การดำเนินคดีตามกฎหมาย ในหน้าที่ความรับผิดชอบ ของกรมสรรพสามิต

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 28/08/51 โดย จิรวัฒน์ พรหม พร บริษัท บุ๊ค โปรโมชั่น แอนด์ เซอร์วิส จำกัด แผนกฝึกอบรม ฐานข้อมูล.
Advertisements

โดย : จิรวัฒน์ พรหมพร Royal Society of Chemistry.
ปรับปรุงล่าสุด 01/10/51 จิรวัฒน์ พรหมพร แผนกฝึกอบรมฐานข้อมูล บริษัท บุ๊ค โปรโมชั่น แอนด์ เซอร์วิส จำกัด.
By Jirawat Promporn : Tel
ปรับปรุงล่าสุด 21/03/54 โดย... จิรวัฒน์ พรหมพร แผนกสนับสนุนฝ่ายทรัพยากร อิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา บริษัท บุ๊ค โปรโมชั่น แอนด์ เซอร์วิส.
หลักการ ถาม ตอบ คุยกันให้รู้ “เรื่องกฎหมาย” (เอกสารจัดทำขณะบรรยาย)
ปรับปรุงล่าสุด 23/08/51 โดย : จิรวัฒน์ พรหมพร แผนกฝึกอบรมฐานข้อมูล บริษัท บุ๊ค โปรโมชั่น แอนด์ เซอร์วิส จำกัด.
4minute  4 minute .
While by Accords (IT SMART CLUB 2006) by Accords 1.
PLAN & BUDGETING MATERIAL (INFORMATION) MAN MANAGEMENT ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล.
ศูนย์สารสนเทศด้าน สาธารณสุขและสุขภาพ การพัฒนาระบบ ข้อมูลข่าวสารสุขภาพ (กลุ่มข้อมูลข่าวสารด้าน สุขภาพ) การเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ (กลุ่มด้านสารนิเทศ) กลุ่มที่
โดย : จิรวัฒน์ พรหมพร B o o k P r o m o t i o n & S e r v i c e c o., l t d.
Jirawat Promporn Update Latest 18/07/49 TRAINING Dept. BOOK PROMOTION & SERVICE CO., LTD.
Jirawat Promporn Update Latest 02/05/51 TRAINING Dept. BOOK PROMOTION & SERVICE CO., LTD.
ด้าน สิ่งแวดล้อ มและ สุขภาพ EHA อสธ จ. ระบบอนามัย สิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา.
การกำกับดูแล ตนเองที่ดี สรวิชญ์ เปรมชื่น ที่ปรึกษา สมาคมส่งเสริม ผู้ประกอบการวิสาหกิจ.
Unit 1 Her He Her She Tru e Fal se Tru e.
การบริหารจัดการข้อมูลความเสี่ยงด้านสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ตามรอยครู :
ระบบการกำกับ ติดตามประเมินผล กรมควบคุมโรค ปีงบประมาณ พ.ศ.2560
นโยบายการดำเนินงาน กรมควบคุมโรค
กฎกระทรวง ระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ พ.ศ. 2560
การใช้ฐานข้อมูล ASCE สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
เรื่องน่ารู้ ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
พัฒนาการของการคุ้มครองสิทธิในสิ่งแวดล้อม
การวิเคราะห์งบการเงิน
โครงการโรงเรียนคาร์บอนต่ำ (ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าที่โรงเรียน)
ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับรังสี
จริยธรรมทางธุรกิจ (Business Ethics)
ทิศทางการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
การบูรณาการการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาสังคมของ OSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคม
สำนักงานเกษตรจังหวัดสระแก้ว Plant Protection Sakaeo
(แผนบูรณาการขยะและสิ่งแวดล้อม)
ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ
ผลการดำเนินงานด้านการศึกษา ปีการศึกษา 2559
แนวทางการจัดทำแผนงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
รร.มุกดารา เขาหลัก พังงา
เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการศึกษา โดย อาจารย์สุวิสาข์ เหล่าเกิด
สรุปรายงานการตรวจนิเทศงานกระทรวงสาธารณสุข รอบที่ 1/ จังหวัดกาญจนบุรี
การจัดการสุขภาพกลุ่มเสี่ยง
วิชา กฎหมายกับสังคม (Law and Society) (SSP 2403) อาจารย์ สุรศักดิ์ มีบัว สาขา สังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ครั้งที่ 1-4.
บทบาทของกระทรวงสาธารณสุขกับการดำเนินงานOSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคม
การเตรียมความพร้อม สหกิจศึกษา
Improving access to Justice & legal protection for torture victimes โครงการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองทางกฎหมายสำหรับ ผู้เสียหายจากการทรมาน ดำเนินการโดย.
กลไกการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
ตัวชี้วัด : ร้อยละของการดำเนินงานให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลสุขภาพ และการป้องกันโรคและภัยสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม.
ยาที่ใช้ในโรคไตเรื้อรัง (Pharmacotherapy in CKD) ประกอบการประชุมอบรมพัฒนาศักยภาพพยาบาล หน่วยปฐมภูมิ เขต 3 ภญ.จันทกานต์ อภิสิทธิ์ศักดิ์ กลุ่มงานเภสัชกรรม.
โครงสร้างส่วนราชการและระดับตำแหน่งผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงถึง 11
ตัวชี้วัด (KPI EPI Template))
การบริหารและขับเคลื่อน
แนวคิด การจัดทำยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาค โดย ว่าที่ ร.อ.จิตร์ ศิรธรานนท์
สรุปรายงานการตรวจนิเทศงานกระทรวงสาธารณสุข รอบที่ 1/2559 จังหวัดประจวบคีรีขันต์ คณะที่ 4.2 แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม คณะที่ 5 แผนขยะและสิ่งแวดล้อม.
นโยบายการดำเนินงาน กรมควบคุมโรค
ปรัชญาทั่วไป (General Philosophy) หมู่ 2.
แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย
เกรกอร์ โยฮันน์ เมนเดล
แบบฟอร์มที่ 2 1. ชื่อวิชา  THM4406 การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
วิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ Human Resource Management
การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ
นิเทศงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
พัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน
การเขียนย่อหน้า.
โปรแกรมการออกหนังสือรับรองการเกิด สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง
การอำนวยความเป็นธรรมทางอาญาของพนักงานฝ่ายปกครอง
กฎหมายอาญาภาคความผิด
Credit Management ผศ.ดร.กฤษฎา สังขมณี
ระบบจับบัตรคิวออนไลน์ Smart Hospital 4.0 โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร
การยื่นข้อเสนอโครงการวิจัย
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การดำเนินคดีตามกฎหมาย ในหน้าที่ความรับผิดชอบ ของกรมสรรพสามิต

