เรื่อง เวลา และยุคสมัยประวัติศาสตร์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ระบบจำนวนจริง(Real Number)
Advertisements

การบ้าน ข้อ 1 จงพิสูจน์ว่า
บทที่ 2 สัดส่วน สัดส่วน หมายถึง ประโยคที่แสดงการเท่ากันของอัตราส่วนสองอัตราส่วน.
นายสุวรรณ ขันสัมฤทธิ์
Equilibrium of a Particle
State Table ตารางสถานะ
แผนผังคาร์โนห์ Kanaugh Map
ค33212 คณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ 6
ตัวผกผันการคูณของเมทริกซ์
ค33212 คณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ 6
(สถิตยศาสตร์วิศวกรรม)
โดย : อาจารย์พงศกร ละฟู่ สังกัดระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
วิเคราะห์ประวัติศาสตร์สังคมไทย
โครงงาน คุณธรรมจริยธรรมในชั้นเรียน
สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ทฤษฎีบทพีทาโกรัส
การทดลองสุ่มและแซมเปิ้ลสเปซ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ทฤษฎีบทพีทาโกรัส
LAB 2. การเขียนวงจรลอจิกจากสมการลอจิก
บทที่ 1 จำนวนเชิงซ้อน.
By Benjawan Janekitiworapong
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 เส้นขนาน เรื่อง เส้นขนานและมุมแย้ง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ทฤษฎีบทพีทาโกรัส
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 เส้นขนาน เรื่อง เส้นขนานและการนำไปใช้
การเดินทางทางความคิดของมนุษย์ ที่มีต่อสถาปัตยกรรมตะวันตก
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 เส้นขนาน เรื่อง เส้นขนานและมุมภายใน
ตัวผกผันการคูณของเมทริกซ์
ครูปพิชญา คนยืน. ทักษะ กระบวนการ ทาง คณิตศาสตร์ หน่วยการ เรียนรู้ที่ 8.
บทที่ 3 เรื่อง การต่อตัวต้านทาน.
นางสาวสรัญญา ชื่นเย็น (พี่ออย) เจ้าหน้าที่ศูนย์นวัตกรรมการจัดการ อ.ก้องภู นิมานันท์ อาจารย์ที่ปรึกษา 1.น.ส.นพรัตน์ ปฏิกรณ์ (คุ๊กกี้) นายบุรินทร์
รูปสามเหลี่ยมคล้ายกัน (ง่าย ๆ)
โครงการผ่าตัดต้อกระจก ขจัดตาบอดจากต้อกระจก
วิสัยทัศน์และแนวทางการพัฒนา
คำขวัญ : เรื่องงานใหญ่ๆโตๆ มาติดเทอร์โบแล้วไปกับเรา
การบริหารงานวิชาการ สู่ศตวรรษที่ 21
Art & Architecture Medieval Age
ประวัติศาสตร์โลกยุคใหม่
.:: ทรงปัญญา ศรัทธาธรรม นำสังคม .::
พัฒนาการความคิดทางคณิตศาสตร์
โครงการอบรม e-commerce สำหรับประชาชน
การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพื้นที่ ๔ ภาค โครงการความร่วมมือขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในระดับตำบล.
MATRIX จัดทำโดย น.ส. ปิยะนุช เจริญพืช เลขที่ 9
การระงับข้อพิพาทด้วยอนุญาโตตุลาการ
คัมภีร์ ของศาสนาคริสต์
ข้อเสนอการพัฒนากรมอนามัย โดย คณะทำงานจัดทำข้อเสนอการพัฒนากรมอนามัย โครงการฝึกอบรมนักบริหารรุ่นใหม่ กรมอนามัย รุ่นที่ 1 ปีงบประมาณ 2558.
ปรัชญาชีวิตเพื่อวิถีพอเพียงในชีวิตประจำวัน บทเรียนเรื่อง “ความรู้และการสร้างองค์ความรู้” ภาคต้น ปีการศึกษา 2558 ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนวย พิรุณสาร.
หลักการตลาด บทที่ 16 การประชาสัมพันธ์.
ศิลปะกรีก (GREECE ART)
การบรรยาย การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ในการอำนวยความยุติธรรม
Big Picture ความสำคัญและที่มา ความหมายของการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
การตรวจสอบภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
เวลาและการแบ่งยุคสมัย ทางประวัติศาสตร์สากล
ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเชิงพื้นที่และระดับอุดมศึกษา
Timing diagram ปรับปรุง 19 มีนาคม
ติว ม. 6 วันที่ 15 ก.ค 2558.
บทที่ 2 การวัด.
บทที่ 6 : อัตราส่วนตรีโกณมิติ
บทที่ 5 พฤติกรรมผู้บริโภคการตลาดบนอินเตอร์เน็ต และการโฆษณา
ยุคโบราณ (Ancient Age)
เพลโต (Plato).
นำเสนอ RDU อำเภอแม่วาง เทียบไตรมาสที่ 1 ปี 2560 กับ 2561
สร้างเครือข่ายในชุมชน
Decision: Multi Selection (if-else-if, switch)
20/07/62 การบริหารการเงินสหกรณ์ด้วยเทคโนโลยีทางการเงิน Fintech ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 4.0 ศ.ดร.อาณัติ ลีมัคเดช ผู้อำนวยการศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ.
ร้อยละ 80 ของโรงพยาบาลที่ใช้ยาอย่างสมเหตุผล
การระงับข้อพิพาทด้วยอนุญาโตตุลาการ
ซาตานและพรรคพวกของมัน
ใบสำเนางานนำเสนอ:

