งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพื้นที่ ๔ ภาค โครงการความร่วมมือขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในระดับตำบล.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพื้นที่ ๔ ภาค โครงการความร่วมมือขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในระดับตำบล."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพื้นที่ ๔ ภาค โครงการความร่วมมือขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในระดับตำบล ปีที่ ๒ วันที่ ๑๐-๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๘ ณ ห้องประชุมเบญจรัตน์ โรงแรมเอบิน่าเฮาส์ กรุงเทพมหานคร

2 วัตถุประสงค์ของการประชุม
เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และบทเรียนการพัฒนาระหว่างภูมิภาค เพื่อยกระดับการพัฒนางานสู่การพัฒนานโยบายสาธารณะและต่อยอดขยายผลในวงกว้าง Before Action Review During Action Review After Action Review

3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กลุ่มเป้าหมาย คณะทำงานภาคและคณะทำงานจังหวัด ๔ ภาคประกอบด้วย เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน พะเยา ตาก ลำปาง ภาคเหนือ นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี ภาคกลาง ขอนแก่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม มุกดาหาร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครศรีธรรมราช กระบี่ ภูเก็ต พัทลุง ภาคใต้

4 สรุปภาพรวมการพัฒนากลไกและกระบวนการทำงาน
เป็นกลไกเชิงเครือข่าย เสริมพลัง สร้างศักยภาพ เป็นพี่เลี้ยงซึ่งกันและกันได้ เป็นกลไกการทำงานที่มีความหลากหลาย เป็นกลไกที่มีชีวิต มีการเติมเต็มกระบวนการอยู่เสมอ มีการจัดการที่ดี มีข้อมูล รู้เท่าทันสถานการณ์ การพัฒนากระบวนการ สร้างบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เปิดโอกาสให้พื้นที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในพื้นที่และข้ามพื้นที่ มีขับเคลื่อนการทำงานไปพร้อมๆ กัน ใช้พื้นที่เป็นเงื่อนไขในการออกแบบการทำงาน มีการฝึกการคิดเชิงระบบ เพื่อให้พื้นที่เห็นความเชื่อมโยงจากเรื่องหนึ่งไปสู่อีกเรื่องหนึ่งได้ สร้างการขยายผลโดยตัวของพื้นที่เอง มีการสื่อสาร เพื่อนำข้อมูลมาปรับใช้ในการทำงาน

5 บทเรียนจากการทำงาน การถอดบทเรียนทำให้เกิดการชักชวนคนในตำบลที่เกี่ยวข้องมารับรู้ปัญหาร่วมกัน เกิดการต่อยอดขยายผล เช่น ต่อยอดเป็นธรรมนูญตำบล หรือข้อตกลงร่วม เช่น จารีตตำบล มีการเชื่อมโยงกับเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดทั้งในขาขึ้นและขาเคลื่อน และมีการผลักดันการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่ตำบลนั้นๆ สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหา ผลักดันไปสู่ยุทธศาสตร์หรือวาระของจังหวัด กระบวนการสร้างนโยบายสาธารณะฯ ของพื้นที่ จำเป็นต้องทำความเข้าใจบริบทของพื้นที่ เช่น ทุนเดิมที่มี กระบวนการทำงานในพื้นที่เป็นอย่างไร ประเด็นที่ทำควรสอดคล้องกับสุขและทุกข์ของพื้นที่ เป็นที่สนใจในวงกว้าง

6 การยกระดับสู่การพัฒนา(ให้เป็น) นโยบายสาธารณะฯ (กรณีที่ยังไม่เป็นนโยบายสาธารณะฯ)
ทบทวนความเข้าใจกับพื้นที่เห็นว่าสิ่งที่ทำอยู่ๆ ในขั้นตอนใดของกระบวนการนโยบายสาธารณะ พัฒนากลไกเพื่อรอบรับการทำงาน สร้างการยอมรับ สร้างการมีส่วนร่วม ในการสร้างนโยบายสาธารณะ ใช้การวิจัยมาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อจำแนกระหว่างสิ่งที่เป็นนโยบายกับกิจกรรมสาธารณะ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือ พัฒนาเครื่องมือ และประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ พัฒนาศักยภาพในเรื่องการคิดเชิงระบบ ใช้ภาษาง่ายๆ ในการสื่อสาร สร้างเป้าหมายร่วม เปลี่ยนกิจกรรมสาธารณะให้เป็นนโยบายสาธารณะ ขยายนิยาม HPP ให้เป็นนิยามตามบริบทของพื้นที่

