วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
สถิติ และ การวิเคราะห์ข้อมูล
Advertisements

การทดสอบไคกำลังสอง (Chi-square)
แบบสอบถามประกอบการศึกษา
Chapter 6: Sampling Distributions
การใช้งานโปรแกรม SPSS
การทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับลักษณะของข้อมูล
น.ท.หญิง วัชราพร เชยสุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ
วิจัย (Research) คือ อะไร
การทดสอบค่าเฉลี่ยประชากร
ตัวอย่าง การวิเคราะห์และแปลผลข้อมูลทางสถิติ
การทดสอบค่าเฉลี่ยประชากร 2 ประชากร
Basic Statistical Tools
Basic Statistical Tools
การทดสอบสมมุติฐาน Hypothesis Testing.
การวิเคราะห์ต้นทุนผสม
LOGO Open Source Software ดร. ปรัชญนันท์ นิลสุข Your Company Slogan.
นายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค ผลการสำรวจทัศนคติ ความเห็นของประชาชน DDC Poll ครั้งที่ 12 “ เรื่อง … รู้จักและเข้าใจโรคไข้หวัดใหญ่ 31 มีนาคม 2558.
การเขียนแผนการสอน Media Base learning. รายละเอียดแผนการเรียนรู้ 1. สาระสำคัญ (Concept) เป็นความคิดรวบยอด หรือหลักการของเรื่องหนึ่งที่ต้องการให้เกิดกับ.
การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ เพื่อการทำวิจัยอย่างง่าย
สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล
การหาความสัมพันธ์ของตัวแปร
สถิติอ้างอิง: ไร้พารามิเตอร์ (Inferential Statistics: Nonparametric)
การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล
การวิเคราะห์ข้อมูล ดร. นพ. วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย
บทที่ 9 การกำหนดขนาดของตัวอย่าง
สถิติในชีวิตประจำวัน : Statistics in Everyday life
.:: ทรงปัญญา ศรัทธาธรรม นำสังคม .::
สถิติที่ใช้ในงาน การวิจัยเชิงปริมาณ
การใช้งานฐานข้อมูล SpringerLink
ปัจจัยที่มีผลต่อการแพ้ยาและ ผลของการเกิดอาการไม่พึงประสงค์
วิทยาศาสตร์ และ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
บทที่6 หลักการออกแบบ 1.การกำหนดความต้องการในงานศิลปะ
แบบจำลองแรงโน้มถ่วง.
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติและโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
การใช้งานฐานข้อมูล SpringerLink
ถ้าคิดว่าคุณแน่ อย่าแพ้เรานะ
ตัวแปรและสมมติฐานการวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการเงิน
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการจัดการโลจิสติกส์
โดย นายไพสุข สุขศรีเพ็ง รหัสนักศึกษา
การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ
วิธีการคำนวณค่าระดับเสียงเฉลี่ย
ข้อมูลประกอบการประชุมผู้บริหารระดับสูง
ผู้ดำเนินการวิจัย นางสาว นิลุบล สุวลักษณ์ รหัสนักศึกษา
เดินหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สู่ทศวรรษที่ 8
โครงการเมืองเกษตรสีเขียว (Green Agriculture City) ด้านการประมง
แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 พ. ศ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ มหาวิทยาลัยนเรศวร
Cluster อนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี
แนวคิดเรื่องการรู้สารสนเทศ
การออกแบบธุรกิจออนไลน์
ความก้าวหน้าการขับเคลื่อน งานวิชาการและนวัตกรรม กรมอนามัยปี ๒๕๖๑
โดยสำนักอนามัย สิ่งแวดล้อมกรมอนามัย
บทที่ 7 การประมาณค่าและทดสอบสมมติฐานสำหรับค่า สัดส่วนประชากร 1 กลุ่ม
วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ครั้งที่ 4
รายงานสถานการณ์น้ำประจำวัน 30 กันยายน 2556 ข้อมูล ณ เวลา น.
บรรยายครั้งที่ 6 - กราฟฟิกวิศวกรรม 1
การกำจัดจุลินทรีย์บนหนังสือ วารสาร และสื่อสารสนเทศด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 10 % Decontamination of Microorganisms on Books,
การใช้งานฐานข้อมูล SpringerLink
EM: Asst.Prof.Dr.PattanaSirichotpundit, Ph.D.
การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโครงการ
การเลือกใช้สถิติเพื่อการวิจัย
ภาพรวมของการออกแบบสิ่งพิมพ์
Efficiency & Competitiveness Support Factor & Strategy Driver
สมมติฐานการวิจัย.
พระธาตุนาดูนศูนย์รวมจิตใจ น้ำดูนใสศักดิ์สิทธิ์ วิจิตรสวนวลัยรุกขเวช
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
บทที่ 3.
การใช้งานฐานข้อมูล SpringerLink
ใบสำเนางานนำเสนอ:

วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพห้องสมุดสีเขียว ศูนย์วิทยบริการ วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ เจษฎา ชื่นเชาว์ไว วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนทำให้ทุกองค์กรจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงาน โครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ให้สามารถเข้าได้กับสภาพแวดล้อม ส่งผลให้เกิดแนวคิดสีเขียว (Green Concept) ซึ่งเป็นการประยุกต์การดำเนินงานในกิจกรรมต่าง ๆ ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ห้องสมุด เป็นองค์กรหนึ่งที่ได้รับผลกระทบและมีส่วนก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนเช่นกัน จึงมีการนำแนวคิดสีเขียวมาประยุกต์ใช้ ให้เกิดห้องสมุดสีเขียว (Green Library) ดังนั้นศูนย์วิทยบริการ วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ จึงมีนโยบายพัฒนาห้องสมุดให้เป็นห้องสมุดสีเขียว หรือ Green Library เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิด สีเขียวและนโยบายการบริหารจัดการด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของวิทยาลัย จึงทำให้ผู้วิจัยเห็นความจำเป็นที่จะต้องศึกษาพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพห้องสมุดสีเขียว วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ ว่าควรมีองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ใดบ้าง ที่จะนำมาเป็นมาตรฐานตัวบ่งชี้คุณภาพห้องสมุดสีเขียวสำหรับศูนย์วิทยบริการ เพื่อที่จะได้ทราบถึงลักษณะแนวทางการพัฒนาห้องสมุดสีเขียวที่ศูนย์วิทยบริการ ได้นำมาใช้ อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงานในการพัฒนาห้องสมุดสีเขียวของวิทยาลัยให้บรรลุ ตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ตามมาตรฐานสากล

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1 เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพห้องสมุดสีเขียว ศูนย์วิทยบริการ วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ 2 เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้คุณภาพห้องสมุดสีเขียว วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ 3 เพื่อจัดทำคู่มือประเมินคุณภาพห้องสมุดสีเขียว ศูนย์วิทยบริการ วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่

วิธีดำเนินการวิจัย ขั้นที่ 1 จัดทำแบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ นำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ จับประเด็น พัฒนาเป็นตัวบ่งชี้ได้จำนวน 67 ตัวบ่งชี้ นำตัวบ่งชี้ทั้ง 67 ตัวบ่งชี้ จัดทำเป็นแบบสอบถามในรอบที่ 2 เพื่อให้เชี่ยวชาญ แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม นำมาหาค่าทางสถิติที่เป็นการวัดค่าแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางโดยหาค่ามัธยฐาน ค่าผลต่างระหว่างมัธยฐานและฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ได้ตัวบ่งชี้ทั้งสิ้น 52 ตัวบ่งชี้ นำตัวบ่งชี้ได้รับในรอบที่ 2 มาจัดทำเป็นแบบสอบถามเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้ ทำการพิจารณาเปรียบเทียบความคิดเห็นของตนกับกลุ่มและทำการตัดสินใจ ว่าจะเปลี่ยนคำตอบหรือคงคำตอบเดิม เมื่อผู้เชี่ยวชาญได้ทำการพิจารณาตัวบ่งชี้ในรอบที่ 3 ตามเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว ผู้วิจัยได้นำตัวบ่งชี้ที่เป็นไปตามเกณฑ์พร้อมกับตัวบ่งชี้เพิ่มเติมตาม ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ มาพัฒนาเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพห้องสมุดสีเขียว วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 40 ตัวบ่งชี้ ซึ่งผู้วิจัย จะได้นำไปจัดทำเป็นแบบสอบถามเพื่อการยืนยันตัวบ่งชี้และตรวจสอบ ความตรงเชิงโครงสร้างของคุณภาพห้องสมุดสีเขียว วิทยาลัยเทคโนโลยี พณิชยการเชียงใหม่ จากผู้เกี่ยวข้องต่อไป การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพห้องสมุดสีเขียว วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ โดยใช้เดลฟายเทคนิค ขั้นที่ 1

