งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

World Time อาจารย์สอง Satit UP

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "World Time อาจารย์สอง Satit UP"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 World Time อาจารย์สอง Satit UP

2 TIME & Longitude

3 GMT UTC

4 GMT Greenwich Mean Time เวลามาตรฐานกรีนิช

5 U.K. ( England ) LONDON กรีนิช ( Greenwich )

6 ตำบล(เขต)กรีนิช ของ ลอนดอน ( London )
GMT Greenwich Mean Time ตำบล(เขต)กรีนิช ของ ลอนดอน ( London )

7 GMT Greenwich Mean Time กรีนิช

8 กรีนิซ : Greenwich Greenwich เป็นเมืองเล็กๆอยู่ตรงฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของลอนดอน เป็นเมืองที่มีชื่อเสียง เทคโนโลยีเรื่อง “ การเดินเรือ "เริ่มต้นที่นี่เมื่อในอดีตเพราะเป็นเมืองท่า กองทัพเรืองของอังกฤษถือได้ว่าเป็นที่ 1 ของโลก ในยุคสมัยนั้น ทั้ง เรื่องการเดินเรือ การลำเลียงต่างๆ การเดินทางสมัยก่อนต้องอาศัยการดูดาว เทคโนโลยี “ การดูดาว " ก็ได้ถูกพัฒนาขึ้น ณ เกิดขึ้นที่นี่ และเป็นสถานที่ดูดาวมีกล้องส่องดูดาวขนาดใหญ่เป็นอันดับแรกๆของโลก นอกจากดูดาวแล้วยังมีเรื่องการ “ ทำแผนที่เดินทาง " การเดินทางสำรวจรอบโลกในการหาอาณานิคมใหม่ๆ และดูแลดินแดนอาณานิคมของอังกฤษรอบโลกในเวลานั้น และด้วยเหตุข้างต้นดังกล่าว เมื่อมีการเดินทางก็มีการจัดทำเทคโนโลยีด้าน "เวลาและนาฬิกา" ขึ้นมา ทำให้เมืองนี้จึงเป็นที่รู้จัก “ Greenwich “

9 เวลามาตรฐานกรีนิช (Greenwich Mean Time )
GMT เวลามาตรฐานกรีนิช (Greenwich Mean Time ) เวลามาตรฐานกรีนิช (Greenwich Mean Time : GMT) แต่เดิมเป็นคำใช้เรียกเวลาสุริยคติมัชฌิมที่หอสังเกตการณ์หลวง เมืองกรีนิช สหราชอาณาจักร ปัจจุบันคำนี้มักใช้เพื่อหมายถึงเวลาสากลเชิงพิกัด (UTC)

10 GMT Greenwich Mean Time GMT คือเวลามาตรฐานที่ใช้ในการบอกเวลาทั่วโลก ยึดเส้นลองติจูดที่ 0 องศา ณ กรีนีซ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นจุดเทียบเวลา

11 เวลามาตรฐาน ณ GMT ( W ) ( E )

12 สามารถเขียนได้เหลายแบบ
เวลามาตรฐานอ้างอิง ณ GMT สามารถเขียนได้เหลายแบบ ( W ) ( E ) GMT+7 หมายถึง มีเวลาเร็วกว่าเวลามาตรฐานที่อ้างอิง ณ เส้น เมอริเดียนที่ 0˚ (กรีนีช, ลอนดอน, อังกฤษ) 7 ชั่วโมง GMT+0700 หมายถึง UTC+7 หมายถึง มีเวลาเร็วกว่าเวลามาตรฐานที่อ้างอิง ณ เส้นเมอริเดียนที่ 0˚(กรีนีช, ลอนดอน, อังกฤษ) 6 ชั่วโมง 30 นาที GMT+0630 หมายถึง มีเวลาช้ากว่าเวลามาตรฐานที่อ้างอิง ณ เส้นเมอริเดียนที่ 0˚(กรีนีช, ลอนดอน, อังกฤษ) 5 ชั่วโมง GMT-5 หมายถึง