7 การต่อยอดและขยายผลนโยบายสาธารณะฯ ในวงกว้างได้อย่างไร (กรณีที่เป็นนโยบายสาธารณะฯ อยู่แล้ว)
เชื่อมเครือข่ายหาประเด็นร่วม (ค้นหา Connection Matching Mapping พื้นที่) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามพื้นที่/ ข้ามวัฒนธรรม ผลักดันให้เป็นวาระของจังหวัด มีการขยายผลเชื่อมโยงจากประเด็นหนึ่งไปสู่ประเด็นหนึ่ง มีพี่เลี้ยงในการเสริมกระบวนการทำงาน มีพื้นที่รูปธรรมเป็นพื้นที่เรียนรู้ มีการเสริมศักยภาพกลไก มีการสื่อสารอย่างมีพลัง ใช้ระบบ IT เข้ามาช่วยเพื่อให้กระบวนการนโยบายสาธารณะที่มีชีวิตชีวาและทันสมัย เช่น สมัชชาทางอากาศ

8 การแปลงแนวคิด... ไปสู่การปฏิบัติ
มีโปรแกรมในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะตำบลอย่างต่อเนื่อง มีทีมพี่เลี้ยงในการสนับสนุนพื้นที่ (Coaching) มีพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีชุดความรู้ในการทำนโยบายสาธารณะแบบบ้านๆ มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามพื้นที่

9 สานเสริม เติมพลัง “แนวคิดและมุมมองการพัฒนา” นพ
สานเสริม เติมพลัง “แนวคิดและมุมมองการพัฒนา” นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ โครงการความร่วมมือขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในระดับตำบล ปีที่ ๒ มีสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจตรงกัน ดังนี้ ต้องแม่นในเรื่องการถอดบทเรียนเชิงนโยบายไม่ใช่ถอดบทเรียนกิจกรรม ตามคำนิยามเชิงปฏิบัติการ สิ่งที่ทำไม่ใช่การถอดอะไรก็ได้ แต่ต้องเน้นการถอดบทเรียนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบ มาตรการนโยบายโดยทั่วไปนั้นมีอยู่ 5 ด้าน คือ 1) มาตรการบริการ ) มาตรการวิชาการ 3)มาตรการรณรงค์ปฏิบัติ 4) มาตรการการบังคับ เช่น ข้อบัญญัติท้องถิ่น และ 5) มาตรการทางนโยบาย ซึ่งมาตรการที่ 5 ยังมีอยู่น้อยมาก เราควรมองนโยบายที่ไปไกลมากกว่าภาครัฐ เพราะเราเน้นการมีส่วนร่วม กระบวนการที่เราจะไปถอดบทเรียนขอให้ดูโลกของความเป็นจริงด้วย บางชุมชนบางพื้นที่อาจจะไปเกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสุขภาวะ บางพื้นที่เป็นประเด็นร้อน เป็นปฏิปักษ์กับนโยบายสาธารณะ ซึ่งการมีนโยบายอะไรต้องฟังกัน ไม่ใช่กำหนดจากรัฐเพียงอย่างเดียว โครงการนี้เป็นการถอดกระบวนการไม่ใช่การถอดบทเรียนความสำเร็จของพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ซึ่งเราจะต้องมีความชัดเจนในเรื่องนี้ให้มากขึ้น

10 แนวคิด ทิศทาง การพัฒนาระบบสุขภาพ. นพ
แนวคิด ทิศทาง การพัฒนาระบบสุขภาพ นพ.ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ เวลาพูดถึงเรื่องสุขภาพทุกคนจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องใหญ่มาก เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับแพทย์เท่านั้น แต่พอลงไปสัมผัสกับปัญหาสุขภาพจริงๆ จะพบว่า เรื่องสุขภาพมีความเกี่ยวข้องกับคนทุกคน เพราะการเจ็บป่วยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรม ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย และต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ที่สังคมต้องเรียนรู้ เพราะระบบสุขภาพเป็นเรื่องของคนทุกคน สิ่งที่พวกเรากำลังช่วยกันสร้างอยู่ในขณะนี้ คือ การสร้างระบบสุขภาพที่อาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนซึ่งถือเป็นหัวใจในการทำงาน ถ้าเริ่มต้นจากการมีข้อมูลนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจ ก็จะทำให้การกำหนดเป้าหมายมีความชัดเจนมากขึ้น การสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพก็จะชัดเจนมากขึ้น และนำไปสู่ระบบสุขภาพชุมชนแบบใหม่ เนื่องจากทิศทางในการจัดการระบบสุขภาพในอนาคตที่สำคัญ คือ “การมีส่วนร่วม” ที่เป็นการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ มีการพูดคุยกันบนฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ ระบบสุขภาพของเราจะเปลี่ยนแปลงไป เกิดเป็นการพัฒนาระบบสุขภาพที่มีความยั่งยืน โดยสรุปแล้ว ระบบสุขภาพเป็นเรื่องการปฏิสัมพันธ์ของคนกับคน ถ้าไม่มีคนกับคนมาร่วมกัน มันก็ไม่เกิดความยั่งยืนเพราะจะกลายเป็นการทำกิจกรรมแล้วจบ ดังนั้นสิ่งที่เราทำอยู่ในขณะนี้อาจกล่าวได้ว่า “เรากำลังสร้างระบบชีวิตเพื่อประชาชน”

11 เติมเต็มมุมมอง โดยผศ.ทศพล สมพงษ์
เติมเต็มมุมมอง โดยผศ.ทศพล สมพงษ์ สิ่งที่เรากำลังทำคือ การค้นหากระบวนการสาธารณะที่จะไปสื่อสารกับชาวบ้านได้อย่างเข้าใจ โจทย์ พื้นที่ที่ทำได้ ทำไมเขายอมทำ ? ทำแล้วได้ผลหรือไม่ได้ผล? ในกรณีพื้นที่ที่ทำไม่ได้ พี่เลี้ยงจังหวัดจะมียุทธศิลป์ในการไปสร้างความฮึกเหิมให้กับพื้นที่เหล่านั้นอย่างไร ? อันไหนเป็นกิจกรรม อันไหนเป็นนโยบาย? ถ้าเป็นนโยบายเขามีการขับเคลื่อนอย่างไร มีการยกระดับเป็นวาระแห่งตำบล/จังหวัดได้อย่างไร (Publicize)

12 จังหวะก้าวต่อไป ร่วมกันออกแบบเวทีประชุมวิชาการในช่วงระหว่างวันที่ พ.ย. 58 แต่ละภาคส่งผู้แทน 2-3 คน มาร่วมกันออกแบบ เกี่ยวกับ กำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดเวที กระบวนการจัดเวที (ติดดิน กินได้ สานต่อ) จัดหมวดหมู่ความรู้ที่มีอยู่ คำนึงถึงความหลากหลาย (ทั้งที่สำเร็จและไม่สำเร็จ) และคัดเลือกพื้นที่ที่เด่นๆ มาเป็นกรณีศึกษาในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยจัดทำเอกสารประกอบ จัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบ World Café หรือใช้วิธีการ Road Show ให้กับอบต.ที่สนใจได้เรียนรู้ มีพื้นที่กลางที่ให้คนในงานได้พบปะพูดคุยกัน มีการประกาศมอบรางวัล/เกียรติบัตรเพื่อเป็นกำลังใจให้กับคนทำงาน (อาจจะโดยการจับสลาก) กลุ่มผู้เข้าร่วม อาจจะเชิญตัวแทนท้องถิ่นและตัวแทนประชาชนในพื้นที่เข้ามาด้วย มีการถ่ายทอดการจัดประชุม โดย Link กับวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย


ดาวน์โหลด ppt การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพื้นที่ ๔ ภาค โครงการความร่วมมือขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในระดับตำบล.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google