การดำเนินการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
พัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร(บูรณาการกระทรวง)
Advertisements

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 22 พฤษภาคม.
ปทุมธานี นางปลื้มจิตต์ เนี้ยวคงศักดิ์ นายอารัต เมืองจร
ราชบุรี นายประกอบ วงศ์มณีรุ่ง นายวรวุฒิ เจริญเชื้อ
แนวทางการบริหารงบประมาณ
กระบี่ สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
ผอ. สำนักควบคุมและ ตรวจสอบอาคาร (1/1) สำนักงานคณะกรรมการ ควบคุมอาคาร ข้าราชการ พนักงานราชการ 66 ลูกจ้างประจำ 11 กลุ่มงานควบคุม โรงมหรสพ ข้าราชการ.
อำนาจเจริญ - ว่าง- - ว่าง- - ว่าง - -ว่าง -
การดำเนินงานโครงการ เมื่อได้รับอนุมัติงบประมาณ
15 กันยายน 2558 หมวดงบลงทุน. งบ ลงทุน 1) ครุภัณฑ์ 2) ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่าย เพื่อการลงทุน ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายใน ลักษณะค่าครุภัณฑ์
คู่มือการยืมเงินราชการและเงินทด รองราชการ วัตถุประสงค์ การยืมเงินราชการและเงินทดรอง ราชการ เป็นกระบวนการหนึ่งของการเบิก จ่ายเงินจากคลัง คู่มือการปฏิบัติงานเรื่อง.
การจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบ พัสดุ ประกาศคณะรักษาความรักษา ความสงบแห่งชาติ การซื้อและ การจัดจ้างด้วยระบบ อิเล็กทรอนิกส์ (e – GP) และการบริหาร งบประมาณ ขององค์กรปกครองส่วน.
ทิศทางการนำระบบบริหาร จัดการคลังข้อสอบ และการทดสอบมาตรฐานฝีมือ แรงงาน ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์สู่หน่วย ปฏิบัติ โดย วรรณี โกมลกวิน ผู้อำนวยการกลุ่มงานกำหนด.
ขั้นตอนการใช้บริการต้องทำอย่างไร  สถานประกอบกิจการ ต้องดำเนินการตาม ขั้นตอนต่อไปนี้ ตรวจสอบข้อมูลสถานประกอบกิจการในระบบ ที่
KM การเบิกจ่ายโครงการ กลุ่ม 3 1. นายณัฐกร ตุ้ยทา 2. นางสาวอภิวันท์ สิ้มศรีสุข 3. นางสาวศิริกาญจน์ กิตติชยานนท์
การบริหารจัดเก็บภาษีสินค้ายาสูบ
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
บทที่ 3 องค์ประกอบของการสัมมนา
Strategy Map สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 16
วิชากฎหมายอาคาร รหัสวิชา ท-ป-น (2-0-2) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช.2556 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาช่างโยธา.
วาระที่ สรุปผลการปฏิบัติงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559
การสร้างแผนปฏิบัติการระดับตำบลหรือท้องถิ่น
การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life)
การให้เงินช่วยเหลือหรืออุดหนุนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
Strategy Map สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร12
ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
พ.ร.ก.ยกเว้นและสนับสนุนฯ สำนักกฎหมาย กรมสรรพากร
โดย นายทรงเกียรติ ตาตะยานนท์ ผู้อำนวยการส่วนจัดการงบประมาณ
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
กรอบอัตรากำลังของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)
ข่าวประชาสัมพันธ์สำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัย
โดย... นางสาวปวีณ์ริศา เกณิกานนท์ นักวิชาการแรงงานชำนาญการ
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ฝ่ายบัญชีและการเงิน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
ยินดีต้อนรับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์) และคณะ ในโอกาสตรวจเยี่ยมจังหวัดตาก วันที่ กรกฎาคม 2558.
การปฏิบัติราชการของส่วนราชการระดับหน่วยงานภายใน ประจำปีงบประมาณ พ. ศ
การเบิกจ่ายเงิน ตามโครงการฝึกอบรม
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานบริหารและธุรการ คณะบริหารธุรกิจ
ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่องหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ การออกแบบก่อสร้างและการจัดการสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย ประกาศในกรมควบคุมมลพิษ.
สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 16 นครปฐม
ประพนธ์ อางตระกูล สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตทำงาน และการอนุญาตให้ทำงานตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.
กรณี เดินทางไปราชการ เพื่อเข้ารับการฝึกอบรม/สัมมนาฯ
ข้อสังเกตจากการตรวจสอบเอกสาร
(มีผลใช้บังคับวันที่ ๑ พ.ย. ๒๕๕๗)
กลุ่มเกษตรกร.
การให้เงินช่วยเหลือหรืออุดหนุน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณและการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ มีนาคม 2560.
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กองทุนเงินทดแทน ประกันสังคม.
ประเด็นปัญหาที่ตรวจพบจากการตรวจสอบ
ปี 2560 ปฏิทินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
ความคืบหน้าการจ้างลูกจ้างชั่วคราว เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.)
Strategy Map สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 14
แนวปฏิบัติ การจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ
กฎกระทรวง ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ.2561
สัมมนาเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน
การให้เงินช่วยเหลือหรืออุดหนุนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในเขตปลอดอากร นักตรวจสอบภาษีชำนาญการพิเศษ
ลำปาง นายยรรยง พลสันติกุล สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกูลลูกจ้างชั่วคราว พ.ศ. 2545
ทะเบียนสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์
การบรรจุแต่งตั้งและอัตราเงินเดือน
การประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบ ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.
มารู้จักและมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ของ สศช. กันเถอะ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
การจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
บทที่ 7 การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การดำเนินการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 119 ตอนที่ 98/1 ก วันที่ 1 ตุลาคม 2545 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2546 วันที่ 16 มกราคม 2560 ณ โรงแรมแคนทารี 304 อำเภอศรีมหาโพธิ

วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานประกอบกิจการภาคเอกชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาฝีมือ แรงงานให้มากยิ่งขึ้น โดยการเพิ่มมาตรการจูงใจด้านการยกเว้นภาษีเงินได้จากการฝึกอบรมฝีมือ แรงงาน และสิทธิประโยชน์ด้านต่างๆ รวมทั้งให้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาฝีมือ แรงงาน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาฝีมือแรงงาน

จากการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน สิทธิและประโยชน์ จากการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน 1. ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ผู้ประกอบกิจการตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีก 100 % สำหรับค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปในการจัดให้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548 2. สามารถนำจำนวนผู้เข้ารับการฝึกไปนับสัดส่วน 50% ในการส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน กรณีมีลูกจ้างตั้งแต่100คนขึ้นไป ในปีนั้นๆ

3. ได้รับยกเว้นจากกฎหมายคุ้มครองแรงงานและกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ (เฉพาะกรณีฝึกเตรียมเข้าทำงาน) 4. ได้รับยกเว้นจากกฎหมายโรงเรียนเอกชน 5. มีสิทธินำคนต่างด้าว ซึ่งเป็นช่างฝีมือแรงงานหรือผู้ชำนาญการเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อมาเป็นครูฝึก (พร้อมคู่สมรสและบุคคลซึ่งอยู่ในอุปการะ)

กรณีการฝึกอบรมในศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน 6. ได้รับคำปรึกษาแนะนำและช่วยเหลือจากกรมพัฒนาฝีมือ แรงงานในด้านต่างๆ 7. สิทธิและประโยชน์อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง กรณีการฝึกอบรมในศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน 1. มีสิทธิและประโยชน์เช่นเดียวกับกรณีเป็นผู้ดำเนินการฝึกทั่วไป 2. ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับ เครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการฝึกอบรม 3. มีสิทธิหักค่าไฟฟ้าและค่าประปาเป็นจำนวน 2 เท่า ของ ค่าใช้จ่ายที่เสียไปในการอบรมในศูนย์ฝึกฯ 4. สิทธิและประโยชน์อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

การนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไปยกเว้นภาษีเงินได้ กรณีขอยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีกร้อยละ 100 เป็นเสมือนร้อยละ 200 ตัวอย่าง -รอบปีภาษีหนึ่ง สถานประกอบกิจการมีรายจ่ายในการลงทุนทั้งหมด 1,000 บาท (ทุนอื่นๆ 800 บาท + ทุนค่าฝึกอบรม 200 บาท) -รอบปีภาษีนั้นมีรายได้ 3,000 บาท นำรายได้ทั้งหมด ลบ รายจ่ายในการลงทุนทั้งหมด (หักออก 100 %) เพื่อเป็นกำไรสุทธิก่อนคำนวณภาษี (ลบค่าฝึกอบรมไปด้วย) 3,000 – 1,000 = 2,000 บาท (100%แรก) นำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม หักออกจากกำไรสุทธิก่อนคำนวณภาษี 2,000 – 200 = 1,800 บาท (เพิ่มอีก100%ตามพ.ร.ฎ(437) ดังนั้น เสียภาษีจากฐานกำไรสุทธิเพียง 1,800 บาท

ลงค่าใช้จ่ายเพิ่มอีก 100%

ผู้ประกอบกิจการที่มีลูกจ้างไม่ถึง 100 คน สามารถดำเนินการจัดฝึกอบรมฝีมือแรงงาน (ตามหมวด 1) และยื่นขอรับรองหลักสูตรและค่าใช้จ่าย เพื่อขอยกเว้นภาษีได้เพิ่มอีก 100 % ได้ ซึ่งไม่เข้าข่ายต้องส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน

แผนผังการดำเนินการตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมฯ 2545 (กรณีผู้ประกอบกิจการมีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป) นำหนังสือรับรองหลักสูตร (กรณีดำเนินการฝึกเอง Inhouse ที่มีค่าใช้จ่าย)ไปขอยกเว้นภาษีเงินได้ประกอบ ภ.ง.ด.50 ขึ้นทะเบียนผู้ประกอบกิจการ (สท.1,ท.4) ณ สิ้นเดือนแรกที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไปโดยเริ่มบังคับตั้งแต่ปี 2548 (ขึ้นครั้งแรกครั้งเดียว) 1. ฝึกอบรมฝีมือแรงงานในแต่ละปี ตามกฎหมาย และยื่นต่อหน่วยงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อขอรับรองหลักสูตรภายใน 60 วันนับแต่ฝึกอบรมเสร็จ แต่ไม่เกิน 15 มกราคมของปีถัดไป 2. หนังสือรับรองหลักสูตรการฝึกอบรม (กรมพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นผู้ออก) กรณีจัดฝึกอบรมครบหรือมากกว่าสัดส่วน ไม่ต้องส่งเงินสมทบฯ กรณีจัดฝึกอบรมแต่ไม่ครบตามสัดส่วนของลูกจ้าง 50%ในปีนั้น ยื่นแบบแสดงการส่งเงินสมทบฯ (สท.2)ประจำปีภายในมีนาคมของปีถัดไป 3. กรณีไม่ได้จัดฝึกอบรมตามสัดส่วนของลูกจ้าง 50%ในปีนั้น ส่งเงินสมทบฯ

2. 3. 1. แผนผังการดำเนินการตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมฯ 45 (กรณีผู้ประกอบกิจการไม่เคยมีลูกจ้างถึง 100 คน) ฝึกอบรมฝีมือแรงงานตามเงื่อนไข และยื่นต่อหน่วยงานกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อขอรับรองหลักสูตรภายใน 60 วันนับแต่ฝึกอบรมเสร็จ แต่ไม่เกิน 15 มกราคมของปีถัดไป 2. นำหนังสือรับรองหลักสูตร (กรณีดำเนินการฝึกเอง Inhouse ที่มีค่าใช้จ่าย)ไปขอยกเว้นภาษีเงินได้ประกอบ ภ.ง.ด.50 3. ผู้ประกอบกิจการไม่เคยมีลูกจ้างถึง 100 คน ไม่ต้องขึ้นทะเบียนผู้ประกอบกิจการ 1. หนังสือรับรองหลักสูตรการฝึกอบรม (กรมพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นผู้ออก)

การฝึกอบรมฝีมือแรงงาน เพื่อข้อยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีก 100% มี 3 ประเภท 1. การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน 2. การฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ (เป็นลูกจ้าง) 1) ฝึกเอง 2) ส่งไปฝึกภายนอก 3. การฝึกเตรียมเข้าทำงาน (ไม่ใช่ลูกจ้าง) 1) บุคคลทั่วไป ฝึกเอง 2) บุคคลทั่วไป ส่งไปฝึกภายนอก 3) รับนักเรียน นักศึกษาฯฝึกงาน

1. การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน หมายถึง 1. ผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นนายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน 2. เพิ่มเติมในสาขาอาชีพที่ลูกจ้างได้ ปฏิบัติงานอยู่ตามปกติ 3. เพื่อให้ มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานในสาขาอาชีพนั้นสูงขึ้น โดยหลักสูตรต้องมีความสอดคล้องและเป็นประโยชน์กับกิจการ 4. หลักสูตรต้องมีความสอดคล้องและเป็นประโยชน์กับกิจการ

การดำเนินการ ผู้ประกอบกิจการ อาจดำเนินการยื่นคำขอรับความเห็นชอบหลักสูตรก่อนฝึก หรือหลังฝึกอบรมเสร็จสิ้นแล้วก็ได้ แต่หลังจากเสร็จสิ้นการฝึกอบรมแล้ว ต้องยื่นคำขอรับความเห็นชอบหลักสูตร รายละเอียดที่เกี่ยวข้องและรายการค่าใช้จ่าย ที่ใช้ในการฝึกอบรมเสนอต่อนายทะเบียนเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยจัดทำรายงานเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย พร้อมแนบหลักสูตร กำหนดการฝึกอบรมและหลักฐานค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมแต่ละหลักสูตรตามที่จ่ายจริง เสนอต่อนายทะเบียนให้ความเห็นชอบภายใน 60 วัน นับแต่วันเสร็จสิ้นการฝึกแต่ต้องไม่เกินวันที่ 15 มกราคม ของปีถัดไป

1.1 ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) 1.หลักสูตรที่ใช้ในการฝึกอบรม 1) ต้องเป็นหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานของลูกจ้างให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานในสาขาอาชีพนั้นเพิ่มขึ้น โดยหลักสูตรต้องมีความสอดคล้องและเป็นประโยชน์กับกิจการนั้น - ไม่ใช่การประชุมหรือสัมมนา (ที่ไม่ได้ให้ความรู้แก่ผู้รับการฝึกอบรม) - ไม่ใช่การฝึกอบรมหลักสูตรที่เป็นเรื่องส่วนบุคคลของผู้เข้ารับการฝึก เช่น หลักสูตรการดูแลครรภ์ การเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น - ไม่ใช่หลักสูตรการศึกษา เช่น ปริญญาโท ปริญญาตรี ปวส. ปวช. เป็นต้น - ไม่ใช่หลักสูตรที่มีลักษณะการเรียนแบบ E-learning , Self-learning เป็นต้น 2) จำนวนชั่วโมงต้องสอดคล้องกับหลักสูตร ทั้งนี้ต้องไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

2.สถานที่ฝึก ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) ต่อ 3) จำนวนผู้รับการฝึกอบรมให้แบ่งกลุ่ม ดังนี้ 3.1) กรณีการฝึกอบรมโดยการบรรยาย กลุ่มละไม่เกิน 100 คน 3.2) กรณีการฝึกอบรมโดยการจัดกิจกรรมกลุ่ม กลุ่มละไม่เกิน 50 คน ต่อวิทยากร 1 คน 3.3) กรณีการฝึกอบรมทักษะฝีมือซึ่งต้องมีภาคปฏิบัติ กลุ่มละไม่เกิน 25 คน ต่อ วิทยากร 1 คน 4) ผู้รับการฝึกต้องเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งหลักสูตร 2.สถานที่ฝึก 1) ฝึกในสถานประกอบกิจการหรือหน่วยผลิต 2) ฝึกในสถานที่อื่น เช่นเช่าสถานที่ภายนอกเพื่อใช้ฝึกอบรม ซึ่งอาจเป็นทั้งของทาง ราชการหรือเอกชน 3) ฝึกในศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ซึ่งการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน จะต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนก่อน

รายการค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมลูกจ้าง กรณีเป็นผู้ดำเนินการฝึกเอง ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) ต่อ รายการค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมลูกจ้าง กรณีเป็นผู้ดำเนินการฝึกเอง 1) ค่าตอบแทนวิทยากร 2) ค่าลิขสิทธิ์ของหลักสูตรที่ใช้ในการฝึกอบรม 3) ค่าจ้างล่ามระหว่างการฝึกอบรม 4) ค่าแปลเอกสารประกอบการฝึกอบรม 5) ค่าเอกสารประกอบการฝึกอบรม หรือตำรา 6) ค่าจ้างถ่ายเอกสารประกอบการฝึกอบรม 7) ค่าถ่าย ล้าง อัดและขยายรูปภาพ ค่าบันทึกภาพและเสียง ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม

ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) ต่อ 8) ค่าจัดทำหรือค่าเช่าสื่อการฝึกอบรม ได้แก่สื่อในลักษณะแผ่นโปร่งใส เทปเสียง เทปวีดีโอ ซีดี วีซีดี ดีวีดี ซีดี-รอมแผ่นภาพ สไลด์ และรวมถึงชุดทดลอง ชุดสาธิต หุ่นจำลองที่ไม่มีลักษณะคงสภาพ เข้าข่ายเป็นการลงทุน ในกรณีเช่าสื่อการฝึกอบรมจะต้องมีระยะเวลาเช่าที่แน่นอนและสอดคล้องกับหลักสูตรที่จัดฝึกอบรม 9) ค่าวัสดุ เครื่องมือต่างๆ ที่จะใช้ในการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน จะต้องมีลักษณะการใช้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาในหลักสูตรนั้นๆ ทั้งนี้ วัสดุ เครื่องมือ ดังกล่าวจะต้องไม่ปะปนกับที่ใช้ในการประกอบกิจการตามปกติของผู้ขอรับความเห็นชอบ โดยจะต้องระบุรายการ จำนวนและราคาของวัสดุ เครื่องมือนั้นให้ชัดเจน 10) ค่าเช่าเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรม ต้องมีระยะเวลาเช่าที่แน่นอนและสอดคล้องกับหลักสูตรที่จัดฝึกอบรม

11) ค่าเช่าสถานที่จัดการฝึกอบรม ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) ต่อ 11) ค่าเช่าสถานที่จัดการฝึกอบรม 12) ค่าเช่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่มและอาหารว่างสำหรับ ผู้รับการฝึกอบรม เจ้าหน้าที่ประสานการฝึกอบรมและวิทยากรระหว่างฝึกอบรม ยกเว้นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 13) ค่าจ้างพาหนะเดินทางข้ามจังหวัดไป-กลับภายในประเทศเพื่อ เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกินสองเที่ยว ยกเว้นค่าเครื่องบิน 14) ค่าจ้างเหมาพาหนะรับ-ส่งผู้รับการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ประสานการฝึกอบรม และวิทยากรระหว่างการฝึกอบรม 15) ค่าจ้างเหมาพาหนะไปดูงานที่กำหนดไว้ในหลักสูตรภายในประเทศ ยกเว้นค่าเครื่องบิน 16) ค่าพาหนะเดินทางภายในประเทศของวิทยากร กรณีจ้างจัด ค่าฝึกอบรมซึ่งเป็นการจ้างจัดให้กับสถานประกอบกิจการเป็นการเฉพาะ จะต้องอยู่ภายใต้กรอบค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเช่นเดียวกับกรณีดำเนินการฝึกเอง

