หุ้นส่วนและบริษัท การเป็นหุ้นส่วน คือ การทำสัญญาระหว่างบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อทำกิจการร่วมกัน โดยประสงค์จะแบ่งปันผลกำไรที่จะพึงได้จากกิจการนั้น.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 22 พฤษภาคม.
Advertisements

บทที่ 1 การรวมธุรกิจ.
มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 101 หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
สิทธิในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางปกครอง
วิเคราะห์ พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 วิเคราะห์ พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.2558.
โดย นายพิพัฒน์พงศ์ จิตต์เทพ
1.
คำแนะนำ นายทะเบียนสหกรณ์ เรื่อง วิธีปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน พ. ศ เรื่อง วิธีปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน พ.
ผู้รับประกัน (Insurer) ผู้เอาประกัน (Insured) ผู้รับผลประโยชน์ (Beneficiary)
“ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่”
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสุโขทัย
บทเรียนโปรแกรมเพื่อการทบทวน
หน่วยที่ 2 สัญญาประกันภัย
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
มาตรฐานการสอบทาน รหัส 2410
Content Team: คู่มือการป้องกันสินค้าลอกเลียนแบบ 9 July 2015
บทที่ 11 วงจรรายจ่าย.
การเงินธุรกิจ (Business Finance) รหัสวิชา FIN1104
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551
ห้างหุ้นส่วนสามัญ Ordinary Partnership.
การบัญชีต้นทุนช่วง (Process Costing).
โดยอาจารย์ฐิติพร วัฒนชัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
พ.ร.ก.ยกเว้นและสนับสนุนฯ สำนักกฎหมาย กรมสรรพากร
พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒๐) พ
พงษ์เดช วานิชกิตติกูล
การกระทำอันไม่เป็นธรรม (Unfair Labour Practice)
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
รศ.ดร.อนันต์ จันทรโอภากร
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 28 สิงหาคม 2561
กฎหมายว่าด้วยบริษัทจำกัด
การบริหารจัดการหนี้ค้างชำระ กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานบริหารและธุรการ คณะบริหารธุรกิจ
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์.
กำหนดกรอบระยะเวลาการขึ้นทะเบียนปี2556/57 1. ข้าว
(มีผลใช้บังคับวันที่ ๑ พ.ย. ๒๕๕๗)
กลุ่มเกษตรกร.
การให้เงินช่วยเหลือหรืออุดหนุน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
วาระที่ ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมความพร้อมบุคลากร สำนักแผนงานและโครงการพิเศษเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานในพื้นที่
สัญญายืมเปรียบเทียบ.
กฎหมายเอกเทศสัญญา 1 อาจารย์ สุรศักดิ์ มีบัว สาขานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ครั้งที่ 13.
อำนาจ การปกครอง และการระงับข้อพิพาท
แนวปฏิบัติ การจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ
กฎกระทรวง ฉบับที่ 66 (พ.ศ. 2559) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ตัวอย่างการจัดทำรายงานการผลิต และงบการเงิน
มุ่งเน้น การประเมินระดับการดำเนินงาน “หน่วยงานคุณธรรม”
ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในเขตปลอดอากร นักตรวจสอบภาษีชำนาญการพิเศษ
ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน (ต่อ)
ระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ในรูปแบบ Feed-in Tariff พ.ศ
การเงินทางธุรกิจ (Business Finance) รหัสวิชา FIN1103
บทที่ 3 รูปแบบของธุรกิจขนาดย่อม
บทที่ 3 รูปแบบของธุรกิจขนาดย่อม
บทที่ 6 เงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับ
หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ของผู้ให้บริการ
การจัดองค์กรของรัฐในประเทศไทย ********************
ทะเบียนสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์
บทที่ 10 วงจรรายได้.
การจัดทำแผนการสอบบัญชีโดยรวม
ขอบเขตของงานการจัดซื้อ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
บทที่ 7 นิติบุคคล (Juristic Persons)
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
บทที่ 9 สมุดรายวันเฉพาะและสมุดบัญชีแยกประเภทย่อย
บทที่ 7 การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม
ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
วิชากฎหมายล้มละลาย
ใบสำเนางานนำเสนอ:

หุ้นส่วนและบริษัท การเป็นหุ้นส่วน คือ การทำสัญญาระหว่างบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อทำกิจการร่วมกัน โดยประสงค์จะแบ่งปันผลกำไรที่จะพึงได้จากกิจการนั้น

สัญญาจัดตั้งหุ้นส่วนมีดังนี้ ๑. เป็นสัญญาระหว่างบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ๒. เป็นการตกลงเพื่อทำกิจการร่วมกัน การทำกิจการหมายถึง มีการตกลงได้เสียร่วมกัน โดยลงทุนด้วยกัน ซึ่งทุนที่นำมาลงนั้นอาจเป็นเงินหรือทรัพย์สินหรือแรงงานก็ได้ ๓. มีวัตถุประสงค์เพื่อนำกำไรจากกิจการนั้นมาแบ่งปันกัน

ประเภทของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ตามกฎหมายแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท ๑. ห้างหุ้นส่วนสามัญ ๒.ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ๓. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ๔. บริษัทจำกัด ๕. บริษัทมหาชนจำกัด

ห้างหุ้นส่วนสามัญ ผู้ที่เข้าร่วมจัดตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดนไม่มีจำกัด กล่าวคือ ๑. ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดต่อบุคลภายนอกอย่าง ลูกหนี้ร่วม ในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนไม่ว่าจะโดยสัญญาหรือโดยละเมิดที่ทำไปในกิจการของห้าง ๒. ผู้เป็นหุ้นส่วนสามัญทุกคนต้องรับผิดในหนี้สินของห้างโดยไม่จำกัดจำนวน

การจัดการห้างหุ้นส่วนสามัญ ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องจัดการร่วมกัน แต่ทั้งนี้อาจมีการแบ่งหน้าที่กันทำได้ การจัดการร่วมกันดังกล่าวอาจมีได้ ๒ ลักษณะ คือ ๑. การจัดการโดยตรง คือ หุ้นส่วนทุกคนเข้าบริหารงานเอง โดยแบ่งหน้าที่กันทำ ๒. การดูแลครอบงำ คือ กรณีที่ตั้งหุ้นส่วนคนใดเป็นผู้จัดการแล้ว อำนาจในการจัดการดูแลกิจการต่างๆของห้างย่อมเป็นของผู้จัดการนั้น แต่หุ้นส่วนที่ไม่ใช่ผู้จัดการย่อมมีสิทธิที่จะไต่ถามถึงการงานของห้างที่จัดการอยู่ได้ทุกเมื่อและมีสิทธิตรวจและคัดสำเนาสมุดบัญชีและเอกสารใดๆของห้างหุ้นส่วนนั้นด้วย

สิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน ๑. ห้ามประกอบกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดที่มีสภาพเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับห้างหุ้นส่วน ๒. ห้ามนำบุคคลอื่นเข้ามาเป็นหุ้นส่วนโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดทุกคน ๓. ขอให้งดใช้ชื่อ ถ้ามีการใช้ชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดมาตั้งเป็นชื่อห้าง เมื่อผู้นั้นออกจากห้างหุ้นส่วนไปแล้ว อาจขอให้งดใช้ชื่อตนเป็นชื่อของห้างต่อไปได้ ๔. ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการกับผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นให้นำกฎหมายว่าด้วยตัวแทนมาใช้บังคับ

ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกับบุคคลภายนอก ๑. สิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนกับบุคคลภายนอก ผู้เป็นหุ้นส่วนที่ไม่จดทะเบียนจะถือเอาสิทธิใดๆแก่บุคคลภายนอกในกิจการค้าขายซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนไม่ได้ ๒. ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนต่อบุคคลภายนอก ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องร่วมรับผิดต่อบุคคลภายนอกในการใดๆอันผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดได้จัดการทำไปในทางธรรมดาค้าขายของห้างนั้น รวมถึงความรับผิดในทางละเมิดด้วย

ข้อสังเกต ผู้เป็นหุ้นส่วนสามัญ ต้องรับผิดในหนี้ของห้างที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะเข้ามาเป็นหุ้นส่วน และเมื่อตนออกไปแล้ว ก็ยังคงต้องรับผิดในหนี้ที่ห้างได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะออกจากห้างหุ้นส่วนไป

การเลิกและการชำระหนี้ห้างหุ้นส่วนสามัญ ๑. การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนสามัญอาจเลิกกันได้ ๓ ทาง ๑. เลิกโดยผลของกฎหมาย ๒. เลิกโดยความประสงค์ของผู้เป็นหุ้นส่วน ๓. เลิกโดยคำสั่งศาล

๑.๑ การเลิกโดยผลของกฎหมาย (๑) ถ้าในสัญญากำหนดกรณีที่จะเลิกกันไว้ เมื่อเกิดกรณีนั้นห้างหุ้นส่วนสามัญเป็นอันเลิกกัน (๒) เมื่อถึงกำหนดเวลาที่สัญญาเป็นห้างหุ้นส่วนกัน เว้นแต่ว่าหุ้นส่วนทั้งหลายยังคงดำเนินกิจการต่อไปโดยไม่มีการชำระบัญชีกัน ก็ถือว่าหุ้นส่วนทั้งหลายตกลงเป็นหุ้นส่วนกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา

(๓) ถ้าสัญญาทำไว้เฉพาะเพื่อกิจการใด เมื่อเสร็จกิจการนั้นแล้ว ห้างเป็นอันเลิกกัน (๔) ในกรณีที่การเป็นหุ้นส่วนไม่ได้กำหนดเวลาไว้ เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดบอกเลิกสัญญาการเป็นหุ้นส่วนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๖ เดือน ก่อนสิ้นรอบปีในทางบัญชีของห้างหุ้นส่วน แต่ถ้าหุ้นส่วนอื่นยังไม่อยากเลิกโดยรับซื้อหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนที่ประสงค์จะออกไว้ ห้างหุ้นส่วนก็ไม่เลิกกัน (๕) เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดตาย ล้มละลาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ ห้างหุ้นส่วนต้องเลิกกัน เว้นแต่หุ้นส่วนคนอื่นจะรับซื้อหุ้นไว้ แล้วตกลงดำเนินกิจการต่อไป

๑.๒ การเลิกโดยความประสงค์ของผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดสามารถตกลงเลิกห้างหุ้นส่วนก่อนถึงกำหนดเวลาได้เมื่อตกลงเลิกกันแล้วความเป็นหุ้นส่วนก็สิ้นสุดลงทันที

๑.๓ การเลิกโดยคำสั่งศาล เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนร้องขอต่อศาลศาลอาจสั่งให้ห้างหุ้นส่วนเลิกกันได้เมื่อมีเหตุต่อไปนี้ (๑) เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งนอกจากผู้ร้องนั้นล่วงละเมิดบทบังคับใดๆอันเป็นข้อสาระสำคัญซึ่งสัญญาหุ้นส่วนกำหนดไว้แก่ตน หรือจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

(๒) เมื่อกิจการของห้างหุ้นส่วนมีแต่จะขาดทุนและไม่มีหวังจะฟื้นตัวได้อีก (๓) เมื่อมีเหตุอื่นที่ทำให้ห้างหุ้นส่วนนั้นเหลือวิสัยที่จะดำรงอยู่ต่อไปได้ เช่น ผู้เป็นหุ้นส่วนต่างกล่าวหาซึ่งกันและกัน เป็นคดีอาญา จนต่างถูกอัยการฟ้อง

การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญ เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันแล้ว ผลคือต้องมีการรวบรวมบรรดาทรัพย์สินทั้งหลายของห้างหุ้นส่วน เพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายของห้าง ถ้ามีเหลือก็คืนทุนแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนและถ้ายังเหลืออีกก็นำมาแบ่งผลกำไรกัน ซึ่งเรียกว่า การชำระบัญชี - แต่ถ้าชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกและค่าใช้จ่ายอื่นๆแล้ว สินทรัพย์ที่เหลืออยู่ยังไม่พอจะคืนแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนได้ครบจำนวนที่ลงทุนเรียกว่า ขาดทุน ต้องเฉลี่ยการขาดทุนระหว่างหุ้นส่วนด้วยกัน

ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องจดทะเบียนแต่ถ้าประสงค์จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็ย่อมทำได้ การขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นเป็นไปตามแบบที่กฎหมายกำหนดเมื่อจดทะเบียนแล้วต้องใช้คำว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” ประกอบด้วยชื่อเสมอมิฉะนั้นจะมีความผิด

ผลของการจดทะเบียน ๑. ห้างหุ้นส่วนมีสภาพเป็นนิติบุคคล การเป็นนิติบุคคลทำให้มีสิทธิและหน้าที่แยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน ๒. การถือเอาประโยชน์ต่อบุคคลภายนอก ผู้เป็นหุ้นส่วนอาจถือเอาประโยชน์ต่อบุคคลภายนอกอันห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนนั้นได้มาแม้ในกิจการไม่ปรากฏชื่อของตนได้

