ที่ได้ออกมา(output) สรุป ทั้งคำว่าการจัดการ และการบริหารมีความหมายใกล้เคียงกัน ใช้แทนกันได้ หมายถึง กระบวนการในการนำทรัพยากรการบริหาร ได้แก่ คน วัสดุอุปกรณ์ เงิน และเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งวิธีการจัดการที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล บรรลุวัตถุประสงค์ตามขั้นตอนของการบริหาร คือ การวางแผน การจัดองค์การ การชี้นำ และการควบคุม ปัจจัยนำเข้า(input) คน เงิน วัตถุดิบ(วัสดุอุปกรณ์) วิธีการ กระบวนการ(process) การวางแผน การจัดองค์การ การชี้นำ กาควบคุม ผลลัพธ์ที่ได้ออกมา(output) สินค้า บริการ การย้อนกลับ(feedback)
ความสำคัญของการจัดการ การจัดการเป็นสมองขององค์การ การจัดการเป็นเทคนิควิธีการที่ทำให้สมาชิกในองค์การเกิดจิตสำนึกร่วมกันในการปฏิบัติงาน มีความตั้งใจและเต็มใจที่จะช่วยให้องค์การประสบความสำเร็จ การจัดการเป็นสิ่งที่กำหนดขอบเขตในการทำงานของสมาชิกในองค์การไม่ให้มีความซ้ำซ้อน ก้าวก่ายงานกัน หากแต่จะช่วยให้การปฏิบัติงานของสมาชิกในองค์การเป็นไปด้วยความราบรื่น รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ การจัดการเป็นการแสวงหาวิธีการที่ดีที่สุดของการปฏิบัติงานในองค์การให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงสุด
การจัดการเป็นได้ทั้งศาสตร์และศิลป์ การจัดการเป็นศาสตร์ในสังคมศาสตร์ ดังนี้ การจัดการหรือการบริหารมีศัพท์เฉพาะของตัวเอง การจัดการหรือการบริหารมีการจัดระบบระเบียบความรู้ออกเป็นหมวดหมู่ การจัดการหรือการบริหาร มีวิธีการศึกษาค้นคว้าแสวงหาความรู้ใหม่ๆศึกษาได้จากตำรา ทฤษฎี การค้นคว้าวิจัย และการทดลองปฏิบัติโดยใช้วิธีการทางสังคมศาสตร์ผสมกับวิทยาศาสตร์ เรียกว่า วิทยาการจัดการ การจัดการมีลักษณะเป็นศิลปะ การจัดการเป็นวิธีการที่ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักบริหารนำเอาความรู้ หลักการและทฤษฎีทางด้านบริหารจัดการมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการจัดการทรัพยากรมนุษย์ วัสดุอุปกรณ์ เงินทุน และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม
แนวความคิดด้านการจัดการ วัตถุประสงค์ กระบวนการ การประสมประสาน ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประสิทธิผล = เป้าหมาย (Effectiveness = ends) ประสิทธิภาพ = วิธีการ (Efficiency = means) การบรรลุเป้าหมาย (Goal attainment) การใช้ทรัพยากร (Resource usage) การสูญเสียต่ำ low waste บรรลุเป้าหมายสูง high attainment การสูญเสียทรัพยากรในระดับต่ำ แสดงว่า มีประสิทธิภาพสูง (low Resource waste = high Efficiency การบรรลุเป้าหมายสูงสุด แสดงว่า มีประสิทธิผลสูง High good attainment = high Effectivenes
ผู้ปฏิบัติงาน Operation Level of manager ผู้บริหารระดับสูง ระดับของผู้จัดการ Level of manager ผู้บริหารระดับสูง T o p M a n a g e r ผู้บริหารระดับกลาง M I d d l e M a n a g e r ผู้บริหารระดับต้น F i r s t - line M a n a g e r ผู้ปฏิบัติงาน Operation
รูป แสดงหน้าที่หรือกระบวนการทางการจัดการ การวางแผน (Planning) หน้าที่หรือกระบวนการ ทางการจัดการ (Mgt. Function or Process) การนำ (Leading) การจัดองค์การ (Organizing) การควบคุม (Controlling) รูป แสดงหน้าที่หรือกระบวนการทางการจัดการ
บทบาททางการจัดการ จำแนกพฤติกรรมการจัดการแบ่งออกได้ 3 กลุ่ม ดังนี้ จำแนกพฤติกรรมการจัดการแบ่งออกได้ 3 กลุ่ม ดังนี้ บทบาทด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล(interpersonal roles) บทบาทด้านข้อมูลข่าวสาร(information roles) บทบาทด้านการตัดสินใจ(decisional roles)
Managerial Human Skill ทักษะทางด้านมนุษยสัมพันธ์ Conceptual Skill ทักษะทางด้านความคิด Managerial Human Skill ทักษะทางด้านมนุษยสัมพันธ์ Technical Skill ทักษะทางด้านเทคนิค Managerial Skill vs. Level of Manager Conceptual Skill Human Skill Technical Skill Top Manager Middle Manager First-level Manager
แนวคิดทักษะการจัดการ เป็นทักษะทางการบริหาร ประกอบด้วยทักษะที่สำคัญ 3 ประการ คือ 3.1 ทักษะด้านเทคนิค Technical Skill มักเป็นผู้บริหารระดับต้นต้องใช้ทักษะด้านนี้มาก 3.2 ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ Human Relation Skill รู้จักคน เข้าใจคน ครองคนได้ “เก่งคน”มีความจำเป็นสำหรับผู้บริหารทั้ง 3 ระดับเท่าๆกัน 3.3 ทักษะด้านความคิด Conceptual skill เป็นทักษะที่จำเป็นที่สุดสำหรับผู้บริหารระดับสูง เห็นภาพรวม ตระหนักและเข้าใจอย่างดีถึงภารกิจและหน้าที่ขององค์การ ตลอดจนแนวทางปฏิบัติ แก้ไขปรับปรุง “เก่งคิด