การยืนยันตัวบ่งชี้และตรวจสอบเชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้ วิธีดำเนินการวิจัย เมื่อผู้วิจัยได้ตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการห้องสมุดสีเขียว วิทยาลัย เทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ จำนวน 40 ตัวบ่งชี้ จากการใช้ เดลฟายเทคนิคแล้ว ผู้วิจัยจึงนำตัวบ่งชี้ดังกล่าวที่ได้จัดทำเป็น แบบสอบถามเพื่อเป็นการยืนยันตัวบ่งชี้และตรวจสอบความตรง เชิงโครงสร้างจากผู้เกี่ยวข้องต่อไป เมื่อได้ตัวบ่งชี้จากการยืนยันของผู้เกี่ยวข้องแล้วผู้วิจัยได้ทำการ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรมลิสเรลเพื่อตรวจสอบ ความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดล โดยพิจารณาความกลมกลืนกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยค่าสถิติไค-สแควร์ (Chi-Square Statistics) การยืนยันตัวบ่งชี้และตรวจสอบเชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้ จากผู้เกี่ยวข้อง ขั้นที่ 2

วิธีดำเนินการวิจัย ขั้นที่ 3 เมื่อผู้วิจัยได้ตัวบ่งชี้คุณภาพห้องสมุดสีเขียว วิทยาลัยเทคโนโลยี พณิชยการเชียงใหม่แล้วผู้วิจัยจึงจัดทำคู่มือประเมินคุณภาพ ห้องสมุดสีเขียว วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ โดยมี ส่วนประกอบของคู่มือ 2 ส่วนได้แก่ ส่วนที่ 1 นิยามองค์ประกอบ คุณภาพห้องสมุดสีเขียว วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ และส่วนที่ 2 รายการตัวบ่งชี้และแหล่งข้อมูลเพื่อการวัดตัวบ่งชี้ จากนั้นผู้วิจัยได้นำตัวบ่งชี้ไปทดลองใช้ประเมิน แล้วทำการสรุปผล การประเมินคุณภาพห้องสมุดสีเขียว วิทยาลัยเทคโนโลยี พณิชยการเชียงใหม่ จัดทำคู่มือการประเมินคุณภาพห้องสมุดสีเขียว และนำไปทดลองใช้ประเมิน สรุปผลการประเมิน ขั้นที่ 3

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในขั้นตอนการรวบรวมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญโดยใช้เดลฟายเทคนิค เป็นผู้เชี่ยวชาญผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษา และการบริหารห้องสมุด ประชากรที่ใช้ในขั้นตอนยืนยันตัวบ่งชี้และตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง มี 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 นักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ และกลุ่มที่ 2 บุคลากรในวิทยาลัย เทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ ประชากร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในขั้นตอนการรวบรวมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญโดยใช้เดลฟายเทคนิค ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 10 ราย โดยกำหนดคุณสมบัติว่าต้องเป็น ผู้เชี่ยวชาญ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษา และการบริหารห้องสมุด ที่มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโท ในสาขาการบริหารการศึกษา หรือสาขาบรรณารักษศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในขั้นตอนยืนยันตัวบ่งชี้และตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง มี 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 นักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ จำนวน 495 คน ใช้วิธีการสุ่มของยามาเน่ ที่ความเชื่อมั่น 95% ได้จำนวน 222 คน และกลุ่มที่ 2 บุคลากรในวิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ จำนวน 64 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่าง