*การแนบสำเนาหลักฐานค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเพื่อประกอบการพิจารณา* ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) ต่อ *การแนบสำเนาหลักฐานค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเพื่อประกอบการพิจารณา* 1. ใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีที่มีรายการถูกต้องสมบูรณ์ ต้องมีชื่อผู้จ่ายเงินและผู้รับเงินชัดเจน จำนวนเงินให้ชัดเจน (กรณีใบเสร็จรับเงินของโรงแรมให้แนบใบแสดงรายละเอียดค่าใช้จ่ายของค่าที่พักและอาหารประกอบด้วย) 2. กรณีใบสำคัญรับเงินที่ให้บุคคลเป็นผู้รับเงินในการจ้างทำของหรือเป็นค่าตอบแทน เช่น ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าจ้างทำอาหาร เป็นต้น ต้องมีชื่อผู้จ่ายเงินและผู้รับเงินชัดเจน พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับเงิน 3. กรณีบิลเงินสด 3.1 ออกจากร้านค้า ที่มีชื่อร้านค้า ที่อยู่ วันที่ ชัดเจน มีรายการค่าใช้จ่ายชัดเจน มีชื่อผู้จ่ายเงินชัดเจน ไม่ต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนผู้รับเงินมา 3.2 ออกโดยบุคคลทั่วไปไม่ใช้ร้านค้า ต้องมีชื่อผู้จ่ายเงินและผู้รับเงินชัดเจน มีรายการค่าใช้จ่ายชัดเจน (ให้แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับเงินมาด้วย)

4. หลักฐานค่าใช้จ่ายที่เป็นสำเนา ต้องรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) ต่อ 4. หลักฐานค่าใช้จ่ายที่เป็นสำเนา ต้องรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ 5. ผู้มีอำนาจลงนามเป็นผู้ยื่นคำขอ หรือสำเนาเอกสารหลักฐาน คือ ผู้มีอำนาจในนิติบุคคลนั้น หรือ ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ การพิจารณาค่าใช้จ่ายทั้ง 16 รายการดังกล่าว ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat 7%) หากหลักฐานค่าใช้จ่ายใดได้ระบุข้อความว่า “รายการสินค้านี้ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว” หรือข้อความอื่นใดที่มีความในลักษณะดังกล่าว โดยไม่แสดงจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ดำเนินการถอดภาษีมูลค่าเพิ่มออก โดยใช้ 1.07 หาร รายการค่าใช้จ่ายในหลักฐานนั้น กรณีค่าใช้จ่ายที่เป็นภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเป็นผู้ออกเองก็ให้ใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการขอยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ได้เป็นผู้ออก โดยหักจากผู้อื่นไม่ก็สามารถนำไปรวมเป็นค่าใช้จ่ายได้

หน้าที่ของผู้ดำเนินการฝึก 1. ผู้ดำเนินการฝึกซึ่งเป็นนายจ้างยังคงมีหน้าที่ต่อลูกจ้างตามกฎหมาย เกี่ยวกับแรงงาน สัญญาจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง 2. ถ้าฝึกเกิดจากการร้องขอของลูกจ้างและมีการตกลงกันเป็นหนังสือ หากจัดฝึกนอกเวลาทำงานปกติหรือในวันหยุด ให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างผู้เข้ารับการฝึกไม่น้อยกว่าค่าจ้างในเวลาทำงานปกติตามจำนวนชั่วโมงที่ฝึก 3. ห้ามเรียกหรือรับเงินค่าฝึกอบรม หรือค่าตอบแทนในลักษณะใดๆ จากผู้รับการฝึก

แบบฟอร์มการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน (ดำเนินการฝึกเอง) ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) ต่อ แบบฟอร์มการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน (ดำเนินการฝึกเอง) 1. คำขอรับการรับรองหลักสูตร ค่าใช้จ่ายในการฝึกยกระดับ ฝีมือแรงงานและการฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ (แบบ ฝย / ฝป 1) 2. รายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรและค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ฝึกยกระดับฝีมือแรงงานและการฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ กรณีเป็นผู้ดำเนินการฝึกเอง (แบบ ฝย / ฝป 2 - 1) 3. ใบลงทะเบียนผู้รับการฝึกอบรม (แบบ ฝย / ฝป 3) สถานที่ยื่นคำขอ - กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 13 กรุงเทพมหานคร - จังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด

1.2 ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน (กรณีส่งไปฝึกอบรมภายนอก) 1.หลักสูตรที่ใช้ในการฝึกอบรม 1) ต้องเป็นหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานของลูกจ้างให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานในสาขาอาชีพนั้นเพิ่มขึ้น โดยหลักสูตรต้องมีความสอดคล้องและเป็นประโยชน์กับกิจการนั้น - ไม่ใช่การประชุมหรือสัมมนา (ที่ไม่ได้ให้ความรู้แก่ผู้รับการฝึกอบรม) - ไม่ใช่การฝึกอบรมหลักสูตรที่เป็นเรื่องส่วนบุคคลของผู้เข้ารับการฝึก เช่น หลักสูตรการดูแลครรภ์ การเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น - ไม่ใช่หลักสูตรการศึกษา เช่น ปริญญาโท ปริญญาตรี ปวส. ปวช. เป็นต้น - ไม่ใช่หลักสูตรที่มีลักษณะการเรียนแบบ E-learning , Self-learning เป็นต้น 2) จำนวนชั่วโมงต้องสอดคล้องกับหลักสูตร ทั้งนี้ต้องไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

3) จำนวนผู้รับการฝึกอบรมให้แบ่งกลุ่ม ดังนี้ ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน (ส่งไปฝึกภายนอก) ต่อ 3) จำนวนผู้รับการฝึกอบรมให้แบ่งกลุ่ม ดังนี้ 3.1) กรณีการฝึกอบรมโดยการบรรยาย กลุ่มละไม่เกิน 100 คน 3.2) กรณีการฝึกอบรมโดยการจัดกิจกรรมกลุ่ม กลุ่มละไม่เกิน 50 คน ต่อวิทยากร 1 คน 3.3) กรณีการฝึกอบรมทักษะฝีมือซึ่งต้องมีภาคปฏิบัติ กลุ่มละไม่เกิน 25 คน ต่อ วิทยากร 1 คน 4) ผู้รับการฝึกต้องเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งหลักสูตร

5) สถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน (ส่งไปฝึกภายนอก) ต่อ 5) สถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ต้องเป็นสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน สถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน หรือสถานฝึกอบรม ฝีมือแรงงานของทางราชการ หรือหน่วยฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่เป็นมูลนิธิ สมาคม หรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และต้องเป็นการฝึกอบรมภายในประเทศ 6) สิทธิประโยชน์ทางภาษี นายทะเบียนจะให้ความเห็นชอบเฉพาะหลักสูตร เพื่อนับจำนวนผู้รับการฝึกในการประเมินเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานเท่านั้น ส่วนค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมให้ยื่นต่อกรมสรรพากรเอง

ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน (ส่งไปฝึกภายนอก) ต่อ หน้าที่ของผู้ดำเนินการฝึก 1. ผู้ดำเนินการฝึกซึ่งเป็นนายจ้างยังคงมีหน้าที่ต่อลูกจ้างตามกฎหมาย เกี่ยวกับแรงงาน สัญญาจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง 2. ถ้าฝึกเกิดจากการร้องขอของลูกจ้างและมีการตกลงกันเป็นหนังสือ หากจัดฝึกนอกเวลาทำงานปกติหรือในวันหยุด ให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างผู้เข้ารับการฝึกไม่น้อยกว่าค่าจ้างในเวลาทำงานปกติตามจำนวนชั่วโมงที่ฝึก 3. ห้ามเรียกหรือรับเงินค่าฝึกอบรม หรือค่าตอบแทนในลักษณะใดๆ จากผู้รับการฝึก

แบบฟอร์มการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน (อบรมภายนอก) ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน (ส่งไปฝึกภายนอก) ต่อ แบบฟอร์มการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน (อบรมภายนอก) 1. คำขอรับการรับรองหลักสูตร ค่าใช้จ่ายในการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานและการฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ (แบบ ฝย / ฝป 1) 2. รายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรและค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ฝึกยกระดับฝีมือแรงงานและการฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ กรณีส่งไปรับการฝึกกับสถานฝึกอบรมอื่น (แบบ ฝย / ฝป 2 - 2) 3. ขอให้แนบหลักฐานการฝึกอบรมที่สามารถระบุได้ว่า การฝึกอบรมนั้นถึง 6 ชั่วโมง และบุคคลใดไปรับการฝึก เช่น ตารางการฝึกอบรม, โบวชัวร์, ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น มาในแต่ละหลักสูตร สถานที่ยื่นคำขอ - กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 13 กรุงเทพมหานคร - จังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด

2. การฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ หมายถึง การที่ผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นนายจ้างจัดให้ ลูกจ้างได้ฝึกอบรมฝีมือแรงงานเพิ่มเติมในสาขาอาชีพอื่นที่ลูกจ้างมิได้ปฏิบัติงานอยู่ตามปกติ เพื่อให้ลูกจ้างได้มีความรู้ ความสามารถที่จะทำงานในสาขาอาชีพอื่นนั้นได้ด้วย ดังนี้ 1. การฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพทั้ง ฝึกอบรมภายใน และส่งไปฝึกภายนอก ใช้เงื่อนไขและแบบฟอร์มเช่นเดียวกับการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน เว้นแต่ 2. ระยะเวลาการฝึกอบรมต้องไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง

3. การฝึกเตรียมเข้าทำงาน หมายถึง จัดฝึกอบรมให้บุคคลทั่วไป ซึ่งไม่ใช่ลูกจ้างของตน เพื่อให้สามารถทำงานได้ตามมาตรฐานก่อนเข้าทำงาน ซึ่งหลักสูตรต้องสอดคล้องและเป็นประโยชน์ต่อกิจการของสถานประกอบกิจการนั้น แบ่งได้เป็น 3 กรณี คือ 1.1 ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) 1.2 ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีส่งไปรับการฝึกภายนอก) 1.3 รับนักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือบุคคลที่ทางราชการ ส่งมาเข้ารับการฝึก

การฝึกเตรียมเข้าทำงาน ผู้ประกอบกิจการ ฝึกอบรมให้บุคคลทั่วไป 1.3 รับนักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือบุคคลที่ทางราชการส่งมาเข้ารับการฝึก 1.1 ดำเนินการจัดฝึกเอง 1.2 ส่งไปฝึกภายนอก (สถานศึกษา/ สถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน)

1.1 ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) จัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับการฝึกเสนอต่อนายทะเบียนเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนดำเนินการฝึก (ตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมฯ 45) 1.สถานที่ฝึก 1) ฝึกในสถานประกอบกิจการหรือหน่วยผลิต 2) ฝึกในสถานที่อื่น เช่นเช่าสถานที่ภายนอกเพื่อใช้ฝึกอบรม ซึ่งอาจเป็นทั้งของทาง ราชการหรือเอกชน 3) ฝึกในศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ซึ่งการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน จะต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนก่อน

2.คุณสมบัติครูฝึกเตรียมเข้าทำงาน ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) ต่อ 2.คุณสมบัติครูฝึกเตรียมเข้าทำงาน 2.1) กรณีที่มีมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในสาขาอาชีพที่ฝึก 1) ได้รับวุฒิบัตรมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในสาขาที่เกี่ยวข้องกับสาขา อาชีพที่ฝึก หรือ 2) สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าขึ้นไปในสาขาที่ เกี่ยวกับสาขาอาชีพที่ฝึก หรือ 3) สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือเทียบเท่าขึ้นไปในสาขาที่เกี่ยวกับสาขาอาชีพที่ฝึก และมีประสบ การณ์ในการทำงานที่เกี่ยวกับสาขาอาชีพที่ฝึกไม่น้อยกว่า 2 ปี

ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) ต่อ 2.2) กรณีที่ไม่มีมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในสาขาอาชีพที่ฝึก ครูฝึกเตรียมเข้าทำงานต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 2.1(2)หรือข้อ 2.1(3) หรือ ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ 1) สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือเทียบเท่าขึ้นไปในสาขาที่เกี่ยวกับสาขาอาชีพที่ฝึก และมีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวกับสาขาอาชีพที่ฝึกไม่น้อยกว่า 4 ปี หรือ 2) สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป และมีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับสาขาอาชีพที่ฝึกไม่น้อยกว่า 7 ปี หรือ 3) สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา หรือเทียบเท่าขึ้นไป และมีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับสาขาอาชีพที่ฝึกไม่น้อยกว่า 10 ปี หรือ 4) ต้องมีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญในสาขาอาชีพที่ฝึก โดยสาขาอาชีพนั้น ต้องเป็นสาขาอาชีพที่ขาดแคลนหรือเป็นสาขาอาชีพที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งนี้ โดยได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน ผู้ที่มีคุณสมบัติตาม ข้อ 2.1 และข้อ 2.2 ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับ การสอนไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง เว้นแต่มีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 เดือน

4.อุปกรณ์ที่จะใช้ในการฝึกอบรม ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) ต่อ 3.ระยะเวลาการฝึกอบรม ต้องสอดคล้องกับหลักสูตรตามสาขาอาชีพ ทั้งนี้ต้อง ไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง 4.อุปกรณ์ที่จะใช้ในการฝึกอบรม ซึ่งอุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วและที่ต้องหามาเพิ่มเติมในภายหลังต้องมีตามความจำเป็น เพียงพอเหมาะสมกับจำนวนผู้รับการฝึกอยู่ในสภาพที่ดีและปลอดภัยสำหรับการฝึก ในแต่ละหลักสูตร 5.วิธีการและมาตรฐานการวัดผลการฝึก ต้องจัดให้มีการทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติหรือด้วยวิธีการอื่นๆ ซึ่งต้องกำหนดเกณฑ์ผ่านการฝึกโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60

หน้าที่ของผู้ดำเนินการฝึก ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) ต่อ หน้าที่ของผู้ดำเนินการฝึก 1) จัดให้มีข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการฝึก 2) ทำสัญญาการฝึกเป็นหนังสือกับผู้รับการฝึก 3) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้รับการฝึก 4) ห้ามเรียกหรือรับเงินค่าฝึกอบรม หรือค่าตอบแทนในลักษณะ ใดๆ จากผู้รับการฝึก (มาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมฯ 45) 5) จัดทำทะเบียนประวัติผู้รับการฝึกไว้เป็นหลักฐาน 6) ออกหนังสือรับรองให้แก่ผู้รับการฝึกที่สำเร็จการฝึก

สัญญาการฝึกเตรียมเข้าทำงานกรณีฝึกเอง ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) ต่อ สัญญาการฝึกเตรียมเข้าทำงานกรณีฝึกเอง 1. ระยะเวลาการฝึก 2. เวลาฝึก เวลาพัก และวันหยุดของผู้รับการฝึก 3. เบี้ยเลี้ยงระหว่างรับการฝึก 4. สวัสดิการตลอดจนมาตรการเกี่ยวกับสวัสดิภาพของผู้รับการฝึก 5. หลักเกณฑ์การลา 6. เงื่อนไขการเลิกสัญญาการฝึก 7. หลักเกณฑ์การจ่ายค่าทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันเกิด จากการฝึก 8. หลักเกณฑ์การรับเข้าทำงานและค่าจ้างเมื่อสำเร็จการฝึก 9. การให้ความยินยอมในการทำสัญญาการฝึกในกรณีผู้รับการฝึกเป็นผู้เยาว์ 10. รายการอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้รับการฝึก ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) ต่อ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้รับการฝึก 1. ระยะเวลาฝึก - ไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง - งานที่อาจเป็นอันตรายไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง 2. เวลาพัก - ไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง หลังจากฝึกติดต่อกันไม่เกิน 4 ชั่วโมง 3. วันหยุด - วันหยุดประจำสัปดาห์ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน - วันหยุดตามประเพณี - วันหยุดชดเชย 4. การลาป่วย - มีสิทธิลาป่วยได้ตามความเป็นจริงไม่เกินที่กำหนดในหลักสูตร 5.ข้อห้ามในการฝึก - ห้ามรับผู้รับการฝึกที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ - ห้ามฝึกหญิงหรือเป็นเด็กที่มีอายุ ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ฝึกงานที่อันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน

ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) ต่อ 6. การจ่ายเบี้ยเลี้ยง - ผู้ดำเนินการฝึกจ่ายเบี้ยเลี้ยงแก่ผู้รับการฝึกในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสูงสุดอัตราเดียวกันโดยจ่ายไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง 7. สวัสดิการ - จัดน้ำสะอาดสำหรับดื่ม ห้องน้ำและห้องส้วม - ช่วยเหลือ หรือให้บริการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อผู้รับการฝึก ประสบ อันตรายหรือเจ็บป่วยในระหว่างการฝึก - จัดให้มีการระบายอากาศ ทางระบายน้ำและสิ่งโสโครก แสงสว่าง ทางออกฉุกเฉินในอาคารที่ฝึก 8. ความปลอดภัยการทำงาน - จัดให้มีเครื่องมือป้องกันอันตรายสำหรับการฝึก ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อ สุขภาพหรือร่างกายของผู้รับการฝึก จัดให้มีอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม - จัดทำประกันอุบัติเหตุจากการฝึกให้แก่ผู้รับการฝึกให้ได้รับประโยชน์ไม่น้อย กว่าที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน

แบบฟอร์มการฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) ต่อ แบบฟอร์มการฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) 1. คำขอรับความเห็นชอบเกี่ยวกับการดำเนินการฝึกเตรียม- เข้าทำงาน (แบบ ฝต 1 – 1) 2. สัญญาการฝึกเตรียมเข้าทำงาน (แบบ ฝต 2) 3. แบบแจ้งผู้สำเร็จการฝึกเตรียมเข้าทำงาน (แบบ ฝต 3) 4. สถานที่ยื่นคำขอ - กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 13 กรุงเทพมหานคร - จังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด

1.2 ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีส่งไปรับการฝึกภายนอก) จัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรและรายการค่าใช้จ่ายในการฝึก อบรมเสนอต่อนายทะเบียนเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ หลังจากฝึกอบรมเสร็จสิ้น (ตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมฯ 45) 1. สถานที่ฝึก สถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ต้องเป็นสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน สถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน หรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานของทางราชการ หรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่มีฐานะเป็นมูลนิธิ สมาคม หรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งเป็นการจัดฝึกอบรมให้แก่บุคคลเป็นการทั่วไป และต้องเป็นการฝึกอบรมฝีมือแรงงานภายในประเทศ

หน้าที่ของผู้ดำเนินการฝึก ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีส่งไปรับการฝึกภายนอก) ต่อ 2.ระยะเวลาการฝึกอบรม ต้องสอดคล้องกับหลักสูตรตามสาขาอาชีพ ทั้งนี้ต้องไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง หน้าที่ของผู้ดำเนินการฝึก 1) ทำสัญญาการฝึกเป็นหนังสือกับผู้รับการฝึก 2) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้รับการฝึก เช่นเดียวกับ การฝึกเตรียมเข้าทำงานกรณีดำเนินการฝึกเอง เช่น 2.1 การจ่ายเบี้ยเลี้ยง ผู้ดำเนินการฝึกจ่ายเบี้ยเลี้ยงแก่ผู้รับการฝึกในอัตรา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสูงสุดอัตราเดียวกันโดยจ่าย ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง 3) ห้ามเรียกหรือรับเงินค่าฝึกอบรม หรือค่าตอบแทนในลักษณะ ใดๆ จากผู้รับการฝึก (มาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมฯ 45)

