บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีอากร ภาษีอากร คือ สิ่งที่รัฐบาลบังคับเก็บจากประชาชนและนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมโดยไม่ได้ให้ประโยชน์โดยตรงแก่ผู้เสียภาษีอากร เงินได้/ทรัพยากรที่ย้ายจากภาคเอกชนไปสู่รัฐบาล(นักวิชาการภาษีอากร,2556,หน้า1)
วัตถุประสงค์ เพื่อหารายได้ให้รัฐบาล เพื่อกระจายรายได้ให้ประชาชน ส่งเสริมธุรกิจการค้า 4. รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 5. ช่วยควบคุมการบริโภคของประชาชน
ภาระภาษี หมายถึง ส่วนของรายได้ที่แท้จริงที่ลดลงเนื่องจากการจัดเก็บภาษีของรัฐ แยกเป็น 2 นัย
ภาระภาษี 1. ภาระภาษีทางกฎหมาย (ภาระภาษีอย่างเป็นทางการ) หมายถึง ภาระในจำนวนหนี้ภาษีอากร ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนดไว้
ภาระภาษี 2. ภาระภาษีทางเศรษฐกิจ (ภาระภาษีที่แท้จริง) หมายถึงภาระภาษีที่ต้องตกอยู่กับบุคคลในขั้นสุดท้าย
ฐานภาษี : สิ่งที่เป็นเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษี 1. ฐานเกี่ยวกับรายได้ (Income Base) เช่น ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล 2. ฐานเกี่ยวกับการบริโภค (Consumption Base) เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต 3. ฐานเกี่ยวกับความมั่งคั่ง (Wealth Base ) เช่น ภาษีที่ดิน ภาษีโรงเรือน ภาษีมรดก 4. ฐานสิทธิพิเศษในการประกอบการ เช่น ใบอนุญาตขายสุรา
อัตราภาษี : สัดส่วนของฐานภาษีที่กำหนดให้เก็บ เป็นภาษี อัตราภาษี : สัดส่วนของฐานภาษีที่กำหนดให้เก็บ เป็นภาษี 1. อัตราแบบคงที่ เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยเก็บ 20% ของกำไรก่อนภาษี 2. อัตราแบบก้าวหน้า เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้สุทธิ อัตราภาษี ส่วนที่เกิน 0 – 300,000 บาท 5% ส่วนที่เกิน 300,000 – 500,000 บาท 10% ส่วนที่เกิน 500,000 – 1,000,000 บาท 15% 3. อัตราแบบถดถอย ฐานภาษีมีจำนวนเพิ่มขึ้นแต่อัตราภาษีกลับลดลง
วิธีการจัดเก็บภาษี 2. การประเมินตนเอง 3. การประเมินโดยเจ้าพนักงาน 1. การหักภาษี ณ ที่จ่าย 2. การประเมินตนเอง 3. การประเมินโดยเจ้าพนักงาน
ประเภทภาษีอากร 1. ภาษีทางตรง : ภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้ยาก เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล 2. ภาษีทางอ้อม : ภาษีที่ผู้เสียภาษีผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้ง่าย เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีศุลกากร ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีสรรพสามิต
นโยบายภาษีอากรที่ดีต้องตอบสนองเป้าหมายทางเศรษฐกิจ ดังนี้ การจัดสรรทรัพยากรให้เป็นธรรม การกระจายรายได้และทรัพย์สิน การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การแก้ปัญหาดุลการค้าและดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ
ความขัดแย้งระหว่างเป้าหมายทางภาษีอากร ความขัดแย้งระหว่างเป้าหมายด้านรายได้ของรัฐบาลกับเป้าหมายอื่น ความขัดแย้งระหว่างเป้าหมายการกระจายรายได้กับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความขัดแย้งระหว่างเป้าหมายการรักษาเสถียรภาพทางด้านราคากับการจ้างงาน
ลักษณะของภาษีอากรที่ดี มีความเป็นธรรมต่อผู้เสียภาษี มีความแน่นอน มีประสิทธิภาพ ไม่มีผลกระทบต่อกลไกตลาด มีความสะดวก มีความยืดหยุ่น สร้างรายได้