กรมสรรพสามิต ส่วนคดี สำนักกฎหมาย กรมสรรพสามิต ส่วนคดี สำนักกฎหมาย ธรรมศักดิ์ ลออเอี่ยม ผู้อำนวยการส่วนคดี ฉลอง นิ่มเนียม นิติกร 7 ว

หัวข้อการบรรยาย อำนาจหน้าที่ ขั้นตอนการดำเนินคดี - สืบสวน, ตรวจค้น, ยึด/อายัด, จับกุม, เปรียบเทียบคดี, ส่งฟ้องศาล กฎหมาย/ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดี - ประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา - กฎหมายสรรพสามิต - ระเบียบ การตรวจค้น, การเปรียบเทียบคดี, การพิสูจน์ของกลาง, การปล่อยชั่วคราว, การจัดการของกลาง, สินบนรางวัล ประเด็นร้อนในการดำเนินคดี (Hot issue) - การแก้ไข ป.วิ.อาญา, การยึด/อายัดรถยนต์

อำนาจหน้าที่ ที่มาของการดำเนินคดีสรรพสามิต - ความหมาย “ความผิดทางอาญา” - ความหมาย “ความผิดทางอาญา” - โทษทางอาญา - การบังคับใช้กฎหมายอาญา/กฎหมายสรรพสามิต กฎหมายที่ให้อำนาจ/ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ - กฎหมาย รธน./ป.วิ.อาญา - กฎหมายสรรพสามิต

วัตถุประสงค์ของการลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดทางอาญา มี 3 ประการ ความผิดทางอาญา มีที่มาจากการที่สังคมต้องการบังคับให้บุคคลในสังคมนั้น ๆ ประพฤติปฏิบัติต่อกันในสิ่งที่ดีงาม ไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม บุคคลใดที่ฝ่าฝืนโดยกระทำการอันเป็นปฏิปักษ์ต่อสังคมและไม่ปฏิบัติในสิ่งที่ควรจะกระทำ จะต้องถูกมาตรการบังคับจากสังคม มาตรการบังคับดังกล่าวเราเรียกว่า “การลงโทษ” วัตถุประสงค์ของการลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดทางอาญา มี 3 ประการ 1. เพื่อตอบแทนและชดใช้ (Retribution and expiation) 2. เพื่อป้องกันสังคม (Protection of Society) 3. เพื่อแก้ไขผู้กระทำความผิด (Reform of the Offender)

ความผิดในทางอาญา มีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ ๆ 1.  ความผิดที่เห็นได้อยู่ในตัวเอง (mala in se) ซึ่งเป็นความผิดที่กำหนดขึ้นจากความประพฤติอันฝ่าฝืนต่อศีลธรรม ความส่วนมากย่อมรู้ว่าการกระทำนั้น ๆ เป็นความผิด เช่น ลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ฆ่าคนตาย ทำร้ายร่างกาย วางเพลิง เป็นต้น 2.  ความผิดที่ต้องห้าม (mala prohibita) ความผิดประเภทนี้เป็นความผิดที่สังคมนั้น ๆ ต้องการกำหนดให้การกระทำบางประเภทเป็นความผิดที่มีโทษทางอาญา ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของรัฐ ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐแต่ละรัฐ เช่น ความผิดตามกฎหมายภาษี ความผิดทางการประมง ความผิดทางการจราจร เป็นต้น

โทษทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา กำหนดไว้ 5 ฐาน 1. ประหารชีวิต 2. จำคุก 3. กักขัง 4. ปรับ 5. ริบทรัพย์สิน ดุลพินิจในการกำหนดโทษ พิจารณาจากหลักการ 4 ประการ 1. ลักษณะของผู้กระทำผิด 2. ลักษณะของผู้เสียหาย 3. ลักษณะของการกระทำความผิด 4. ประโยชน์ของรัฐ

โทษทางอาญาตามกฎหมายสรรพสามิต ยกตัวอย่างเช่น โทษ จำคุก ,ปรับ โทษทางอาญาตามกฎหมายสรรพสามิต ยกตัวอย่างเช่น โทษ จำคุก ,ปรับ มาตรา 33“ผู้ใดขายหรือมีไว้เพื่อขาย ซึ่งสุราที่รู้ว่าต้องปิดแสตมป์สุราแต่มิได้ปิดแสตมป์สุรา หรือปิดแสตมป์สุราไม่ครบถ้วน หรือมิได้ปิดแสตมป์สุราตามวิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสี่เท่าของภาษีสุราตามอัตรากำหนดในกฎกระทรวง แต่ต้องไม่น้อยกว่าลิตรละหนึ่งร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เศษของลิตรให้ถือเป็นหนึ่งลิตร” โทษริบทรัพย์สิน มาตรา 45 “บรรดาสุรา เชื้อสุรา และสินค้าที่ทำด้วยสุรา ที่ได้ทำ นำเข้ามาในราชอาณาจักร ขาย หรือมีไว้ในครอบครอง อันเป็นการฝ่าฝืนบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ตลอดจนภาชนะที่ใส่สิ่งของดังกล่าว รวมทั้งภาชนะและเครื่องกลั่นสำหรับทำสุรา ให้ริบเป็นของกรมสรรพสามิต”

