ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
สรุป assignment ที่ 1 มีทั้งหมด สอง file เป็น slide ประกอบเสียงเปิด เสียงฟังดังๆ จะเปลี่ยนรูปเอง โดยอัตโนมัติค่ะ.
Advertisements

33701 ชุดวิชาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการ รัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 3
33711 ชุดวิชาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการ รัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 2
33711 ชุดวิชาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการ รัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 4
สป./กรม สปสช. สสข.*(New) กสธ.ส่วนกลาง เครือข่ายบริการ คปสข. National Health Service Delivery Board สป./กรม สปสช. National Health Authority : Strategic.
Information Technology and Public Management
ธรรมาภิบาล และ การปฏิรูปราชการ
การเมืองกับการบริหาร
ขอบเขตการศึกษาวิชารัฐประศาสน ศาสตร์. โครงสร้างและอำนาจ หน้าที่ ขอบเขตการศึกษาวิชารัฐ ประศาสนศาสตร์ บุคลากร กระบวนการ.
โครงการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตร ผู้ตรวจสอบภายในภาครัฐ
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต
1. นางสาวกัลยารัตน์ แสนประกอบ รหัส
การประชุมชี้แจงแนวทางการประเมินส่วนราชการ ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ (มาตรา 44) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม.
การจัดการทรัพยากรมนุษย์
Principle of Public administration หลักรัฐประศาสนศาสตร์
การจัดการเชิงกลยุทธ์
แนวคิดพื้นฐานทางระบาดวิทยา
จริยธรรมทางธุรกิจ (Business Ethics)
Dr. Mano Choondee. By Director of Angthong
วิวัฒนาการการศึกษา.
การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance)
โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
การปฏิรูประบบราชการไทย กับการพัฒนาตนและระบบงาน
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
แนวคิดทาง รัฐประศาสนศาสตร์
ธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ องค์การภาครัฐ
Thailand Standards TMC.WFME.BME. Standards (2017)
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
รายวิชาแหล่งสารสนเทศ หน่วยที่ 5 แหล่งสารสนเทศแยกประเภทตามสาขาวิชา
หลักการและแนวทาง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการ ของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค.
ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
และ สสอ. ร้อยละ 20 (3 แห่ง) (จังหวัดกำแพงเพชร เป้าหมาย ร้อยละ100)
โดย ดร.เตือนใจ ดลประสิทธิ์
ทักท้วงจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน กรณีการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง
การจัดการทางการพยาบาล Management in Nursing
องค์กรรอบรู้สุขภาพ (Health Literate Organization)
Promoter - Supporter -Coordinator-Regulator
การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์สากล
ทฤษฏีและหลักการบริหารค่าตอบแทน
เนื้อหา บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเงินธุรกิจ
แบบฟอร์มที่ 2 1. ชื่อวิชา   PPA1102 หลักรัฐประศาสนศาสตร์
ทอมัส แอลวา เอดิสัน Thomas Alva Edison)
วันที่ 29 สิงหาคม 2562 นายบรรเจิด เดชาศิลปชัยกุล เภสัชกรเชี่ยวชาญ
แนวความคิดและทฤษฎีการจัดการ Concept and Management Theory
1. ชื่อวิชา  PPA 1102 หลักรัฐประศาสนศาสตร์ 2. หัวข้อที่ประจำ สัปดาห์นี้
ความรู้เกี่ยวกับการจัดการ
โดย ดร.เตือนใจ ดลประสิทธิ์
แนวคิดและตัวอย่างวิธีการวิเคราะห์ เพื่อการถ่ายโอนภารกิจของส่วนราชการ
การตลาดในเศรษฐกิจยุคใหม่ (Marketing in the New Economy)
การจัดการและแนวความคิดทางการจัดการ
โรงพยาบาลจันทรุเบกษา
Introduction to Public Administration Research Method
หลักการจัดการ Principle of Management
ตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ (Performance Agreement: PA)
ทบทวนกฎหมายรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติที่สำคัญซี่งมีมิติในเชิงคดี
หลักรัฐประศาสนศาสตร์ KHANTHONG JAIDEE,Ph.D
Introduction to Public Administration Research Method
3. ระบบศาลในกฎหมายปกครอง
ธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ องค์การภาครัฐ
ความหมาย และ คำจำกัดความของคำว่า “ รัฐประศาสนศาสตร์ “
สังคมและการเมือง : Social and Politics
สังคมและการเมือง : Social and Politics
การใช้งานฐานข้อมูล H.W. Wilson
องค์การและการจัดการ Organization and management (Mpp 5504)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นัทนิชา หาสุนทรี สาขา รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
ประสานโครงการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รพีพัฒน์ จันทนินทร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
การปกครองท้องถิ่นไทย PPA 1103
การจัดการงานคลังและงบประมาณ อ.บุญวัฒน์ สว่างวงศ์
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ KHANTHONG JAIDEE, PH.D