เรื่อง เวลา และยุคสมัยประวัติศาสตร์

หมายถึง วิธีนับวันและเดือนโดยถือตำแหน่ง การนับเวลาตามระบบสุริยคติ หมายถึง วิธีนับวันและเดือนโดยถือตำแหน่ง ดวงอาทิตย์เป็นหลัก การนับเวลาตามระบบสุริยคติ

การนับเวลาตามระบบจันทรคติ หมายถึง วิธีนับวันและเดือนโดยถือตำแหน่ง หมายถึง วิธีนับวันและเดือนโดยถือตำแหน่ง ดวงจันทร์เป็นหลัก

เดือนเต็ม รวมแล้วมีวันครบ 30 วัน เดือนคู่ มีข้างขึ้น 15 วัน ข้างแรม 15 วัน รวมแล้วมีวันครบ 30 วัน เดือนคี่ มีข้างขึ้น 15 วัน ข้างแรม 14 วัน รวมเป็น 29 วัน ไม่ครบ 30 วัน

ปีอธิกมาส เป็นปีที่มีเดือน 8 สองหน เดือนจันทรคติใน 1 ปี เป็นปีที่มีเดือน 8 สองหน เดือนจันทรคติใน 1 ปี รวมวันได้เพียง 354 วันจึงแก้โดยการปรับบางปีให้มี13 เดือน โดยเพิ่มเดือน 8 หลังต่อจากเดือน 8 แรก

เดือนอธิกวาร วันจะเพิ่มขึ้น 1 วัน ในเดือน 7 ปีนั้นมีถึงวันแรม 15 ค่ำ

การนับศักราช การนับศักราชแบบไทย การนับศักราชของไทยที่ใช้ในปัจจุบัน คือ แบบ พ.ศ. หรือ พุทธศักราช เริ่มใช้เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว 1 ปี มหาศักราช หรือ ม.ศ. นิยมใช้มากในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทศิลาจารึกและพงศาวดารต่าง ๆ ทั้งสมัยสุโขทัย และสมัยอยุธยาตอนต้น มหาศักราชถูกตั้งขึ้นโดยพระเจ้ากนิษกะ แห่งราชวงศ์กุษาณะ โดยเริ่มภายหลังพุทธศักราช 622 (มหาศักราชตรงกับ พ.ศ. 622)

การนับศักราช จุลศักราช หรือ จ.ศ. ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1182 โดยพระเจ้าสูริยวิกรม กษัริย์พม่า จุลศักราช 1 ตรงกับ พ.ศ. 1182 รัตนโกสินทร์ศก หรือ ร.ศ. เริ่มนับร.ศ. 1 ตั้งแต่พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนากรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ. 2325 ตั้งขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.ศ. 1 ตรงกับ พ.ศ. 2325

การนับศักราชแบบสากล การนับศักราชสากลที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันคือ แบบคริสต์ศักราช หรือ ค.ศ. ภาษาอังกฤษใช้ A.D. (Anno Domini)การนับค.ศ. 1 จะเริ่มจากปีที่พระเยซูพระศาสดาในศาสนาคริสต์ประสูติ ถือว่าเป็นปีแห่งพระเจ้า ส่วน B.C. (Before Christ) หมายถึง การนับศักราชก่อนที่จะถึง ค.ศ. 1 หรือก่อนพระเยซูประสูติ ค.ศ. 1 ตรงกับ พ.ศ. 544 ส่วนศักราชของชาวมุสลิมได้แก่ ฮิจญ์เราะห์ศักราช หรือ ฮ.ศ. เริ่มตั้งแต่ ปีที่ท่านนบีมุฮัมมัด อพยพชาวมุสลิมจากเมืองเมกกะฮ์ ไปยังเมืองมะดีนะฮ์ โดย ฮ.ศ. 1 ตรงกับ พ.ศ. 1165

