วิชาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ผู้เสียหาย หมายความถึง บุคคลผู้ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ผู้เสียหายจึงหมายถึง ๑. ตัวบุคคลผู้ได้รับความเสียหายจริง ๆ ๒. ผู้มีอำนาจจัดการแทน
ตัวบุคคลผู้ได้รับความเสียหายจริง ๆ หลักเกณฑ์ ๑. ต้องเป็นบุคคล ๒. มีการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่งทางอาญาเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น ๓. บุคคลนั้นเป็นผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดนั้น ๔. บุคคลนั้นเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
ผู้เสียหายโดยนิตินัย ๑. ไม่มีส่วนร่วมในการกระทำผิด ๒. บุคคลที่สมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้ทำร้ายซึ่งกันและกัน ๓. บุคคลที่สมัครใจยินยอมให้ผู้อื่นกระทำความผิด ๔. ความเสียหายไม่เกิดจากความคิดอันทุจริต มุ่งจะฝ่าฝืนกฎหมาย หรือศีลธรรม
ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย ๑. สามี - ภรรยา ๒. ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล ๓. ผู้บุพพการี ผู้สืบสันดาน สามีภริยา ๔. ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคล ๕. ผู้แทนเฉพาะคดี
อำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย 1. ร้องทุกข์ 2. เป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาหรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับอัยการ 3. เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา 4. ถอนฟ้องคดีอาญาหรือคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา 5. ยอมความในคดีความผิดต่อส่วนตัว
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา หมายถึง คดีแพ่งที่ฟ้องตามสิทธิเรียกร้องอันมีมูลฐานความรับผิดเนื่องมาจากการกระทำความผิดทางอาญา กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือหากมูลเหตุของการกระทำความผิดอาญาใด ทำให้ผู้กระทำนั้นต้องรับผิดในทางแพ่งด้วย ก็จะเรียกคดีแพ่งดังกล่าวว่าเป็น “คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา” ยกตัวอย่าง นายดำลักทรัพย์นายขาวไป นายดำมีความผิดอาญาฐานลักทรัพย์ และในขณะเดียวกันก็ถือว่านายดำทำละเมิดในทางแพ่งด้วยโดยต้องคืนทรัพย์หรือชดใช้ราคาทรัพย์ให้กับผู้เสียหาย คดีละเมิดนี้ถือเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
สามี - ภริยา ๑. หญิงมีสามีเป็นผู้เสียหายโดยตรง สามารถดำเนินคดีเองได้ ไม่ต้องได้รับอนุญาตจากสามี ๒. กรณีหญิงเป็นผู้เสียหาย ไม่ประสงค์จะจัดการเอง จะให้สามีดำเนินการแทน ให้หญิงมีสามีอนุญาตโดยชัดแจ้ง ๓. หญิงมีสามีถูกทำร้ายถึงตาย หรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้ สามีมีสิทธิจัดการแทนได้ โดยไม่ต้องได้รับอนุญาต ๔. เป็นสามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล ผู้แทนโดยชอบธรรม คือ ผู้แทนของผู้เยาว์ (บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องอยู่ภายใต้การปกครองของบิดามารดา และเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์) ผู้อนุบาล คือ ผู้ที่อนุบาลคนไร้ความสามารถ (คนวิกล จริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ)
- ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ ตาม ป วิ อาญา มาตรา 5(1) หมายถึง บิดามารดา ผู้ปกครอง กรณีเป็นบิดาต้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ จึงจะถือว่าเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม ไม่ถือหลักตามสายโลหิต
ผู้บุพพการี ผู้สืบสันดาน สามีภริยา ผู้บุพพการี ผู้สืบสันดาน สามีภริยา ผู้บุพพการี คือ ผู้สืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป ผู้สืบสันดาน คือ ผู้สืบสายโลหิตโดยตรงลงมา มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายได้ กรณี ๑. ผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตาย หรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้ ๒. บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้บุพพการี ผู้สืบสันดาน หรือสามีภริยา แม้เป็นญาติใกล้ชิด ไม่มีสิทธิจัด การแทนได้
-ผู้บุพพการี ตาม ป.วิอาญา มาตรา 5(2) หมายถึงบุพการีตามความเป็นจริง -ผู้สืบสันดาน ตาม ป.วิอาญา มาตรา 5(2) ก็ถือตามความเป็นจริงเช่นกัน เมื่อโจทก์เป็นบุตรของผู้ตายตามความเป็นจริงแม้ไม่ใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน จึงมีอำนาจฟ้อง
ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคล กรณีผู้เสียหายเป็นนิติบุคคล ให้ผู้จัดการ หรือผู้แทน ของนิติบุคคลเป็น “ผู้จัดการแทน”
ผู้แทนเฉพาะคดี หลักเกณฑ์ ๑. ผู้เสียหาย ๑. ผู้เสียหาย - เป็นผู้เยาว์ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม - เป็นผู้วิกลจริต หรือคนไร้ความสามารถ ไม่มีผู้อนุบาล ๒. ผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้อนุบาล ไม่สามารถทำหน้าที่ หรือมีผลประโยชน์ขัดกับผู้เยาว์ หรือคนไร้ความสามารถศาลตั้งบุคคลอื่นเป็น ผู้แทนเฉพาะคดี
ผู้ต้องหา (Alleged offender) หลักเกณฑ์ ๑. ผู้ต้องหาจะต้องยังไม่ถูกฟ้องศาล ๒. เริ่มเป็นผู้ต้องหาต่อเมื่อมีการกล่าวหาว่าบุคคลนั้นกระทำผิด
ศาล (Court) หมายถึง ศาลยุติธรรม หรือผู้พิพากษา ซึ่งมีอำนาจทำการอันเกี่ยวกับคดีอาญา ศาลมีความหมาย ๒ ประการ คือ ๑. ศาล คือตัวศาล หรือสถาบันศาล ๒. ผู้พิพากษา คือตัวบุคคลที่ได้รับแต่งตั้ง ศาลมี ๓ ระดับ คือ ๑. ศาลฎีกา ๒. ศาลอุทธรณ์ ๓. ศาลชั้นต้น
พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ(Administratve or police official) หมายถึง ๑. เจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิด ป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดทุกประเภทโดยไม่จำกัด ๒. เจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจับกุมผู้กระผิด และป้องกันและปราบ ปรามการกระทำผิดตามกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งโดยเฉพาะ
ตั้งแต่ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ลงไปจนถึงปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอ เจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ (Superior Administrative or police official) ฝ่ายปกครอง คือ ตั้งแต่ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ลงไปจนถึงปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอ ฝ่ายตำรวจ คือ ตั้งผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ลงไปจนถึงผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธร
พนักงานสอบสวน (Inquiry official) หมายถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจ และหน้าที่ทำการสอบสวน
บุคคลที่ ป.วิอาญา ให้มีอำนาจสอบสวน ๑. ความผิดกระทำในราชอาณาจักร ๑.๑ ใน กทม. ข้าราชการตำรวจตั้ง ร.ต.ต. ขึ้นไป หรือเทียบเท่า ๑.๒ ในจังหวัดอื่น ได้แก่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ปลัดอำเภอ และข้าราชการตำรวจตั้งแต่ ร.ต.ต.ขึ้นไปหรือเทียบเท่า (ปัจจุบันให้ฝ่ายตำรวจสอบสวน) ๒. ความผิดกระทำนอกราชอาณาจักร ๒.๑ อัยการสูงสุด หรือผู้รักษาการแทน ๒.๒ พนักงานสอบสวนที่ได้มอบหมายจาก ข้อ ๒.๑ ๒.๓ พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ผู้ต้องหาถูกจับในเขตอำนาจ ๒.๔ พนักงานสอบสวนซึ่งรัฐบาลประเทศอื่น หรือบุคคลผู้ได้รับความเสียหายได้ฟ้องร้องให้ทำโทษแก่ผู้ต้องหา
พนักงานอัยการ (Public Prosecutor) หมายถึง “เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหา ทั้งนี้จะเป็นข้าราชการในกรมอัยการ หรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจเช่นว่านั้นก็ได้” ข้อสังเกต ๑. โดยทั่วไป “พนักงานอัยการ” หมายถึง พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด กระทรวงยุติธรรม ๒. มีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีในนามรัฐบาล ๓. มีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีแพ่งแทนรัฐบาลในศาลทั้งปวง
การสืบสวน (Investigation) หมายถึง การแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐาน ซึ่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเพื่อทราบรายละเอียดแห่งความผิด การสืบสวนแยกออกเป็น ๒ กรณี คือ ๑. แสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐาน เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนทั่ว ๆ ไป โดยความผิดอาญายังไม่เกิด ๒. แสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐาน เพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด โดยมีความผิดอาญาเกิดขึ้นแล้ว
การสอบสวน (Inquiry) หมายความถึง การรวบรวมพยานหลักฐาน และการดำเนินการทั้งหลายอื่น ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ซึ่งพนักงานสอบสวน ได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่ กล่าวหา เพื่อทราบข้อเท็จจริง หรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระผิดมาฟ้องลงโทษ
ความมุ่งหมายของการสอบสวน ๑. ปราบปรามการกระทำผิด โดยหา ทางพิสูจน์ความผิด แล้วนำตัวมาฟ้องลงโทษ ๒. จะกระทำต่อเมื่อเกิดความผิดแล้ว ๓. วัตถุประสงค์สำคัญของการสอบสวน คือ การรวบรวมพยานหลักฐาน และการดำเนินการตาม วิ.อาญา เช่น การจับ ค้น ควบคุม เป็นค้น
การสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย ๑. ในความผิดต่อส่วนตัว ต้องมี “การร้องทุกข์ “โดยชอบก่อน ๒. ผู้ทำการสอบสวนต้องเป็นพนักงานสอบสวน ๓. ต้องเป็นพนักงานสอบสวนที่มีเขตอำนาจทำการสอบสวนได้ ๔. วิธีการสอบสวนชอบด้วย ป.วิอาญา
การร้องทุกข์ (Complaint) ในความผิดต่อส่วนตัว ถ้าไม่ร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนจะสอบสวนมิได้ หลักเกณฑ์ ๑. ผู้ร้องทุกข์ต่อเป็นผู้เสียหาย ๒. ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ ๓. กล่าวหาว่ากระทำผิดอาญา ๔. ผู้เสียหาย มีเจตนา ให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ
วิธีการร้องทุกข์ ๑. ชื่อ และที่อยู่ของผู้ร้องทุกข์ ทำเป็นหนังสือ หรือร้องทุกข์ด้วยปากก็ได้ แต่ต้องมีข้อความ ดังนี้ ๑. ชื่อ และที่อยู่ของผู้ร้องทุกข์ ๒. ลักษณะแห่งความผิด ๓. พฤติการณ์ต่าง ๆ ที่ความผิดนั้นได้ทำลง ๔. ความเสียหายที่ได้รับ ๕. ชื่อ และรูปพรรณของผู้กระทำผิดเท่าที่จะบอกได้
คำกล่าวโทษ หมายถึง การที่บุคคลอื่น ซึ่งมิใช่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ว่า มีบุคคลจะรู้ตัวหรือไม่ก็ดี ได้กระทำความผิดอย่างหนึ่งขึ้น ผู้กล่าวโทษ คือ บุคคลอื่นที่มิใช่ผู้เสียหาย เจตนาของผู้กล่าวโทษ มีเจตนาให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษหรือไม่ ไม่เป็นข้อสำคัญ เพียงกล่าวว่ามีการกระทำผิดขึ้น
หมายเรียก มิใช่หมายอาญา แต่มีลักษณะเป็นการสั่งบุคคลมาให้ปากคํา หรือมาให้การในชั้นสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือในชั้นการพิจารณาคดี โดยการที่จะให้บุคคลใดมาพบพนักงานสอบสวน พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจชั้นผู้ใหญ่ หรือ ศาล เว้นแต่ กรณี พนักงานสอบสวน พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตํารวจชั้นผู้ใหญ่ ไปทําการสอบสวนด้วยตนเอง ย่อมมีอํานาจเรียกผู้ต้องหา/พยานมาได้โดยไม่ต้องมีหมายเรียก
ผู้มีอำนาจในการออกหมายเรียก บุคคลผู้มีอํานาจในการออกหมายเรียก พนักงานสอบสวน (รวมถึงอัยการ กรณีอัยการเป็นพนักงานสอบสวนในคดีความผิดเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรและคดีชันสูตรพลิกศพ คดีวิสามัญฆาตกรรมฯ/ตายอยู่ในระหว่างควบคุมของเจ้าพนักงาน(ป.วิ.อาญา ม.๒๐, ๑๕๕/๑) ) พนักงานฝ่ายปกครอง/ตํารวจชั้นผู้ใหญ่ หรือศาล (ป.วิ.อาญา ม. ๕๒)
บุคคลที่อาจถูกหมายเรียก อาจจะเป็นได้ทั้งผู้ต้องหา/จําเลย ผู้ต้องสงสัย พยาน หรือบุคคลผู้ที่คาดว่าจะได้รู้เห็นการกระทําความผิดให้มาทําการสอบสวน/ไต่สวน มูลฟ้องเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงในคดี
ผู้ต้องหาไม่มาตามหมายเรียก ไม่มีความผิด แต่เป็นเหตุให้ออกหมายจับ ตาม ป ผู้ต้องหาไม่มาตามหมายเรียก ไม่มีความผิด แต่เป็นเหตุให้ออกหมายจับ ตาม ป.วิ.อาญา ม.๖๖ พยานไม่มาตามหมายเรียก มีความผิดฐานขัดขืนคําบังคับเจ้าพนักงานตาม ป.อาญา ม.๑๖๘ หรือขัดขืนหมายหรือคําสั่งศาล ตาม ป.อาญา ม.๑๗๐ - หมายเรียกผู้ต้องหา/จําเลย จะส่งให้คนรับใช้ที่อยู่ในบ้านหรือ สํานักงานไม่ได้ เพราะไม่ใช่สามี ภรรยา ญาติ หรือผู้ปกครอง แต่ถ้าเป็นหมายเรียกพยาน หากคนรับใช้อายุเกิน ๒๐ ปีสามารถส่งให้ได้
การจับ (Arrest) มี ๒ ประเภท คือ ๑. จับโดยพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ มี ๒ ประเภท คือ ๑. จับโดยพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ ๒. จับโดยราษฎร
การจับโดยพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ เจ้าพนักงานจะจับบุคคลใด โดยหลักจะต้องมี “หมายจับ”
สิทธิของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา หลักเกณฑ์ ๑.ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมหรือขังมีสิทธิ -แจ้ง หรือขอให้พนักงานแจ้งให้ - ญาติ หรือผู้ซึ่งถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้วางใจ ได้ทราบถึงการถูกจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรก
๒. ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา มีสิทธิดังนี้ -พบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความ -ให้ทนายความหรือผู้ที่ตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำ -ได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อญาติตามสมควร -ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อมีการเจ็บป่วย
๓. เป็นหน้าที่ของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งรับตัวผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาต้องแจ้งสิทธิดังกล่าวให้ทราบในโอกาสแรก
ข้อยกเว้น ที่จะจับได้ โดยไม่ต้องมีหมาย ข้อยกเว้น ที่จะจับได้ โดยไม่ต้องมีหมาย ๑. เมื่อบุคคลนั้นกระทำ “ความผิดซึ่งหน้า” ๒. เมื่อพบบุคคล ๒.๑ กำลังพยายามกระทำความผิด หรือ ๒.๒ พบโดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าจะทำความผิด โดยมีเครื่องมือที่อาจใช้ในการทำผิด ๓. เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้นั้นทำความผิดมาแล้ว และกำลังจะหลบหนี
๔. เมื่อมีเหตุจะออกหมายจับบุคคล แต่มีความจำเป็นเร่งด่วนไม่อาจให้ศาลออกหมายจับบุคคลนั้นได้ ๕. จับผู้ต้องหา หรือจำเลยที่หนี หรือหลบหนี ในระหว่างถูกปล่อยชั่วคราว (ได้รับการประกันตัว)
กระทำความผิดซึ่งหน้า คือ ๑. ความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำ หรือพบในอาการใดแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่า เขาได้ กระทำผิดมาแล้วสด ๆ ๒. ความผิดที่ระบุไว้ท้าย ป.วิอาญา ถ้ามีพฤติการณ์ดังนี้ ๒.๑ เมื่อพบบุคคลหนึ่งถูกไล่จับดังผู้กระทำผิด โดยมีเสียงร้องเอะอะ ๒.๒ เมื่อพบบุคคลหนึ่งทันทีหลังจากกระทำผิดในแถวนั้น และมีสิ่งของที่ได้มีจากการกระทำผิด หรือมีพิรุธ
การจับโดยราษฎร หลัก ราษฎรจะจับราษฎรด้วยกันไม่ได้ เว้นแต่ หลัก ราษฎรจะจับราษฎรด้วยกันไม่ได้ เว้นแต่ ๑. เมื่อเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้จัดการตามหมายจับ ได้ร้องขอ ให้ราษฎรช่วยจัดการตามหมายนั้น ๒. เมื่อพบบุคคลนั้นกำลังทำความผิดซึ่งหน้า และเป็นความผิดที่ระบุไว้ใน บัญชีท้าย ป.วิอาญา ๓. เมื่อนายประกัน หรือผู้เป็นหลักประกัน จับผู้ต้องหาหรือจำเลยผู้เป็นลูกประกัน ซึ่งหนีหรือจะหลบหนี
ไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามจับในกรณี ต่อไปนี้ กรณีห้ามจับ ไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามจับในกรณี ต่อไปนี้ ๑. ในที่รโหฐาน ๒. ในพระราชวัง
การจะออกหมายอาญา ผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลออกหมาย 1. ศาลเห็นสมควร 2. มีผู้ร้องขอต่อศาล ผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลออกหมาย ๑. กรณีเป็นพนักงานฝ่ายปกครอง ต้องมีตําแหน่งตั้งแต่ ระดับ ๓ ขึ้นไป ๒. กรณีเป็นตํารวจ ต้องมียศตั้งแต่ ร.ต.ต.หรือ เทียบเท่า ขึ้นไป
เหตุที่จะออกหมายจับ 1.เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือ 2. เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญา และมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนีหรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น
- ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี
กรณีห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่ จะทำตามบทบัญญัติว่าด้วยการค้นในที่รโหฐานก่อน คือ ต้องมีหมายค้น หรืออาจค้นได้โดยไม่ต้องมีหมาย
กรณีห้ามจับในพระราชวัง ๑. ในพระบรมมหาราชวัง พระราชวัง วังของพระรัชทายาท หรือของพระบรมวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าขึ้นไป พระราชนิเวศน์ พระตำหนัก หรือ ๒. ในที่ซึ่งพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท พระบรมวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าขึ้นไป หรือ ๓. ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ประทับ หรือพำนัก
ข้อยกเว้น จับในพระราชวัง ข้อยกเว้น จับในพระราชวัง ๑. นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย อนุญาตให้จับ และได้แจ้งเลขาธิการพระราชวัง หรือ สมุหราชองครักษ์ ทราบ ๒. เจ้าพนักงานผู้ถวาย หรือให้ความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระ รัชทายาท พระบรมวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้า หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นผู้จับ ตาม “กฎหมายว่าด้วยราชองค์รักษ์”
ที่รโหฐาน คือ สถานที่ใด ๆ ที่มิใช่ที่สาธารณสถาน - เป็นสถานที่ที่มีการหวงกันไว้เป็นสิทธิ ซึ่งผู้อื่นไม่มีสิทธิเข้าไปรบกวน โดยไม่ได้รับอนุญาต - เข้าไปโดยความชอบธรรม - เจ้าพนักงานจะจับบุคคลใดในที่รโหฐานได้ “จะต้องมีหมายค้น” - ราษฎรไม่มีอำนาจจับในที่รโหฐาน
วิธีการจับ ๑. ต้องแจ้งผู้ถูกจับว่า เขาจะต้องถูกจับ แล้วสั่งให้ผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของเจ้าพนักงานพร้อมผู้จับ แต่ถ้าจำเป็นให้จับตัวไป ๒. ผู้ถูกจับขัดขวางหรือจะหลบหนี ผู้จับมีอำนาจใช้วิธีและการป้องกันที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์ ๓. เอาตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจทันที ถ้ามีหมายจับก็ให้เอาออกอ่านให้ฟัง ๔. เจ้าพนักงานผู้จับมีอำนาจค้นตัวผู้ต้องหาและยึดสิ่งของเป็นหลักฐาน แต่การค้นต้องทำโดยสุภาพและสมควรแก่พฤติการณ์ ถ้าค้นผู้หญิง ต้องให้หญิงอื่นเป็นผู้ค้น
๕. พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ซึ่งมีผู้นำผู้ถูกจับมาส่ง มีอำนาจควบคุมตัวหรือปล่อยชั่วคราว กรณีมีหมายจับศาล ให้รีบส่งตัวไปยังศาลที่ออกหมายจับ หรือ เจ้าพนักงานที่กำหนดในหมาย ๖. กรณีราษฎรเป็นผู้จับ ให้บันทึก ชื่อ อาชีพ ที่อยู่ ของผู้จับ ทั้งข้อความ และพฤติการณ์แห่งการจับ และให้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
๗. กรณีจำเป็น เจ้าพนักงานหรือราษฎรผู้จับ จะจัดการพยาบาลผู้ถูกจับก่อนนำตัวส่งก็ได้ ๘. พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจแจ้งข้อกล่าวหา และแจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับทราบ มีสิทธิที่จะไม่ให้การ หรือให้การก็ได้ และถ้อยคำของผู้ถูกจับอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้
การควบคุมและขังผู้ถูกจับ เป็นวิธีปฏิบัติภายหลังที่มีการ “จับกุม” การควบคุม หมายความถึง การควบคุม หรือกักขังผู้ถูกจับ โดยพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในระหว่างสืบสวนสอบสวน การขัง หมายความถึง การกักขังจำเลย หรือผู้ต้องหาโดย ศาล แบ่งเป็น ๓ ระยะ - ระหว่างสอบสวน - ระหว่างไต่สวนมูลฟ้อง - ระหว่างการพิจารณา
วิธีการควบคุม หลักเกณฑ์ คือ เมื่อจับได้แล้ว ต้องมี “การควบคุม หรือขัง” หลักเกณฑ์ คือ - ห้ามใช้วิธีควบคุมผู้ถูกจับเกินกว่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันมิให้เขาหนี - ในทางปฏิบัติต้องพิเคราะห์ถึงความจำเป็น และความเหมาะสมตามพฤติการณ์เป็นเรื่อง ๆ ไป
ระยะเวลาที่ควบคุม(โดยพนักงานสอบสวน) ๑. ห้ามมิให้ ควบคุมผู้ถูกจับไว้เกินกว่าจำเป็น ตามพฤติการณ์แห่งคดี ๒. ระยะเวลาควบคุม ๒.๑ ในกรณีความผิดลหุโทษ จะควบคุมไว้ ได้ - เท่าเวลาที่จะถามคำให้การ - ทราบว่าเป็นใคร - ทราบที่อยู่ของเขาอยู่ ๒.๒ ความผิดอื่น ๆ ห้ามควบคุมไว้เกิน ๔๘ ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ผู้ถูกจับ ถูกนำตัวไปถึงที่ทำการ ของพนักงานสอบสวน
ระยะเวลาในการควบคุม มีเหตุจำเป็นจะควบคุมผู้ถูกจับเกิน ๔๘ ชม. เพื่อการสอบสวน หรืออีก ๓ วันให้พนักงานสอบสวน ยื่นคำร้องต่อศาล ขอหมายขังผู้ต้องหา โดยเกณฑ์ความผิดที่ได้กระทำลง ต่อไปนี้ ๑. มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลมีอำนาจสั่งขังได้ครั้งเดียว มีกำหนดไม่เกิน ๗ วัน ๒. มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินกว่าหกเดือน แต่ไม่ถึงสิบปีหรือ ปรับเกินกว่าห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลมีอำนาจสั่งขังหลายครั้ง ติด ๆ กันได้ แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกินสิบสองวัน และรวม กันทั้งหมดต้องไม่เกิน สี่สิบแปดวัน
สิบปี ขึ้นไป จะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ ก็ตาม ศาลมีอำนาจสั่งขังหลายครั้ง ๓. มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ สิบปี ขึ้นไป จะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ ก็ตาม ศาลมีอำนาจสั่งขังหลายครั้ง ติด ๆ กันได้ แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกิน สิบสองวัน และรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกินแปดสิบสี่วัน
แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ การค้น (Search) แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑. ค้นในที่รโหฐาน ๒. ค้นในที่สาธารณสถาน
ค้นในที่รโหฐาน - ไม่มีหมายค้น หรือ - คำสั่งของศาล หลัก ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐาน โดย - ไม่มีหมายค้น หรือ - คำสั่งของศาล
ข้อยกเว้นการค้นโดยไม่ต้องมีหมาย พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้น และในกรณี ต่อไปนี้ ๑. เมื่อมีเสียงร้องให้ช่วยมาจากข้างในที่รโหฐาน หรือมีเสียง หรือพฤติการณ์อื่นใดแสดงว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นในที่รโหฐาน ๒. เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้ากำลังกระทำลงในที่รโหฐาน ๓. เมื่อบุคคลที่กระทำผิดซึ่งหน้า ขณะถูกไล่จับหนีเข้าไป หรือมีเหตุแน่นแฟ้นควรสงสัยว่าได้เข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในที่รโหฐาน
๔. เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่า - สิ่งของที่มีไว้เป็นความผิด หรือ - ได้มาโดยการกระทำผิด หรือ - ได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อจะใช้ในการ กระทำผิด หรือ - อาจเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิด ได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น และเชื่อว่ากว่าจะเอา หมายค้นมาได้ สิ่งของจะถูกโยกย้าย หรือถูกทำลายเสียก่อน ๕. เมื่อที่รโหฐานนั้นผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าของบ้าน และการจับมีหมายจับหรือจับตามมาตรา ๗๘
ค้นในที่สาธารณสถาน หลัก ห้ามมิให้ค้นบุคคลใดในที่สาธารณสถาน เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็น ผู้ค้น เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้นั้นมีสิ่งของ ในครอบครองเพื่อ ๑. จะใช้ในการกระทำความผิด หรือ ๒. ซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิด หรือ ๓. ซึ่งมีไว้เป็นความผิด
วิธีการค้นในที่รโหฐาน ตัวบุคคลผู้ทำการค้น ๑. ค้นโดยมีหมาย ให้เจ้าพนักงานผู้มีชื่อในหมาย(ฝ่ายปกครองตั้งแต่ระดับสามหรือตำรวจยศตั้งแต่ ร.ต.ต.ขึ้นไป) เป็นผู้ค้นหรือผู้รักษาการแทน ๒. ค้นโดยไม่มีหมาย ผู้มีอำนาจค้น คือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่พบเห็นพฤติการณ์ เวลาทำการค้น ระหว่างเวลา พระอาทิตย์ขึ้นและตก ยกเว้น ๑. เริ่มในเวลากลางวันยังไม่เสร็จ ค้นต่อไปในเวลากลางคืนได้ ๒. กรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้ค้นได้เป็นพิเศษ ค้นเวลากลางคืนได้
วิธีการค้นในที่รโหฐาน ๑. เจ้าพนักงานปกครอง หรือตำรวจที่ทำการค้น สั่งให้เจ้าของหรือคนในนั้น ยอมให้เข้าไป ให้ความสะดวก แสดงหมาย ถ้าค้นไม่มีหมายให้แสดงนามและตำแหน่ง ๒. ก่อนค้นเจ้าพนักงานแสดงความบริสุทธิ์ ให้ค้นต่อหน้าผู้ครอบครองสถานที่ ถ้าไม่มีให้ค้นต่อหน้าบุคคลอย่างน้อยสองคน ซึ่งได้ร้องขอเป็นพยาน ๓. ค้นในที่รโหฐานค้นได้เฉพาะเพื่อหาตัวบุคคล หรือสิ่งของเท่านั้น
บัญชีแนบท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประทุษร้ายต่อพระบรมราชตระกูล ม.๙๗, ๙๙ ขบถภายในพระราชอาณาจักร ๑๐๑ - ๑๐๔ ขบถภายนอกพระราชอาณาจักร ๑๐๕ – ๑๑๑ ความผิดต่อทางพระราชไมตรีกับต่างประเทศ ๑๑๒ ทําอันตรายแก่ธง หรือเครื่องหมายของต่างประเทศ ๑๑๕ ความผิดต่อเจ้าพนักงาน ๑๑๙ -๑๒๒,๑๒๗ หลบหนีจากที่คุมขัง ๑๖๓ –๑๖๖
ความผิดต่อศาสนา ๑๗๒ – ๑๗๓ ก่อการจลาจล ๑๘๓ , ๑๘๔ กระทําให้เกิดภยันตรายแก่สาธารณชน กระทําให้สาธารณชนปราศจากความสะดวกในการไป มาและการส่งข่าวและของถึงกัน และกระทําให้สาธารณชนปราศจากความสุขสบาย ๑๘๕ - ๑๙๔, ๑๙๖,๑๙๗,๑๙๙ ปลอมแปลงเงินตรา ๒๐๒ – ๒๐๕, ๒๑๐ ข่มขืนกระทําชําเรา ๒๔๓ - ๒๔๖ ประทุษร้ายแก่ชีวิต ๒๔๙ , ๒๕๑ ประทุษร้ายแก่ร่างกาย ๒๕๔ – ๒๕๗ ความผิดฐานกระทําให้เสื่อมเสียอิสรภาพ ๒๖๘, ๒๗๐, ๒๗๖ ลักทรัพย์ ๒๘๘ - ๒๙๖ วิ่งราว ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และโจรสลัด ๒๙๗ – ๓๐๒ กรรโชก ๓๐๓
กรณีเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด สามารถจับได้หรือไม่ เพียงใด พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๒ พ.ค.๒๕๕๔ ได้บัญญัติสาระสําคัญ โดยเฉพาะเรื่องการจับและการปฏิบัติต่อผู้ต้องหาที่เป็นเด็กหรือเยาวชนไว้
เด็ก หมายความว่า บุคคลอายุไม่เกิน ๑๕ ปีบริบูรณ์ เยาวชน หมายความว่า บุคคลอายุเกิน ๑๕ ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง ๑๘ ปีบริบูรณ์(พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ พ.ศ.๒๕๕๓ ม.๔) - การนับอายุเด็กและเยาวชน ให้ถืออายุเด็กหรือเยาวชนในวันที่เด็กหรือเยาวชนกระทําความผิด (พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ พ.ศ.๒๕๕๓ ม.๕)
การจับผู้ต้องหาที่เป็น “เด็ก” หลัก ห้ามจับกุมเด็กซึ่งต้องหาว่ากระทําผิด ข้อยกเว้น จับได้ กรณีดังต่อไปนี้ ๑. กระทําผิดซึ่งหน้า (ตาม ป.วิ.อาญา ม.๘๐) ๒. มีหมายจับ หรือ ๓. มีคําสั่งศาล
การจับผู้ต้องหาที่เป็น “เยาวชน” หลัก ห้ามมิให้จับเยาวชน เว้นแต่ มีหมายจับ/คําสั่งของศาล ข้อยกเว้น กรณีจับได้โดยไม่มีหมายจับ/คําสั่งของศาล (ป.วิ.อาญา ม.๗๘) ๑) เยาวชนกระทําผิดซึ่งหน้า (ป.วิ.อาญา ม.๘๐) ๒) บุคคลที่เป็นเยาวชนมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าจะก่อเหตุร้าย ๓) บุคคลที่เป็นเยาวชนกระทําผิดและจะหลบหนีฯ ซึ่งมีเหตุจะออกหมายจับแต่มีเหตุจําเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับได้ ๔. ผู้ต้องหา/จําเลยที่เป็นเยาวชนหลบหนีระหว่างปล่อยตัวชั่วคราว
การสืบสวน และการสอบสวน มีความหมายและ ข้อแตกต่างกันอย่างไร การสืบสวน หมายความถึง การแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐาน ซึ่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ ได้ปฏิบัติไปตามอํานาจและหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเพื่อจะทราบรายละเอียดแห่งความผิด (ป.วิ อาญา ม.๒(๑๐)) การสอบสวน หมายความถึง การรวบรวมพยานหลักฐาน และการดําเนินการทั้งหลายอื่นตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อาญา ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทําไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิดและเพื่อเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ (ป.วิ อาญา ม.๒ (๑๑))
ข้อแตกต่างระหว่างการสืบสวนและการสอบสวน การสืบสวน การสอบสวน ๑ ข้อแตกต่างระหว่างการสืบสวนและการสอบสวน การสืบสวน การสอบสวน ๑.วิธีการ เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงและ หลักฐาน เป็นการรวบรวมพยานหลักฐาน ๒ .วัตถุประสงค์ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของ ประชาชน และเพื่อที่จะทราบ รายละเอียดแห่งความผิด เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ ความผิดและเพื่อจะเอาตัวผู้กระทํา ผิดมาฟ้องลงโทษ
๓. ผู้มีอำนาจ พนักงานฝ่ายปกครอง/ตํารวจ/ พนักงานสอบสวน ๔ ๓.ผู้มีอำนาจ พนักงานฝ่ายปกครอง/ตํารวจ/ พนักงานสอบสวน ๔.ช่วงเวลา ทั้งก่อนและหลังการกระทํา ความผิด เมื่อมีความผิดเกิดขึ้นแล้วเท่านั้น
๕.เขตอำนาจ ตํารวจ; ทั่วราชอาณาจักร พนักงานฝ่ายปกครอง; ในเขต รับผิดชอบของตน ท้องที่ความผิดเกิด อ้างหรือเชื่อว่า ได้เกิด, ท้องที่ผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือ ท้องที่ผู้ต้องหาถูกจับตาม ป.วิ อาญา ม.๑๘ และท้องที่ที่เกี่ยวข้อง ตาม ป. วิ.อาญา ม.๑๙
อายุความในคดีอาญา มาตรา ๙๕ ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ (๑) ยี่สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี (๒) สิบห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ยังไม่ถึงยี่สิบปี (๓) สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี (๔) ห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งเดือนถึงหนึ่งปี (๕) หนึ่งปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือนลงมา หรือต้องระวางโทษอย่างอื่น
กฎหมายลักษณะพยาน
กฎหมายลักษณะพยาน เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีหรือพิสูจน์ข้อเท็จจริง ที่จะต้องมีการเสนอพยานหลักฐานต่อศาล ข้อเท็จจริงอาจได้จาก พยานบุคคล พยานเอกสาร หรือพยานวัตถุ
พยานหลักฐาน หมายถึง สิ่งใดๆที่แสดงข้อเท็จจริงให้ปรากฏแก่ศาล ไม่ว่าจะเป็น พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ ตลอดจนคำเบิกความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ รายงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นต้น
พยานบุคคล หมายถึง คำให้การของบุคคลที่มาให้การต่อศาลด้วยวาจา ต่อหน้าศาล หรือต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ศาลจะรับรู้จากการที่พยานบุคคลเป็นผู้เล่าเรื่องราวให้ฟัง หรือการตอบคำถามของศาลที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่พยานได้ประสบเหตุการณ์ ได้เห็น ได้ยิน หรือได้ฟังมา อาจเรียกอีกอย่างว่า ประจักษ์พยาน
พยานเอกสาร หมายถึง ข้อความใดๆที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร หรือรูปรอยใดที่สามารถเป็นเครื่องหมายแทนคำพูด เพื่อให้เข้าใจข้อความ หรือตามความหมายนั้นๆได้ ไม่ว่าจะบันทึกด้วยการเขียน พิมพ์ แกะสลัก บนวัตถุใดๆ เช่น กระดาษ โลหะ
พยานวัตถุ (วัตถุพยาน) หมายถึง สิ่งใดๆที่สามารถจะให้ศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดี เช่น วัตถุ สิ่งของต่างๆ มีด ปืน ท่อนไม้ เป็นต้น
ความสำคัญของพยานหลักฐาน พยานหลักฐาน มีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญ ตั้งแต่เริ่มมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น สืบสวนสอบสวน จนถึงขั้นสุดท้าย พิจารณา พิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิด ซึ่งต้องอาศัยพยานหลักฐานทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นจะกล่าวหาลงโทษผู้ใดโดยไม่มีพยานหลักฐานยืนยันนั้นไม่ได้
พยานหลักฐานซึ่งเกี่ยวข้องกับกฎหมาย (๑). บุคคลกระทำผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม(ประมวลกฎหมายอาญา) ตาม มาตรา ๑๗๙ ผู้ใดทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ เพื่อให้พนักงานสอบสวน หรือพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา เชื่อว่าได้มีความผิดอาญาอย่างใดเกิดขึ้น หรือเชื่อว่าความผิดอาญาที่เกิดขึ้นร้ายแรงกว่าที่เป็นความจริง......................
มาตรา๑๘๐ ผู้ใดนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดี ถ้าเป็นพยานหลักฐานในข้อสำคัญในคดีนั้น... มาตรา ๑๘๔ ผู้ใดเพื่อจะช่วยผู้อื่นมิให้ต้องรับโทษ หรือรับโทษน้อยลง ทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ ซึ่งพยานหลักฐานในการกระทำผิด... มาตรา ๑๘๙ ผู้ใดช่วยผู้อื่นซึ่งเป็นผู้กระทำความผิด หรือเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิด อันมิใช่ความผิดลหุโทษ เพื่อไม่ให้ต้องรับโทษ โดยให้พำนักแก่ผู้นั้น โดยซ่อนเร้น หรือโดยช่วยผู้นั้นด้วยประการใดเพื่อไม่ให้ถูกจับกุม...
(๒).อำนาจเจ้าพนักงานในชั้นสอบสวน(ตามป.วิอาญา) ซึ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐานแสดงให้เห็นความสำคัญของพยานหลักฐาน โดยเฉพาะในเรื่องของการสืบสวนสอบสวน ซึ่งอยู่ในระดับของการสืบสวนสอบสวน ยังมิได้นำคดีขึ้นฟ้องศาล
(๓).ในชั้นการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล - ศาลมีสิทธิปฏิเสธไม่รับฟังพยานหลักฐานก็ได้ หรือยื่นฝ่าฝืนกฎหมาย หรือพยานหลักฐานที่ฟุ่มเฟือย -พยานบุคคลที่ศาลยอมรับฟัง ต้องสามารถเข้าใจและตอบคำถามได้และเป็นผู้ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานมาด้วยตนเอง -ให้ศาลใช้ดุลยพินิจ อย่าพิพากษาจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำผิดจริง
การพักราชการ ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการทหารพักราชการ พ.ศ.๒๕๒๘ ข้อ ๕ ระบุสาเหตุของการสั่งพักราชการข้าราชการทหาร คือ ข้าราชการผู้นั้นถูกฟ้องคดีอาญา หรือถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญา ( ยกเว้นความผิดลหุโทษหรือความผิดที่กระทำโดยประมาท ) หรือต้องหาว่ากระทำผิดวินัยร้ายแรง จนต้องถูกสอบสวนเพื่อลงทัณฑ์สถานหนัก และผู้บังคับบัญชาเห็นว่าถ้าให้ผู้นั้นคงอยู่ในหน้าที่ราชการในระหว่างที่พิจารณาหรือสอบสวนคดีแล้วจะทำให้ราชการเสียหาย ผู้บังคับบัญชาก็จะสั่งพักราชการ โดยมีผลตั้งแต่วันออกคำสั่ง
ระยะเวลา ในการถูกพักราชการนั้น โดยปกติแล้วจะต้องถูกพักราชการจนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือสอบสวนเสร็จ
ต่อมามีการผ่อนปรนตามข้อบังคับฯ ( ฉบับที่ ๒ ) พ. ศ ต่อมามีการผ่อนปรนตามข้อบังคับฯ ( ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ.๒๕๕๕ ว่า ข้าราชการทหารที่ถูกสั่งพักราชการอาจขอกลับเข้ารับราชการได้ แม้ในระหว่างที่การพิจารณาหรือการสอบสวนยังไม่เสร็จ หากเข้าหลักเกณฑ์ที่จะขอได้ คือ
๑. ผู้บังคับบัญชาเห็นควรให้กลับเข้ารับราชการได้ เพราะพฤติการณ์ของผู้ที่ถูกสั่งพักพักราชการนั้นไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางการพิจารณาหรือการสอบสวน หรือไม่ก่อให้เกิดความไม่สงบอีกต่อไปแล้ว หรือ
๒. การดำเนินการทางวินัยนั้นผ่านไปเกินหนึ่งปีแล้วก็ยังไม่เสร็จซะที และผู้ที่ถูกดำเนินการนั้นก็ไม่มีพฤติการณ์ที่เป็นเหตุให้ถูกดำเนินการแล้ว
เมื่อคดีถึงที่สุดหรือการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว ไม่ว่าผู้นั้นจะยังถูกสั่งพักราชการอยู่ หรือได้รับอนุญาตให้กลับเข้ารับราชการได้แล้วก็ตาม ชะตากรรมจะเป็นอย่างไรต่อไปก็ขึ้นอยู่กับผลการพิจารณาคดีอันเป็นที่สุด หรือผลการสอบสวนนั้น
หากผลออกมาว่า ผู้ที่ถูกสั่งพักราชการไม่มีความผิด ไม่มีมลทินหรือมัวหมอง ผู้บังคับบัญชาต้องสั่งให้กลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิมหรือเทียบเท่า นับตั้งแต่วันสั่งพักราชการ ( ก็คือจะมีผลเท่ากับไม่เคยมีการสั่งพักราชการ )
ถ้าผู้สั่งพักราชการไม่มีความผิด แต่ยังมีมลทินหรือมัวหมอง เช่น พ้นผิดมาได้แบบคลุมเครือ ยังเป็นที่กังขา ข้องใจของสังคม หรือพ้นผิดในลักษณะกระทำผิดแต่กฎหมายไม่เอาผิด เช่น ทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยอ้างป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นต้น ลักษณะนี้ขึ้นอยู่กับผู้บังคับบัญชาว่าจะสั่งให้กลับเข้ารับราชการ หรือจะให้ออกจากราชการ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ออกคำสั่ง ( ไม่มีผลย้อนหลังเหมือนกรณีให้กลับเข้ารับราชการเพราะไม่มีความผิดและไม่มีมลทินมัวหมอง )
กรณีสุดท้าย คือปรากฏว่ามีความผิด ผู้บังคับบัญชาต้องสั่งให้ราชการ ส่วนจะให้ออกแบบมีเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญหรือไม่นั้นก็ต้องไปพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่ระบุตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัดฯ และ พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ
โดยถ้าให้ออกโดยไม่มีเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ คำสั่งให้ออกนั้นจะมีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันสั่งพักราชการ แต่ถ้าให้ออกแบบมีเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ จะมีผลตั้งแต่วันออกคำสั่ง ( ไม่ย้อนหลัง )
ถ้าศาลพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำผิดแต่รอการกำหนดโทษ รอการลงโทษ หรือลงโทษจำคุกและปรับแต่ให้ยกโทษจำคุก หรือให้รอการลงโทษจำคุกไว้ หรือแค่ปรับสถานเดียว หรือเป็นกรณีผู้บังคับบัญชาสั่งลงทัณฑ์ทางวินัย ซึ่งความผิดนั้นไม่เกี่ยวกับการทุจริตหรือประโยชน์ของทางราชการ กรณีเหล่านี้ผู้บังคับบัญชาอาจสั่งให้กลับเข้ารับราชการหรือให้ออกก็ได้ (เป็นทางเลือกของผู้บังคับบัญชาเช่นเดียวกับกรณีไม่มีความผิดแต่มีมลทิน)
สำหรับเงินเดือนที่ถูกงดระหว่างสั่งพักราชการ ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการตัด งด และจ่ายเงินรายเดือน พ.ศ.๒๕๐๔ กำหนดแนวทางปฏิบัติว่า เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วปรากฏว่าไม่มีความผิด ซึ่งจะได้กลับเข้ารับราชการ เงินเดือนที่ถูกงดจ่ายก็จะได้รับคืนเต็มจำนวน
ถ้าไม่มีความผิดแต่มีมลทินมัวหมอง หรือมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษหรือรอลงอาญา และผู้บังคับบัญชาพิจารณาให้กลับเข้ารับราชการ เงินเดือนที่ถูกงดไว้จะได้คืนไม่เกินครึ่งหนึ่งของเงินอัตราเงินเดือนที่ได้รับก่อนถูกควบคุมตัวหรือถูกสั่งพักราชการ ยกเว้นค่าเช่าบ้านจะได้รับคืนเต็มจำนวน
ถ้าศาลพิพากษาว่ามีความผิด ให้จำคุกหรือหนักกว่าจำคุก หรือถูกปลด ถูกถอดยศ ถูกให้ออกแบบไม่มีบำเหน็จบำนาญ เงินที่งดจ่ายตอนพักราชการก็เลิกหวังไปได้เลย ถ้าโชคร้ายหนักกว่านั้น ดันตายในระหว่างถูกพักราชการ โดยที่คดียังไม่ถึงที่สุด หรือการสอบสวนยังไม่เสร็จ ก็จะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาวินิจฉัยตามหลักฐานที่มีอยู่ว่าจะจ่ายคืนให้มากน้อยเพียงใด แต่ถึงเวลานั้นคงไม่คิดมากแล้ว เพราะคนที่ได้รับเงินคงไม่ใช่เราแน่นอน...^^