รัฐประศาสนศาสตร์ Public Administration Nicholas Henry ( Nicholas Henry, 1980 : 27 ) George S. Gordon ( George S. Gordon, 1975 : 8 ) James W. Fesler ( James W. Fesler, 1980 : 2-12 ) Felex A. Nigro and Lloyd G.Nigro (Felex A. Nigro and Lloyd G. Nigro ,1977 : 18)

รัฐประศาสนศาสตร์ Public Administration รัฐประศาสนศาสตร์มีความหมาย 2 ลักษณะ นัยยะแรก เป็นการพิจารณาในแง่ของสาขาวิชา ( Discipline ) วิชาการการศึกษา ( Study ) “Public Administration (P.A)” จากการเรียนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการ วิชาที่ว่าด้วยการบริหารและการปกครองบ้านเมือง ที่เน้นในเรื่องของระบบราชการ หรือกิจการงานที่รัฐเป็นผู้ปฏิบัติจัดทําเพื่อประโยชน์สาธารณะ จุดเริ่มต้นวิชารัฐประศาสนศาสตร์ Woodrow Wilson เขียนบทความ “The Study of Administation,1887” เสนอกรอบเค้าโครงความคิด (Paradigm พาราไดม์) การแยกการบริหารออกจากการเมือง

รัฐประศาสนศาสตร์ Public Administration โครงสร้างวิวัฒนาการของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มีองค์ประกอบสำคัญจาก 3 ศาสตร์ เป็น “รากฐาน (Roots)” สำคัญของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สังคมศาสตร์ (Social Science) พฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science) ศาสตร์ทางการบริหาร (Administration Science)

รัฐประศาสนศาสตร์ Public Administration เมื่อนำทั้ง 3 ศาสตร์มาต่อยอดที่เป็นหัวใจสำคัญของวิชานี้ ได้มีการพัฒนามุ่งสู่การนำความรู้และหลักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับ 3 ประการสำคัญ แนวคิดทฤษฎีองค์การ (Organization) การบริหารจัดการ (Management) การเมืองกับการบริหาร (Politics And Administration) แนวคิดทฤษฎีองค์การ + การบริหารจัดการ = โครงสร้างและระบบในการบริหารกิจการภายในองค์กร มุ่งเน้นการบริหารจัดการภายใน เช่น การบริหารงานและพัฒนาบุคลากร การบริหารจัดการงบประมาณ การเมืองกับการบริหาร = ภาคการเมือง (เน้นกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะ) ภาคบริหาร,ข้าราชการ (มุ้งเน้นนำนโยบายไปปฏิบัติ)

รัฐประศาสนศาสตร์ Public Administration ซึ่งในอดีตผู้ที่รับผิดชอบในการ จัดทําคือหน่วยงานของรัฐในส่วนกลาง ได้แก่กระทรวง ทบวงกรม กองต่าง ๆ ปัจจุบัน การจัดทำบริการสาธารณะได้ขยายหรือถ่ายโอนไปยังองค์ การปกครองส่วนท้องถิ่น และ ชุมชนซึ่งกิจการบางอย่างได้มีการมอบอํานาจให้ภาคเอกชนมาร่วมดําเนินการกับรัฐหรือจัดทำแทนรัฐ นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งหน่วยงานประเภทอื่น ๆ เช่น องค์กรมหาชน องค์กรอิสระ องค์กรสาธารณะกุศล มูลนิธิสมาคม องค์กรพัฒนาเอกชน ฯลฯ

รัฐประศาสนศาสตร์ Public Administration Public Administration รัฐประศาสตร์มีลักษณะเป็นศาสตร์ประยุกต์ ( Applied Science ) เนื่องจากวิชารัฐประศาสนศาสตร์เป็นวิชาที่มีการนําองค์ความรู้แนวความคิด จากสาขาวิชาต่างๆ ที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ กับการบริหารมารวมไว้ โดยสาขาวิชาส่วนใหญ่จะนํามาจากสาขาวิชาในสายสังคมศาสตร์ (Social Science) เช่น สาขาวิชารัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา จิตวิทยา ฯลฯ โดยมีวัตถประสงค์เพื่อที่จะนําองค์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ เหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในการดําเนินงานหรือแก้ไข

รัฐประศาสนศาสตร์ Public Administration

รัฐประศาสนศาสตร์ Public Administration กระบวนการบริหาร (วิทยการจัดการ) นโยบายสาธารณะ พฤติกรรมองค์การ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะผลิตคน เป็นนักบริหารในหน่วยงานของราชการและรัฐวิสาหกิจ

การบริหารรัฐกิจ (Public Administration) และการบริหารธุรกิจ (Business Administration) เมื่อเราพูดถึงคําว่าการบริหาร (administration) นั้น มักจะคิดถึง คือ การบริหารรัฐกิจและการบริหารธุรกิจ การบริหารรัฐกิจนั้นจะเป็นเรื่องการศึกษาหรือการบริหารงานในภาครัฐบาล (public sector) ที่เกี่ยวกับกิจการสาธารณะ ส่วนการบริหารธุรกิจนั้นจะเป็นเรื่อง การศึกษาหรือการบริหารงานในภาคเอกชน (private sector) ในการศึกษาการบริหารรัฐกิจ และบริหารธุรกิจนั้น จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน คือ เทคนิคการบริหาร (administration or management)

การบริหารรัฐกิจ (Public Administration) และการบริหารธุรกิจ (Business Administration) ข้อที่แตกต่างกัน ในเรื่องวัตถุประสงค์ บริหารรัฐกิจ มุ่งในการบริการสาธารณะเพื่อสนองความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ มิได้ทํากิจการหรือมีเป้าหมายเพื่อเป็นการค้ากําไร การปฏิบัติงานมีลักษณะเป็นระบบราชการทุนในการ ดําเนินงานก็มาจากภาษีอากรของประชาชน การบริหารธุรกิจ เป็นเรื่องธุรกิจของเอกชน ทุนในการดําเนินงานเป็นของเอกชนผู้เป็นเจ้าของกิจการ การบริหารธุรกิจจึงจุดประสงค์มุ่งที่ผลกําไรเป็นหลักใหญ่

พัฒนาการวิชารัฐประศาสนศาสตร์ อุทัย เลาหวิเชียร (2547) ได้แบ่งพัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์ แบ่งออกได้ 3 ช่วงเวลา วิวัฒนาการของรัฐประศานศาสตร์ จาก Wilson ถึงสงครามโลกครั้งที่สอง เน้นอยู่ 2 กรอบเค้าโครงความคิด คือ การแยกการบริหารออกจากการเมือง และหลักหรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหาร  วิวัฒนาการของรัฐประศานศาสตร์ ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองจนถึงปี 1970 กรอบเค้าโครงความคิดที่เกี่ยวกับ 2 เรื่อง คือ การบริหารเป็นส่วนหนึ่งของการเมือง และ การบริหารเป็นส่วนหนึ่งของการบริหาร วิวัฒนาการของรัฐประศานศาสตร์ ตั้งแต่ปี 1970 จนถึงปัจจุบัน กรอบเค้าโครงแนวคิดที่เกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์ในความหมายใหม่ การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ เศรษฐศาสตร์การเมือง และทฤษฎีองค์การที่อาศัยหลักมนุษย์นิยม

พัฒนาการวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ดร.พิทยา บวรวัฒนา ได้เสนอพัฒนาการไว้เป็น 4 สมัยที่สำคัญ 1. สมัยทฤษฎีดั้งเดิม (ค.ศ.1887 – 1950) คือ การบริหารแยกจากการเมือง ระบบราชการ วิทยาศาสตร์การจัดการ และหลักการบริหาร 2. สมัยทฤษฎีท้าทาย หรือวิกฤติการณ์ด้านเอกลักษณ์ครั้งแรก (ค.ศ. 1950 – 1960) คือ การบริหารคือการเมือง ระบบราชการแบบไม่เป็นทางการ มนุษยสัมพันธ์ และศาสตร์การบริหาร 3. สมัยวิกฤติการณ์ด้านเอกลักษณ์ครั้งที่สอง (ค.ศ. 1960 – 1970) หมายถึง แนวความคิดทางพฤติกรรมศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ในความหมายใหม่ 4. สมัยทฤษฎีและแนวการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์สมัยใหม่ ( ค.ศ. 1970 – ปัจจุบัน) ครอบคลุมถึงทฤษฎีนโยบายสาธารณะ ทางเลือกสาธารณะ เศรษฐศาสตร์การเมือง

พัฒนาการวิชารัฐประศาสนศาสตร์ Nicholas Henry (2013) ได้จำแนกพัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์ออกเป็น 6 ยุค กระบวนทัศน์ที่ 1 การแยกการเมืองและการบริหารออกจากกัน (The Politics/Administration Dichotomy) ค.ศ.1900 – ค.ศ. 1926) กระบวนทัศน์ที่ 2 หลักการบริหารงานภาครัฐ (Principles of Public Administration) ค.ศ.1927 – ค.ศ. 1937 กระบวนทัศน์ที่ 3 การบริหารงานภาครัฐในฐานะส่วนหนึ่งของรัฐศาสตร์ (Public Administration as Political Science) ค.ศ.1950 – ค.ศ. 1970 กระบวนทัศน์ที่ 4 การบริหารงานภาครัฐในฐานะส่วนหนึ่งของการจัดการ (Public Administration as Political Management) ค.ศ.1956 – ค.ศ. 1970) กระบวนทัศน์ที่ 5 การบริหารงานภาครัฐคือการบริหารงานภาครัฐ (Public Administration as Public Administration) ค.ศ.1970 – ปัจจุบัน กระบวนทัศน์ที่ 6 รัฐประศาสนศาสตร์ คือธรรมาภิบาล Governance) ค.ศ.1990 – ปัจจุบัน

พัฒนาการวิชารัฐประศาสนศาสตร์ รศ.ดร.ปกรณ์ ศิริประกอบ แบ่งเป็น 3 แนวคิดทางการบริหารจัดการภาครัฐ กระบวนทัศน์การบริหารจัดการภาครัฐแนวเก่า (Old Public Management (OPM))1988 – ปัจจุบัน แยกการบริหารออกจากการเมือง วิทยาศาสตร์การจัดการ หลักการบริหาร ระบบราชการ กระบวนทัศน์การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management (NPM))1992 – ปัจจุบัน KPI กระบวนทัศน์การบริการสาธารณะแนวใหม่ (New Public Service (NPS)) 2000 – ถึงปัจจุบัน ความเป็นพลเมือง

ยุคแรก ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง   ยุคแรก ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง Thomas Woodrow Wilson 

แนวคิดการแยกการเมืองออกจากการบริหาร โดยเริ่มมีการศึกษารัฐประศาสนศาตร์กันอย่างจริงจัง เริ่มตั้งแต่อดีตประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน ของสหรัฐฯ ได้เขียนบทความที่มีชื่อเสียงในปี ค.ศ. 1887 เรื่อง The Study of Administration ซึ่งเป็นการเริ่มต้นแนวคิดการแยกการเมืองออกจากการบริหาร

ยุคดั้งเดิมมีจุดเน้น 2 แนวทาง จุดเน้นของการศึกษาที่โครงสร้างของระบบบริหารโดยจำแนกการศึกษาออกเป็น 2 แนวทาง คือ แนวทางการแบ่งแยกโครงสร้างของฝ่ายบริหารกับฝ่ายการเมืองออกจากกันอย่างเด็ดขาด (นักวิชาการสำคัญที่ศึกษาตามแนวทางนี้เช่น Woodrow Wilson, Frank Goodnow, Leonard White และ Willoughby) แนวทางการแสวงหาโครงสร้างที่สมบูรณ์แบบขององค์กรแบบระบบราชการ (เน้นที่งาน bureaucracy ของ Weber)

ยุคที่สอง ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง Chester Barnard

ยุคของพฤติกรรมศาสตร์ เป็นยุคที่นักวิชาการทั่วไปหันมาให้ความสนใจในพฤติกรรมศาสตร์ มีนักวิชาการ Chester Barnard ได้เขียน หนังสือชื่อ Functions of the Executive ชี้ให้เห็นว่าการบริหารเป็น กิจกรรมทางสังคมชนิดหนึ่งที่ต้องการ ความร่วมมือและการจะมีอํานาจนั้นขึ้นอยู่กับความ ยินยอมของผู้ใต้บังคับบัญชา หน้าที่ของนักบริหาร คือ สนใจเรื่องทั้งระบบ เป็นการศึกษาการ บริหารจากมุมมองของนักพฤติกรรมศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ในด้านพฤติกรรมศาสตร์ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองได้พัฒนาไปในแนวทฤษฎีองค์การและพฤติกรรมของมนุษย์ส่วนใหญ่

แบ่งเป็น 3 ช่วงย่อย ช่วงแรกที่เน้นศึกษาที่พฤติกรรมมีการศึกษาเพื่อค้นหาผลกระทบของทัศนคติและกำลังขวัญของผู้ปฏิบัติงานต่อการบริหารงาน (ดังเช่นงานของ Mayo , W.J. Dickson , Chester I. Barnard , Mary Parker Follett และ Herbert Simon) ช่วงที่สอง เน้นการศึกษาในแง่สภาพแวดล้อมของการบริหาร ซึ่งเชื่อว่าสภาพแวดล้อมทางการเมืองวัฒนธรรมและอื่น ๆ ย่อมมีอิทธิพลต่อระบบและกระบวนการบริหาร (เช่น Fritz Morstein Marx , Dwight Waldo, John Gaus และ Paul Appleby) ช่วงสุดท้ายมีจุดสนใจที่องค์การสมัยใหม่ พร้อมกับศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคการประมวลผลข้อมูล และพัฒนาวิธีจัดหาข่าวสารข้อมูลด้วย (เช่น James March, Victor Thompson, Peter Blau และ Amitai Etzioni)

ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์  ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ มีลักษณะและแนวทางการศึกษาสำคัญ 5 ประการ คือ ลดการเน้นทฤษฎีปทัสถานนิยมให้น้อยลงแต่เพิ่มแนวทางสังเกตวิเคราะห์สถานการณ์จริงเพิ่มขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงขอบข่ายของการศึกษาใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงการศึกษาไปสู่วิทยาการทางสังคม เน้นศึกษาเรื่องนโยบายสาธารณะมากขึ้น และ การศึกษามีความคล้องจองมากขึ้น