การเปรียบเทียบศักราช พ.ศ - 2324 = ร.ศ. ร.ศ. + 2324 = พ.ศ. พ.ศ. - 1181 = จ.ศ. จ.ศ. + 1181 = พ.ศ. พ.ศ. - 621 = ม.ศ. ม.ศ. + 621 = พ.ศ. พ.ศ. - 543 = ค.ศ. ค.ศ. + 543 = พ.ศ. ฮ.ศ. + 621 = ค.ศ. ค.ศ. - 621 = ฮ.ศ. ฮ.ศ. + 1122= พ.ศ. พ.ศ. - 1122 = ฮ.ศ.

การนับทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษ การนับทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษ วรรษ หมายถึง ปี ทศ หมายถึง สิบ ทศวรรษ หมายถึง เวลาในรอบ 10 ปี ศต หมายถึง ร้อย ศตวรรษ หมายถึง เวลาในรอบ 100 ปี สหัส หมายถึง พัน สหัสวรรษ หมายถึง เวลาในรอบ 1,000 ปี

ทศวรรษ (decade)   คือ รอบ 10 ปี นับจากศักราชที่ลงท้ายด้วย 0 ไปจนถึงศักราชที่ลงท้ายด้วย 9  เช่น ทศวรรษที่ 1990 ตามคริสต์ศักราช หมายถึง ค.ศ. 1990 - 1999 ศตวรรษ (Century)   คือ รอบ 100 ปี นับจากศักราชที่ลงท้าย 01 ไปจนครบ 100ปี ในศักราชที่ลงท้ายด้วย 00  เช่น พุทธศตวรรษที่26 คือ พ.ศ.2501-2600   สหัสวรรษ (Millenium)   คือ รอบ 1000 ปี ศักราชที่ครบแต่ละสหัสวรรษ จะลงท้ายด้วย000 เช่น สหัสวรรษที่ 2 นับตามพุทธศักราช คือ พ.ศ. 1001-2000

การแบ่งยุคสมัยในประวัติศาสตร์ไทย ยุคสมัยในประวัติศาสตร์ไทยแบ่งออกเป็น 2 ยุค คือ  ยุคก่อนประวัติศาสตร์  ยุคประวัติศาสตร์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์2 ยุคใหญ่ คือ ยุคหิน และยุคโลหะ เกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งยุค คือเครื่องมือเครื่องใช้ รวมทั้งสภาพแวดล้อมทั่วไป

การแบ่งยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ลักษณะการดำรงชีวิต เครื่องมือที่พบ ยุคหิน ยุคหินเก่า ล่าสัตว์ เก็บพืชผลไม้ตามป่าเป็นอาหาร อาศัยอยู่ตามถ้ำ เพิงผา ยังไม่มีการตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง เครื่องมือหินกะเทาะที่ทำหยาบๆ ยุคหินกลาง ยังคงล่าสัตว์ เก็บพืชผลไม้ตามป่า เป็น อาหาร แต่พัฒนามากขึ้น เครื่องมือหินกะเทาะที่มีความประณีต ขนาดเล็กลง ยุคหินใหม่ อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีผู้ปกครอง มีการทอผ้า เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้อย่างประณีต เครื่องมือหินขัด ยุคโลหะ ยุคสำริด รู้จักนำทองแดง และดีบุกมาผสมหล่อ ทำเครื่องมือ เครื่องใช้ เป็นสังคมเกษตร ภาชนะสำริด ขวานสำริด หัวลูกศร ยุคเหล็ก นำเหล็กมาหลอมเป็นเครื่องมือเครื่องใช้เป็นสังคมเกษตร-เ สังคมเมือง เครื่องมือเครื่องใช้จากเหล็กเช่นขวาน ลูกศร

ยุคสมัยประวัติศาสตร์ไทย 1. แบ่งตามราชธานี เช่น สมัยสมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี 2. แบ่งตามราชวงศ์ เช่นสมัยราชวงศ์อู่ทอง 3. แบ่งตามพระนามของพระมหากษัตริย์ เช่น สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช 4. แบ่งตามพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงบ้านเมือง เช่น สมัยอยุธยาตอนต้น 5. แบ่งตามลักษณะการปกครอง เช่น สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ 6. แบ่งตามสมัยของรัฐบาล เช่น สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม 7. แบ่งตามแนวประวัติศาสตร์สากล มี 4 สมัย ด้แก่ สมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยใหม่ และ สมัยปัจจุบัน