รายค่าใช้จ่ายในการฝึกฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีส่งไปฝึกภายนอก ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีส่งไปรับการฝึกภายนอก) ต่อ รายค่าใช้จ่ายในการฝึกฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีส่งไปฝึกภายนอก 1) ค่าธรรมเนียมเข้าอบรมหรือค่าลงทะเบียน ให้หมายความรวมถึง ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าเดินทางเพื่อเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรม และค่าใช้จ่ายในการดูงานในประเทศหรือต่างประเทศตามที่กำหนดในหลักสูตร (ถ้ามี) ที่สถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน เรียกเก็บ 2) ค่าพาหนะเดินทางข้ามจังหวัดไป-กลับภายในประเทศ เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมไม่เกินสองเที่ยว ยกเว้นค่าเครื่องบิน 3) ค่าเช่าที่พักเพื่อเข้ารับการฝึกอบรม ในกรณีสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานไม่ได้จัดสถานที่พักให้

รายค่าใช้จ่ายในการฝึกฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีส่งไปฝึกภายนอก (ต่อ) ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีส่งไปรับการฝึกภายนอก) ต่อ รายค่าใช้จ่ายในการฝึกฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีส่งไปฝึกภายนอก (ต่อ) 4) ค่าเบี้ยเลี้ยง ตามที่สถานประกอบกิจการได้ทำสัญญากับ ผู้รับการฝึก แต่ต้องไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้รับการฝึก 5) ค่าเบี้ยประกันอุบัติเหตุ

แบบฟอร์มการฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีส่งไปรับการฝึกภายนอก) ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีส่งไปรับการฝึกภายนอก) ต่อ แบบฟอร์มการฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีส่งไปรับการฝึกภายนอก) 1. คำขอรับความเห็นชอบเกี่ยวกับการดำเนินการฝึกเตรียม เข้าทำงาน (แบบ ฝต 1 – 2) 2. สัญญาการฝึกเตรียมเข้าทำงาน (แบบ ฝต 2) 3. สถานที่ยื่นคำขอ - กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 13 กรุงเทพมหานคร - จังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด

1.3 การรับนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษาจากสถานศึกษาและ บุคคลที่ทางราชการส่งมาฝึกเข้ารับการฝึก คำว่า “ส่งมาฝึก” คือ สถาบันการศึกษาใดๆ ส่งนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษา เข้ามาขอฝึกอบรมกับผู้ประกอบกิจการ ไม่ใช่นักเรียน นิสิต หรือนักศึกษา เข้ามาขอทำงานเอง (ลูกจ้างPart time เป็นต้น) เงื่อนไข -ส่งหลักสูตรของสถานศึกษา หลักสูตรของผู้ดำเนินการฝึก หรือหลักสูตรที่สถานศึกษากับผู้ดำเนินการฝึกร่วมกัน จัดทำขึ้น ให้นายทะเบียนรับทราบก่อนเริ่มดำเนินการฝึก

-ไม่ใช่ลูกจ้างของผู้ดำเนินการฝึก 1.สถานที่ฝึก การรับนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษาฯ ฝึกงาน ต่อ -ไม่ใช่ลูกจ้างของผู้ดำเนินการฝึก 1.สถานที่ฝึก 1) ฝึกในสถานประกอบกิจการหรือหน่วยผลิต 2) ฝึกในสถานที่อื่น เช่นเช่าสถานที่ภายนอกเพื่อใช้ฝึกอบรม ซึ่งอาจเป็นทั้งของทาง ราชการหรือเอกชน 3) ฝึกในศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ซึ่งการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน จะต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนก่อน 2.ระยะเวลาการฝึกอบรม ไม่ได้กำหนดไว้

3.วิธีการและมาตรฐานการวัดผลการฝึก การรับนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษาฯ ฝึกงาน ต่อ 3.วิธีการและมาตรฐานการวัดผลการฝึก ต้องจัดให้มีการทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติหรือด้วยวิธีการอื่นๆ ซึ่งต้องกำหนดเกณฑ์ผ่านการฝึกโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 หน้าที่ของผู้ดำเนินการฝึก 1) ทำสัญญาการฝึกเป็นหนังสือกับผู้รับการฝึก 2) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้รับการฝึก เช่นเดียวกับ การฝึกเตรียมเข้าทำงานกรณีดำเนินการฝึกเอง เช่น 2.1 การจ่ายเบี้ยเลี้ยง ผู้ดำเนินการฝึกจ่ายเบี้ยเลี้ยงแก่ผู้รับการฝึกในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสูงสุดโดยจ่ายไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง 3) ห้ามเรียกหรือรับเงินค่าฝึกอบรม หรือค่าตอบแทนในลักษณะ ใดๆ จากผู้รับการฝึก 4) จัดทำทะเบียนประวัติผู้รับการฝึกไว้เป็นหลักฐาน 5) ออกหนังสือรับรองให้แก่ผู้รับการฝึกที่สำเร็จการฝึก

4. รายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการฝึก 4.1 ค่าสอนหรือค่าวิทยากร เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินชั่วโมงละ 1,200 บาท ไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง 4.2 ค่าพาหนะเดินทางของผู้รับการฝึก ในวันที่มารายงานตัว และ วันที่เดินทางกลับภูมิลำเนาเมื่อสำเร็จการฝึก เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเที่ยวละ 1,000 บาท 4.3 ค่าพาหนะเดินทางของผู้รับการฝึก ระหว่างเข้ารับการฝึก เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินวันละ 100 บาท (เฉพาะวันที่เข้ารับการฝึก) 4.4 ค่าอาหารและค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้ารับการฝึก ผู้สอนหรือวิทยากร เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินคนละ 200 บาทต่อวัน (เฉพาะวันที่เข้ารับการฝึก)

4. รายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการฝึก (ต่อ) 4. รายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการฝึก (ต่อ) 4.5 ค่าเบี้ยเลี้ยงสำหรับผู้เข้ารับการฝึก เท่าที่จ่ายจริงเฉพาะวันที่มีการฝึก 4.6 ค่าที่พักสำหรับผู้เข้ารับการฝึก เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 3,000 บาท หรือไม่เกินวันละ 100 บาท 4.7 ค่าเครื่องแต่งกายสำหรับผู้เข้ารับการฝึก เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 2,000 บาท 4.8 ค่าจัดทำเอกสารประกอบการฝึก เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินคนละ 3,000 บาท

4. รายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการฝึก (ต่อ) 4. รายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการฝึก (ต่อ) 4.9 ค่าอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล หรือเครื่องมือประจำตัว สำหรับผู้เข้ารับการฝึก ที่จำเป็นต้องใช้ในการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินคนละ 3,000 บาท 4.10 ค่าประกันอุบัติเหตุระหว่างการฝึกสำหรับผู้เข้ารับการฝึก เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินคนละ 3,000 บาท

แบบฟอร์มการรับนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษาจากถานศึกษาและบุคคลที่ทางราชการส่งมาฝึกเข้ารับการฝึก 1. คำขอรับการรับทราบการรับนักเรียน นิสิต นักศึกษาหรือ บุคคลที่ทางราชการส่งมาฝึกเข้าเป็นผู้รับการฝึก (แบบ ฝง 1) 2. สัญญารับนักเรียน นิสิต นักศึกษาจากสถานศึกษา หรือบุคคลที่ทางราชการส่งมาฝึกเข้าเป็นผู้รับการฝึก (แบบ ฝง 2) 3. แบบแจ้งผู้สำเร็จการฝึก กรณีรับนักเรียน นิสิต นักศึกษาหรือบุคคลที่ทางราชการส่งมาฝึกเข้าเป็นผู้รับการฝึก (แบบ ฝง 3) 4. สถานที่ยื่นคำขอ - กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน 13 กรุงเทพมหานคร - จังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด

การส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ผู้ประกอบกิจการประเภทอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือธุรกิจอย่างอื่นซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไปทุกท้องที่ ถ้าไม่จัดให้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน หรือจัดฝึกอบรมแต่ ไม่ครบตามสัดส่วน 50% ของลูกจ้างทั้งหมดในแต่ละปีปฏิทิน ต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน

กรณียกเว้นไม่ต้องส่งเงินสมทบ การส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ต่อ กรณียกเว้นไม่ต้องส่งเงินสมทบ - ผู้ประกอบกิจการซึ่งประกิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้ เลี้ยงสัตว์และนาเกลือ ซึ่งมิได้ใช้ลูกจ้างตลอดปี และไม่มีงานลักษณะอื่นรวมอยู่ด้วย - ผู้ประกอบกิจการซึ่งประกอบธุรกิจโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เฉพาะที่เกี่ยวกับครูและผู้สอน - ผู้ประกอบกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เฉพาะที่เกี่ยวกับคณาจารย์ - ผู้ประกอบกิจการ*หยุดหรือเลิกกิจการ ซึ่งไม่มีสถานภาพเป็นผู้ประกอบกิจการที่ดำเนินกิจการแล้ว - ถ้าในปีปฏิทินใดมีจำนวนลูกจ้างทั้งหมด ไม่ถึง 100 คนทุกเดือน หรือ*เฉลี่ยแล้วมีลูกจ้างไม่ถึง 100 คน ไม่ต้องส่งเงินสมทบในปีนั้น - มูลนิธิ องค์กรการกุศล และองค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายที่ไม่แสวงหาผลกำไรทางเศรษฐกิจ

การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบกิจการ การส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ต่อ การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบกิจการ เมื่อมีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป โดยเริ่มใช้บังคับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 (กรณีมีสาขาให้นับรวมจำนวนลูกจ้างของทุกสาขามารวมกันและขึ้นทะเบียน ณ หน่วยงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่) ใช้แบบ สท 1 และแบบ สท 4 สถานที่ยื่นคำขอ ให้ยื่น ณ หน่วยงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในจังหวัดที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ - กรุงเทพฯ ให้ยื่น ณ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กองส่งเสริมการพัฒนาฝีมือ แรงงาน ถ.มิตรไมตรี ดินแดง กรุงเทพฯหรือสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 13 กรุงเทพมหานคร - จังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด

การยื่นแบบแสดงการส่งเงินสมทบ กองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานในแต่ละปี (สท 2) การส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ต่อ การยื่นแบบแสดงการส่งเงินสมทบ กองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานในแต่ละปี (สท 2) ให้ยื่นแบบแสดงการจ่ายเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานประจำปี (แบบ สท 2) ภายในเดือน มกราคมถึงเดือนมีนาคมของปีถัดไป เพื่อประเมินว่าจะต้องส่งเงินสมทบหรือไม่ เอกสารที่ใช้ที่ยื่นประเมินเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานแต่ละปี มีดังนี้ 1. แบบแสดงการจ่ายเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน (สท 2) พร้อมสำเนา 1 ฉบับ 2. สำเนาหนังสือรับรองการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ประจำปีนั้นๆ (กรณีมีการจัดฝึกอบรมฝีมือแรงงานภายในปีนั้นๆ โดยยื่นขอรับรองหลักสูตรและได้ผ่านความเห็นชอบจากนายทะเบียน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน)

การส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ต่อ สถานที่ยื่นแบบแสดงการส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานประจำปี (แบบ สท. 2) ให้ยื่น ณ หน่วยงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในจังหวัดที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ - กรุงเทพฯ ให้ยื่น ณ กรมพัฒนาฝีมือแรงงานกอง ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ถ.มิตรไมตรี ดินแดง กรุงเทพฯ หรือสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 13 กรุงเทพมหานคร - จังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด

การคำนวณสัดส่วนจำนวนลูกจ้าง ที่ต้องจัดให้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน การส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ต่อ การคำนวณสัดส่วนจำนวนลูกจ้าง ที่ต้องจัดให้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน “ลูกจ้าง” ตามคำจำกัดความของ พ.ร.บ. ส่งเสริมฯ 45 นั้น คือ ลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน สัดส่วน ที่ต้องฝึก อบรม = จำนวนรวมลูกจ้าง ณ วันสิ้นเดือนของทุกเดือน (ลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน) นับตั้งแต่เดือนที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ถึงเดือนธันวาคม X 50% จำนวนเดือนนับตั้งแต่เดือนที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คน ขึ้นไป ถึง เดือนธันวาคม สูตรการคำนวณสัดส่วนที่ต้องฝึกอบรม

start start จำนวนลูกจ้าง ณ วันสิ้นเดือน จำนวน (คน) มกราคม 105 กุมภาพันธ์ 116 มีนาคม 109 เมษายน 128 พฤษภาคม 115 มิถุนายน 113 กรกฎาคม 96 สิงหาคม 98 กันยายน 114 ตุลาคม พฤศจิกายน 112 ธันวาคม จำนวนลูกจ้าง ณ วันสิ้นเดือน จำนวน (คน) มกราคม 98 กุมภาพันธ์ 89 มีนาคม 99 เมษายน 95 พฤษภาคม 87 มิถุนายน 88 กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม 101 พฤศจิกายน 105 ธันวาคม 120 start start 1. จำนวนลูกจ้างทั้งหมด 1,333 2. จำนวนลูกจ้างเฉลี่ย 1,333 / 12 = 111.08 3. สัดส่วนที่ต้องฝึกอบรม 111.08 X 50% = 55 1. จำนวนลูกจ้างทั้งหมด 326 2. จำนวนลูกจ้างเฉลี่ย 326 / 3 = 108.67 3. สัดส่วนที่ต้องฝึกอบรม 108.67 X 50% = 54

การส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ต่อ หลักเกณฑ์การนับจำนวนผู้รับการฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่ผ่านการรับรองหลักสูตรจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อประเมินเงินสมทบ 1. ห้ามนับซ้ำคน ในปีเดียวกันถ้าผู้รับการฝึกคนเดียวกันได้รับ การฝึกอบรมมากกว่า 1 หลักสูตร ให้นับ 1 คน 1 หลักสูตร 2. สามารถนับจำนวนผู้รับการฝึก ซึ่งเป็นลูกจ้างที่ได้ลาออกไปแล้ว ในระหว่างปีด้วย 3. ให้นับรวมจำนวนผู้รับการฝึก ของทุกสาขาที่ได้ขึ้น ทะเบียนรวมกันที่สำนักงานใหญ่

หลักเกณฑ์ในการประเมินเงินสมทบ การส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ต่อ หลักเกณฑ์ในการประเมินเงินสมทบ การเปรียบเทียบจำนวนผู้รับการฝึก กับ สัดส่วนจำนวนลูกจ้างที่ต้องฝึกอบรมฝีมือแรงงานประจำปี กรณี 1 จำนวนผู้รับการฝึก > สัดส่วนจำนวนลูกจ้างที่ต้องฝึกอบรมฝีมือ แรงงาน แสดงว่าจัดฝึกครบตามสัดส่วนที่กำหนด ไม่ต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุน กรณี 2 จำนวนผู้รับการฝึก < สัดส่วนจำนวนลูกจ้างที่ต้องฝึกอบรมฝีมือ แรงงาน แสดงว่าจัดฝึกไม่ครบตามสัดส่วนที่กำหนด ต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนตามจำนวนลูกจ้างที่ไม่ได้รับการฝึก

- ค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ การส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ต่อ - เงินสมทบ คือ เงินที่ผู้ประกอบกิจการส่งสมทบเข้ากองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ในกรณีที่ไม่จัดฝึกอบรมฝีมือแรงงาน หรือจัดฝึกอบรม ฝีมือแรงงานแต่ไม่ครบตามสัดส่วนที่กำหนด - อัตราเงินสมทบ ร้อยละ 1 ของค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ - ค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ ค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน = อัตราค่าจ้างขั้นต่ำสุดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในปีสุดท้ายก่อนปีที่ส่งเงินสมทบ x 30

ไม่ต้องส่งเงินสมทบ หากไม่ได้จัดฝึกอบรม หรือฝึกอบรมไม่ครบ 50%

รายงานสรุปรายชื่อผู้ผ่านการรับรองหลักสูตรฯ ประจำปี……. รวมทุกหลักสูตร (โดยไม่นับซ้ำคน) จัดทำก่อนยื่นแบบ สท.2 ลำดับที่ เลขที่ บัตรประชาชน คำนำหน้า ชื่อ ชื่อ-นามสกุล หลักสูตร ที่ได้รับการรับรอง เลขที่หนังสือรับรอง 1 3149900588443 นาย ส่งเสริม ฝีมือแรงงาน การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน 2.1.578 (เพื่อให้สะดวกในการตรวจสอบคนซ้ำ ให้เรียงรายชื่อผู้ผ่านการรับรองตามตัวอักษร แล้วไม่ต้องนับลำดับคนอบรมซ้ำ เช่น นาย ก ได้รับการรับรองการฝึกอบรม 3 หลักสูตร ให้แสดงทั้ง 3 หลักสูตร แต่ให้นับลำดับเพียง 1 เท่านั้น โดยแนบรายงานสรุปมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ และนำกลับไปเก็บคู่กับสำเนา สท.2 ณ สถานประกอบกิจการของตนเอง)

ร้อยละ 1 ของค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ - อัตราเงินสมทบ ร้อยละ 1 ของค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ - ค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ ค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน = อัตราค่าจ้างขั้นต่ำสุดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในปีสุดท้ายก่อนปีที่ส่งเงินสมทบ x 30 (หน้า 57-59 ข้อ 6)

อัตราค่าจ้างขั้นต่ำสุดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานปี 2559 คือ 300 บาท (ข้อมูล ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2559 ) ตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2555 ทั้งนี้ในปีถัดไปให้พิจารณาตามประกาศคณะกรรมการดังกล่าวว่ามีการเปลี่ยนแปลงค่าจ้างขั้นต่ำสุดเป็นอัตราใหม่ก่อนปีที่มีการส่งเงินสมทบหรือไม่ *ดังนั้นค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบประจำปี 2559 *คือ 300 X 30 = 9,000 บาท*

สูตรการคำนวณเงินสมทบ

12 เดือน 7 เดือน 51 คน 53 คน เงินสมทบ = 28,080.- = 9,000 X 26 X12 กรณี ลูกจ้าง 100 คนขึ้นไป ตั้งแต่เดือนมกราคม ตามตัวอย่างที่ 1 กรณีลูกจ้าง 100 คนขึ้นไป ระหว่างปี ตามตัวอย่างที่ 2 สัดส่วนที่ต้องฝึกอบรม 51 คน 53 คน จำนวนเดือน นับตั้งแต่เดือนที่มีลูกจ้าง 100 คนขึ้นไป 12 เดือน 7 เดือน ฐานค่าจ้างในการคำนวณเงินสมทบ ค่าจ้างขั้นต่ำสุดฯ ในปี 2556 = 300 บาท 300 X 30 = 9,000 บาท การคำนวณเงินสมทบ กรณีไม่ได้จัดฝึกอบรมเลย = 9,000 X 51 X 12 = 55,080.- บาท 100 = 9,000 X 53 X 7 = 33,390.- บาท กรณีจัดฝึกอบรม แต่ไม่ครบตามสัดส่วนที่กำหนด สัดส่วนที่จัดฝึกอบรมทั้งหมด = 51 คน จัดฝึกและผ่านการรับรอง = 25 คน ฝึกไม่ครบตามสัดส่วน = 26 คน เงินสมทบ = 28,080.- = 9,000 X 26 X12 สัดส่วนที่จัดฝึกอบรมทั้งหมด= 53 คน ฝึกไม่ครบตามสัดส่วน = 28 คน เงินสมทบ = 17,640.- = 9,000 X 28 X 7

