หัวใจหยุดเต้น หยุดหายใจ ปั๊มหัวใจ ทำอย่างไร ?
หัวใจหยุดเต้น หยุดหายใจ ปั๊มหัวใจ ทำอย่างไร ? เราไม่สามารถรู้ได้ว่าคนที่เรารัก จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้หรือไม่ หากคุณช่วย คนป่วยมีโอกาสรอด หากลังเลที่จะช่วย 1 นาทีที่เสียไป โอกาสรอดลดลง 7% – 10% ช้าไป 5 นาที โอกาสรอดชีวิตเหลือเพียงครึ่งเดียว ไม่เป่าปาก ไม่เป็นไร ลงมือช่วยเลย...
ห่วงโซ่ในการรอดชีวิต มีอยู่ทั้งหมด 4 ขั้นตอนหลักๆ
ห่วงโซ่ในการรอดชีวิต Early recognition and call for help เข้าถึงผู้ป่วยให้เร็ว และ ขอความช่วยเหลือ เพื่อป้องกันหัวใจหยุดเต้น
ห่วงโซ่ในการรอดชีวิต Early CPR เร่งรีบปั๊มหัวใจ เพื่อ ซื้อเวลารอทีมช่วยเหลือ
ห่วงโซ่ในการรอดชีวิต Early defibrillation ช็อคหัวใจด้วยไฟฟ้า เพื่อให้หัวใจกลับมาทำงานอีกครั้ง
ห่วงโซ่ในการรอดชีวิต Post resuscitation care การดูแลคนไข้หลังปั๊มหัวใจ เพื่อให้ร่างกายกลับมาทำงานเช่นเดิม
ห่วงโซ่ในการรอดชีวิต ในกรณีบุคคลทั่วไปจะเน้นการช่วยเหลือใน 3 ขั้นตอนแรกเป็นหลัก เพราะขั้นตอนสุดท้ายต้องดูแลโดยบุคลากรทางการแพทย์ และ เครื่องมือในโรงพยาบาล
Early recognition and Call for help ประเมินเบื้องต้น 2 อย่าง ข้อ1 ปลุก หรือ เรียกให้รู้ตัว โดยการตบที่ไหล่ทั้งสองข้าง...แล้วไม่ตอบสนอง ข้อ2 สังเกตุเห็นมีการหายใจผิดปกติ หรือ ไม่หายใจ ** หากมีทั้งสองอย่าง โทรศัพท์ 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือ
ยินดีด้วย....คุณกำลังจะทำให้คนๆนึงรอดตาย ไปช่วยเหลือขั้นต่อไปกัน....
Early CPR ปั๊มหัวใจโดยการ กดตรงกลางหน้าอก ด้วยความเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที ด้วยความลึก 5-6 เซนติเมตร นั่งคุกเข่าข้างลำตัว แขนเหยียดตรง เราสามารถปั๊มหัวใจอย่างเดียวก็ได้ แต่หากคุณผ่านการอบรมทางการ แพทย์มา...สามารถช่วยหายใจในอัตรา 2 ครั้ง : 30 ครั้งของการปั๊มหัวใจ ขอให้ช่วยปั๊มหัวใจต่อไป จนกว่าทีมช่วยเหลือทางการแพทย์จะมาถึง
คุณอาจจะเหนื่อยล้ากับการกดหน้าอกมาก... แต่ถ้าเขาตื่นขึ้นมาได้..... คุณจะภูมิใจและจดจำเหตุการณ์นี้ไปชั่วชีวิต....
Early defibrillation ลองสังเกตได้ ตามสนามบิน หรือห้างขนาดใหญ่จะมีเครื่องช็อคหัวใจอยู่ อุปกรณ์เหล่านี้เรียกว่า AED (Automatic External Defibrillator) เป็นเครื่องช็อคหัวใจอัตโนมัติ ที่อัตโนมัติเพราะมันทำงานได้ง่ายมาก 3 ขั้นตอน คือ ติด ฟังคำแนะนำ และ กดช็อคหัวใจ
Early defibrillation เราจะไม่หยุดปั๊มหัวใจนะ จะหยุดเฉพาะช่วงเครื่องวิเคราะห์ ให้คำแนะนำ และกดช็อคหัวใจ หลังจากนั้นให้กลับมาปั๊มหัวใจเช่นเดิม ข้อควรระวัง ขณะกดช็อคหัวใจ จะมีไฟฟ้าแรงสูงวิ่งระหว่างไฟฟ้าทั้งสองเส้น ห้ามสัมผัสร่างกายหรืออุปกรณ์ใดๆบนตัวผู้ป่วยที่สามารถนำไฟฟ้าได้ เพื่อความ ปลอดภัย
การช็อคหัวใจด้วยไฟฟ้าเป็นการกระตุ้นให้... “หัวใจกลับมาทำงาน” อีกครั้ง..... ถ้าคุณทำได้ ยินดีด้วย.... คุณกำลังทำสิ่งที่ดีที่สุดแทนหมออยู่....
Post resuscitation care การดูแลหลังปั๊มหัวใจ เหลือไว้ให้เป็นหน้าที่ของทีมแพทย์ในโรงพยาบาล เพราะต้องใช้เครื่องมือ และ การดูแลใกล้ชิดใน ICU เพื่อทำให้ร่างกายกลับมาใช้งานได้ตามปกติ
สิ่งที่ว่ามาทั้งหมด เรียกเป็นศัพท์ทางการแพทย์สั้นๆว่า “CPR” เป็นการช่วยฟื้นคืนชีพให้กับคนที่หัวใจหยุดเต้น มีการวิจัยและปรับเปลี่ยนวิธีการและขั้นตอน แต่ยังคงหลักการเดิมเพื่อการรอดชีวิตที่มากที่สุด เพื่อให้บุคคลทั่วไปสามารถทำได้ง่าย ถ้าจะแบ่งเป็นสองขั้นตอนที่จำได้ง่ายคือ 1. รีบประเมินให้รู้ว่าหัวใจหยุดเต้น และ โทร 1669 2. ปั๊มหัวใจโดยการกดหน้าอกเพียงอย่างเดียว 100-120 ครั้งต่อนาที จะเห็นได้ว่าแนวทางใหม่นี้สามารถทำได้ง่าย และ ทำได้ทุกคน
ลองดูสถานการณ์ ตัวอย่างกัน... VDO https://www.youtube.com/watch?v=ZKpmQ1WvTIE https://www.youtube.com/watch?v=7-Qhuop2ckE