13 Universal Time Co-ordinated หรือ Co-ordinated Universal Time
UTC Universal Time Co-ordinated หรือ Co-ordinated Universal Time UTC คือหน่วยที่ใช้บ่งบอกเขตเวลา โดยจะแบ่งตามแนวตั้ง(เส้นลองติจูด) "โดยยึดหลักเวลา GMT เป็นหลัก"

14 สรุป UTC : Coordinated Universal Time
UTC คือหน่วยที่ใช้บ่งบอกเขตเวลา โดยจะแบ่งตามแนวตั้ง(เส้นลองติจูด) "โดยยึดหลักเวลา GMT เป็นหลัก" บางทีก็เรียกว่า Zulu Time ( คือระบบเวลามาตรฐานที่ในการบินทั่วโลก) วัดโดย นาฬิกาอะตอม ( Atomic clock ) เวลาสากล ( Universal Time ) เวลาสากลเชิงพิกัด เวลาสากลเชิงพิกัด ( Coordinated Universal Time : UTC) คือ หน่วยเวลาที่ใช้ในการอ้างอิงการหมุนของโลก โดยใช้เครื่องหมาย บวก (+) หรือ ลบ (-) เทียบจากหน่วย เวลาสากล ซึ่งเป็นระบบอ้างอิงจาก เวลามาตรฐานกรีนิช (GMT) จุดอ้างอิงของเวลาสากลเชิงพิกัดคือที่ลองจิจูด ที่ 0° ที่ตัดผ่าน Royal Greenwich Observatory ใน กรีนิช, ลอนดอน, สหราชอาณาจักร (และเป็นสาเหตุหลักที่เวลา GMT ยังคงมีใช้อยู่ในปัจจุบัน)

15 นาฬิกาอะตอม ( Atomic clock )
นาฬิกาอะตอม ( Atomic clock ) ถูกนำมาใช้ในการวัดเวลาของระบบ UTC ( UTC ใช้เวลาของนาฬิกาอะตอม ) เป็นนาฬิกาที่วัดได้อย่างเที่ยงตรงมาก เวลาของนาฬิกาอะตอมนี้มีความเที่ยงตรงมากที่สุด เพราะในหนึ่งล้านปี เวลาของนาฬิกาอะตอมจะมีความคลาดเคลื่อนเพียง 1 วินาที นาฬิกาอะตอม (Atomic clock) เป็นนาฬิกาที่เดินด้วยการนับการสั่นของอะตอมซีเซียมเป็นตัวกำหนดเวลา (ช่วงเวลา ที่ Cesium-133 รับ และปลดปล่อยพลังงาน) โดย 1 วินาที จะเท่ากับ การสั่นของอะตอมซีเซียม -133จำนวน 9,192,631,770 รอบ

16 GMT / UTC UTC มีพื้นฐานมาจาก GMT แต่มีความเที่ยงตรง และมีความละเอียดมากกว่า ดังนั้นเมื่อนำ GMT มาเทียบกับ UTC ก็เทียบได้ สรุปโดยทั่วไปเวลา GMT เทียบได้กับ UTC GMT = UTC และปัจจุบันนี้การเรียกใช้หน่วยเวลาสากลมักนิยมใช้ UTC มากกว่าใช้ GMT ทั้งในทางพาณิชย์และในทางการบิน

17 Time Zone

18 TIME ZONE MAP

19 TIME ZONE Time Zone หมายถึง พื้นที่ที่มีเวลามาตรฐาน (Standard Time) เดียวกัน มักจะถูกหมายถึงเวลาท้องถิ่น (Local Time) แต่ละโซนจะมีระยะเวลาแตกต่างกันอยู่ 1 ชั่วโมง โดยใช้วิธีการแบ่งพื้นที่ ด้วยหลักการทางภูมิศาสตร์ (1 ชั่วโมง = 15 องศาลองติจูด) ซึ่งปกติแล้ว Time Zone ที่เราใช้กันจะมี 2 ความหมาย คือ 1. เขตพื้นที่ที่มีระยะห่างของเวลาท้องถิ่นและจุดอ้างอิง (Greenwich Mean Time, GMT) เป็นค่าคงที่เดียวกัน 2. เขตพื้นที่ที่มีระยะห่างของเวลาท้องถิ่นและจุดอ้างอิงเดียวกันเสมอ ถึงแม้ว่า การอ้างอิงจะมีการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล กล่าวคือมีเวลา Standard Time เดียวกันนั้นเอง

20 เขตเวลา : TIME ZONE ในปี ค.ศ (พ.ศ.2427) (มีการตกลงกันของประเทศที่เข้าร่วมประชุม International Meridian Conference จำนวน 25 ประเทศ ที่ Washington, D.C. กำหนดให้แบ่งพื้นที่มาตรฐานของโลก ออกเป็น 24 โซน โดยใช้เส้นที่ลากจากขั้วโลกเหนือ ไปยังขั้วโลกใต้เป็นเส้นแบ่ง โดยแต่ละโซนมีความกว้าง 15 องศา และให้จุดเริ่มต้นหลัก (Prime Meridian) เป็นเส้นเมอริเดียน หรือลองติจูดที่ผ่านเมือง Greenwich ประเทศอังกฤษ

21 เขตเวลา : TIME ZONE จากการกำหนดที่ประชุมที่ Washington D.C. ปี 1884 ดังกล่าว ทำให้เวลาในแต่ละวันทั่วโลก ถูกแบ่งเป็น 24 โซน (24 Standard Time Zone) ซึ่งในแต่ละ Time zone จะใช้เวลาเดียวกันทั้งหมด เรียกว่า “ Standard time "

22 แถบแนวตรงคือค่าที่ควรจะเป็น.....
....แต่ละเขตเวลามีรูปร่างไม่เป็นไปตามแนวเส้นตรงก็เพราะ การคำนึงถึงแนวเขตแดนรัฐ ประเทศ หรือเขตการปกครองอื่น ๆ ในทางการปกครอง

23 แผนที่แสดงเขตเวลา(Time zone)บนโลกที่ต่างกันแต่ละบริเวณ
แต่ละเขตเวลามีรูปร่างไม่แน่นอน เป็นเพราะการคำนึงถึงแนวเขตรัฐ ประเทศ หรือเขตการปกครองอื่น ๆ

24 แผนที่แสดงเขตเวลา(Time zone)บนโลกที่ต่างกันแต่ละบริเวณ
แต่ละเขตเวลามีรูปร่างไม่แน่นอน เป็นเพราะการคำนึงถึงแนวเขตรัฐ ประเทศ หรือเขตการปกครองอื่น ๆ

25 เขตเวลา ( Time Zone) ในอดีต เราใช้เวลาสุริยคติท้องถิ่น (สังเกตจากดวงอาทิตย์ที่ปรากฏบนท้องฟ้า) ทำให้เวลาแต่ละเมืองที่ติดกันแตกต่างกันเล็กน้อย เมื่อมีการพัฒนาระบบโทรคมนาคม และการขยายตัวของการขนส่งทางรถไฟ ความแตกต่างเริ่มกลายเป็นปัญหาทีละน้อย เขตเวลามีส่วนช่วยแก้ปัญหาโดยกำหนดให้ตั้งนาฬิกาให้ตรงกันตามเวลาสุริยคติกลางของเขต โดยทั่วไปเขตเวลาจะตั้งอยู่บนเส้นเมอริเดียนตามลองจิจูดต่างๆ ซึ่งจะมีช่วงห่างกัน 15 องศา ส่งผลให้เขตเวลาที่อยู่ติดกันมีเวลาต่างกันอยู่ 1 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติไม่ได้แบ่งเขตตามเวลาที่ต่างกัน 1 ชั่วโมง จากรูปด้านล่างจะเห็นได้ว่าแต่ละเขตเวลามีรูปร่างไม่แน่นอน เป็นเพราะการคำนึงถึงแนวเขตรัฐ ประเทศ หรือเขตการปกครองอื่น ๆ แต่ทุกๆ เขตเวลามีความสัมพันธ์กับเวลาพิกัดสากล จุดอ้างอิงของเขตเวลาคือเส้นเมริเดียนแรก (ลองจิจูด 0 องศา) ซึ่งพาดผ่าน Royal Greenwich Observatory ในกรีนิช (กรีนิช) กรุงลอนดอนแห่งสหราชอาณาจักร ด้วยเหตุนี้จึงมักพบการใช้คำว่า เวลามาตรฐานกรีนิช เพื่อแสดงเวลาพื้นฐานซึ่งมีความสัมพันธ์กับเขตเวลาต่าง ๆ อย่างไรก็ตามทุกวันนี้ใช้ UTC เป็นหน่วยเวลาอย่างเป็นทางการ

26 แผนที่แสดงเขตเวลา(Time zone)บนโลก 24 เขตเวลา ที่มีการตกลงกันในที่ประชุม International Meridian Conference ที่กรุง Washington D.C. เมื่อปี 1884 โดยได้กำหนดให้แบ่งเขตเวลาออกเป็น 24 เขต

27 GMT-12 <--------GMT-2, GMT-1 < - GMT 0 - > GMT+1, GMT+2 -------> GMT+12
24 เขตเวลา (Time Zone)

28 San Francisco ( California )
Maine San Francisco ( California ) กรณีประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีพื้นที่กว้างใหญ่ เป็นการยากที่จะใช้เวลาเดียวกันทั้งประเทศจากฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกถึงฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกดวงอาทิตย์ขึ้นที่ซานฟรานซิสโก (San Francisco) ทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกาช้ากว่าในรัฐเมน (Maine)ที่อยู่ทางตะวันออกของประเทศ ประมาณ 4 ชั่วโมง จึงแบ่งเขตเวลาออกเป็น 4 เขตหลัก ๆ

29 เขตเวลา Time Zone กรณีประเทศที่มีขนาดใหญ่มากอย่างรัสเซียได้กำหนดเขตเวลาในประเทศแบ่งออกเป็น ถึง 11 เขตเวลา (Time zone)

30 เวลามาตรฐาน (Standard Time)

31 เวลามาตรฐาน (Standard Time)
ความเป็นมา ความริเริ่มเกี่ยวกับเวลามาตรฐานประจำถิ่นเริ่มมาตั้งแต่ ศตวรรษที่ 19 เพื่อขจัดความสับสนเนื่องจากการจับเวลาตามแสงอาทิตย์ การกำหนดเวลามาตรฐานท้องถิ่นจึงจำเป็นมากขึ้นเมื่อมีการเดินรถไฟขึ้น ในปี พ.ศ ได้มีการใช้เวลามาตรฐานครั้งแรกในประเทศอังกฤษ โดยทั้งประเทศใช้เวลามาตรฐานที่เมืองกรีนีช (Greenwich) ต่อมา เซอร์ แซนฟอร์ด เฟรมมิง นักวางแผน และวิศวกรรถไฟชาวแคนาดา ได้เป็นผู้ริเริ่มความคิดที่มีการใช้เวลามาตรฐานไปทั่วโลก

32 เวลามาตรฐาน ( Standard Time )
ถ้าทุกแห่งใช้เวลาท้องถิ่น จะเกิดความสับสนสำหรับผู้ที่ท่องเที่ยวจากแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งและสำหรับกิจการอื่นๆ อีกหลายอย่าง รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับการส่งรับวิทยุโทรทัศน์และการสื่อสาร          ประเทศอังกฤษทั้งประเทศใช้เวลาของเมริเดียนกรีนิช ประเทศฝรั่งเศสแต่ก่อนเคยใช้เวลาของเมริ-เดียนปารีส แต่ได้เปลี่ยนมาใช้เวลาของกรีนิชตั้งแต่พ.ศ (ค.ศ. 1911)

33 เวลามาตรฐาน ( Standard Time )
การใช้เวลามาตรฐาน (Standard Time) ของแต่ละประเทศ โดยเทียบกับเวลามาตรฐานโลก (Universal Time Co-ordinated หรือ UTC) นั้นใช้กฎเกณฑ์พื้นฐานที่ได้จากการประชุมนานาชาติ International Prime Meridian Conference ณ กรุงวอชิงตัน ดี ซี เมื่อ 1 พฤศจิกายน 1884 โดยมี 25 ประเทศเข้าร่วมประชุม ที่ประชุมได้มีข้อตกลงให้ แบ่งโลกตามแนวเส้นแวงออกเป็น 24 โซนเท่าๆ กัน แต่ละโซนมีค่า 15 องศา ทั้งในทางทิศตะวันตกและตะวันออก และมีค่าเท่ากับ 1 ชั่วโมงห่างจากโซนที่ติดกัน และเส้น 0 องศาจะผ่านที่เมืองกรีนีช (Greenwich) ประเทศอังกฤษ โดยมีเส้นแบ่งวัน (International Date Line) อยู่ที่ 180 องศา ทั้งนี้ประเทศต่างๆ ได้รับเอาแนวคิดนี้ โดยใช้เส้นแวงที่แบ่งโลกออกเป็นสองส่วนเป็นตัวกำหนดเวลาว่า เวลามาตรฐานประจำถิ่น เร็วกว่าหรือช้ากว่าเวลามาตรฐานโลก ที่เมืองกรีนีช ประเทศอังกฤษ เท่าไร แต่อย่างไรก็ดีก็มีการกำหนดเวลาท้องถิ่น และเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของประเทศต่างๆ ทั้งนี้สิทธิการกำหนดเวลามาตรฐานประจำถิ่นยังเป็นของประเทศนั้นๆ

34 เวลามาตรฐาน (Standard Time)
สำหรับประเทศไทยนั้นกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ เป็นผู้ควบคุมเวลามาตรฐานของประเทศไทย และการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเวลาให้เที่ยงตรงในแต่ละปีก็จะมีการประสานงาน กับสถาบันนานาชาติเกี่ยวกับน้ำหนักและการวัด (International Bureau of Weighs and Measurement หรือ BIPM) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบัน ประเทศไทยได้กำหนดเวลามาตรฐานของประเทศเป็น UTC + 7 (เร็วกว่าเวลามาตรฐานโลก 7 ชั่วโมง)

35 เวลามาตรฐานของประเทศ ปัจจุบัน ประเทศไทยได้กำหนดเวลามาตรฐานของประเทศเป็น UTC + 7 หรือ GMT+7 (เร็วกว่าเวลามาตรฐานโลก 7 ชั่วโมง) โดยใช้เส้นลองจิจูดที่ 105˚E ซึ่งลากผ่านจังหวัดอุบลราชธานีของไทยเป็นเส้นอ้างอิงเวลาเทียบกับเวลาที่กรีนีช ซึ่งจะทำให้มีเวลาเร็วกว่าเวลามาตรฐานที่กรีนิช 7 ชั่วโมงพอดี Longitude 105˚E

36 เวลามาตรฐานของประเทศ ปี พ. ศ. 2400 (ค. ศ
เวลามาตรฐานของประเทศ ปี พ.ศ (ค.ศ. 1857) - ประเทศไทยมีเวลามาตรฐานเป็นของตัวเอง คือ เวลามาตรฐานกรุงเทพปานกลาง หรือที่เรียกว่า Bangkok mean time ซึ่งเป็นเวลาที่เร็วกว่าที่กรีนิช 6 ชั่วโมง 42 นาที ปี พ.ศ (ค.ศ. 1919) - ได้มีการประชุมสภาสากลอุทกนิยม ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เพื่อแบ่งภาคเวลา โดยกำหนดให้ตำบลกรีนิช เป็นจุดแรกของการกำเนิดเวลา ประเทศไทยจึงได้มีการกำหนดเวลามาตรฐานใหม่ จากเส้นแวงที่ 100 องศาตะวันออก ซึ่งพาดผ่านพระบรมมหาราชวัง มาเป็นเส้นแวงที่ 105 องศาตะวันออก 1 เม.ย. 2463(ค.ศ. 1920) - พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงออกพระราชกฤษฎีกาให้ใช้อัตราเวลาทั่วราชอาณาจักรไทย เป็น 7 ชั่วโมงก่อนเวลาที่ตำบลกรีนิช กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ Longitude 100˚E Longitude 105˚E

37 การเปลี่ยนแปลงเวลามาตรฐาน (Standard Time)
เนื่องจากการกำหนดเวลามาตรฐานของแต่ละประเทศนั้น เป็นสิทธิของแต่ประเทศ การเปลี่ยนแปลงส่วนมากก็จะมีสาเหตุหลายอย่างแต่โดยทั่วไปแล้วมักเป็นเหตุผลทางด้านพาณิชย์เป็นส่วนใหญ่

38 การเปลี่ยนแปลงเวลามาตรฐาน (Standard Time)
Russia Venezuela เมื่อ 9 ธ.ค เวเนซูเอลาได้เริ่มปรับเปลี่ยนเวลาช้าลงจากเดิมครึ่งชั่วโมง โดยประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซ อ้างเพื่อช่วยให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เด็กนักเรียนกระฉับกระเฉงความจำดีเพราะได้ตื่นแต่เช้า แต่ประชาชนไม่เห็นด้วยเพราะเห็นว่าไม่เกิดประโยชน์ใดๆ Jordan ได้เปลี่ยนเวลามาตรฐานของตนจาก UTC+2 ชั่วโมงมาเป็น UTC+3 ชั่วโมง เร็วกว่าเดิม 1 ชั่วโมง ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 1999 Nepal ที่เปลี่ยนจาก UTC+5.40 มาเป็น UTC เร็วขึ้นจากเดิม 5 นาที

39 เวลาท้องถิ่น หรือ เวลาตำบล ( Local Time / Local Mean Time )

40 เวลาท้องถิ่น ( Local Time )
         เวลาท้องถิ่นที่บริเวณใด เป็นเวลาซึ่งดวงอาทิตย์ชี้บอกที่เมอริเดียนนั้น  เวลาชนิดนี้จึงแตกต่างกันตามลองจิจูดที่ต่างกัน บนผิวโลก ต่างกัน 1 ชั่วโมงเท่ากับ    ลองจิจูดต่างกัน 15 องศา หรือ 4 นาทีสำหรับทุกๆ 1 องศาลองจิจูด ความต่างระหว่างเวลาท้องถิ่นกับเวลาที่ลองจิจูด 0 องศา ซึ่งผ่านกรีนิชขณะเดียวกันเท่ากับความต่างของลองจิจูดที่ท้องถิ่นกับกรีนิช

41 เวลาท้องถิ่น ( Local Time )
       เวลาท้องถิ่น หรือ เวลาตำบล (Local Mean Time) คือ เวลาจริง ณ ตำบล หรือ ท้องถิ่นที่ตั้งของเมือง ที่อาจมีผลต่างจากเวลานาฬิกามาตรฐานที่กำหนดไว้กับนานาประเทศ หรือ เวลานาฬิกาของประเทศนั้น ๆ จะยกตัวอย่างให้เห็นง่าย ๆ ประเทศไทยของเรานั้น ตั้งเวลามาตรฐานนาฬิกาสากล หรือ เวลาที่ใช้ตรงกันทั่วประเทศไว้ที่เส้น 105 องศา ตะวันออก ซึ่งเป็นเส้นแวง ที่ลากผ่านตำบลหนึ่ง ในจังหวัดอุบลราชธานี อันเป็นจังหวัดที่อยู่ทางภาคอีสานของประเทศไทย        

42 เวลาท้องถิ่น ( Local Time )
เมื่อเวลานาฬิกาที่เราใช้ บอกเวลา น. หรือ เที่ยงวันตรง นั่นหมายความว่า เวลาดังกล่าวนี้ เป็นเวลาเที่ยงวันตรงจริง ๆ ของ ตำบลดังกล่าวในจังหวัดอุบลราชธานี เท่านั้น แต่เมื่อท่านอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานี หรือ เส้นมาตรฐานเวลา หลายร้อยกิโลเมตร มาทางทิศตะวันตก เราจะเหมาเอาว่า เวลาเที่ยงตรงของนาฬิกาที่จังหวัดอุบลราชธานีนั้น เป็นเวลาเที่ยงตรงจริง ๆ ของกรุงเทพฯ ซึ่งหากคิดเช่นนั้น ถ้าจะให้เป็น เวลาเที่ยงตรงจริง ๆ ของกรุงเทพ ฯ ก็ต้องให้เป็นเวลานาฬิกา น. (เพราะตั้งอยู่ที่เส้นแวงที่ 100 องศาตะวันออก) เพราะซีกโลกตะวันออก เมืองหรือประเทศที่อยู่ทางด้านขวามือในแผนที่ ย่อมเห็นพระอาทิตย์ขึ้นก่อน              

43 เวลาท้องถิ่น ( Local Time )
             ที่เราทราบว่า เวลา น. เป็นเวลาเที่ยงตรงจริง หรือ เวลาท้องถิ่น ของกรุงทพฯ ที่ต่างจากเวลาท้องถิ่นของอุบลราชธานี ถึง 18 นาที นั้น เพราะเราทราบว่า กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ที่ เส้นลองติจูด องศา ตะวันออก ต่างจากเส้นเวลามาตรฐานนาฬิกาของประเทศไทย ที่ 105 องศาตะวันออก ถึง 4 องศา ครึ่ง เมื่อเราทราบดังนี้แล้ว เราก็เอา 4 องศาครึ่งนี้ แปลงให้เป็น นาที องศา นั้น เท่ากับ 4 นาที ดังนั้น 4 องศาครึ่ง จึงเท่ากับ 18 นาที

44 เวลาท้องถิ่น ( Local Time ) หากคำนวณ ตามละติจูดจริง
ห่างกัน 4.5 องศา ห่างกัน 8 องศา 12.32 น แม่ฮ่องสอน เวลาท้องถิ่น ( Local Time ) หากคำนวณ ตามละติจูดจริง Longitude 100˚.5 E 12.00 น อุบลราชธานี กรุงเทพฯ 12.18 น Longitude 97˚E Longitude 105˚E

45 Daylight Saving Time

46 Daylight Saving Time : DST
ในโซนยุโรป ใช้คำว่า “ Summer Time " มากกว่าคำว่า “ Daylight Saving Time ” การปรับเวลา Saving Time นี้มักจะใช้ในประเทศที่มีอยู่ในละติจูดมากกว่าแนว 23.5 เหนือ/ใต้ (Temperate Zone) แต่ก็ไม่ใช่ทุกประเทศที่อยู่ในแถบนี้จะประกาศใช้เวลา Daylight saving Time ทั้งหมด ตัวอย่างประเทศที่อยู่ในละติจูดสูงแต่ไม่ได้ใช้ Daylight saving Time เช่น จีน ญี่ปุ่น เป็นต้น

47 Daylight Saving Time หลายประเทศในเขตอบอุ่นหรือที่อยู่บริเวณเส้นรุ้ง(ละติจูด)สูง เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก ยุโรป ออสเตรเลีย อียิปต์ ได้กำหนดปรับเวลาในฤดูร้อนที่มีช่วงเวลาแสงอาทิตย์ยาวนาน(กลางวันยาวนาน)เป็นประจำทุกปี โดยเปลี่ยนเวลาให้เร็วขึ้น (ประมาณ 1 ชั่วโมงหรือมากว่านั้น) และจะปรับกลับมาเป็นปกติในฤดูหนาว

48 Daylight Saving Time : DST
Daylight Saving Time (DST) หรือ Summer Time เหตุผลของการปรับเวลานั้นมีหลายอย่าง โดยจุดประสงค์หลัก ของการปรับเวลา Daylight Saving Time นั่นก็คือ การใช้ประโยชน์ จากแสงดวงอาทิตย์ ให้มากที่สุด การประหยัดพลังงานในช่วงค่ำ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ เวลาพระอาทิตย์ตกดิน และเวลาการเข้านอนของคนโดยทั่วไป เหตุผลอื่น ๆ ทางเศรษฐกิจและพาณิชย์ เช่น เม็กซิโกใช้เวลา DST ตามสหรัฐอเมริกาเพราะเหตุผลทางเศรษฐกิจ เป็นต้น

49 Daylight Saving Time : DST
Daylight Saving Time (DST) หรือ Summer Time ช่วงเวลา DST จะมีระยะเวลากลางวันนานกว่าระยะเวลากลางคืน (สว่างเร็วกว่าปกติ และค่ำช้ากว่าปกติ) ซึ่งในทางทฤษฎีแล้ว คนเราจะตื่นเช้าตามพระอาทิตย์ขึ้น แต่จะใช้เวลาในการนอนใกล้เคียงเดิม ดังนั้น ฟ้าสว่างเร็วขึ้น คนก็จะตื่นเช้าขึ้น และเมื่อมีการเลื่อนเวลาให้เร็วขึ้น คนก็จะออกมาทำงานเร็วขึ้น การใช้ชีวิตในช่วงค่ำก็ยังไม่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้ามากนัก เพราะฟ้ายังสว่างอยู่ และเข้านอนเร็วขึ้น ทำให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าก็จะลดลง

50 Russia ประเทศในสหภาพยุโรป (EU) จะเริ่มปรับเวลาในเวลา 1 นาฬิกาของวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนมีนาคม และปรับคืน ในเวลา 1 นาฬิกา ของวันอาทิตย์ สุดท้าย ของเดือนตุลาคม การใช้ Daylight Saving Time ในสหรัฐฯ กินเวลาทั้งสิ้นเกือบ 7 เดือน คือเริ่มตั้งแต่ 2 นาฬิกาของวันอาทิตย์แรก ของเดือนเมษายน จนกระทั่งถึง 2 นาฬิกาของ วันอาทิตย์สุดท้าย ของเดือนตุลาคม โดยการปรับเวลาก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละเขตเวลา (Time zone) ในรัสเซีย ช่วงฤดูร้อน จะหมุนเวลาให้เร็วขึ้นกว่าเวลาปกติ 2 ชั่วโมง และในช่วงฤดูหนาว เวลาของเขตเวลาทั้ง 11 เขตของรัสเซียจะยังคงเร็วกว่าเวลาปกติอยู่ 1 ชั่วโมง

51 ปัจจุบันมีประเทศต่างๆ ทั่วโลกกว่า 70 ประเทศที่มีการปรับเวลา
Daylight Saving Time การปรับใช้เวลา Daylight Saving Time (DST) ปัจจุบันมีประเทศต่างๆ ทั่วโลกกว่า 70 ประเทศที่มีการปรับเวลา

52 สีฟ้า คือ ประเทศที่ใช้การปรับเวลาแบบ Daylight Saving Time

53 Daylight saving time : DST
เรียก : “ Summer Time “ หรือ “ เวลาออมแสง “ ความหมาย : การปรับเวลาให้เร็วหว่าเวลาปรกติในช่วงฤดูร้อน จุดประสงค์ : เพื่อใช้ประโยชน์จากแสงของดวงอาทิตย์ให้มากที่สุด ช่วยประหยัดพลังงานจากการลด การใช้ไฟฟ้าในการให้แสงสว่าง และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ และเหตุผลทางเศรษฐกิจ ประเทศที่ใช้ : ประเทศในแถบละติจูดสูง (ประเทศแถบเขตอบอุ่นและเขตหนาว) ปัจจุบันมากว่า ประเทศทั่วโลกที่ใช้ ผู้ริเริ่ม : เบนจามิน แฟรงกลิน นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันเป็นคนแรกที่เกิดความคิดเรื่องการปรับ เวลา ในปี 1907 นำมาใช้ครั้งแรก : ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เยอรมันนำ DST มาใช้ในปี 1916 ตามด้วยอังกฤษ (1916) และสหรัฐอเมริกา (1918) พอหมดสงคราม ก็ยกเลิกไป (ใช้อีกที ตอนสงครามโลกครั้งที่ 2)


ดาวน์โหลด ppt World Time อาจารย์สอง Satit UP

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google