การเตรียมความพร้อมในวันสิ้นปีงบประมาณ กองการพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง การเตรียมความพร้อมในวันสิ้นปีงบประมาณ 26 สิงหาคม 2559
สรุปกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ : e-market, e-bidding 8บันทึกรายชื่อผู้ขอรับ เอกสาร/ซื้อเอกสาร 9 บันทึกรายชื่อ/ ผู้ค้ายื่นเอกสารเสนอราคา ระบบ e-GP 7. ประกาศเชิญชวน ขึ้นเว็บไซต์ 10. พิจารณาผลการเสนอราคา (ต่ำสุด/Price Performance) และตรวจสอบผลผู้ชนะ BD,MK 6. ปรับปรุงร่างเอกสาร ประกวดราคา 11. นัดหมายเสนอราคา และแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิเสนอราคา ซื้อซอง online / BD ยื่นหลักประกัน 5. จัดทำร่างเอกสารประกวดราคา (วิจารณ์หรือไม่วิจารณ์ก็ได้)/ จัดทำ ร่างประกาศเชิญชวน 12. เสนอหัวหน้าส่วนราชการ เห็นชอบและจัดทำหนังสืออนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้าง /แต่งตั้งกรรมการตรวจรับ (optional) BD,MK BD 5. จัดทำเอกสารซื้อจ้าง ด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ และประกาศเชิญชวน MK ขั้นตอนในระบบ GFMIS 13. ประกาศรายชื่อผู้ชนะการ เสนอราคาขึ้นเว็บไซต์ 4. จัดทำรายงานขอซื้อขอจ้าง และแต่งตั้งคณะกรรมการ (optional) ขั้นตอนที่เพิ่มใหม่ในระบบ e-GP 3 ขั้นตอนที่มีอยู่เดิมในระบบ e-GP 2 14. จัดทำร่างสัญญา BD,MK 3. สร้างโครงการ จัดซื้อจัดจ้าง 15. ตรวจสอบหลักประกันสัญญา และจัดทำสัญญา 2. จัดทำแผนการจัดซื้อ จัดจ้างประจำปีงบประมาณ 16. ข้อมูลสาระสำคัญ ในสัญญา 17. บริหารสัญญา นำข้อมูลงบประมาณ จาก GFMIS เข้า e-GP ระบบ GFMIS 1. ได้รับงบประมาณ ประจำปี 18. ลงทะเบียนทรัพย์สิน ตั้งเบิก/เบิกจ่าย นำข้อมูล PO จาก e-GP เข้า GFMIS
การเชื่อมโยงกับระบบ GFMIS ข้อมูลงบประมาณ ข้อมูลหลักผู้ขาย การจัดทำใบ PO การ ตรวจรับ เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อสร้างข้อมูลหลักผู้ขายในระบบ GFMIS โดยดึงข้อมูลจากระบบ e-GP และการตรวจสอบข้อมูลหลักผู้ขายและเลขที่บัญชีผู้ค้าจากระบบ GFMIS ในขั้นตอนการจัดทำร่างสัญญาในระบบ e-GP (Real Time) ระบบ GFMIS จะส่งข้อมูล พรบ. งบประมาณให้ระบบ e-GP ทุกต้นปีงบประมาณ ทั้งในส่วนของข้อมูลรหัสงบประมาณ และรหัสแหล่งของเงิน การจัดทำ PO ประเภททั่วไป (บส. 01) และการจัดทำ PO ประเภทไม่แน่นอน (บส. 04) โดยดึงข้อมูลสัญญาจากระบบ e-GP มาบันทึกในระบบ GFMIS ผ่านเลขที่โครงการและเลขคุมสัญญาจากระบบ e-GP คือการตรวจรับในระบบ e-GP เมื่อมีการส่งมอบงานและตรวจรับแล้ว จากนั้นเมื่อมีการตรวจรับและสั่งจ่ายในระบบ GFMIS แล้ว ก็จะส่งข้อมูลมายังระบบ e –GP ได้โดยอัตโนมัติ เพื่อนำข้อมูลไปแสดงในระบบ ตรวจรับและเบิกจ่ายต่อไป
ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 1. กรณีขั้นตอนร่างสัญญา ส่วนราชการไม่สามารถจัดทำสัญญาได้ สาเหตุอาจเนื่องมาจากส่วนราชการยังไม่บันทึกข้อมูลรหัสงบประมาณ/รหัสแหล่งของเงิน ดังนั้น ส่วนราชการจึงจำเป็นต้องเข้าไปบันทึกข้อมูลให้ครบถ้วน โดยกดปุ่ม “ข้อมูลงบประมาณโครงการ” ในขั้นตอนจัดทำร่างสัญญา ส่วนราชการต้องการเปลี่ยนเลขที่บัญชีของผู้ขาย กรณีนี้ ส่วนราชการจำเป็นต้องเข้าไปแก้ไขสัญญาก่อน โดยคลิกที่เมนู “แก้ไขสัญญา” จากนั้นเลือก “แก้ไขสัญญารายละเอียดอื่นๆ” และเลือกหัวข้อ “ค่าจ้างและการจ่ายเงิน” ส่วนราชการแก้ไขสัญญาได้แล้ว แต่เมื่อกดปุ่มบันทึก ระบบแสดง Pop up ขึ้นเตือนให้ติดต่อ สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และไม่สามารถคลิกปุ่ม “ดำเนินการขั้นตอนต่อไป” โดยปุ่มเป็นสีเทา กรณีนี้เกิดจาก bug ของโปรแกรม ส่วนราการต้องส่งแบบแจ้งมายังกรมบัญชีกลาง เพื่อแจ้งให้เจ้าหน้าที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ แก้ไขให้ ซึ่งที่ผ่านมากรณีนี้แก้ได้ทุกกรณี
ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 2. กรณีการรวมซื้อรวมจ้าง - กรณีส่วนราชการเลือกเมนู “เพิ่มโครงการรวมซื้อรวมจ้าง” แต่ส่วนราชการยังไม่สามารถแตกสัญญาย่อยเองได้ สาเหตุดังกล่าวเกิดจากส่วนราชการยังดำเนินการไม่ถึงข้อมูลสาระสำคัญในสัญญา ดังนั้น ส่วนราชการต้องบันทึกข้อมูลสาระสำคัญให้เป็นสถานะบันทึกก่อน จึงจะดำเนินการแตกสัญญาย่อยเองได้ - กรณีส่วนราชการเลือกเมนู “เพิ่มโครงการ” ส่วนราชการจะไม่สามารถแตกสัญญาเองได้ต้องส่งให้กรมบัญชีกลางดำเนินการให้ กรณีนี้ ส่วนราชการต้องกรอกแบบแจ้ง กรณีรวมซื้อรวมจ้างพร้อมทั้งส่งรายละเอียดโครงการทั้งสัญญาใหญ่และสัญญาย่อยตามที่ระบุในแบบแจ้งมายัง กพภ. ให้ถูกต้องครบถ้วน และเมื่อกรมบัญชีกลางโดย กพภ. ได้รับข้อมูลเรียบร้อย จะแจ้งให้ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศดำเนินการให้โดยด่วนต่อไป
ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 3. กรณีค้าร่วม Consortium ส่วนราชการไม่สามารถสร้าง PO ได้ กรณีผู้ชนะเป็นกิจการค้าร่วม และเป็นการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีอื่นๆ ที่ไม่ใช่วิธี e-bidding โครงการที่เป็นลักษณะนี้ก่อนส่วนราชการจะดำเนินการสร้าง PO ในระบบ GFMIS ได้จำเป็นต้องแยกรายการสัญญาในระบบ e-GP เพื่อให้สามารถบันทึกข้อมูลบัญชีธนาคารให้กับผู้ค้าร่วมแต่ละรายได้ ซึ่งหน่วยงานต้องดำเนินการดังนี้ 1. หลังจากประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ให้ส่งแบบแจ้งปัญหาการใช้งานในระบบ e-GP ระบุเลขที่โครงการ และระบุรายละเอียดแจ้งขอให้เปลี่ยนวิธีการเบิกจ่ายเงินจากเป็นผ่าน GFMIS เป็น ผ่านและไม่ผ่านระบบ GFMIS มายัง กพภ. ทาง e-mail opm@cgd.go.th ที่กำหนดในแบบแจ้งฯ ( เพื่อให้สามารถบันทึกข้อมูลรายละเอียดสัญญาหลักในระบบ e-GP ได้โดยยังไม่ต้องระบุธนาคาร ผู้รับเงิน)
ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 3. กรณีค้าร่วม Consortium (ต่อ) 2. เมื่อกรมบัญชีกลางดำเนินการปลดล็อกการเบิกจ่ายเงินในระบบ e-GP แล้ว ให้ส่วนราชการบันทึกข้อมูลสัญญา จนถึงขั้นตอนสาระสำคัญในสัญญา เป็นสถานะบันทึก (เพื่อให้ทาง ศทส. มีข้อมูลรายละเอียดสัญญาเป็นข้อมูลตั้งต้นในการแยกสัญญา) โดยขั้นตอนการทำงานในระบบ e-GP ตั้งแต่ขั้นตอนจัดทำร่างสัญญา ถึง ข้อมูลสาระสำคัญในสัญญาเป็นสีเหลืองมีสัญญาลักษณ์แผ่นดิสค์ติดอยู่ ดังตัวอย่างด้านล่าง
การติดต่อสอบถาม ติดต่อ : 02 127 7000 เรื่องรวมซื้อรวมจ้าง ต่อ 6704 เรื่องสัญญา ต่อ 6928 , 6777 อื่นๆ ต่อ 6979 , 4647
? Q & A
Thank You What’s Your Message?