การบังคับใช้กฎหมาย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 32 บัญญัติไว้ว่า “บุคคลจะไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่จะได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้” ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2 บัญญัติไว้ว่า “บุคคลจะต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้น บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำนั้นต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย”

การดำเนินคดีอาญา “กระบวนการดำเนินคดีตามที่ประมวลกฎหมายอาญาและพระราชบัญญัติ หรือกฎหมายอื่นที่มีโทษทางอาญา กำหนดไว้ว่าการกระทำหรือไม่กระทำการอย่างใดเป็นความผิดและกำหนดโทษ(ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน) รวมทั้งอาจกำหนดสภาพบังคับไว้ (วิธีการเพื่อความปลอดภัย วิธีคุมประพฤติ วิธีดำเนินการสำหรับเด็กและเยาวชน คำสั่งในคดีหมิ่นประมาท) ทั้งนี้ ตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้เป็นหลักในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา” คำถามสำคัญ.................................. ใครเป็นผู้ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดกฎหมายสรรพสามิต ?

กฎหมายที่ให้อำนาจ ( ผู้ดำเนินคดี/บังคับใช้กม.) พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493 คือ - พนักงานเจ้าหน้าที่ พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ.2509 คือ - เจ้าพนักงาน พระราชบัญญัติไพ่ พุทธศักราช 2486 - เจ้าพนักงาน พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 - พนักงานเจ้าหน้าที่ กฎหมายที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายในความรับผิดชอบของกรมสรรพสามิต

การจับ /การค้น ป.วิ.อาญา กฎหมายสรรพสามิต ม. 31 ม. 32 ม. 33 ม. 48 รัฐธรรมนูญ ป.วิ.อาญา กฎหมายสรรพสามิต ม. 31 ม. 32 ม. 33 ม. 48 ม. 237 ม. 238 ม. 7 ทวิ ม. 78 ม. 80 ม. 83 ม. 85 ม. 86 ม. 28 ม. 38 ม. 39 ม. 12 ม. 15 ม.118 (2) สุรา ยาสูบ ไพ่ ภาษีสรรพสามิต

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(16) “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ” หมายความถึงเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ให้รวมทั้ง ...เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิต…ในเมื่อทำการอันเกี่ยวกับการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายซึ่งตนมีหน้าที่ต้องจับกุมหรือปราบปราม มาตรา 16 “… อำนาจพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในการที่จะปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ต้องเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับทั้งหลาย…ซึ่งว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจนั้น ๆ”

พ.ร.บ.สุรา พ.ศ.2493 มาตรา 4 “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า เจ้าพนักงานสรรพสามิต ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งให้มีอำนาจและหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานสรรพสามิต พนักงานเจ้าหน้าที่และเจ้าพนักงาน ตามกฎหมายว่าด้วยสุรา ยาสูบ และไพ่ ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2546

พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 มาตรา 55 “ให้อธิบดีมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการกรมสรรพสามิตเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่จับกุมและปราบปรามผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา” ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานสรรพสามิต พนักงานเจ้าหน้าที่และเจ้าพนักงาน ตามกฎหมายว่าด้วยสุรา ยาสูบ และไพ่ ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2546

พ.ร.บ.ไพ่ พุทธศักราช 2486 มาตรา 4 “เจ้าพนักงาน” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งอธิบดีแต่งตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานสรรพสามิต พนักงานเจ้าหน้าที่และเจ้าพนักงาน ตามกฎหมายว่าด้วยสุรา ยาสูบ และไพ่ ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2546

พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 4 “เจ้าพนักงานสรรพสามิต” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนสังกัดกรมสรรพสามิต “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนสังกัดกระทรวงการคลังหรือบุคคลอื่นซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตาม พระราชบัญญัตินี้ การใช้อำนาจตาม ม. 15, 118(2), 119-129 ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2547

ขั้นตอนการดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายสรรพสามิต การสืบสวน การวางแผนปฏิบัติการ การตรวจค้น การยึดอายัด การจับกุม การส่งคดี ให้ผู้มีอำนาจดำเนินคดี การจัดการของกลาง การเบิกจ่ายเงินสินบนรางวัล

อำนาจการดำเนินคดีและเปรียบเทียบคดี แนวทางในการดำเนินคดี อำนาจการดำเนินคดีและเปรียบเทียบคดี แนวทางในการดำเนินคดี แจ้งผู้ต้องหาทราบ

แนวทางในการดำเนินคดี ผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิต เจ้าพนักงาน/พนักงานเจ้าหน้าที่ ตรวจสอบสินค้า มีเหตุอันควรสงสัย ยึด/อายัด ม.15/ม.123 ไม่มีเหตุอันควรสงสัย ไม่มีอำนาจยึด/อายัด ตรวจสอบสินค้า / พยานเอกสาร กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษี เป็นสินค้าที่เสียภาษีถูกต้อง แจ้งข้อกล่าวหาให้ทราบ ผู้ครอบครอง/เจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่รับทราบข้อกล่าวหา ส่ง พงส. ดำเนินคดี ถอนการยึด/อายัด ผลการตรวจสอบ

อำนาจในการเข้าตรวจสถานที่ โดยยกเว้นบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา 238) ลงวันที่ 31 มีนาคม 2542 ให้เข้าตรวจสถานที่ที่ได้รับใบคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ตีความไว้ ตามหนังสือ ที่ นร 0601/265 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2542 อนุญาต ดังต่อไปนี้ ตามมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ.สุรา พ.ศ.2493 - โรงงานสุรา - สถานที่ขายหรือเก็บสุรา,เชื้อสุรา

อำนาจในการเข้าตรวจสถานที่ โดยยกเว้นบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา 238) คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ตีความไว้ ตามหนังสือ ที่ นร 0601/265 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2542 ให้เข้าตรวจสถานที่ที่ได้รับอนุญาต ดังต่อไปนี้ ตามมาตรา 38 , 39 แห่ง พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 สถานที่เพาะปลูกต้นยาสูบ สถานีบ่มใบยา โรงอบใบยา โรงอุตสาหกรรมยาสูบ สถานที่ขายยาเส้นหรือยาสูบ

อำนาจในการเข้าตรวจสถานที่ โดยยกเว้นบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา 238) คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ตีความไว้ ตามหนังสือ ที่ นร 0601/265 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2542 การใช้อำนาจ “ พนักงานเจ้าหน้าที่ ” ตามมาตรา 118 (2) และ อำนาจ “ เจ้าพนักงานสรรพสามิต ” ตามมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 เข้าไปตรวจสถานที่ หรือยานพาหนะใด ๆ โดยไม่ต้องมีคำสั่ง หรือหมายของศาล

การยึดและอายัด กฎหมายที่ให้อำนาจ คือ พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 123 ความแตกต่างกับมาตรา 15 “ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดหรืออายัด สินค้า บัญชี เอกสาร ยานพาหนะหรือสิ่งใด ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ไว้เป็นหลักฐานในการพิจารณาคดี” วิธีการยึดหรืออายัด - ใช้อำนาจก่อน/หลังการตั้งข้อกล่าวหา - การจัดทำบันทึก วิธีการถอนอายัด

การยึด / การอายัด กฎหมายสรรพสามิต ป.วิ.อาญา ม. 85 ม. 40 ม. 15 ม. 118 พ.ร.บ.ภาษี พ.ร.บ.ยาสูบ

การยึดหรืออายัดทรัพย์ กระทำเพื่อ 1. บังคับชำระภาษีค้าง (ม.140 - 144) 2. ประโยชน์ในการปราบปราม (ม.15 , ม.123)

การยึดหรืออายัดเพื่อบังคับชำระภาษีค้าง มาตรา 140 “ ทรัพย์สินของผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ค้างชำระภาษี อาจถูกยึดและขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระภาษีที่ค้าง ... โดยมิต้อง ขออำนาจศาล ” มาตรา 141 “ เกี่ยวกับการอายัดสิทธิเรียกร้องต่อบุคคลภายนอก ” มาตรา 142 “ ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้ง ” มาตรา 143 “ การขายทอดตลาดทรัพย์สิน ” มาตรา 144 “ ถอนคำสั่งยึด ”

มาตรา 15 ในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นอำนาจของ อธิบดี ในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นอำนาจของ อธิบดี เจ้าพนักงานสรรพสามิต (อธิบดีออกคำสั่งเป็นหนังสือ) ในจังหวัดอื่น เป็นอำนาจของ ผู้ว่าราชการจังหวัด สรรพสามิตพื้นที่

อำนาจ “ เจ้าพนักงานสรรพสามิต ” มาตรา 15 เข้าไปในสถานที่หรือยานพาหนะใดๆ เพื่อ ทำการตรวจค้น ยึด อายัด บัญชีเอกสาร หรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือสันนิษฐาน ว่าเกี่ยวกับภาษีที่จะต้องเสียได้ทั่วราชอาณาจักร ต้องทำในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก ในระหว่างเวลาทำการของผู้ประกอบกิจการนั้น เว้นแต่ ตรวจค้น ยึด อายัด ในเวลาไม่เสร็จกระทำต่อได้

ยึด หมายถึง การกระทำใดๆ ต่อทรัพย์ เพื่อให้ทรัพย์นั้น ได้เข้ามาอยู่ในความควบคุม ดูแล หรือครอบครองของพนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจสั่งการ อายัด หมายถึง การสั่งให้เจ้าของทรัพย์หรือบุคคลภายนอก มิให้จำหน่าย จ่าย โอน หรือกระทำนิติกรรมใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือสิทธิเรียกร้องที่ได้สั่งอายัดไว้

ยึด หมายถึง การกระทำใดๆ ต่อทรัพย์ เพื่อให้ทรัพย์นั้น ได้เข้ามาอยู่ในความควบคุม ดูแล หรือครอบครองของพนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจสั่งการ อายัด หมายถึง การสั่งให้เจ้าของทรัพย์หรือบุคคลภายนอก มิให้จำหน่าย จ่าย โอน หรือกระทำนิติกรรมใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือสิทธิเรียกร้องที่ได้สั่งอายัดไว้

(สำนักตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม กรมสรรพสามิต) ใช้ในราชการ ลงชื่อ เจ้าพนักงานสรรพสามิต ( ) ลงชื่อ ผู้ต้องหา/เจ้าของ/ผู้จัดการหรือผู้แทน ( ) หรือผู้ครอบครองสถานที่ (สำนักตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม กรมสรรพสามิต) หมายเหตุ พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 130 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญา “ ผู้ใดถอน ทำให้เสียหาย ทำลาย หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งตราหรือเครื่องหมายอันเจ้าพนักงานได้ประทับ หรือหมายไว้ที่สิ่งใดๆ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่เพื่อเป็นหลักฐานในการยึด อายัด หรือรักษาสิ่งนั้นๆ ” มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 141 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ “ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือให้สูญหาย หรือไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินหรือเอกสารใดๆ อันเจ้าพนักงานได้ยึดรักษาไว้ หรือสั่งให้ส่งเพื่อเป็นพยานหลักฐาน ” มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 142 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การตั้งข้อกล่าวหา ตั้งข้อกล่าวหากับใคร ? มาตรา 2 ประมวลกฎหมายอาญา “บุคคลจะต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้น บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำนั้นต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย” พิจารณาจากองค์ประกอบใด ? - โครงสร้างความรับผิดทางอาญา 1. กระทำครบองค์ประกอบความผิด 2. กระทำการที่มีกฎหมายยกเว้นความผิด 3. กระทำการที่มีกฎหมายยกเว้นโทษ