การคำนวณเงินเพิ่ม กรณีผู้ประกอบกิจการไม่จ่ายเงินสมทบภายในเวลาที่กำหนดหรือจ่ายไม่ครบ วิธีการคำนวณเงินเพิ่ม 1. เริ่มนับระยะเวลาเงินเพิ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน เป็นวันแรก สำหรับเศษของเดือนถ้าถึง 15 วันหรือกว่านั้นให้นับเป็น 1 เดือน ถ้าน้อยกว่านั้นให้ปัดทิ้ง 2. อัตราเงินเพิ่ม ร้อยละ 1.5 ต่อเดือน 3. เงินเพิ่มคิดจาก “เงินสมทบที่ยังไม่ได้นำส่ง”

กรณีไม่จัดฝึกอบรมเลย เงินที่ต้องชำระ (บาท) (เงินสมทบ+เงินเพิ่ม) วันที่จ่าย เงินสมทบ จาก ตัวอย่างที่ 1 กรณีไม่จัดฝึกอบรมเลย จำนวนเดือน ที่ค้างชำระ คำนวณเงินเพิ่ม (บาท) เงินที่ต้องชำระ (บาท) (เงินสมทบ+เงินเพิ่ม) 14 เม.ย. 59 55,080.- (เศษ ไม่ถึง 15 วัน) - 15 เม.ย. 59 1 55,080 x 1.5% x 1 = 826.20 55,080 + 826.20 = 55,906.20 14 พ.ค. 59 55,080 + 826.20 = 55,906.20 15 พ.ค. 59 2 55,080 x 1.5% x 2 = 1,652.40 55,080 + 1,652.40 = 56,732.40

การชำระเงินสมทบ วิธีชำระเงิน สถานที่ 1. ชำระเป็นเงินสด 2. เฉพาะกรณีชำระที่ กองส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน กรุงเทพฯ เป็นเช็คของธนาคาร (แคชเชียร์เช็ค) สั่งจ่ายในนาม “เงินกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน บัญชีที่ 2” สถานที่ กรุงเทพฯ : กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 13 กรุงเทพมหานคร จังหวัดอื่น : สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด ซึ่งเป็นสถานที่ยื่นแบบประเมินเงินสมทบ

แบบคำขอรับรองหลักสูตร และแบบแสดงการส่งเงินสมทบ กองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน(สท2) http://home.dsd.go.th/sdpaa สอบถามเพิ่มเติมที่ กองส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานปราจีนบุรี โทร 0 3729 0380 ต่อ 333,220

การดำเนินการ ผู้ประกอบกิจการ อาจดำเนินการยื่นคำขอรับความเห็นชอบหลักสูตรก่อนฝึก หรือหลังฝึกอบรมเสร็จสิ้นแล้วก็ได้ แต่หลังจากเสร็จสิ้นการฝึกอบรมแล้ว ต้องยื่นคำขอรับความเห็นชอบหลักสูตร รายละเอียดที่เกี่ยวข้องและรายการค่าใช้จ่าย ที่ใช้ในการฝึกอบรมเสนอต่อนายทะเบียนเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยจัดทำรายงานเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย พร้อมแนบหลักสูตร กำหนดการฝึกอบรมและหลักฐานค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมแต่ละหลักสูตรตามที่จ่ายจริง เสนอต่อนายทะเบียนให้ความเห็นชอบภายใน 60 วัน นับแต่วันเสร็จสิ้นการฝึกแต่ต้องไม่เกินวันที่ 15 มกราคม ของปีถัดไป

ประเด็นปัญหา การยื่นขอรับรองหลักสูตรและ ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545

ประเด็นปัญหา เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรม ประเด็นปัญหา เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรม หลักสูตรใดจะได้รับการรับรองได้หรือไม่นั้นจะมีหลักการพิจารณาดังนี้ - หลักสูตรการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน (6 ชั่วโมงขึ้นไป) พิจารณาจาก หัวข้อและเนื้อหาวิชา ว่าเป็นการอบรมให้ลูกจ้าง มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และทัศนคติที่ดี ต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ปกติเพิ่มขึ้น หรือไม่ - หลักสูตร การฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ (18 ชั่วโมงขึ้นไป) พิจารณาจาก หัวข้อและเนื้อหาวิชา ว่าเป็นการอบรมให้ลูกจ้าง มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และทัศนคติที่ดี ต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ปกติเพิ่มเติม ในสาขาอาชีพอื่นนอกเหนือจากงานที่ปฏิบัติอยู่ตามปกติเพื่อให้ลูกจ้างมีความรู้ความสามารถที่จะทำงานในสาขาอาชีพอื่นนั้นได้ด้วย

ประเด็นปัญหา เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรม ประเด็นปัญหา เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรม หลักสูตรทั่วไป หมายถึง หลักสูตรที่เป็นการพัฒนาความรู้ ความสามารถ และทัศนคติ ในการปฏิบัติงานของลูกจ้างเพิ่มขึ้น เป็นการทั่วไปได้เกือบทุกตำแหน่ง - เช่น หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการทำงาน ความคิดเชิงบวก การปรับปรุงงาน การทำงานเป็นทีม การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น เป็นต้น

ประเด็นปัญหา เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรม ประเด็นปัญหา เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรม 2. หลักสูตรการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ - หัวข้อวิชา เนื้อหาของหลักสูตรการฝึกอบรมต้องเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา ความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานของลูกจ้างที่เข้ามาปฏิบัติงานเพิ่มขึ้นและเป็นประโยชน์สอดคล้องกับกิจการ แนะนำให้แยกการชี้แจงเรื่องกฎระเบียบข้อบังคับ สวัสดิการต่าง เป็น การปฐมนิเทศ แต่สำหรับการให้ความรู้ในเรื่องงานที่ต้องปฏิบัติ ควรใช้ ชื่อหลักสูตรความรู้เบื้องต้นสำหรับพนักงานใหม่ เป็นต้น

ประเด็นปัญหา เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรม ประเด็นปัญหา เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรม 3. การสอนงาน Coaching - หากต้องการยื่นขอรับรองต้องมีการจัดทำหลักสูตร เนื้อหา และรูปแบบการฝึกเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กำหนด หลักสูตร เอดส์ ยาเสพติด วัยทอง การดูแลครรภ์ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ - เป็นการฝึกอบรมเพื่อให้ลูกจ้างได้รับความรู้ แต่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในสาขาอาชีพที่ทำอยู่ จึงไม่ให้การรับรอง

ประเด็นปัญหา เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรม ประเด็นปัญหา เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรม 5. หลักสูตรการดับเพลิง การปฐมพยาบาล - กรณีผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นพนักงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง เช่น เป็นพนักงานดับเพลิง หรือ เป็นพยาบาลของสถานประกอบกิจการนั้น โดยนายจ้างกำหนดหน้าที่ และมีประกาศ คำสั่งแต่งตั้งจากสถานประกอบกิจการ (แนบคำสั่ง) การฝึกอบรมดังกล่าวถือเป็นการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน (ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง) แต่หากลูกจ้างที่เข้ารับการฝึกอบรมเป็นพนักงานในตำแหน่งทั่ว ๆ ไป จะถือว่าเป็นการฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ (ไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง)

ประเด็นปัญหา เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรม ประเด็นปัญหา เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรม 6. หลักสูตรที่กฎหมายบังคับให้ต้องฝึกอบรม - หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน หลักสูตรการอนุรักษ์พลังงานในสถานประกอบกิจการ หากลูกจ้างที่เข้ารับการฝึกอบรม ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องนั้นโดยตรง (แนบคำสั่ง) การฝึกอบรมดังกล่าวถือเป็นการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน (ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง) แต่หากลูกจ้างที่เข้ารับการฝึกเป็นพนักงานในตำแหน่งทั่ว ๆ ไป ยังไม่ได้รับการแต่งตั้งจะถือว่าเป็นการฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ (ไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง) (ทั้งนี้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานขอความร่วมมือให้หลีกเลี่ยงการยื่นหลักสูตรที่กฎหมายบังคับให้สถานประกอบกิจการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติอยู่แล้ว)

ประเด็นปัญหา เรื่อง ระยะเวลาการฝึกอบรม ประเด็นปัญหา เรื่อง ระยะเวลาการฝึกอบรม ระยะเวลาหลักสูตรการฝึกอบรม ระยะเวลาการฝึกอบรมต้องสอดคล้องกับหลักสูตร กรณีฝึกยกระดับฝีมือแรงงานต้องไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง และ กรณีการฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพต้องไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง แนวปฏิบัติ 1. ให้ตัดระยะเวลาลงทะเบียน และตัดระยะเวลาพักกลางวันออก 2. การดูงาน เยี่ยมชมโรงงาน ไม่ให้นับเป็นระยะเวลาการฝึกอบรมในหลักสูตร 3. ระยะเวลาการถาม-ตอบ และ ทดสอบก่อน-หลังฝึก สามารถนับระยะเวลาได้ เนื่องจากมีความสำคัญในการสรุปและตอบปัญหาข้อข้องใจหรือข้อขัดแย้งที่เกิดจากการบรรยายในหลักสูตรนั้น แต่ต้องพิจารณาด้วยว่าระยะเวลาดังกล่าวสมเหตุสมผลในหลักสูตรหรือไม่

ประเด็นปัญหา เรื่อง จำนวนผู้รับการฝึกอบรม จำนวนผู้รับการฝึกอบรมให้แบ่งกลุ่ม ดังนี้ 1. กรณีการฝึกอบรมโดยการบรรยาย กลุ่มละไม่เกิน 100 คน 2. กรณีการฝึกอบรมโดยการจัดกิจกรรมกลุ่ม กลุ่มละไม่เกิน 50 คนต่อวิทยากร 1 คน 3. กรณีการฝึกอบรมทักษะฝีมือซึ่งต้องมีภาคปฏิบัติ กลุ่มละไม่เกิน 25 คนต่อวิทยากร 1 คน สรุปประเด็น 1. กรณีส่งผู้รับการฝึกอบรมไปอบรมภายนอกไม่ต้องพิจารณาจำนวนผู้รับการฝึก 2. กรณีอบรมทั้ง 3 ลักษณะสามารถรวมกันได้ เช่น อบรมเช้าบรรยาย 100 คน บ่ายแบ่งทำกิจกรรมกลุ่ม 2 กลุ่มกลุ่มละ 50 คนต่อวิทยากร 1 คน ดังนี้สามารถรับรองได้ หากอบรมเช้าบรรยาย 200 คน บ่ายแบ่งทำกิจกรรมกลุ่ม 4 กลุ่มกลุ่มละ 50 คนต่อวิทยากร 1 คน ถ้าอย่างนี้ไม่สามารถรับรองได้เนื่องจากผิดเงื่อนไขตั้งแต่ช่วงเช้าที่มีจำนวนผู้รับการฝึกเกิน 100 คน ประเด็นปัญหา เรื่อง จำนวนผู้รับการฝึกอบรม

สรุปประเด็น (ต่อ) - คำว่า “กลุ่มละไม่เกิน” คือ หากเข้าฝึกอบรมเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ไม่สามารถพิจารณาให้ผ่านการรับรองในหลักสูตรนั้น หรือรุ่นนั้นได้ (กรณีผู้สังเกตการณ์ไม่ถือว่าเป็นผู้รับการฝึกอบรม แต่ต้องใช้จำนวนผู้สังเกตการณ์หารค่าใช้จ่ายด้วย) - การฝึกอบรมสามารถจัดแต่ละลักษณะรวมกันได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขจำนวนผู้เข้ารับการฝึกแต่ละกลุ่มนั้น ๆ ด้วย - กรณีฝึกอบรมร่วมกันระหว่างผู้ประกอบกิจการที่อยู่ในเครือเดียวกัน จำนวนผู้รับการฝึกต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขจำนวนผู้รับการฝึกแต่ละกลุ่มนั้น ๆ

ประเด็นปัญหา เรื่อง รายการค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม รายการค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมลูกจ้าง กรณีผู้ประกอบกิจการเป็นผู้จัดฝึกอบรมเองให้พิจารณาค่าใช้จ่ายตามรายการดังต่อไปนี้ สรุปประเด็น 1. ค่าตอบแทนวิยากร ให้เฉพาะการจ่ายเป็นเงินเท่านั้น ค่าที่ปรึกษาไม่สามารถใช้เป็นค่าใช้จ่ายได้ 2. กรณีค่าเช่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่มและอาหารว่างสำหรับผู้รับการฝึกอบรม เจ้าหน้าที่ประสานการฝึกอบรมและวิทยากรระหว่างฝึกอบรม ยกเว้นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ประเด็นปัญหา เรื่อง รายการค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม

สรุปประเด็น (ต่อ) 2.1 ค่าเช่าที่พัก ดูตามความจำเป็นและเหมาะสมสอดคล้องกับกำหนดการอบรม 2.2 ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่มและอาหารว่าง ก่อนอบรมหรือหลังอบรมเสร็จสิ้นได้หรือไม่ 2.3 ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่มและอาหารว่าง ที่ให้บุคคลเป็นคูปอง และเซ็นตรับไป รับรองได้ แต่ต้องเขียนชัดเจนว่าเป็นค่าอาหารดังกล่าว และมีวันที่ชัดเจน 3. ค่าจ้างเหมาพาหนะรับ-ส่งผู้รับการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ประสานการฝึกอบรม และวิทยากรระหว่างการฝึกอบรม 3.1 ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าน้ำมัน ค่าทางด่วน ไม่รับรอง

สรุปประเด็น (ต่อ) 4.ค่าพาหนะเดินทางภายในประเทศของวิทยากร สรุปประเด็น (ต่อ) 4.ค่าพาหนะเดินทางภายในประเทศของวิทยากร 4.1 ค่าเปลี่ยนเที่ยวบิน ค่าโหลดกระเป๋าสามารถ ไม่รับรอง 4.2 ค่าโดยสารเครื่องบิน รับรองได้ ไม่จำกัด กรณีที่ไม่ได้มีลายชื่อของวิทยากรในหลักฐานการจ่ายเงิน ให้ผู้มีอำนาจในนิติบุคคลนั้นหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจลงลายมือชื่อรับรองว่าเป็นความจริงด้วย 5. กรณีมีรายการค่าใช้จ่าย > 1 หลักสูตร > 1 รุ่น และรวมอยู่ในหลักฐานค่าใช้จ่ายฉบับเดียวกัน ให้ระบุรายการชี้แจง แยกค่าใช้จ่ายแต่ละหลักสูตร แต่ละรุ่น ตามที่จ่ายจริงในหลักฐานค่าใช้จ่ายฉบับดังกล่าว 6. ค่าจ้างดำเนินการทดสอบ ค่าดำเนินการติดตามผลหลังการฝึกอบรม ค่าดำเนินการวิจัยก่อนฝึกอบรม ไม่สามารถใช้เป็นค่าใช้จ่ายได้ 7. ค่าจ้างพนักงานบริการนอกเหนือจากค่าเช่าสถานที่จัดฝึกอบรม เช่น ค่าจ้างแม่บ้าน ค่าช่างเทคนิค ไม่สามารถใช้เป็นค่าใช้จ่ายได้

ประเด็นปัญหา เรื่อง หลักฐานค่าใช้จ่าย ประเด็นปัญหา เรื่อง หลักฐานค่าใช้จ่าย 1. ใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษี ต้องมี เลขที่ เล่มที่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ชื่อผู้ขาย และผู้ซื้อชัดเจน รวมถึงจำนวนเงินทั้งตัวเลขและตัวอักษร 2. กรณีใช้ใบสำคัญรับเงิน ต้องมีชื่อนิติบุคคลผู้ยื่นคำขอเป็นผู้จ่ายเงินและผู้รับเงินชัดเจน พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับเงิน กรณีใบเสร็จรับเงินร้านค้า ใช้บิลเงินสดเป็นเล่ม ถ้าทำถูกต้อง ต้องมีชื่อร้านค้าผู้รับเงิน(ผู้ขาย) ที่อยู่ วันที่ เลขประจำตัวประชาชน (เลขประจำตัวผู้เสียภาษี) เล่มที่ เลขที่ รายการสิ่งของ จำนวนเงินที่รับ (โดยไม่ต้องสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับเงิน) *กรณีซื้อบิลเงินสดเป็นเล่ม มาเขียนเอง ไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานได้ แนะนำให้ใช้เป็นใบสำคัญรับเงินแทน*

ประเด็นปัญหา เรื่อง หลักฐานค่าใช้จ่าย (ต่อ) ประเด็นปัญหา เรื่อง หลักฐานค่าใช้จ่าย (ต่อ) 4. กรณีใบเสร็จรับเงิน ไม่แสดงจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มีวงเล็บระบุว่า “รายการสินค้านี้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว” จะต้องถอดภาษีมูลค่าเพิ่มออก 5. กรณีใบเสร็จรับเงิน ไม่แสดงจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่ได้ระบุว่า “รายการสินค้านี้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว” ไม่ต้องตัดภาษีมูลค่าเพิ่มออก เนื่องจากผู้ออกใบเสร็จ ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม 6. กรณีข้อความในใบเสร็จ ไม่ระบุข้อความหรือรายการที่ชัดเจน ให้ผู้มีอำนาจลงนามแทนบริษัท เขียนรับรองเพิ่มเติมให้ขยายความให้เข้าใจได้ดีขึ้น และให้เขียนรับรองว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการฝึกอบรมหลักสูตรดังกล่าวจริง พร้อมกับลงลายมือชื่อกำกับ

ประเด็นปัญหา เรื่อง สำเนาใบเสร็จรับเงิน ประเด็นปัญหา เรื่อง สำเนาใบเสร็จรับเงิน สำเนาเอกสารที่เป็นค่าใช้จ่าย ขอให้เขียนรับรองดังนี้ “ ขอรับรองว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการฝึกอบรม หลักสูตร…………………………………………… เมื่อวันที่…………………………….จริง” และลงนามรับรองโดยผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคลตามกฎหมาย หรือผู้ได้รับมอบอำนาจ

ฝย/ฝป ๒ – ๑ ฉบับ ย่อ เพื่อลดจำนวนเอกสารไม่ให้มากเกินไปให้ตัดรายการที่ไม่มีค่าใช้จ่ายออกไปก็ได้ แต่ให้คงเลขหัวข้อ ค่าใช้จ่ายตามเดิม ๑๐.๑ ค่าวิทยากร .............บาท ๑๐.๖ ค่าเอกสารประกอบการฝึกอบรม .............บาท ๑๐.๑๒ ค่าอาหาร ..............บาท รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด ................... บาท (ถ้ามีรุ่นเดียว ไม่ต้องลงจำนวนรุ่น) ๑๑. ค่าใช้จ่ายคนละ .............................บาท

ค่าใช้จ่ายในข้อที่มีหลายรายการ ให้ขีดหรือทำวงกลมที่รายการที่มีค่าใช้จ่ายนั้น เช่น ๑๐.๑๒ ค่าเช่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่มและอาหารว่าง สำหรับผู้รับการฝึกอบรมฯ

หัวหน้าฝ่ายแผนงานและประเมินผล สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานปราจีนบุรี จัดทำโดย นายบรรพต ดาวล้อม หัวหน้าฝ่ายแผนงานและประเมินผล สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานปราจีนบุรี 16 มกราคม 2560