อาเซียน.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ASEAN Economic Community
Advertisements

asean บรูไน ดารุสซาลาม อินโดนิเซีย กัมพูชา ลาว มาเลเซีย พม่า
ประชาคมอาเซียน โดย ด.ญ.ทิฆัมพร เพชรกลับ ด.ญ. วัชรีย์ เหล็งรัมย์
โดย คุณครูทานตะวัน เทียมถนอม กลุ่มสาระฯภาษาต่างประเทศ ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร.
แผนปฏิบัติตามกรอบอำนาจหน้าที่ของ คณะอนุกรรมาธิการความสัมพันธ์ เศรษฐกิจ การศึกษา มิตรภาพ ไทย-จีน-อาเซียน ตามประกาศกรรมาธิการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ที่
วิกฤต-โอกาส กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
จัดทำโดย นาย รังสรรค์ บุญทัน คณะเกษตร
มอง.....กัมพูชา โอกาสทั้งนั้น
มามามะ เชิญมา มาร่วมเฮฮา สนุกสนานครื้นเครง
Explaining ASEAN REGIONALISM IN SOUTHEAST ASIA
ภาวะผู้นำและการส่งเสริมภาวะผู้นำทางวิชาการ
ปราณีต ศรีศักดา อดีต ผอ.สคบศ กศ.บ.วิทยาลัยวิชาการศึกษา พิษณุโลก
จัดทำโดย ด.ญ.อมราลักษณ์ ลาภเกิน เลขที่ 23 กลุ่ม 16
อาเซียน สนุกกับอาเซียน จัดทำโดย ด.ญ.เบญญาภา เพ็ญกรูด ม.1/16 เลขที่34
ด.ชธเนศพล สินธุพรหม กลุ่ม15 เลขที่7
จัดทำโดย ด.ช. พศวัตร์ พุ่มลำเจียก กลุ่ม 15เลขที่10
ของเด็กหญิง ชนิตา นรสิงห์
ด.ญ. มัทชิมา บุญช่วงดี เลขที่ 47 ม.1/20 กล่ม 16
FTA และผลกระทบต่อภาษีสรรพสามิต
ตอน..สายการบินของกลุ่มประเทศอาเซียน
ด.ช.ปรีชา แผ่นทอง ป6/3 ด.ช.จักรภัทร วรานสินธุ์
การเปิดประตูการค้าแห่งใหม่ ระหว่างไทยกับอินเดีย. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่าง ประเทศ Cambodia Vietnam Laos China India Malaysia Indonesia Singapore Brunei.
ASEAN.
10ประเทศอาเซียน จัดทำโดย ด.ญ. นฤภร บุญส่งศรี ม.1/14 เลขที่ 20 กลุ่ม 15
จัดทำโดย 1.ด.ช. ชาญชล ประดิษฐภูมิกลุ่ม 16 เลขที่28
คำขวัญวันครู ๒๕๕๗ ♦ เทิดพระเกียรติทั่วหล้า ♦ ♦ กตัญญูบูชา ♦ ♦ แม่และครูแห่งแผ่นดิน ♦ ♥ ด. ช. นยนายุธ สาราณิธรรม ป 6/1 เลขที่ 13 ♥
เสนอ อาจารย์ฐิตาพร ดวงเกตุ โรงเรียนวินิตศึกษา
ดอกไม้ประจำชาติกลุ่มอาเซียน
CapitalCapitalCapitalCapital GEOGRAPHY OF ASIA TAWEESAK KUNYOCHAI อาจารย์สอง Satit UP.
หนังสืออิเลคทรอนิคส์ เรื่อง … สกุลเงินอาเซียน วิชา …. สังคมศึกษา โรงเรียนบ้านเป้า ต. บ้านฟ้า อ. บ้านหลวง จ. น่าน ๕๕๑๙๐ สังกัด สพป. น่าน เขต ๑.
จัดทำโดย ด.ญ. ประภาศิริ เซ็นแก้ว กลุ่ม 13 เลขที่ 24
จดหมายธุรกิจ ต่างประเทศ ที่ใช้ในกลุ่ม ประเทศอาเซียน + ตราประจำ ประเทศ.
10 ประเทศอาเซียน จัดทำโดย เด็กหญิง ญาธิดา หลาวเพ็ชร กลุ่ม 14 เลขที่ 14
กระทรวงสาธารณสุข และอาเซียน
1. ด.ญ. นรมน น้อยชัยพฤกษ์ เลขที่ ด.ญ. สุกัญญา พันธุพูล เลขที่ 37
เมนู บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย ฟลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย
10 ประเทศอาเซียน.
Maesai Hospital GREE N. บริบทของพื้นที่และ ผู้รับบริการ.
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตสุขภาพที่ 10
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม
เรื่อง ประเทศไทยกับประชาคมอาเซียน การประชุมวิชาการ ปขมท ประจำปี 2555
ธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย 23 กุมภาพันธ์ 2550
ปัญหายาเสพติดแนวชายแดน
ข้อมูลพื้นฐานและบทบาทของประเทศสมาชิกอาเซียน
แนวปฏิบัติสำหรับการศึกษานานาชาติ
การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ AEC
อาจารย์สอง : TAWEESAK GUNYOCHAI : Satit UP
Opportunities and Challenges Thailand – Cambodia Border Trade Trade and Investment Cooperation Division.
บุคลากรสาธารณสุข รู้ทันประชาคมอาเซียน
อาจารย์สอง TAWEESAK GUNYOCHAI : Satit UP
หลักสูตรเสริมสร้างความรู้ เรื่อง การเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘
ยุทธศาสตร์ เขตเศรษฐกิจพิเศษ
ธงชาติประเทศในอาเซียน
บรูไนดารุสซาลาม Brunei Darussalam
(Economic Development)
การพัฒนาระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ National e-Payment
หลักการใหม่ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560
ผลการดำเนินงานโครงการทัศนศึกษาต่างประเทศ (มาเลเซีย-สิงคโปร์)
กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการ
เวลามาตรฐาน ใน S.E.A. อาจารย์สอง Satit UP.
ดอกไม้ประจำชาติในประเทศอาเซียน
GEOGRAPHY OF ASIA TAWEESAK KUNYOCHAI อาจารย์สอง Satit UP
ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน
ประเทศบรูไน.
ถัดไป.
ประเทศสิงคโปร์.
สารบัญ ความเป็นมาของประเทศ 1 ภูมิศาสตร์ 2 วัฒนธรรม 3 ภาษา 4
สถานการณ์ก๊าซปิโตรเลียมเหลว
ประเทศฟิลิปปินส์ จัดทำโดย ด.ญ. พลอยชมพู ณ สมบูรณ์ เสนอ
ประเทศบรูไน จัดทำโดย เด็กชายชวกร มณีธรรม ม.2/6 เลขที่21.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