๓. การค้าขายแข่งขันกับกิจการของห้าง ถ้าหุ้นส่วนคนใดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากหุ้นส่วนทั้งหมด ประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของห้างนั้น ไม่ว่าจะทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัวหรือผู้อื่น หรือเข้าไปเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดกับห้างหุ้นส่วนอื่นซึ่งประกอบกิจการอันมีสภาพเป็นอย่างเดียวกันและแข่งขันกับกิจการของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนนั้น ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนสามารถเรียกเอาผลกำไรที่ผู้นั้นหามาได้ทั้งหมด หรือเรียกเอาค่าสินไหมทดแทน หรือเรียกร้องให้เลิกห้างด้วย

๔. ความรับผิดในหนี้ของห้าง ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวน แต่เจ้าหนี้ของห้างต้องเรียกร้องให้ห้างหุ้นส่วนเป็นผู้ชำระหนี้เสียก่อน สำหรับผู้เป็นหุ้นส่วนออกจากห้างไปแล้วก็ยังคงต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างก่อนที่ตนจะออกไปภายใน ๒ ปีนับแต่วันที่ตนออกจากห้างหุ้นส่วน

การเลิกห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลและการชำระบัญชี ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลอาจเลิกห้างได้ด้วยเหตุเดียวกันกับการเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียน คือ อาจเลิกโดยผลของกฎหมาย หรือเลิกโดยการตกลงกันของผู้เป็นหุ้นส่วน หรือโดยคำสั่งศาล เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเลิกกันแล้ว ต้องมีการชำระบัญชีเสมอ และผู้ชำระบัญชีต้องนำไปจดทะเบียนภายใน ๑๔ วันนับแต่วันที่เลิกกัน

ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องประกอบด้วยหุ้นส่วน ๒ ประเภท (๑) ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนนั้น (๒) ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นกฎหมายบังคับให้ต้องจดทะเบียนเสมอ

หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด - มีความรับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ตนตกลงจะลงหุ้น - คุณสมบัติของผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทนี้ไม่ใช่สาระสำคัญเหมือนกับการเป็นหุ้นส่วนสามัญ จึงอาจโอนหุ้นของตนให้กับบุคคลอื่นได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากหุ้นส่วนอื่นๆ - แม้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดตาย ทายาทก็เข้าแทนที่ได้หรือล้มละลายก็ไม่เป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องเลิกกัน

สิทธิของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด (๑) มีสิทธิออกความเห็น แนะนำ ออกเสียงลงคะแนนในการแต่งตั้งถอดถอนผู้จัดการ ตลอดจนตรวจสอบบัญชีและเอกสารของห้างได้ตามสมควร (๒) เป็นผู้ชำระบัญชีของห้างได้ (๓) มีสิทธิค้าขายแข่งกับห้างได้

ข้อจำกัดของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด (๑) ห้ามเอาชื่อของหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดมาเรียกขานระคนกับชื่อห้าง ถ้ามีการนำมาใช้ระคนกับชื่อห้างหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเสมือนเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด (๒) หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจะลงหุ้นด้วยแรงงานไม่ได้ต้องลงเป็นเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่น

(๓) หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดไม่มีสิทธิจัดการงานของห้าง ถ้าสอดเข้าไปจัดการงานของห้าง เช่น ลงชื่อในการส่งสินค้าแทนผู้จัดการห้าง ต้องร่วมรับผิดกับห้างหุ้นส่วนจำกัดเช่นเดียวกับหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ หรือฟ้องคดีของห้าง (๔) ไม่มีส่วนรับเงินปันผลหรือดอกเบี้ย ถ้าห้างไม่มีกำไร

ความรับผิดของหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดจะรับผิดในหนี้ที่ห้างมีต่อบุคคลภายนอกก็ต่อเมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดได้เลิกกัน ตราบใดห้างยังไม่เลิก เจ้าหนีจะฟ้องให้รับผิดไม่ได้และเมื่อห้างเลิกกันแล้ว ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดคงรับผิดเพียง (๑) จำนวนลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนเท่าที่ยังค้างแก่ห้างหุ้นส่วน (๒) จำนวนลงหุ้นเท่าที่ผู้เป็นหุ้นส่วนได้ถอนไปจากสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วน (๓) จำนวนเงินปันผลและดอกเบี้ยซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้รับไปแล้วโดยทุจริตและผิดกฎหมาย

หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดสามารถเป็นผู้จัดการห้างได้ ใช้ชื่อตนเองเป็นชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ ลงทุนด้วยแรงงานได้ ความเกี่ยวพันนั้นใช้บทบัญญัติสำหรับห้างหุ้นส่วนสามัญมาใช้บังคับ ส่วนความรับต่อบุคคลภายนอกผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน

การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด หลักการเดียวกันกับการเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล