เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร บทที่ 7. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร
เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง การประยุกต์ วิทยาศาสตร์ เพื่อมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่นทางวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์) รู้เรื่องหลักการของ โมเมนต์ เมื่อวัตถุอยู่ในสมดุล โมเมนต์ทวน = โมเมนต์ตาม
สารสนเทศ (Information) ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ต่างๆที่ได้รับการสรุป คำนวณ จัดเรียง หรือประมวลผลมาเป็นที่เรียบร้อย เพื่อนำไปเผยแพร่และใช้ประโยชน์ได้
การสื่อสาร (Communication) การติดต่อระหว่างผู้ส่งสาร และ ผู้รับสาร เพื่อนำเสนอ, แลกเปลี่ยน ข้อมูล ความรู้สึก ความนึกคิด ฯลฯ โดยอาศัยสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีความหมายโดยสรุปว่า เป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดเก็บ, จัดการ และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แต่ความหมายโดยละเอียดซึ่งขึ้นกับการตีความของแต่ละท่าน หาอ่านได้ในหนังสือ
IT คำที่คุ้นหูคำนี้เป็นตัวย่อของคำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technologies) นั่นเอง แต่ปัจจุบันมักใช้เป็น เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies) ซึ่งตัวย่อก็คือ ICTs นั่นเอง
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีสำคัญ 2 อย่าง ได้แก่ 1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 2. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิคส์ ที่ช่วยในการจดจำข้อมูล และ ประมวลผล แทนมนุษย์ได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันคอมพิวเตอร์จึงมีส่วนสำคัญสำหรับทุกๆเทคโนโลยี
วิวัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ยุคที่ 1 (พ.ศ.2488 - 2501) ยุคหลอดสุญญากาศ ใช้ภาษาเครื่องซึ่งซับซ้อนในการสั่งงาน ใช้ในการคำนวณ และ เก็บข้อมูล เช่น ENIAC (Electronic Numerical Integrator And Calculator) หลอดสุญญากาศ เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ ใช้กระแสไฟฟ้ามาก เพื่อเผาไส้หลอดให้เกิดประจุอิเล็กตรอน
ยุคที่ 2 (พ.ศ.2502 - 2506) ยุคทรานซิสเตอร์ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลเช่น จานแม่เหล็ก ใช้ภาษาที่พัฒนาขึ้น เข้าใจง่ายขึ้น เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล ทรานซิสเตอร์ มีขนาดเล็ก ใช้ไฟฟ้าน้อย ความคงทนสูง และถูกกว่าหลอดสุญญากาศมาก (ถูก, ขนาดเล็ก และดีกว่า) บ.IBM จึงผลิตคอมพิวเตอร์ออกมาเพื่อป้อนให้ทั้งหน่วยงานรัฐบาล, เอกชน ซึ่งเริ่มจะหันมาใช้คอมพิวเตอร์กัน รวมทั้งในไทย คอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่เข้ามาก็เป็นในยุคนี้ โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้ในการศึกษา, สำนักงานสถิติแห่งชาติใช้ในการทำสำมะโนประชากร
ยุคที่ 3 (พ.ศ.2507 - 2512) ยุควงจรรวม (Integrated Circuit) หรือ IC ทั้งยังมีโปรแกรม, ชุดคำสั่งต่างๆ ซอร์ฟแวร์สำหรับใช้งานที่หลากหลาย วงจรรวม (IC) คือการรวมทรานซิสเตอร์ที่มีขนาดเล็กลงมาก ไว้บนแผ่นซิลิกอนเล็กๆแผ่นเดียวและในยุคนี้ยังมีการรวมแผ่นบันทึกหลายๆแผ่นเข้าด้วยกันเป็น ฮาร์ดดิสก์ ทำให้เก็บข้อมูลได้มาก และรวดเร็วขึ้น
ยุคที่ 4 (พ.ศ.2513 - ปัจจุบัน) ยุคที่ 5 ยุควงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integration) หรือ VLSI เช่นไมโครโปรเซสเซอร์ ที่บรรจุทรานซิสเตอร์ไว้ได้ถึงแสนตัว ไมโครโปรเซสเซอร์ คอมพิวเตอร์จึงมีขนาดเล็กลงมาก ในขณะที่ความสามารถสูงขึ้นมาก และยังมีซอร์ฟแวร์ต่างๆออกมามากมาย ใช้งานได้อย่างกว้างขวางดังเช่นปัจจุบัน ยุคที่ 5 ยุคคอมพิวเตอร์แห่งอนาคตซึ่งแต่ละประเทศพยายามที่จะพัฒนาให้มีความสามารถมากขึ้นไปอีก เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI)
2. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม คือเทคโนโลยีที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร, รับส่งข้อมูล จากที่ไกลๆ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร โทรเลข โมเด็ม วิทยุ โทรทัศน์ คลื่นไมโครเวฟ ดาวเทียม มีทั้งประเภทมีสาย และ ไร้สาย (โดยการสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นอินฟราเรด ฯลฯ)
วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม 1. ยุคของภาษาท่าทาง ภาษาพูด และ รูปภาพ 2. ยุคภาษาเขียน 3. ยุคของการพิมพ์ 4. ยุคของโทรคมนาคม 5. ยุคของการสื่อสารสมัยใหม่
บิดาแห่งการพิมพ์ โยฮัน กูเตนเบิร์ก (Johann Gutenberg) ชาวเมืองไมนซ์ ประเทศเยอรมนี คิดค้นเครื่องพิมพ์เมื่อปี พ.ศ.1993 ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการติดต่อสื่อสาร และการศึกษา เพราะทำให้หนังสือเข้าถึงได้ทุกที่
โดยแกะโลหะให้เป็นแต่ละตัวอักษรแล้วนำไปเรียงกันเป็นแม่พิมพ์ ผลงานคือการพิมพ์คัมภีร์ไบเบิ้ล ที่ยังคงหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน ในไทยเข้ามาเมื่อปี พ.ศ.2205 โดยบาทหลวงชาวฝรั่งเศส ใช้พิมพ์ คำสอนคริสต์ศาสนา 26 เล่ม หนังสือไวยากรณ์ไทยและบาลี 1 เล่มและ พจนานุกรมไทย 1 เล่ม
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 1. ทำให้เกิดการเปลี่ยนเข้าสู่สังคมสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุย ติดต่อ ซื้อขายสินค้า ประชุม เรียนหนังสือ ผ่านทางไกลกันได้ 2. เปลี่ยนระบบเศรษฐกิจระดับชาติเป็นระดับโลก จากการติดต่อทางไกลกันได้ง่ายขึ้น เป็นโลกไร้พรมแดน การหมุนเวียนสินค้าและบริการทำได้กว่างขวางขึ้น 3. องค์กรมีลักษณะผูกพันแบบเครือข่าย ทำให้มีความรวดเร็วในการติดต่อกันมากขึ้น
4. ตอบสนองความต้องการต่างๆได้ตามต้องการ เช่นการชมรายการโทรทัศน์, การเรียนหนังสือ บนอินเตอร์เน็ต 5. สามารถทำงานได้ในทุกสถานที่และทุกเวลา เช่นการประชุมผ่านทางไกล, ระบบเอทีเอ็ม (ATM) 6. ทำให้วางแผนดำเนินการได้ดีมากขึ้น เนื่องจากมีข้อมูลมาให้รับรู้ได้มากและหลากหลาย
1. เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น กล้องถ่ายรูป ดาวเทียม เครื่องเอ็กซเรย์ 2. เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล เช่น เทปแม่เหล็ก ฮาร์ดดิสก์ แผ่นซีดี บัตรเอทีเอ็ม 3. เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อคำนวณผล 4. เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ 5. เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร 6. เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูลเช่น ระบบคมนาคมต่างๆ โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรเลข ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 1. งานสำนักงาน 2. งานการเงินและการพาณิชย์ 3. งานการบริการและการสื่อสารโทรคมนาคม 4. งานด้านสาธารณะสุขและการแพท 5. การฝึกอบรมและการศึกษา 6. ห้างสรรพสินค้าและสาขาย่อย 7. งานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 8. งานภาครัฐและเอกชน
งานการเงินและการพาณิชย์ งานสำนักงาน เช่น การติดต่อลูกค้า การประชุมวางแผนงาน การเจรจาธุรกิจ ตั้งแต่โทรศัพท์ โทรสาร จนมาถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน งานการเงินและการพาณิชย์ เช่น การบริการเงินด่วน การฝากถอนเงิน การเชื่อมโยงกันระหว่างธนาคาร ทำให้สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้สะดวกรวดเร็ว
งานการบริการและการสื่อสาร เช่น การบริการโทรศัพท์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลทีวี บริการออนไลน์ต่างๆ งานด้านสาธารณสุขและการแพทย์ เช่น ระบบบันทึกประวัติผู้ป่วย ระบบข้อมูลยา เครือข่ายของแพทย์
งานด้านสาธารณสุขและการแพทย์ การใช้ Computer Topography ในการช่วยตรวจและอ่านผลการตรวจวินิจฉัยโรค งานด้านการฝึกอบรมและการศึกษา เช่น การใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการสอน การเรียนผ่านระบบเครือข่าย การศึกษาทางไกล ช่วยในงานห้องสมุด, ห้องปฏิบัติการต่างๆ รวมถึงการจัดเก็บข้อมูลประวัตินักเรียน
ห้างสรรพสินค้าและสาขาย่อย เช่น การเช็คยอดสินค้า ราคาขาย ยอดขาย สินค้าคงเหลือของทั้งตนเอง และสาขาอื่นๆได้ งานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูล การทำวิจัยร่วมกันของนักวิทยาศาสตร์จากหลายๆแห่ง งานภาครัฐและเอกชน เช่น การทำสำมะโนประชากร การแจ้งเกิด, ตาย การทำบัตรประชาชน การเสียภาษีอากร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงมีความสำคัญมากในปัจจุบัน ถ้าใช้ได้อย่างถูกต้องจะทำให้คุณภาพชีวิตของประชากรดีขึ้น การบริหารงานต่างๆมีประสิทธิภาพ ถ้าใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม