สถาบันอุดมศึกษา ต้องพัฒนาเป็นธรรมาภิบาล (ร่าง) สถาบันอุดมศึกษา ต้องพัฒนาเป็นธรรมาภิบาล ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน นายกสภาวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม, บุรุษคอมพิวเตอร์แห่งเอเชีย บิดาอินเทอร์เน็ตไทย บิดาอีเลิร์นนิ่งไทย และ ราชบัณฑิตแห่งบริเทนใหญ่ รองประธานเครือข่ายธรรมาภิบาลแห่งชาติ Charmonman@gmail.com www.charm.SiamTechU.net เอกสารประกอบการบรรยายนำในโครงการ เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และ ธรรมาภิบาล “มหาวิทยาลัยโปร่งใส บัณฑิตไทยไม่โกง” ณ หอประชุมใหญ่ ชั้น 4 วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม วันที่ 15 กันยายน 2559
สารบัญ บทนำ ความเป็นมาของธรรมาภิบาลในประเทศไทย หลักธรรมาภิบาล ธรรมาภิบาลกับการอุดมศึกษา ธรรมาภิบาลในการเรียนการสอน ธรรมาภิบาลในการวิจัย
สารบัญ (ต่อ) 7. ธรรมาภิบาลการให้บริการวิชาการ 8. ธรรมาภิบาลในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 9. สรุป
บทนำ ธรรมาภิบาล หรือ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถานว่า วิธีการปกครองที่ดี (Good Governance)
บทนำ (ต่อ) ธรรมาภิบาลเป็นคำซึ่งมีความหมายไม่แน่ไม่นอน ในการพัฒนาระหว่างประเทศ กล่าวว่าเป็นวิธีการดำเนินกิจการบ้านเมือง และ บริหารทรัพยากรบ้านเมือง ในทางที่รับประกันว่าสิทธิมนุษยชนจะบังเกิดผล
บทนำ (ต่อ) ธรรมาภิบาลใช้กับองค์กรใดก็ได้ อาทิ บริษัท ห้างร้าน หน่วยงานการปกครองระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ หรือระดับระหว่างประเทศ หรือ หน่วยงานอื่นๆ ในสังคม
บทนำ (ต่อ) ธรรมาภิบาลเป็นเรื่องการวางโครงสร้าง วางกลไก ให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ในขณะที่อีกด้านหนึ่ง คือ เรื่องตัวบุคคล เป็นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาลเป็นการวางระบบวางโครงสร้างเพื่อควบคุม ให้คนประพฤติปฏิบัติ แต่จริยธรรมจะลึกกว่านั้น โดยมีการปลูกฝังจิตสำนึก ต้องไม่ทุจริต ไม่ประพฤติมิชอบ
บทนำ (ต่อ) ธรรมาภิบาลเป็นเรื่องของหน่วยงาน และ บุคคล โดยให้หน่วยงานใส่ใจเรื่องธรรมาภิบาลให้มากขึ้น ให้อยู่ในสายเลือด ต้องทำให้ได้ ต้องลงทุนและ ต้องเริ่มทำ
บทนำ (ต่อ) หลักในการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี - พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 ที่ได้มีการเติมสาระสำคัญเรื่องธรรมาภิบาล หลักประสิทธิภาพประสิทธิผลต่างๆ เข้าไปไว้เป็นความในมาตรา 3/1 ในพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งเจตนารมณ์ คือ “ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน...”