สรุปผลการวิจัย ขั้นที่ 1 การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพห้องสมุดสีเขียว วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ โดยใช้เดลฟายเทคนิค ผลการพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพห้องสมุดสีเขียว วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ จากการใช้วิธีเดลฟายเทคนิคและการยืนยันตัวบ่งชี้ด้วยผู้ปฏิบัติได้ตัวบ่งชี้คุณภาพห้องสมุดสีเขียว 7 ด้าน 40 ตัวบ่งชี้ดังนี้ ด้านที่ 1 โครงสร้างพื้นฐานทางด้านกายภาพและเทคโนโลยี มีจำนวน 5 ตัวบ่งชี้ ด้านที่ 2 การจัดการทรัพยากรและพลังงาน มีจำนวน 9 ตัวบ่งชี้ ด้านที่ 3 การจัดการของเสียและมลพิษ มีจำนวน 3 ตัวบ่งชี้ ด้านที่ 4 การบริหารจัดการและการให้บริการห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อม มีจำนวน 6 ตัวบ่งชี้ ด้านที่ 5 บทบาทของบุคลากรห้องสมุดและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีจำนวน 3 ตัวบ่งชี้ ด้านที่ 6 เครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุด มีจำนวน 1 ตัวบ่งชี้ และ ด้านที่ 7 การประเมินคุณภาพห้องสมุดสีเขียวมีจำนวน 1 ตัวบ่งชี้

การยืนยันตัวบ่งชี้และตรวจสอบเชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้ จากผู้เกี่ยวข้อง สรุปผลการวิจัย ขั้นที่ 2 การยืนยันตัวบ่งชี้และตรวจสอบเชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้ จากผู้เกี่ยวข้อง ผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของการพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพห้องสมุดสีเขียว ศูนย์วิทยบริการ วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ ด้วยโปรแกรมลิสเรล พบว่า มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูล เชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าไคสแควร์ (chi – square) เท่ากับ 119.14 ซึ่งค่าไคสแควร์ไม่แตกต่างจากศูนย์ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 สำหรับค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวบ่งชี้ในแต่ละองค์ประกอบจำนวน 40 ตัวบ่งชี้ ซึ่งมีค่าระหว่าง 0.23 – 0.84 ปรากฏว่าค่าน้ำหนักทุกตัวบ่งชี้มีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และค่าน้ำหนักองค์ประกอบทั้ง 7 ด้าน มีค่าระหว่าง 0.98 – 1.07 ปรากฏว่าค่าน้ำหนักองค์ประกอบทุกองค์ประกอบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 แสดงว่าองค์ประกอบทั้ง 7 ด้านเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญของคุณภาพการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ของศูนย์วิทยบริการ วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่

สรุปผลการวิจัย ขั้นที่ 3 การจัดทำคู่มือการประเมินคุณภาพห้องสมุดสีเขียว และนำไปทดลองใช้ประเมิน สรุปผลการประเมิน ผลการจัดทำคู่มือประเมินคุณภาพห้องสมุดมีเขียว ศูนย์วิทยบริการ วิทยาลัยเทคโนโลยี พณิชยการเชียงใหม่ และนำ ตัวบ่งชี้คุณภาพห้องสมุดสีเขียวไปใช้ในการประเมินตนเองของ ศูนย์วิทยบริการ วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ พบว่า ตัวบ่งชี้ดังกล่าวมีความสามารถใช้ในการประเมินคุณภาพการจัดการได้โดยทางศูนย์วิทยบริการ นำเอกสาร หลักฐาน และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้กำหนดไว้ในคู่มือมาใช้ในการประเมินได้ครบทุกตัวบ่งชี้และตรงตามวัตถุประสงค์ของการประเมินตนเองด้านคุณภาพห้องสมุดสีเขียว ซึ่งผลการประเมินได้ค่าระดับคุณภาพในระดับ ปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.38)

ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป การวิจัยครั้งนี้ พบว่าองค์ประกอบทั้ง 7 องค์ประกอบมีความสำคัญใกล้เคียงกัน ดังนั้นเมื่อต้องการพัฒนาคุณภาพห้องสมุดสีเขียว จึงควรพิจารณาคุณภาพขององค์ประกอบทุก ๆ ด้านไปพร้อม ๆ กัน จึงมีความเหมาะสมกว่าพัฒนาเพียงองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่ง ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป ควรทำการศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดล โดยตรวจสอบความตรงของตัวบ่งชี้จากตัวอย่าง หลายกลุ่ม เพื่อให้ได้ตัวบ่งชี้ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ตัวบ่งชี้ที่ได้เป็นการชี้วัดการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ศูนย์วิทยบริการ วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ ซึ่งยังไม่ครอบคลุมถึงด้านผลสะท้อนกลับในการพัฒนาด้านอื่น หรือผลตอบแทนที่ได้จากการพัฒนา ดังนั้นควรมีการศึกษาวิจัยถึงความพึงพอใจ อุปสรรค และปัญหา ในการพัฒนาห้องสมุดสีเขียวต่อไป