งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หลักการใหม่ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หลักการใหม่ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หลักการใหม่ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560
โดย ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

2 เนื้อหาของรัฐธรรมนูญ
สิทธิ+เสรีภาพของประชาชน กลไกในการใช้อำนาจรัฐ การเมืองของพลเมือง การเมืองของนักการเมือง องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ

3 เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
สร้าง สัมพันธภาพ ให้กับ องค์กรต่างๆ สิทธิ+เสรีภาพ นอกเหนือจาก ที่รัฐธรรมนูญ บัญญัติไว้ คุ้มครอง สิทธิเสรีภาพ ของ ประชาชน ปฏิรูป ประเทศ ลดเงื่อนไข ความขัดแย้ง

4 สิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
เนื้อหา กลไกในการคุ้มครอง ก่อให้เกิด หน้าที่แก่รัฐ ในการทำให้ สัมฤทธิ์ผล ให้มีผล บังคับทันที แม้ยังไม่มี กฎหมาย มีทั้งสิทธิ มนุษยชน และสิทธิ เสรีภาพของ ชนชาวไทย ผู้ตรวจการ แผ่นดิน กรรมการ สิทธิ มนุษยชน ศาล ยุติธรรม ศาล รัฐธรรมนูญ ศาล ปกครอง

5 หน้าที่ของรัฐ

6 หน้าที่ของรัฐ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดเรื่องหน้าที่ของรัฐไว้เป็นครั้งแรก เพื่อกำหนดให้รัฐมีหน้าที่ต้องดำเนินการดูแลและจัดสวัสดิการด้านต่าง ๆ ให้กับประชาชน เนื่องจากเป็นมาตรการพื้นฐานที่รัฐควรจะทำให้กับประชน และที่ผ่านมาในบางเรื่องแม้ว่ารัฐธรรมนูญจะกำหนดให้ประชาชนมีสิทธิในเรื่องนั้น ประชาชนก็จะมีแต่สิทธิแต่มักไม่เกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติ จึงต้องบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของรัฐโดยตรง โดยกำหนดไว้แต่เรื่องสำคัญ ๆ เท่านั้น เพื่อบังคับให้รัฐทำตามหน้าที่ที่กำหนดไว้โดยไม่ต้องพิจารณาว่าประชาชนจะมีสิทธิหรือไม่

7 หน้าที่ของรัฐ “หน้าที่ของรัฐ” จะแตกต่างจาก “แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ”โดยบทบัญญัติในหมวดหน้าที่ของรัฐนั้นจะมีสภาพบังคับให้รัฐต้องทำตามหน้าที่ และเป็นเหตุในการฟ้องร้องของประชาชนให้รัฐดำเนินการตามหน้าที่ได้ ส่วนแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐนั้น เป็นเรื่องทิศทางหรือแนวทางในการดำเนินนโยบายของรัฐ หากรัฐไม่ดำเนินการก็ไม่เป็นอาจเป็นเหตุแห่งการฟ้องร้องให้รัฐดำเนินการได้

8 หน้าที่ของรัฐ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 51 การใดที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของรัฐตามหมวดนี้ ถ้าการนั้นเป็นการทำเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยตรง ย่อมเป็นสิทธิของประชาชน และชุมชนที่จะติดตามและเร่งรัดให้รัฐดำเนินการ รวมตลอดทั้งฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดให้ประชาชนหรือชุมชนได้รับประโยชน์นั้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ

9 หน้าที่ของรัฐ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
มาตรา 52 รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งอาณาเขตและเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย.... มาตรา 53 รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด มาตรา 54 รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย …. มาตรา 61 รัฐต้องจัดให้มีมาตรการหรือกลไกที่มีประสิทธิภาพในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคด้านต่าง ๆ …. มาตรา 62 รัฐต้องรักษาวินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ฐานะทางการเงินการคลังของรัฐมีเสถียรภาพและมั่นคงอย่างยั่งยืนตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ....

10 ระบบเลือกตั้ง

11 ระบบเลือกตั้ง เสียงข้างมาก ระบบผสม สัดส่วน รอบเดียว สองรอบ
ใช้เขตประเทศ เป็นเขตเลือกตั้ง แบ่งเป็น zone

12 ระบบเลือกตั้งตามร่างรัฐธรรมนูญใหม่
บัตรใบเดียว แบ่งเขต บัญชีรายชื่อ

13 เปรียบเทียบระบบเลือกตั้งตาม 2540 / 2550 / 2560
เปรียบเทียบระบบเลือกตั้งตาม / 2550 / 2560 สมาชิก ประเด็น 2540 2550 2560 ส.ส. จำนวนรวม 500 เขตเลือกตั้ง เขตละคน 400 เขต เขตละคน 375 เขต เขตละคน 350 เขต บัญชีรายชื่อ 100 คน 125 คน 150 คน ใช้เขตประเทศ ใช้เขตประเทศ (ใช้บัตรใบเดียวกับแบ่งเขต) ต้องได้ขั้นต่ำ 5% ไม่มีจำนวนขั้นต่ำ คิดจากสัดส่วนคะแนน – จำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขต ส.ว. จำนวน 200 คน ที่มา เลือกตั้งโดยตรง เลือกตั้งโดยตรงผสมสรรหา (74 คน) เลือกตั้งทางอ้อม ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้งๆละหลายคน ส.ว. 76 คน เลือกตั้งใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้งเขตละ 1 คน -