การแบ่งยุคประวัติศาสตร์สากล *สมัยโบราณ อารยธรรมกรีก - โรมันโบราณเจริญสูงสุด *สมัยกลาง ยุคมืด / ศักดินาสวามิภักดิ์ / ศาสนจักร/ มีบทบาทมาก *สมัยใหม่ ยุคการฟื้นฟูศิลปวิทยาการกรีก โรมัน *สมัยปัจจุบัน หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 / สงครามเย็น / สมัยปัจจุบัน

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ร่องรอยของสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริง ที่เกิดขึ้นในอดีต และเหลือเป็นมรดกสืบต่อให้นักประวัติศาสตร์ นำมาเป็นข้อมูลในการศึกษาค้นคว้าต่อไป

ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ 1.หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารึก ตำนาน พงศาวดาร ฯลฯ 2.หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ภาพเขียน เครื่องประดับ ฯลฯ

ตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบในประเทศไทย ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ ที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานีอายุระหว่าง 1,000-4,000 ปี ภาพแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ 1. สัตว์ 2. เครื่องมือ เครื่องใช้ 3. สัญลักษณ์ 4. คน

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงนี้รู้จักการหล่อโลหะสำริดเป็นเครื่องประดับ สร้างรูปแบบมีด หอก ขวาน หัวลูกศร ฯลฯ ได้เมื่อ 4,900 -5,600 ปีมาแล้ว รู้จักถลุงเหล็กแล้วนำมาหลอมตีขึ้นรูปเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เมื่อ 3,200 – 3,600 ปีมาแล้ว รู้จักปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ (ควาย และทอผ้าไหมได้ ซึ่งพบหลักฐานทางโบราณคดีเป็นเศษผ้าไหมบนกระดูกมนุษย์โบราณในหลุมสำรวจ) รู้จักวิธีทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะเด่นเฉพาะท้องที่ คือ  การเขียนลายเชือกทาบ  เป็นลวดลายเฉพาะ  ไม่เหมือนแหล่งโบราณคดีที่ใดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้                 

แหล่งโบราณคดีถ้ำผีแมน อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ จากการสำรวจถ้ำผีแมนและรอบ ๆ ถ้ำในเขตอำเภอปางมะผ้า พบหลักฐานเกี่ยวกับเครื่องมือหินเช่น เครื่องมือหินขัดเป็นขวานหินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีอายุประมาณ 8,600 ปีมาแล้ว และได้พบเมล็ดพืชที่ใช้เป็นอาหารมากมายหลายชนิด เช่น เมล็ดน้ำเต้า แตงกวา และพืชตระกูลถั่วฝักยาว พบว่ามีอายุเก่าแก่กว่า 12,000 ปีมาแล้ว ทำให้สันนิษฐานได้ว่า บริเวณนี้มีมนุษย์อาศัยอยู่มาแต่สมัยหินเก่า นอกจากนี้ยังค้นพบเศษภาชนะดินเผา เครื่องมือหินกะเทาะและขวานหินที่มีอายุประมาณ 4,000 - 8,000 ปีมาแล้ว เป็นจำนวนมาก แหล่งโบราณคดีถ้ำผีแมน อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นถ้ำที่พบหลักฐาน ว่ามีมนุษย์เข้ามาอาศัยในถ้ำนี่ เมื่อประมาณ 11,000 -12,000 ปีมาแล้ว เนื่องจากพบว่ามีเครื่องมือเครื่องใช้ ที่ทำจากหินกรวดแม่น้ำ นอกจากนี้ในระหว่าง 6,000 – 9,000 ปี ได้พบชิ้นส่วนของเมล็ดพืช จำพวกพริกไทย น้ำเต้า ถั่ว และผักบางชนิด ที่ทำให้เข้าใจได้ว่ามนุษย์ในยุคนั้นได้รู้จักใช้พืชบริโภค หรืออาจจะรู้จักนำมาเพาะปลูก

แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า  อำเภอเมือง  จังหวัดกาญจนบุรี   เป็นชุมชนที่มีอายุประมาณ  3,800 - 4,000  ปีมาแล้ว เชื่อว่าน่าจะเป็นชุมชนที่มีการทำเกษตรกรรม  โดยรู้จักเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์  พบภาชนะดินเผาที่ทีรูปแบบและทรงต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งวิธีการตกแต่งผิวด้านนอกแตกต่างจากภาชนะดินเผาจากที่แห่งอื่น  ส่วนใหญ่เป็นภาชนะสีดำ  สีเทาเข้ม และสีน้ำตาลเข้ม  แหล่งโบราณคดีแห่งนี้พบภาชนะที่สร้างลักษณะพิเศษแตกต่างจากที่อื่นคือ  ภาชนะดินเผาสามขา