บทที่ 7 การเก็บรวบรวมข้อมูล บทที่ 7 การเก็บรวบรวมข้อมูล ดร.นันทิมา นาคาพงศ์ วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
เนื้อหาในบทเรียน 1. ความหมายของการเก็บรวบรวมข้อมูล 2. ประเภทของข้อมูล 3. ลักษณะของข้อมูลที่ดี 4. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 5. การสัมภาษณ์ 6. การสังเกต 7. การสอบถาม 8. การทดสอบ 9. การสนทนากลุ่ม 10. การจดบันทึก 11. แหล่งความคลาดเคลื่อนของการเก็บรวบรวมข้อมูล
ความหมายของการเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล หมายถึง ... กระบวนการที่มีระบบขั้นตอนในการดำเนินการของการวิจัย เพื่อให้ได้ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพจากแหล่งข้อมูล ที่กำหนดไว้ ที่จะนำมาวิเคราะห์ ในการตอบปัญหาการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทของข้อมูล 1.1 ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) 1.จำแนกข้อมูลตามแหล่งที่มาของข้อมูล จะแบ่งข้อมูลได้ 2 ประเภท คือ เก็บรวบรวมขึ้นใหม่จากแหล่งกำเนิดของข้อมูลโดยตรง มีความน่าเชื่อถือได้ ถูกต้องและเป็นจริง เช่น การสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต การทดลอง 1.1 ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) คัดลอกจากแหล่งข้อมูลที่มีผู้อื่น/หน่วยงานเก็บรวบรวมไว้ อาจมีข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงได้ เช่น รายงานการวิจัย บันทึกการนิเทศ 1.2 ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data)
ประเภทของข้อมูล 2.จำแนกข้อมูลตามลักษณะข้อมูล จะแบ่งข้อมูลได้ 2 ประเภท คือ แสดงเป็นปริมาณหรือตัวเลข เช่น คะแนน จำนวนนักศึกษา น้ำหนัก ระยะทาง 2.1 ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative data) แสดงในลักษณะข้อความที่จัดกลุ่มบ่งบอกตามคุณลักษณะของตัวแปร เช่น ศาสนา อาชีพ ประเพณี วัฒนธรรม การแต่งกาย 2.2 ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative data)
ลักษณะของข้อมูลที่ดี 1.สอดคล้องกับปัญหาวิจัย 2.มีความถูกต้อง 3.ทันสมัย 4.ครบถ้วนสมบูรณ์
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : การสัมภาษณ์ 1. การสัมภาษณ์ (Interview) แบบมีโครงสร้าง แบบไม่มีโครงสร้าง
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : การสัมภาษณ์ ข้อจำกัด ใช้เวลาและแรงงาน เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก ผู้ช่วยในการสัมภาษณ์ อาจมีปัญหาความน่าเชื่อถือของข้อมูล ต้องเผชิญหน้ากับผู้สัมภาษณ์ ไม่ให้เวลาเพียงพอ มีผลต่อความถูกต้องน่าเชื่อถือของข้อมูล การจดและบันทึกเสียง ไม่เป็นธรรมชาติ ข้อดี ใช้ได้ดีกับกลุ่มตัวอย่างทุกประเภท ซักถามผู้สัมภาษณ์เพิ่มเติมได้ ได้ข้อมูลที่ตรงตามความต้องการ ซักถามประเด็นที่ลึกหรือซับซ้อนได้ ตรวจสอบความถูกต้องในการตีความ สังเกตปฏิกิริยาว่าให้ข้อมูลอย่างจริงใจหรือไม่
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : การสังเกต 2. การสังเกต (Observation)
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : การสังเกต 1. แบ่งตามการใช้เครื่องมือ แบบมีโครงสร้าง แบบไม่มีโครงสร้าง กำหนดเรื่องราวหรือขอบเขตของเนื้อหาไว้ล่วงหน้าแน่นอน เตรียมเครื่องมือไว้ล่วงหน้า สังเกตเฉพาะข้อมูลหรือเรื่องราวที่กำหนดไว้ ไม่มีการกำหนดเรื่องราวหรือขอบเขต ของเนื้อหาไว้ล่วงหน้า ยุ่งยากในการวิเคราะห์ข้อมูล การแยกประเภทข้อมูล
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : การสังเกต 2. แบ่งตามบทบาทของผู้สังเกต แบบมีส่วนร่วม แบบไม่มีส่วนร่วม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : การสังเกต ข้อดี ใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่สามารถสื่อสารกับผู้วิจัยได้ ไม่รบกวนเวลาของกลุ่มตัวอย่าง เลือกสังเกตปรากฏการณ์ได้ตามต้องการ ใช้ได้กับกรณีที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน ไม่ต้องเตรียมวิธีการหรือเครื่องมืออื่นใด ข้อจำกัด ผ่านการฝึกฝนให้เป็นคนช่างสังเกต ใช้เวลามาก สังเกตทีละเรื่องทีละราย ใช้เวลารอคอย ใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น กล้องถ่ายรูป อาจแปลควาหมายผิด ถ้าผู้สังเกตไม่คุ้นเคยกับวัฒนธรรมของกลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีสัมภาษณ์หรือสนทนากลุ่มร่วมด้วย
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : การสอบถามหรือการสำรวจ 3. การสอบถามหรือการสำรวจ (Survey)
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : การสอบถามหรือการสำรวจ ข้อจำกัด ใช้ได้เฉพาะผู้ตอบที่อ่านออกเขียนได้คล่อง ผู้ตอบอาจไม่เข้าใจภาษาในแบบสอบถาม ผู้ตอบอาจเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการหรือมอบให้ผู้อื่นตอบแทน ไม่เห็นปฏิกิริยาของผู้ตอบ ไม่สามารถ ประเมินความจริงใจและความน่าเชื่อถือ ได้แบบสอบถามตอบกลับคืนน้อย ใช้เทคนิคการทวงถาม ข้อดี ประหยัดแรงงาน เวลา ค่าใช้จ่าย เก็บข้อมูลได้พร้อมกันหลายคน ผู้ตอบมีอิสระในการตอบ ไม่เผชิญหน้ากันระหว่างผู้ถามและผู้ตอบ ไม่จำเป็นต้องใช้ผู้มีทักษะเฉพาะทาง มีหลักฐานที่มาของข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษร เก็บไว้ตรวจสอบได้ภายหลัง
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : การทดสอบ 4. การทดสอบ (Test) ทดสอบข้อเขียน ทดสอบภาคปฏิบัติ ทดสอบปากเปล่า
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : การทดสอบ ข้อดี ได้ข้อมูลที่เป็นความรู้ความสามารถจริง เลือกใช้เครื่องมือทดสอบได้หลากหลายพัฒนาความรู้ความสามารถ สมอง ทักษะทางปัญญา ร่างกาย ข้อจำกัด ผู้ออกข้อสอบมีความสามารถในการสร้างแบบทดสอบที่ดี ต้องจัดบรรยากาศและดำเนินการสอบให้ได้มาตรฐานเดียวกันทุกครั้ง ทุกคน ข้อสอบอัตนัยและภาคปฏิบัติ ต้องมีเกณฑ์การให้คะแนนที่ชัดเจน ฝึกผู้ที่จะทำการตรวจ ให้ตรวจด้วยมาตรฐานเดียวกันคือต้องประมาณ ความเที่ยงระหว่างผู้ตรวจ (interrater reliability)
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : การสนทนากลุ่ม 5. การสนทนากลุ่ม (Focus group discussion)
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : การสนทนากลุ่ม ข้อดี ได้กลั่นกรองความคิดอย่างลึกซึ้ง สนทนาในหมู่คนใกล้ชิดเป็นกันเอง สบายใจที่จะแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผย ประหยัดเวลาและงบประมาณ ข้อจำกัด ถ้าผู้นำการสนทนากลุ่มไม่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี จะทำให้บรรยากาศอึดอัด และไม่ได้สาระที่ลึกซึ้งเพียงพอ ใช้ภาษาพูดของสมาชิกในการสนทนา เตรียมการทุกอย่างให้พร้อม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : การจดบันทึก 6. การจดบันทึก
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : การจดบันทึก ข้อดี เลือกบันทึกเฉพาะสาระตามต้องการ ไม่รบกวนกลุ่มตัวอย่าง ข้อจำกัด ใช้เวลามาก ไม่อาจตรวจสอบหรือล่วงรู้ได้เลยว่า ข้อมูลที่กำลังจดบันทึกหรือคัดลอกนั้นได้เก็บไว้อย่างถูกต้องหรือไม่ เพียงไร
แหล่งความคลาดเคลื่อนของการเก็บรวบรวมข้อมูล ความ คลาดเคลื่อน 1.ผู้ใช้เครื่องมือ 2.การดำเนินการเก็บข้อมูล 3.กลุ่มตัวอย่างหรือผู้ให้ข้อมูล 4.เครื่องมือ
Thank You!
Workshop 7 นิสิตแบ่งกลุ่มละ 5 คน 1. เลือกวิธีการเก็บรวมรวมข้อมูล 2. เขียนขั้นตอนของการเก็บรวบรวมข้อมูล 3. แบ่งหน้าที่ของสมาชิกภายในกลุ่มในการเก็บรวบรวมข้อมูล