14 การคิดคำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
1) นำคะแนนรวมทั้งประเทศตั้งหารด้วยห้าร้อย 2) นำผลลัพธ์ตาม 1) ไปหารคะแนนรวมของพรรคการเมืองแต่ละพรรค จำนวนที่ได้ถือเป็นจำนวน ส.ส. ที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้ 3) นำจำนวน ส.ส. ที่พรรคการเมืองจะพึงมีได้ ลบด้วยจำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขต คือจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองนั้นจะได้รับ 4) ถ้าพรรคการเมืองใดมี ส.ส. แบบแบ่งเขตเท่ากับหรือสูงกว่าจำนวน ส.ส. ที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้ ให้พรรคการเมืองนั้นมี ส.ส. ตามจำนวนที่ได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต และไม่มีสิทธิได้รับ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ และให้นำจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อไปจัดสรรให้แก่พรรคการเมืองอื่นตามอัตราส่วน แต่ต้องไม่มีผลให้พรรคการเมืองใดดังกล่าวมี ส.ส. เกินจำนวนที่จะพึงมีได้ 5) เมื่อได้จำนวนบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองแล้ว ให้ผู้สมัครตามลำดับหมายเลขในบัญชีรายชื่อ เป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.

15 ที่มาของวุฒิสภา วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 200 คน ซึ่งมาจากการเลือกกันเองของบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะ หรือประโยชน์ร่วมกัน หรือทำงานหรือเคยทำงานด้านต่าง ๆ ที่หลากหลายของสังคม โดยในการแบ่งกลุ่มต้องแบ่งในลักษณะที่ทำให้ประชาชนซึ่งมีสิทธิสมัครรับเลือกทุกคน สามารถอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้

16 ที่มาของนายกรัฐมนตรี
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 88 วรรคหนึ่ง ในการเลือกตั้งทั่วไป ให้พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแจ้งรายชื่อบุคคลซึ่งพรรคการเมืองนั้นมีมติว่าจะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีไม่เกินสามรายชื่อต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อนปิดการรับสมัครรับเลือกตั้ง และให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรายชื่อบุคคลดังกล่าวให้ประชาชนทราบ และให้นำความในมาตรา 87 วรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม **ไม่ได้กำหนดให้ต้องเสนอชื่อจาก ส.ส. ของพรรคการเมือง**

17 ที่มาของนายกรัฐมนตรี
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 159 วรรคหนึ่ง ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีจากบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160 และเป็นผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 เฉพาะจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่มีสมาชิกได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

18 ที่มาของนายกรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรีต้องมาจากผู้ที่พรรคการเมืองเสนอรายชื่อต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อให้ประชาชนได้พิจารณาในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในครั้งนั้น โดยผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดให้ผู้ที่จะถูกเสนอชื่อเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้น นายกรัฐมนตรีมาจากคนนอกได้

19 มาตรการป้องกันการทุจริต

20 การกำหนดให้ภาครัฐและภาคประชาชน มีหน้าที่ในการป้องกันทุจริต
การกำหนดให้ภาครัฐและภาคประชาชน มีหน้าที่ในการป้องกันทุจริต 1. กำหนดให้ปวงชนชาวไทยมีหน้าที่ “ไม่ร่วมมือหรือสนับสนุนการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ”(มาตรา 50 (10)) 2. กำหนดให้รัฐมีหน้าที่ต้องส่งเสริม สนับสนุน และให้ความรู้แก่ประชาชนถึงอันตราย ที่เกิดจากการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน และจัดให้มีมาตรการและกลไกที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบดังกล่าวอย่างเข้มงวด รวมทั้ง กลไกในการส่งเสริมให้ประชาชนรวมตัวกันเพื่อมีส่วนร่วมในการรณรงค์ให้ความรู้ ต่อต้าน หรือชี้เบาะแส โดยได้รับความคุ้มครองจากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ (มาตรา 63) 3. กำหนดให้รัฐส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักการสำคัญต่างๆ ในการปกครองประเทศ รวมทั้งการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบด้วย (มาตรา 78)

21 การกำหนดลักษณะต้องห้ามเพื่อป้องกันมิให้ผู้ที่เคยกระทำการทุจริตเข้ามาเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้บุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 98 (2)(8)(9)(10)(11)(18)) สมาชิกวุฒิสภา (มาตรา 108 ข. (1)) และเป็นลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับตำแหน่งของรัฐมนตรี (มาตรา 160) (1) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (2) เคยถูกสั่งให้พ้นจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ (3) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอันถึงที่สุดให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือเคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกเพราะกระทำความผิด ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

22 การกำหนดลักษณะต้องห้ามเพื่อป้องกันมิให้ผู้ที่เคยกระทำการทุจริตเข้ามาเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
(4) เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ หรือความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดในความผิดฐานเป็นผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือผู้ค้า กฎหมายว่าด้วยการพนัน ในความผิดฐาน เป็นเจ้ามือหรือเจ้าสำนัก กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในความผิดฐานฟอกเงิน (5) เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง (6) เคยพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุ การมีผลประโยชน์ในการพิจารณาร่างงบประมาณรายจ่าย หรือ ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสั่งให้พ้นจากตำแหน่งและเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเพราะเหตุทุจริต

23 การป้องกันการมีผลประโยชน์ในการพิจารณา ร่างงบประมาณรายจ่าย
การป้องกันการมีผลประโยชน์ในการพิจารณา ร่างงบประมาณรายจ่าย ในกรณีที่ ส.ส. หรือ ส.ว. ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบเห็นว่าการเสนอ การแปรญัตติ หรือการกระทำด้วยประการใด ๆ ที่มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือกรรมาธิการมีส่วนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย ให้เสนอความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การเสนอ การแปรญัตติ หรือการกระทำดังกล่าวเป็นอันสิ้นผล ถ้าผู้กระทำเป็น ส.ส. หรือ ส.ว. ให้สิ้นสุดสมาชิกภาพและให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้น ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้กระทำการหรืออนุมัติให้กระทำการ หรือรู้ว่ามีการกระทำดังกล่าวแล้วแต่มิได้สั่งยับยั้ง ให้คณะรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะและให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้อยู่ในที่ประชุมในขณะที่มีมติ และให้ผู้กระทำการดังกล่าวต้องรับผิดชดใช้เงินนั้นคืนพร้อมด้วยดอกเบี้ย (มาตรา 144)

24 การป้องกันและปราบปรามการทุจริตโดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยหรือมีการกล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ หรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินผู้ใดกระทำการทุจริต ให้ ป.ป.ช. ไต่สวนข้อเท็จจริง และหากมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง เห็นว่าผู้นั้นมีพฤติการณ์หรือกระทำความผิดตามที่ไต่สวน ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ (1) ถ้าเป็นกรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ให้เสนอเรื่องต่อศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย (2) กรณีอื่นนอกจาก (1) ให้ส่งสำนวนการไต่สวนไปยังอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือดำเนินการอื่นตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

25 การป้องกันและปราบปรามการทุจริตโดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
เมื่อศาลฎีกาหรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองประทับรับฟ้อง ให้ผู้ถูกกล่าวหาหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะมีคำพิพากษา และหากมีคำพิพากษาว่าผู้ถูกกล่าวหามีพฤติการณ์หรือกระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา ให้ผู้ต้องคำพิพากษานั้นพ้นจากตำแหน่ง และให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้นและจะเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดเวลาไม่เกินสิบปีด้วยหรือไม่ก็ได้ ผู้ใดถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไม่ว่าในกรณีใด ผู้นั้นไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นตลอดไป และไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ (มาตรา 235)

26 การกำหนดคุณสมบัติผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง และหลักเกณฑ์ และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น ให้เป็นไปตามที่กฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ บัญญัติ อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญกำหนดให้ต้องคำนึงถึงเจตนารมณ์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตตามแนวทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญด้วย (มาตรา 252)

27 ประเด็นเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตในการปฏิรูปประเทศ
ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดินโดยให้มีการปรับปรุงระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐให้มีความคล่องตัว เปิดเผย ตรวจสอบได้ และมีกลไกในการป้องกันการทุจริตทุกขั้นตอน (มาตรา 258 (5))

28 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
ผู้เสนอขอ แก้ไข ผู้มีอำนาจ พิจารณา เนื้อหา ระยะเวลา คะแนนเสียง รัฐสภา ให้รอเวลา 15 วันระหว่าง วาระที่สอง กับสาม แก้ได้ยกเว้น การเปลี่ยนแปลง การปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข รูปของรัฐ ครม. ส.ส. 1/5 ส.ส.+ส.ว.1/5 ประชาชน 50,000 คน วาระที่ 1 ไม่น้อย กว่ากึ่งหนึ่ง วาระที่ 2 เสียง ข้างมาก วาระที่ 3 ไม่น้อย กว่ากึ่ง หนึ่ง

29 การปฏิรูปประเทศ ด้านการเมือง ด้านกฎหมาย ด้านอื่นๆ ด้านกระบวนการ
ยุติธรรม ด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ ด้านการบริหาร ราชการแผ่นดิน


ดาวน์โหลด ppt หลักการใหม่ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google