บทนำ (ต่อ) อาจจะกล่าวได้ว่า ธรรมาภิบาลเป็นการเจริญรอยตาม พระปฐมบรมราชโองการ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
บทนำ (ต่อ) ธรรมาภิบาลเป็นทำงานอย่างมีคุณภาพ ให้ประชาชนมีความพึงพอใจ การบริหารต้องมีการตรวจสอบได้ ไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติ ให้มีความยุติธรรม และต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
บทนำ (ต่อ) ธรรมาภิบาลเป็นแนวทางในการจัดระเบียบ ให้ภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน ทั้งฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายราชการ และฝ่ายธุรกิจ สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความรู้รักสามัคคี และร่วมกันเป็นพลัง ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
บทนำ (ต่อ) เป็นส่วนเสริมความเข้มแข็งหรือสร้างภูมิคุ้มกันแก่ประเทศ เพื่อบรรเทา ป้องกัน หรือแก้ไขเยียวยาภาวะวิกฤติภยันตราย ที่อาจจะมีมาในอนาคต
บทนำ (ต่อ) การรักษาสิทธิประโยชน์ของส่วนรวม การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง กระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตระหนักในสิทธิและหน้าที่
บทนำ (ต่อ) การใส่ใจปัญหาหารบริหารจัดการ การกระตือรือร้นในการแก้ปัญหาตลอดจนการเคารพ ในความคิดเห็นที่แตกต่าง ความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตนเอง
บทนำ (ต่อ) บุคคลที่เป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงาน มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย * เพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม * อำนวยความสะดวก และให้บริการแก่ประชาชน * สร้างระบบการรับฟังความคิดเห็น และเคารพความคิดเห็นที่แตกต่างกัน
บทนำ (ต่อ) ความยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม - มีจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อหน่วยงาน - การเอาใจใส่ในปัญหาและกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา - กล้าดำเนินการตามกฎหมาย - กล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน
2.ความเป็นมาของธรรมาภิบาลในประเทศไทย ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจ ในปี พ.ศ. 2540 ขอกู้ยืมเงินมาบรรเทาภาวะปัญหา จากกองทุนการเงิน ระหว่างประเทศ (IMF) รัฐบาลไทย ต้องให้คำมั่นว่าจะต้องสร้าง “Good Governance” ขึ้นในภาครัฐ
ความเป็นมาของธรรมาภิบาลในประเทศไทย (ต่อ) คณะรัฐมนตรี เห็นชอบให้สร้างระบบบริหาร กิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี ออกเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการ สร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 ออกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
ความเป็นมาของธรรมาภิบาลในประเทศไทย (ต่อ) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหาร กิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 * ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พ.ศ. 2540 เพื่อให้กระบวนการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมือง และสังคมที่ดี เกิดผลอย่างจริงจัง คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ ความเห็นชอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบ บริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2542
ความเป็นมาของธรรมาภิบาลในประเทศไทย (ต่อ) * การใช้หลักธรรมาภิบาลทำให้องค์การสามารถ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานได้ อีกทั้งยังเป็นกลไกในการควบคุมติดตามและตรวจสอบ โดยมีประชาชนหรือองค์การภายนอกมีส่วนร่วม
ความเป็นมาของธรรมาภิบาลในประเทศไทย (ต่อ) * มุ่งให้เกิดความเป็นธรรม ความชอบธรรม ความเสมอภาค ของบุคคลในสังคม สิทธิเสรีภาพ ความยุติธรรม ตามระบบกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ
ความเป็นมาของธรรมาภิบาลในประเทศไทย (ต่อ) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 * กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี * ใช้บังคับกับส่วนราชการในทุกกระทรวง ทบวง กรม * มีหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
3. หลักธรรมาภิบาล 3.1 หลักนิติธรรม (Rule of Laws) 3.2 หลักคุณธรรม (Morality/Ethics) 3.3 หลักความโปร่งใส (Transparency) 3.4 หลักความมีส่วนร่วม (Participation) 3.5 หลักความรับผิดชอบ (Accountability) 3.6 หลักความคุ้มค่า (Cost Effective)
หลักธรรมาภิบาล (ต่อ) 3.1 หลักนิติธรรม (Rule of Laws) การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ และ ข้อบังคับต่างๆ ปกครองภายใต้กฎหมาย คำนึงถึงความเป็นธรรมและความยุติธรรม มีกฎหมาย และกฎข้อบังคับต่างๆ ที่ทันสมัยและเป็นธรรม การบังคับใช้และปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ
หลักธรรมาภิบาล (ต่อ) หลักนิติธรรมประกอบด้วย 7 หลักการ 1) หลักการแบ่งแยกอำนาจ 2) หลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ 3) หลักความรับผิดชอบด้วยกฎหมาย ของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง 4) ความชอบด้วยกฎหมายในทางเนื้อหา
หลักธรรมาภิบาล (ต่อ) 5) หลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา 6) หลัก “ไม่มีความผิด และไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย” 7) หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ
หลักธรรมาภิบาล (ต่อ) 3.2 หลักคุณธรรม (Morality/Ethics) * การยึดมั่นในความยุติธรรม ถูกต้อง ดีงาม * การปฏิบัติตามหลักคุณธรรมในศาสนา * มีความซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย * ให้ความช่วยเหลือ สงเคราะห์ คนยากไร้ พิการ และผู้ขาดโอกาส * ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา
หลักธรรมาภิบาล (ต่อ) หลักการสำคัญด้านคุณธรรม * ปลอดการทุจริตคอรัปชั่น * ปลอดจากการทำผิดกฎหมาย ระเบียบ และ วินัย * ปลอดจากการทำผิดมาตรฐานวิชาชีพ ค่านิยม และจรรยาบรรณ * น้อมนำหลักการ คำสอนของศาสนามาประยุกต์ใช้
หลักธรรมาภิบาล (ต่อ) 3.3 หลักความโปร่งใส (Transparency) * ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวกและเข้าใจง่าย * มีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องอย่างชัดเจน * ปฏิบัติตามประกาศ ระเบียบ กฎหมาย และข้อบังคับ * มีความสุจริตและบริสุทธิ์ใจ
หลักธรรมาภิบาล (ต่อ) * เป็นกระบวนการสื่อสารสองทางที่มีเป้าหมาย 3.4 หลักความมีส่วนร่วม (Participation) * เป็นกระบวนการสื่อสารสองทางที่มีเป้าหมาย * เพื่อที่จะให้เกิดการตัดสินใจที่ดีขึ้น * ได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชน * ให้สาธารณชนแสดงความคิดเห็นต่อโครงการ หรือกิจกรรมที่หน่วยงานดำเนินการ
หลักธรรมาภิบาล (ต่อ) * การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดสำหรับ * การเปิดรับฟังความคิดเห็นและมีความเข้าใจในเรื่องที่ สาธารณชนสนใจ * การเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีส่วน ร่วมรับรู้ ร่วมเสนอ และร่วมตัดสินใจในปัญหาสำคัญ * ควรมีข้อมูลที่ผู้เข้าร่วมต้องการเพื่อใช้ในการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
หลักธรรมาภิบาล (ต่อ) 3.5 หลักความรับผิดชอบ (Accountability) * การตระหนักในสิทธิหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคม * การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง * กระตือรือร้นในการแก้ปัญหา
หลักธรรมาภิบาล (ต่อ) * กล้าดำเนินการตามกฎหมาย และกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน * ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม * การสร้างระบบการรับฟังความคิดเห็น และ เคารพความคิดเห็นที่แตกต่างกัน
หลักธรรมาภิบาล (ต่อ) 3.6 หลักความคุ้มค่า (Cost Effective) * บริหารการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม * กำหนดกรอบหน้าที่ของบุคลากรในหน่วยงาน
หลักธรรมาภิบาล (ต่อ) * ปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร การกำหนดตำแหน่ง หรืออัตราข้าราชการ พนักงาน หรือ ลูกจ้าง ให้พอเหมาะกับงานในหน้าที่ความรับผิดชอบ * ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด คุ้มค่า สร้างสรรค์ * รักษาและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน
4. ธรรมาภิบาลกับการอุดมศึกษา คุณภาพการจัดการศึกษาของการอุดมศึกษา การบริหารการศึกษาต้องสอดคล้องและตอบสนอง ต่อนโยบายและความต้องการของระบบการศึกษาไทย กระบวนการบริหารต้องมีประสิทธิภาพ (Efficiency) และได้ประสิทธิผล (Effectiveness)
ธรรมาภิบาลกับการอุดมศึกษา (ต่อ) การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นทุกขั้นตอนต้องโปร่งใส และมีเหตุผล มีผู้รับผิดชอบผลการบริหาร ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการอุดมศึกษาที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการผลิตบัณฑิตไม่ตรงกับความต้องการของตลาด บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาแต่ไม่มีคุณภาพ ผลงานวิจัยไม่ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์บทบาท การบริการวิชาการเพื่อสังคมไม่ชัดเจน เป็นต้น
ธรรมาภิบาลกับการอุดมศึกษา (ต่อ) คุณภาพการจัดการศึกษาของการอุดมศึกษา * ในการขับเคลื่อนสถาบันอุดมศึกษาให้มีคุณภาพ มุ่งสู่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน จำเป็นต้องใช้กลไกธรรมาภิบาลเป็นเครื่องมือสำคัญ
ธรรมาภิบาลกับการอุดมศึกษา (ต่อ) * ธรรมาภิบาลมีองค์ประกอบที่เป็นโครงข่ายเชื่อมโยงกัน ของกฎระเบียบข้อบังคับ การจัดสรรเงินให้แก่ สถาบันการศึกษา การใช้จ่ายเงินนั้น โครงสร้างธรรมาภิบาล กำหนดเป็นโครงสร้างทั้งที่เป็นทางการ และ ไม่เป็นทางการ
ธรรมาภิบาลกับการอุดมศึกษา (ต่อ) การบริหารการศึกษาต้องสอดคล้องและตอบสนองต่อ นโยบายและความต้องการของระบบการศึกษาไทย * เปิดหลักสูตรที่สอดคล้องกับแผนพัฒนากำลังคน * กำหนดแผนระยะสั้นและแผนระยะยาว * พัฒนาองค์ประกอบให้สอดคล้องกับแผน * เรื่องที่ไม่เข้าประเด็น (Non Relevance) หรือ ที่เข้าประเด็นน้อย (Less Relevance) ต้องตัดทิ้ง
ธรรมาภิบาลกับการอุดมศึกษา (ต่อ) * กำหนดมาตรฐานทั่วไปและเฉพาะสาขาวิชาการ * ไม่ทำทุกอย่างเพราะต้องประหยัดงบประมาณ * ไม่เอาทรัพยากรไปใช้ในสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ หรือเป็นประโยชน์เฉพาะตนเองหรือพวกพ้อง * งบประมาณทุกบาทที่มีต้องใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ธรรมาภิบาลกับการอุดมศึกษา (ต่อ) กระบวนการบริหารต้องมีประสิทธิภาพ (Efficiency) และได้ประสิทธิผล (Effectiveness) * ให้ความสำคัญในการสรรหาคัดเลือกบุคคลมาเป็นนายกสภา มหาวิทยาลัยและกรรมการสภา * สร้างความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจเอกชนกับมหาวิทยาลัย * ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาคุณภาพการศึกษาของสถาบัน * กำหนดมาตรฐานการศึกษาและมาตรการตรวจสอบ
ธรรมาภิบาลกับการอุดมศึกษา (ต่อ) ทุกขั้นตอนต้องโปร่งใส (Transparency) และสมเหตุสมผล (Reasonableness) * ใช้หลักทางสายกลาง (Moderation) * ทำอะไรต้องมีเหตุผล (Reasonable) * มีภูมิคุ้มภัย (Self-Immunity)
ธรรมาภิบาลกับการอุดมศึกษา (ต่อ) มีระบบรับผิดชอบต่อผลการบริหารการศึกษา * มีผู้รับผิดชอบในแต่ละระบบ * จัดให้มีการศึกษาในด้านวิชาการและวิชาชีพขั้นสูง หลากหลายสาขาวิชา * ทำวิจัยและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม * การกำกับตรวจสอบโดยกลไกภายในมหาวิทยาลัย อย่างมีประสิทธิภาพ
ธรรมาภิบาลกับการอุดมศึกษา (ต่อ) * สภามหาวิทยาลัย มีความสำคัญต่อความเจริญ ของสถาบันและผลผลิตที่ดี * เป็นผู้นำการใช้ธรรมาภิบาลสำหรับการบริหารจัดการ * ชี้แนะสังคมในการสร้างสังคมธรรมาภิบาล * ยึดหลักความมีคุณธรรม ความรับผิดชอบต่อรัฐและสังคม * มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารที่โปร่งใส และตรวจสอบได้
ธรรมาภิบาลกับการอุดมศึกษา (ต่อ) หน้าที่หลักของสถาบันอุดมศึกษาคือ 1) การเรียนการสอน 2) การวิจัย 3) การให้บริการวิชาการ 4) การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
5. ธรรมาภิบาลในการเรียนการสอน 5.1 หลักสูตรอุดมศึกษา 5.2 การวางแผนการสอน 5.3 รูปแบบการสอนและวิธีการสอน 5.4 การประเมินผลการเรียนการสอน 5.5 การพัฒนาคุณภาพของคณาจารย์ 5.6 สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ (Excellence) อย่างต่อเนื่อง
ธรรมาภิบาลในการเรียนการสอน (ต่อ) 5.1 หลักสูตรอุดมศึกษา * โครงสร้างหลักสูตร * องค์ประกอบของหลักสูตร * ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน * วิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา
ธรรมาภิบาลในการเรียนการสอน (ต่อ) * เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนขั้นสูง ที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง * การพัฒนาให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ * จำนวนหน่วยกิตตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ของคณะกรรมการอุดมศึกษา
ธรรมาภิบาลในการเรียนการสอน (ต่อ) * องค์ประกอบของหลักสูตร - หมวดวิชาศึกษาทั่วไป - หมวดวิชาเฉพาะ - หมวดวิชาเลือกตามความสนใจ และเสริมสร้างประสบการณ์
ธรรมาภิบาลในการเรียนการสอน (ต่อ) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน 4 ประการ ได้แก่ 1) คุณลักษณะของผู้เรียน บุคลิกของผู้เรียน ประสบการณ์การเรียนรู้ * ความแตกต่างระหว่างบุคคล * เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และศาสนา 2) บริบทในการเรียนรู้ การบริหารจัดการหลักสูตรและรายวิชา สิ่งอำนวยความสะดวก * ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการ และ อินเทอร์เน็ต
ธรรมาภิบาลในการเรียนการสอน (ต่อ) 3) วิธีการสอนของอาจารย์ผู้สอน * การสอนโดยใช้กระบวนการวิจัย * การสอนแบบอภิปราย * การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน 4) บรรยากาศในการเรียนรู้ * การแสดงความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์
ธรรมาภิบาลในการเรียนการสอน (ต่อ) วิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา 1) เรียนเพื่อให้ผ่าน (Surface Approach) การเรียนรู้ที่เน้นการแสวงหาข้อมูล และให้เกิดความจำ
ธรรมาภิบาลในการเรียนการสอน (ต่อ) 2) กระบวนการเรียนรู้เกิดจากความสนใจในเนื้อหาสาระ ของรายวิชาที่เรียน (Deep Approach) * เกิดจากความสนใจในเนื้อหาสาระของรายวิชาที่เรียน * ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ไปจนถึงการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น 3) การเรียนรู้ที่ใช้ทั้งแรงจูงใจและความตั้งใจ (Strategic Approach) * เกิดผลลัพธ์ในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ * เรียนรู้ด้วยการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ให้เกิดองค์ความรู้ใหม่
ธรรมาภิบาลในการเรียนการสอน (ต่อ) 4) การประเมินผลการเรียนการสอน * วิธีการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ * กำหนดเวลาที่สามารถสอนได้ครบถ้วนตามเนื้อหาสาระ และการประเมินผลในแต่ละช่วงเวลา * ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ * ความสัมพันธ์ ที่ดีระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
ธรรมาภิบาลในการเรียนการสอน (ต่อ) วิธีการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ * กำหนดความชัดเจนการวัดและประเมินผล - เวลา - กิจกรรม - เกณฑ์ในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
ธรรมาภิบาลในการเรียนการสอน (ต่อ) วิธีการสอน * เอาใจใส่ผู้เรียนเป็นรายบุคคล * ให้ความสำคัญผลการเรียนรู้ในระดับการวิเคราะห์ และสังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่ * ส่งเสริมให้ผู้เรียนฝึกประเมินผลตนเอง
ธรรมาภิบาลในการเรียนการสอน (ต่อ) กำหนดเวลาที่สามารถสอนได้ครบถ้วนตามเนื้อหาสาระ และการประเมินผลในแต่ละช่วงเวลา * จัดทำแผนการสอน - รายละเอียดของเนื้อหา - กิจกรรมการเรียนการสอนรายคาบเรียน
ธรรมาภิบาลในการเรียนการสอน (ต่อ) * ผลการเรียนการสอน - แสกงผลการเรียนการสอนชัดเจน - นำผลไปใช้ปรับปรุงพฤติกรรมเพื่อบรรลุเป้าหมาย
