ยิ้มก่อนเรียน
ระบบเวลา
โลกของเราหมุนรอบตัวเองและหมุนรอบดวงอาทิตย์อยู่ตลอดเวลา ทำให้พื้นผิวโลกได้รับแสงอาทิตย์ไม่พร้อมกัน มีเวลาเช้า เที่ยง เย็น ต่างกัน ดังนั้น ตำบลต่างๆบนพื้นผิวโลกต่างก็มีเวลาท้องถิ่นของตน การศึกษาเกี่ยวกับเวลาบนพื้นโลกจำเป็นต้องศึกษาความรู้เกี่ยวกับลองจิจูดเนื่องจากระบบเวลาบนพื้นโลกนั้นมีความสัมพันธ์กับลองจิจูด
1. ความสัมพันธ์ระหว่างลองจิจูดกับเวลา 1. ความสัมพันธ์ระหว่างลองจิจูดกับเวลา โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ หรือ 360 องศา ใช้เวลา 24 ชั่วโมง แนวทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ที่ปรากฏบนพื้นโลกจะผ่านเส้นเมริเดียนต่างๆบนพื้นโลก 360 องศาลองจิจูด กล่าวคือ เวลา 1 ชั่วโมง ตำแหน่งของดวงอาทิตย์จะเคลื่อนจากเส้นเมริเดียนไป 15 องศาลองงจิจูดโดยลองจิจูดที่อยู่ทางด้านตะวันออกจะมีเวลาเร็วกว่าลองจิจูดด้านตะวันตก
ใน 1 วัน มี 24 ชั่วโมง : โลกหมุนรอบตัวเองได้ =360 องศา ความสัมพันธ์ระหว่างลองจิจูดกับเวลาสรุปได้ดังนี้ ใน 1 วัน มี 24 ชั่วโมง : โลกหมุนรอบตัวเองได้ =360 องศา ในช่วงเวลา 1 ชั่วโมง : โลกหมุนได้ = 360 x 1 หาร 24 องศา ดังนั้นในช่วงเวลา 1 ชั่วโมง : โลกหมุนไปได้ = 15 องศา หรือในทุกๆ 15 องศา : เวลาจะต่างกัน = 1 ชั่วโมง
2. เวลาปานกลางกรีนิช (greenwich Mean Time – GMT) เวลาปานกลางกรีนิช เรียกอีกอย่างว่า “เวลาสากล” เป็นเวลาท้องถิ่นของตำบลกรีนิช กรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร ที่กำหนดให้เส้นเมริเดียนที่ 0 องศา ลากผ่านและให้ประเทศต่างๆที่อยู่ด้านตะวันออกและตะวันตกของตำบลนี้ใช้อ้างอิงเพื่อกำหนดเป็นเวลามาตรฐานสำหรับใช้ในประเทศของตน
เวลาปานกลางกรีนิช
นาฬิกาโครโนมิเตอร์ คือ นาฬิกาที่ตั้งตามเวลากรีนิชเพื่อใช้ในการจับเวลาในการตรวจวัตถุท้องฟ้าทางดาราศาสตร์และใช้ในการเดินเรือเป็นนาฬิกาที่รักษาเวลาได้อย่างถูกต้องและเที่ยงตรงมากที่สุด
3. เส้นวันที่สากล (international date line) เส้นวันที่สากล คือ เส้นสมมุติที่ลากแบ่งโลกออกเป็น 2 ซีก คือซีกโลกตะวันออกและซีกโลกตะวันตกโดยลากทับเส้นเมริเดียนของลองจิจูดที่ 180 องศา เป็นแนวแบ่งและเส้นนี้จะไม่ลากผ่านแผ่นดินเลย นานาชาติกำหนดให้เส้นนี้เป็นเส้นแบ่งวัน ซึ่งใช้เป็นเขตกำหนดการเปลี่ยนวันเมื่อเดินทางข้ามเส้นนี้
เส้นวันที่สากล
4. เวลาท้องถิ่นและเวลามาตรฐาน 4.1 เวลาท้องถิ่น (local time) เวลาท้องถิ่น หมายถึง เวลาที่กำหนดขึ้นในท้องถิ่นถือตามลองจิจูดที่เป็นศูนย์กลางของท้องถิ่น สำหรับประเทศไทยใช้เวลามาตรฐานแทนเวลาท้องถิ่นซึ่งเร็วกว่าที่กรีนิช 7 ชั่วโมง
4.2 เวลามาตรฐาน (standard time) เวลามาตรฐาน คือเวลาที่กำหนดขึ้นใช้ในเขตเวลาโดยมีช่วงห่างของลองจิจูดช่วงละ 15 องศา ในท้องถิ่นที่อยู่ในเขตเวลาเดียวกันให้มีเวลามาตรฐานเดียวกัน
ตัวอย่างตารางเปรียบเทียบเวลาประเทศในทวีปต่างๆกับประเทศไทย ประเทศที่เวลาเร็วกว่าประเทศไทย ทวีปเอเชีย ประเทศมาเลเซีย เร็วกว่า 1 ชั่วโมง ไต้หวัน เร็วกว่า 1 ชั่วโมง ประเทศฟิลิปปินส์ เ เร็วกว่า 1 ชั่วโมง ออสเตรเลียและโอเชียเนีย ประเทศออสเตรเลีย แคนเบอร์รา เร็วกว่า 3 ชั่วโมง เพิร์ท เร็วกว่า 1 ชั่วโมง นิวซีแลนด์ เร็วกว่า 5 ชั่วโมง
ประเทศที่เวลาช้ากว่าประเทศไทย ทวีปเอเชีย ประเทศอินเดีย เวลาช้ากว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง 30 นาที ประเทศพม่า เวลาช้ากว่าประเทศไทย 30 นาที ประเทศศรีลังกา เวลาช้ากว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง 30 นาที ทวีปยุโรป ประเทศอังกฤษ 7 ชั่วโมง ประเทศฝรั่งเศส 6 ชั่วโมง ทวีปแอฟริกา ประเทศไนจีเรีย 7 ชั่วโมง ประเทศโมร็อกโก 7 ชั่วโมง
ทวีปอเมริกาเหนือ ประเทศสหรัฐอเมริกา วอชิงตัน ดี. ซี ทวีปอเมริกาเหนือ ประเทศสหรัฐอเมริกา วอชิงตัน ดี.ซี. 12 ชั่วโมง ลอสแอนเจลิส 15 ชั่วโมง ประเทศคิวบา 12 ชั่วโมง ทวีปอเมริกาใต้ ประเทศบราซิล 10 ชั่วโมง ประเทศชิลี 11 ชั่วโมง