อาเซียน

พม่า บรูไน ฟิลิปปินส์ กัมพูชา สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม ลาว ไทย มาเลเซีย

ธงชาติ        ตราแผ่นดิน ชื่อทางการ : เนการา บรูไน ดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam แปลว่า ดินแดนแห่งความสงบสุข)  ที่ตั้ง : ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว (ละติจูดที่ 5 เหนือเส้นศูนย์สูตร) แบ่งเป็นสี่เขต คือ เขต Brunei-Muara เขต Belait เขต Temburong และเขต Tutong  พื้นที่ : 5,765 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้เขตร้อน  เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน (Bandar Seri Begawan)  ประชากร : 370,00 คน (2548) ประกอบด้วย มาเลย์ (66%) จีน (11%) และอื่น ๆ (23%) มีอัตราการเพิ่มของประชากรปีละ 2 %  ภูมิอากาศ : อากาศโดยทั่วไปค่อนข้างร้อนชื้น มีปริมาณฝนตกค่อนข้างมาก อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส  ภาษา : ภาษามาเลย์ (Malay หรือ Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นภาษาอังกฤษและภาษาจีน  ศาสนา : ศาสนาประจำชาติ คือ ศาสนาอิสลาม (67%) ศาสนาอื่น ๆ ได้แก่ ศาสนาพุทธ (13%) ศาสนาคริสต์ (10%) และฮินดู  สกุลเงิน : ดอลลาร์บรูไน (Brunei Dollar : BND) อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ (ซื้อ) 22.9 บาท/ 1 ดอลลาร์บรูไน (ขาย) 23.5 บาท/ 1 ดอลลาร์บรูไน (มกราคม 2552) (ค่าเงินบรูไนมีความมั่นคงและใช้อัตราแลกเปลี่ยนเดียวกับเงินสิงคโปร์ และสามารถใช้เงินสิงคโปร์ในบรูไนได้ทั่วไป)   ระบอบการปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัลโบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ (His Majesty Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah) ทรงเป็นองค์พระประมุขของประเทศตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2510 รัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 1 มกราคม 2527 กำหนดให้สมเด็จพระราชาธิบดีทรงเป็นอธิปัตย์ คือ เป็นทั้งประมุขและนายกรัฐมนตรี สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันยังทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังด้วย ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นชาวบรูไนฯ เชื้อสายมาเลย์โดยกำเนิด และจะต้องนับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่