6. ธรรมาภิบาลในการวิจัย พัฒนาระบบและกลไกในการสนับสนุนการผลิตงานวิจัย * ระบบบริหารงานวิจัยและการสนับสนุน * การบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อการวิจัย * ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรภายนอกในการวิจัย
ธรรมาภิบาลในการวิจัย (ต่อ) บริหารจัดการความรู้จากงานวิจัย * การจัดระบบข้อมูลการวิจัย ให้สะดวกในการค้นหา * ปรับปรุงแก้ไขข้อมูลการวิจัยให้ถูกต้องเป็นปัจจุบัน * สนับสนุนการสร้างเครือข่ายเผยแพร่ผลงานวิจัย
ธรรมาภิบาลในการวิจัย (ต่อ) การเผยแพร่ผลงานวิจัยและการนำไปใช้ * การประชาสัมพันธ์ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย * ส่งเสริมการนำผลงานวิจัยไปใช้ทั้งในองค์กรและในธุรกิจ * สนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการจดสิทธิบัตร ผลงานวิจัย
7. ธรรมาภิบาลการให้บริการวิชาการ ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมตามเป้าหมาย * มีแผนดำเนินงานและการปฏิบัติตามแผน * มีระเบียบกฎเกณฑ์ในการให้บริการวิชาการ * อาจารย์และนักศึกษาร่วมมือและให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ * ส่งเสริมการให้บริการวิชาการอย่างเป็นระบบ
ธรรมาภิบาลการให้บริการวิชาการ (ต่อ) ประเมินผลดำเนินงานในการบริการทางวิชาการ - ประเมินผลดำเนินงานเปรียบเทียบกับแผนและเป้าหมาย - การนำผลงานประเมินไปปรับปรุงการบริการทางวิชาการ - พัฒนาบุคคลกรให้มีความรู้และทักษาเพิ่มเติม ในการให้บริการทางวิชาการ
ธรรมาภิบาลการให้บริการวิชาการ (ต่อ) การบริการทางวิชาการแก่สังคม เพื่อสร้างสรรค์จรรโลงให้สังคมเจริญก้าวหน้า และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม โดยใช้วิชาการ ขั้นสูงเป็นพื้นฐาน
8. ธรรมาภิบาลในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การส่งเสริมและสนับสนุนการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม - การประดับและตกแต่งสภาพแวดล้อมและอาคาร - การเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมในระดับองค์กร - กำหนดแผน / กิจกรรม / โครงการ
ธรรมาภิบาลในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (ต่อ) การสร้างมาตรฐานศิลปวัฒนธรรม - การประชุมสัมมนาที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรม - การเผยแพร่งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ศิลปวัฒนธรรมในระดับชุมชน ประเทศ และนานาชาติ - จัดทำวารสารด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง
ธรรมาภิบาลในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (ต่อ) การศึกษาและเก็บรวบรวมงานศิลปะและวัฒนธรรม - จัดทำพิพิธภัณฑ์ - การรวบรวมข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมอย่างเป็นระบบ - การเผยแพร่ข้อมูลและความรู้ที่รวบรวมไว้
9. สรุป อุดมศึกษาเป็นสถานศึกษาที่มีส่วนสำคัญต่อการสร้างคนในชาติ - สร้างความรู้และประสบการณ์ให้คนรุ่นใหม่ของชาติ - วิจัย ค้นคว้า สร้างความรู้ให้เจริญก้าวหน้า - ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง - เป็นกำลังสำคัญในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
สรุป (ต่อ) ต้องเป็นผู้นำและเป็นต้นแบบที่ดีในการนำธรรมาภิบาลมาใช้ - เป็นต้นแบบของเยาวชนที่จะเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ - สร้างพฤติกรรมให้ผู้เรียนที่จะใช้ปฏิบัติต่อไป - เป็นตัวอย่างของการอยู่ร่วมกันในสังคมที่ดี
สรุป (ต่อ) ชี้แนะสังคมว่าธรรมาภิบาลนั้นจะสร้างสังคมที่ดีได้อย่างไร - ให้ความรู้และนำไปสู่การปฏิบัติ - สังคมและชุมชนสถานศึกษาสามารถรับรู้และร่วมกัน สร้างเครือข่ายสังคมธรรมาภิบาล - สามารถสร้างองค์ความรู้และแบบอย่างสังคมที่ดี โดยใช้ธรรมาภิบาล
สรุป (ต่อ) ทุกองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนต้องนำธรรมาภิบาลไปใช้ปฏิบัติ - องค์กรภาครัฐต้องปฏิบัติตามระเบียบกฎหมาย - องค์กรเอกชนที่ปฏิบัติตามหลักการธรรมาภิบาลย่อมได้รับ ความเชื่อถือจากผู้ที่เกี่ยวข้องและสังคม - ทุกภาคส่วนสามารถอยู่ร่วมกันด้วยดี เมื่อปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล
สรุป (ต่อ) ธรรมาภิบาลเป็นหลักการที่ช่วยสร้างสรรค์ และส่งเสริมองค์กรให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ - หลักการธรรมาภิบาลก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล - บุคลากรในองค์กรร่วมด้วยช่วยกันพัฒนา - ก่อให้เกิดความประหยัดและรักษาสิ่งแวดล้อม
สรุป (ต่อ) สถาบันการศึกษาที่นำธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหาร จะได้รับความศรัทธาและความเชื่อมั่น - การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลทำให้เกิดการยอมรับอย่างทั่วถึง - ทำให้เกิดความยุติธรรมเท่าเทียมกันตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด - ทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการทำงานร่วมกัน - ก่อให้เกิดการพัฒนาเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง
สรุป (ต่อ) องค์กรที่โปร่งใสย่อมได้รับความไว้วางใจจากสังคม และประชาชนทุกภาคส่วน - ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดการยอมรับ และให้ความเชื่อถือ - ผู้คิดร้ายย่อมพ่ายแพ้ ถูกต่อต้านและหมดไปในที่สุด - ดำเนินงานได้รวดเร็ว ราบรื่น และเกิดผลดี - ผู้เกี่ยวข้องมีความสุข และได้ผลงานที่ดีร่วมกัน
สรุป (ต่อ) ธรรมาภิบาลส่งผลดีต่อเสถียรภาพขององค์กร และความเจริญก้าวหน้าของประเทศ - เกิดการพัฒนาที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง - สังคมทุกภาคส่วนมีความสุข สามัคคี และร่วมมือถือ - เพิ่มการผลิตทุกภาคส่วน ทำให้ประชาชนมีความสุข เจริญก้าวหน้า ประเทศชาติมั่งคั่ง และยั่งยืน
(เรียงทำนองเดียวกับเชิงอรรถ) บรรณานุกรม (เรียงทำนองเดียวกับเชิงอรรถ) 1. ดร.ลัดดา ผลวัฒนะ ธรรมาภิบาลกับการบริหารมหาวิทยาลัย GOOD GOVERNANCE FOR UNIVERSITY ADMINISTRATIO 2. ถวิลวดี บุรีกุล. (2545). “การมีส่วนร่วมของประชาชน” ในการเมืองการปกครองไทยในรอบ 60 ปี แห่งการครองสิริราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า. 3. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2542). การสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา จำกัด.
(เรียงทำนองเดียวกับเชิงอรรถ) บรรณานุกรม (เรียงทำนองเดียวกับเชิงอรรถ) 4. _______. (2545). ธรรมาภิบาลและการพัฒนาประเทศไทย. เอกสารประกอบการศึกษาหลักสูตร 5. ธรรมาภิบาลและการพัฒนาประเทศไทย ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น. 6. แผนยุทธศาสตร์การบริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2555 -2558 เอกสารประกอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
(เรียงทำนองเดียวกับเชิงอรรถ) บรรณานุกรม (เรียงทำนองเดียวกับเชิงอรรถ) 7. ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ความคดิในการพัฒนาอุดมศึกษาไทยในรอบทศวรรษ มีนาคม 2544 8. ดร. .สุเมธ แย้มนุ่น ธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการอุดมศึกษา ตามแผนอุดมศึกษาระยะยาว ฉบับที่ 2 (พ ศ. 2551-2565) 9. ดร. .สุเมธ แย้มนุ่น ทิศทางของการอุดมศึกษาไทย ในอนาคตอีก 15 ปี 26-27 กันยายน 2552 10. ศรีพัชรา สิทธิกำจร แก้วพิจิตร การใช้หลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร 2551
(เรียงทำนองเดียวกับเชิงอรรถ) บรรณานุกรม (เรียงทำนองเดียวกับเชิงอรรถ) 11. รศ. ดร.เรณุมาศ มาอุ่น การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ 12. รัตนะ บัวสนธ์ ธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ : สภาพปัจจุบันและความคาดหวัง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 13. สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา มกราคม 2551
(เรียงทำนองเดียวกับเชิงอรรถ) บรรณานุกรม (เรียงทำนองเดียวกับเชิงอรรถ) 14. สำนักประสานและส่งเสริมกิการ อุดมศึกษา คู่มือการปฎิบัติงานเรื่องการส่งเสริมการวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา 2553 15. สถาบันคลังสมองของชาติ. (2552). ธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย, 1(1), 10-21.
Thank You