การส่งคดีให้ผู้มีอำนาจดำเนินคดี เดิม ส่งสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่/พื้นที่สาขา * สกม. - พิสูจน์ของกลาง - เปรียบเทียบคดี/ปล่อยชั่วคราว/ส่งฟ้องศาล ปัจจุบัน ส่งพนักงานสอบสวนท้องที่ที่จับกุม - ผู้จับ แจ้งสิทธิ 3 ประการ - มอบสำเนาบันทึกการจับให้ผู้ถูกจับ - นำตัวผู้ถูกจับ/ของกลาง ส่ง พงส. หาก พงส. มอบตัวให้เพื่อนำผู้ต้องหามาเปรียบเทียบคดีที่ สสพ./สสข. * สกม. - หาก พงส. ดำเนินคดีเอง ให้นำหลักฐาน ปจว. มาลงหลักฐานที่ สสพ./สสข. * สกม. เท่าที่จำเป็น เพื่อบันทึกคดีในส่วนของกรมฯต่อไป

การเปรียบเทียบคดี อำนาจตามกฎหมาย - มาตรา 44 ทวิ พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. ๒๔๙๓ - มาตรา 54 พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ.2509 - มาตรา 133 พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 คำสั่งมอบอำนาจ ที่ 016/2547 ลงวันที่ 22 ม.ค.2547 - หน.ฝ่ายคดี สกม., หน.ฝ่าย สสพ., สสข. ไม่เกิน 1 แสนบาท - ผส.คดี สกม.,สสพ. เกิน 1แสนบาทไม่เกิน 1 ล้านบาท - ผอ.สกม.,ผอ.สสภ. เกิน 1 ล้านบาทขึ้นไป ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการเปรียบเทียบคดี พ.ศ.2540 ขั้นตอนการเปรียบเทียบคดี

การปล่อยชั่วคราว อำนาจตามกฎหมาย - มาตรา 134 พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 คำสั่งมอบอำนาจ ที่ 016/2547 ลงวันที่ 22 ม.ค.2547 ใช้กรอบของค่าปรับมาแบ่งอำนาจในการสั่งปล่อย ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการปล่อยชั่วคราว พ.ศ.2540 สาระสำคัญ - หลักการ รอการเปรียบเทียบเทียบคดี (ไม่เกิน 45 วัน), รอการชำระค่าปรับ(ไม่เกิน 15 วัน) ขยายได้ไม่เกิน 30 วัน - หลักประกัน 3 ชนิด เงินสด,หนังสือรับรองธนาคาร,บุคคล

การจัดการของกลาง ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีกระทำผิดกฎหมายในหน้าที่ของกรมสรรพสามิต พ.ศ. 2547 - แบ่งออกเป็นเรื่อง ในแต่ละหมวด เพื่อให้ครอบคลุมทุกเรื่อง 1. คำจำกัดความและอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่, คณะกรรมการ 2. การตรวจรับและเก็บรักษาของกลาง 3. การจัดการของกลาง 4. การจำหน่ายบัญชีและสำรวจของกลาง 5. วิธีการขายทอดตลาด 6. ของกลางที่ควรขายและไม่ควรขาย 7. บทเฉพาะกาล

สินบนรางวัล คดีสุรา - ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัล พ.ศ.2519 - คำสั่งกระทรวงการคลัง เรื่องเกณฑ์การแบ่งเงินรางวัล - ระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัล พ.ศ.2519 คดียาสูบ - ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลในคดีจับผู้กระทำผิดพระราชบัญญัติยาสูบ คดีไพ่ - ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลในคดีจับผู้กระทำผิดพระราชบัญญัติไพ่ คดีภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลในคดีจับผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.25227 พ.ศ.2540

ขอขอบคุณ สวัสดี