ธงชาติ            ตราแผ่นดิน ชื่อทางการ : ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)  ที่ตั้ง : กัมพูชาตั้งอยู่กลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศเหนือติดกับประเทศไทย (จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์) และลาว (แขวง อัตตะปือและจำปาสัก) ทิศตะวันออกติด เวียดนาม (จังหวัดกอนทูม เปลกู ซาลาย ดั๊กลั๊ก ส่องแบ๋ เตยนิน ลองอาน ด่งท๊าบ อันซาง และเกียงซาง) ทิศตะวันตกติดประเทศไทย (จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด) และทิศใต้ติดอ่าวไทย  พื้นที่ : ขนาดกว้าง 500 กิโลเมตร ยาว 450 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย เส้นเขตแดนโดยรอบประเทศยาวประมาณ 2,000 กิโลเมตร โดยมีเส้นเขตแดนติดต่อกับประเทศไทยยาว 798 กิโลเมตร  เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ (Phnom Penh)  ประชากร : 14.1 ล้านคน (ปี 2548) ประกอบด้วย ชาวเขมรร้อยละ 94 ชาวจีนร้อยละ 4 และอื่น ๆ อีกร้อยละ 2 มีอัตราการเพิ่มของประชากรเฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี  ภูมิอากาศ : ร้อนชื้น มีฤดูฝนยาวนาน อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 20 - 36 องศาเซลเซียส  ภาษา : ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาที่ใช้โดยทั่วไป ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เวียดนาม จีน และไทย  ศาสนา : ศาสนาประจำชาติ คือ ศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท (แยกเป็น 2 นิกายย่อย คือ ธรรมยุตินิกายและมหานิกาย) และศาสนาอื่นๆ อาทิ ศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์  สกุลเงิน : เงินเรียล (Riel : KHR) อัตราแลกเปลี่ยน 4,000 เรียลเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 100 เรียล เท่ากับ 1 บาท ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ คือ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี (His Majesty Preah Bat Samdech Preah Boromneath Norodom Sihamoni) เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อ วันที่ 14 ตุลาคม 2547 นายกรัฐมนตรี คือ สมเด็จฮุน เซน (Samdech Hun Sen)

พื้นที่ : 1,890,754 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศหมู่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อย กว่า 17,508 เกาะ รวมอยู่ในพื้นที่ 4 ส่วน คือ หมู่เกาะซุนดาใหญ่ ประกอบด้วย เกาะชวา สุมาตรา บอร์เนียว และสุลาเวสี หมู่เกาะซุนดาน้อย ประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา มีเกาะบาหลี ลอมบอก ซุมบาวา ซุมบา ฟอลเรส และติมอร์ หมู่เกาะมาลุกุ หรือ หมู่เกาะเครื่องเทศ ตั้งอยู่ระหว่างสุลาเวสี กับอิเรียนจายาบนเกาะ นิวกีนี อีเรียนจายา อยู่ทางทิศตะวันตกของปาปัวนิวกินี เมืองหลวง : จาการ์ตา (Jakarta)  ประชากร : ประมาณ 220 ล้านคน ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม ซึ่งพูดภาษาต่างกันกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา  ภูมิอากาศ : มีอากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และ ฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน)  ภาษา : ภาษาราชการและภาษาประจำชาติ ได้แก่ ภาษาอินโดนีเซีย หรือ Bahasa Indonesia  ศาสนา : ชาวอินโดนีเซียร้อยละ 87 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 6 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ ร้อยละ 3.5 นับถือศาสนาคริสต์นิกายแคทอลิก ร้อยละ 1.8 นับถือศาสนาฮินดู และร้อยละ 1.3 นับถือ ศาสนาพุทธ 4  สกุลเงิน : รูเปียห์ (Rupiah : IDR) อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ (ซื้อ) 2.87 บาท / 1,000 รูเปียห์ (ขาย) 3.32 บาท / 1,000 รูเปียห์ (มกราคม 2552)  ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตย ที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร

ลาว หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดต่อกับจีน ทางทิศเหนือ ติดต่อกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ...วิกิพีเดีย เมืองหลวง: เวียงจันทน์ รหัสโทรศัพท์: +856 สกุลเงิน: กีบ ประชากร: 6.77 ล้าน (พ.ศ. 2556) ธนาคารโลก ภาษาราชการ: ภาษาลาว ระบบการปกครอง: รัฐคอมมิวนิสต์, รัฐเดี่ยว, รัฐสังคมนิยม, ระบบพรรคเดียว

ชื่อภาษาไทย : มาเลเซีย ชื่อภาษาอังกฤษ : Malaysia ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) เมืองหลวง : กัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur, KL) ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์ (Malaysian Malay) สกุลเงิน : ริงกิต (Ringgit, MYR) พื้นที่ : 127,355 ตารางไมล์ (329,847 ตารางกิโลเมตร) จำนวนประชากร : 30,000,000 คน การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์ (สมเด็จพระราชาธิบดี) เป็นประมุข Time Zone : UTC+8 (เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง) GDP : 555,912 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รายได้ต่อหัวประชากร : 18,509 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี รหัสโทรศัพท์ (IDC) : +60

อทางการ            : สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (Republic of the Union of the Myanmar) เมืองหลวง              : เนปิดอว์ (Nay Pyi Taw) (เมืองหลวงเดิม คือ ย่างกุ้ง) ศาสนาประจำชาติ   : ศาสนาพุทธ ดอกไม้ประจำชาติ   : ดอกประดู่ (Padauk) วันชาติ                  : 4 มกราคม วันที่เป็นสมาชิกอาเซียน : 23 กรกฎาคม พ.ศ.2540 ภาษาประจำชาติ     : ภาษาเมียนมาร์ ภาษาราชการ         : ภาษาเมียนมาร์   ลักษณะทางภูมิศาสตร์           พม่ามีพื้นที่ประมาณ 657,740 ตารางกิโลเมตร  “ภูมิประเทศ”           ทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ติดกับจีนและทิเบต           ทิศใต้และตะวันออกเฉียงใต้ ติดกับลาวและไทย           ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับอินเดียและบังกลาเทศ           ทิศใต้ ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล  “ภูมิอากาศ”           แบบมรสุมเขตร้อน มี 3 ฤดู คือ ร้อน ฝน และหนาว ซึ่งสภาพอากาศจะแตกต่างกันไปตามภูมิประเทศ โดยพื้นที่สูงจะหนาวเย็น พื้นที่ภาคกลางจะแห้งแล้งกว่าแถบชายฝั่งทะเลตอนใต้ประชากรมีจำนวนประชากรประมาณ 55 ล้านคน มีหลายเชื้อชาติ ส่วนใหญ่มีเชื้อชาติเมียนมาร์ รองลงมา คือ ไทยใหญ่ มอญ ยะไข่ กะเหรี่ยง  คะฉิ่น ไทยและชินการเมืองการปกครอง           มีรูปแบบการปกครองแบบสาธารณรัฐ โดยมีรัฐสภาซึ่งประกอบด้วย สภาประชาชน สภาชาติพันธุ์ และสภาท้องถิ่น สมาชิกรัฐสภามาจากการเลือกตั้ง โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้ารัฐบาล แบ่งการปกครองเป็น 7 รัฐ ตามกลุ่มเชื้อชาติที่เป็นชนกลุ่มใหญ่ในแต่ละรัฐและแบ่งเป็น  7 ภาค ในเขตพื้นที่ราบลุ่มที่ประชากรเชื้อสายเมียนมาร์อาศัยเป็นส่วนใหญ่  

ธงชาติ       ตราแผ่นดิน ชื่อทางการ : สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)  ที่ตั้ง : เป็นประเทศหมู่เกาะที่ประกอบด้วยเกาะจำนวนทั้งสิ้น 7,107 เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากเอเชียแผ่นดินใหญ่ทาง ตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 100 กม. และมีลักษณะพิเศษ คือ เป็นประเทศเพียงหนึ่งเดียวที่มีพรมแดนทางทะเลที่ติดต่อระหว่างกันยาวมากที่สุดในโลก ทิศตะวันตกและทิศเหนือติดกับทะเลจีนใต้ ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 1,800 กิโลเมตรภาพนิ่ง 2ภาพนิ่ง 2 พื้นที่ : 298,170 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 3 ใน 5 ของประเทศไทย)  เมืองหลวง : กรุงมะนิลา (Manila)  ประชากร : 88.7 ล้านคน (พ.ศ.2550) ภูมิอากาศ : มรสุมเขตร้อน ได้รับความชุ่มชื้นจากลมมรสุมทั้ง 2 ฤดู ได้รับฝนจากลมพายุไต้ฝุ่น และดีเปรสชั่น บริเวณที่ฝนตกมากที่สุด คือ เมืองบาเกียว เป็นเมืองที่ฝนตกมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ภาษา : มีการใช้ภาษามากกว่า 170 ภาษา โดยส่วนมากเกือบทั้งหมดนั้นเป็นตระกูลภาษาย่อยมาลาโย-โปลินีเซียนตะวันตก แต่ในปี พ.ศ. 2530 รัฐธรรมนูญได้ระบุให้ภาษาฟิลิปิโน (Filipino) และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ที่ใช้กันมากในประเทศฟิลิปปินส์มีทั้งหมด 8 ภาษา ได้แก่ ภาษาสเปน ภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษาจีนแต้จิ๋ว ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาซินด์ ภาษาปัญจาบ ภาษาเกาหลี และภาษาอาหรับ โดยฟิลิปปินส์นั้น มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก  ศาสนา : ร้อยละ 92 ของชาวฟิลิปปินส์ทั้งหมดนับถือศาสนาคริสต์ โดยร้อยละ 83 นับถือนิกายโรมันคาทอลิก และร้อยละ 9 เป็นนิกายโปรเตสแตนต์ มุสลิมร้อยละ 5 พุทธและอื่น ๆ ร้อยละ 3  สกุลเงิน : เปโซ (Peso : PHP) อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ (ซื้อ) 0.72 บาท/ 1 เปโซ (ขาย) 0.75 บาท/ 1 เปโซ (มกราคม 2552)  ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร (วาระ 6 ปี) ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นางกลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย (Gloria Macapagal Arroyo) ซึ่งได้รับการรับรองให้เป็นผู้ชนะการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2547

ชื่อทางการ             : สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore) ศาสนาประจำชาติ   : ไม่มีศาสนาประจำชาติ (ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมา คือ อิสลาม คริสต์ ฮินดู และลัทธิเต๋า) ดอกไม้ประจำชาติ   : กล้วยไม้แวนด้า มิส โจควิม (Vanda Miss Joaquim) วันชาติ                   : 9 สิงหาคม วันที่เป็นสมาชิกอาเซียน    : 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 (สมาชิกก่อตั้ง) ภาษาประจำชาติ     : ภาษามาเลย์ หรือ ภาษามลายู ภาษาราชการ         : อังกฤษ จีน มาเลย์ และภาษาทมิฬ  ลักษณะทางภูมิศาสตร์           สิงคโปร์เป็นนครรัฐที่ตั้งอยู่บนเกาะ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 697 ตารางกิโลเมตร (มีขนาดเท่ากับเกาะภูเก็ตของไทย) โดยจะเป็นเกาะใหญ่หนึ่งเกาะ (เกาะสิงคโปร์) และเกาะเล็กๆ อีกมากกว่า 60 เกาะ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายู ทางทิศเหนือติดกับช่องแคบยะโฮร์ ทิศใต้ติดกับช่องแคบสิงคโปร์ ทิศตะวันออกติดกับทะเลจีนใต้ และทิศตะวันตกติดกับช่องแคบมะละกา“ภูมิประเทศ”           ในภาคตะวันตกและภาคกลางของประเทศจะเป็นเนินเขา โดยภาคกลางจะมีเนินเขาที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำที่สำคัญของสิงคโปร์ พื้นที่บริเวณชายฝั่งของสิงคโปร์จะมีลักษณะเว้าแหว่งเหมาะที่จะเป็นท่าเรือ“ภูมิอากาศ”           สิงคโปร์อยู่ในเขตอากาศร้อนชื้นและมีฝนตกชุก ประเทศนี้มีอุณหภมิคงที่ ไม่มีการแบ่งแยกฤดูกาลที่ชัดเจน ในช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม จัดเป็นเดือนที่ร้อนที่สุด และในช่วงเดือนพฤศจิกายน – มกราคมจะเป็นช่วงมรสุมประชากร           มีจำนวนประชากรประมาณ 5.08 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก และประชากรก็มีความหลากหลายของเชื้อชาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีน รองลงมาจะเป็นชาวมาเลย์ และชาวอินเดีย   การเมืองการปกครอง           สิงคโปร์ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ (มีวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี) มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และแบ่งอำนาจการปกครองออกเป็น 3 ส่วน คือ สภาบริหาร รัฐสภา และสภาตุลาการ

ชื่อทางการ             : สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam) เมืองหลวง              : ฮานอย (Hanoi) ศาสนาประจำชาติ   : ไม่มีศาสนาประจำชาติ (ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาเป็นคริสต์ และอิสลาม) ดอกไม้ประจำชาติ   : ดอกบัว (Lotus) หรือเรียกว่า “ดอกไม้แห่งรุ่งอรุณ” วันชาติ                  : 2 กันยายน วันที่เป็นสมาชิกอาเซียน : 28 กรกฎาคม พ.ศ.2538 ภาษาประจำชาติ     : ภาษาเวียดนาม ภาษาราชการ                   : ภาษาเวียดนาม ลักษณะทางภูมิศาสตร์เวียดนาม มีลักษณะพื้นที่เป็นแนวยาวคล้ายตัว S มีพื้นที่ประมาณ 331,690 ตารางกิโลเมตร (3 ใน 5 ของไทย หรือ ประมาณ 65%) ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของคาบสมุทรอินโดจีน ทางทิศเหนือติดกับประเทศจีน ทิศใต้ติดกับทะเลจีนและอ่าวไทย ทิศตะวันออกติดกับอ่าวตัวเกี๋ยและทะเลจีน และทิศตะวันตกติดกับประเทศกัมพูชาและประเทศลาว“ภูมิประเทศ” พื้นที่ของเวียดนามส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาสูง (โดยเฉพาะทางภาคเหนือ) คั่นระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง และตอนใต้เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงนอกจากนี้ยังมีชายฝั่งทะเลแคบๆ ที่ยาวจากเหนือจรดใต้“ภูมิอากาศ” วียดนามอยู่ในพื้นที่มรสุมเขตร้อน ทางภาคเหนือของประเทศจะมี 4 ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม – เมษายน) ฤดูร้อน (พฤษภาคม – สิงหาคม) ฤดูใบไม้ร่วง (กันยายน – พฤศจิกายน) และฤดูหนาว (ธันวาคม – กุมภาพันธ์) ส่วนทางภาคกลางและภาคใต้จะมีเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูฝน (พฤษภาคม – ตุลาคม) และฤดูแล้ง (ตุลาคม – เมษายน)ประชากรมีจำนวนประชากรประมาณ 86 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชาวเวียด รองลงมาจะเป็นชนกลุ่มน้อย ชาวเขา และชาวเขมร การเมืองการปกครองเวียดนามปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมีพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม (Communist Party of Vietnam: CPV) เป็นพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวในประเทศ โครงสร้างการปกครองของเวียดนามแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ*สภาแห่งชาติ (The National Assembly หรือ Quoc-Hoi) เป็นองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ มีอำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการออกกฎหมายต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีอำนาจให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งและถอดถอนประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี           *องค์กรฝ่ายบริหาร ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและบริหารประเทศ           *รัฐบาลท้องถิ่น (People’s Committee of Province) เวียดนามมีสภาประชาชนและคณะกรรมการประชาชนประจำท้องถิ่นเป็นองค์กรบริหารสูงสุดประจำท้องถิ่น โดยรัฐบาลท้องถิ่นจะบริหารงานตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎระเบียบที่รัฐบาลกลางบัญญัติไว้

ชื่อทางการ   : ราชอาณาจักรไทย (The Kingdom of Thailand) เมืองหลวง    : กรุงเทพมหานคร (Bangkok)           รู้หรือไม่ ? ชื่อเต็มของกรุงเทพมหานคร คือ “กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์ ศาสนาประจำชาติ   : ศาสนาพุทธ รองลงมาคือ อิสลาม คริสต์ และฮินดู ดอกไม้ประจำชาติ   : ดอกราชพฤกษ์ (Ratchaphruek) วันชาติ                   : 5 ธันวาคม วันที่เป็นสมาชิกอาเซียน    : 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 (สมาชิกก่อตั้ง) ภาษาประจำชาติ     : ภาษาไทย ภาษาราชการ         : ภาษาไทย   ลักษณะทางภูมิศาสตร์ตั้งอยู่ในอินโด – แปซิฟิก มีพื้นที่ประมาณ 513,115 ตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากอินโดนีเซีย และเมียนมาร์“ภูมิประเทศ”           ทิศเหนือ        ติดกับเมียนมาร์และลาว           ทิศตะวันตก    ติดกับทะเลอันดามันและเมียนมาร์           ทิศตะวันออก  ติดกับลาวและกัมพูชา           ทิศใต้            ติดกับอ่าวไทยและมาเลเซีย ประเทศไทยแบ่งออกเป็น 6 ภาค ซึ่งแต่ละภาคมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันดังนี้ ภาคเหนือ มีภูเขาสูง โดยจุดสูงสุดคือ ดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงแห้งแล้ง ไม่เอื้อต่อการเพาะปลูก ภาคกลาง เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีความอุดมสมบูรณ์ที่สุด ภาคใต้ ติดทะเลสองฝั่ง มีจุดแคบสุดที่คอคอดกระ ภาคตะวันออก มีชายฝั่งทะเลเรียบขาวและโค้งเว้า ภาคตะวันตก เป็นหุบเขาและแนวเทือกเขา  “ภูมิอากาศ”แบบเขตร้อน แบ่งเป็น 3 ฤดู คือฤดูร้อน (ช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม) ฤดูฝน (ช่วงเดือนมิถุนายน – ตุลาคม) และฤดูหนาว (ช่วงเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์) ซึ่งภาคใต้ของประเทศจะแบ่งเป็น 2 ฤดูคือ ฤดูฝนและฤดูร้อน   

ประชากร           มีจำนวนประชากรประมาณ 66 ล้านคน ซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ โดยเชื้อชาติหลักคือ ชาวไทย และชาวไทยเชื้อสายต่างๆ รองลงมาคือ ชาวจีนและอื่นๆ รวมถึงชนกลุ่มน้อยต่างๆ ด้วย           การเมืองการปกครอง           ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขโดยมีรัฐสภาทำหน้าที่นิติบัญญัติ ประกอบด้วยสมาชิกผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารที่สังกัดพรรคการเมืองและมาจากการเลือกตั้งของประชาชน           ประเทศไทยแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น 76 จังหวัด ไม่นับรวมกรุงเทพฯ (จังหวัดบึงกาฬ เป็นจังหวัดล่าสุดที่ได้ประกาศเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2554