อุทธรณ์,ฎีกา
หลักการยื่นอุทธรณ์ การยื่นอุทธรณ์ ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันอ่าน หรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่ง (มาตรา 198) ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ตรวจอุทธรณ์ว่าควรจะรับส่งขึ้นไปยังศาลอุทธรณ์หรือไม่ กรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ยอมรับอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์ ต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันฟังคำสั่ง (มาตรา 198 ทวิ) ถ้าศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น หรือมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ คำสั่งนี้ให้เป็นทีสุด แล้วส่งไปให้ศาลชั้นต้นอ่าน
หลักทั่วไปในการอุทธรณ์ คู่ความสามารถอุทธรณ์คำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลชั้นต้นได้เสมอ เว้นแต่มีกฎหมายบัญญัติห้ามอุทธรณ์ คำสั่งคดีมีมูลย่อมเด็ดขาด (มาตรา 170) คำสั่งระหว่างพิจารณา (มาตรา 196) การห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง (มาตรา 193 ทวิ) คำฟ้องอุทธรณ์ต้องระบุข้อเท็จจริงโดยย่อ หรือข้อกฎหมายที่คู่ความโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ข้อจำกัดในการยื่นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง หลัก : ห้ามโจทก์ จำเลยให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ยกเว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ จำเลยสามารถอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ 1. จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก หรือลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก 2. จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก แต่ศาลรอการลงโทษไว้ 3. ศาลได้พิพากษาว่าจำเลยได้กระทำความผิด แต่รอการกำหนดโทษไว้ 4. จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับกว่า 1,000 บาท ปัญหา: จำเลยถูกลงโทษให้ริบทรัพย์สิน จำเลยอุทธรณ์ได้หรือไม่ ?
ปัญหาข้อเท็จจริง คือ 1. ปัญหาที่คู่ความมีการโต้เถียงว่าได้มีการกระทำ หรือเหตุการณ์ หรือพฤติการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้น หรือมีอยู่จริงดังที่คู่ความกล่าวอ้างหรือโต้เถียงกันหรือไม่ ซึ่งเป็นปัญหาที่ศาลจะต้องฟังให้ได้เป็นที่ยุติ โดยวินิจฉัยชี้ขาดจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบต่อศาล หรือ 2. ปัญหาเกี่ยวกับการโต้แย้งดุลยพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล หรือ 3. ปัญหาเกี่ยวกับการโต้แย้งดุลยพินิจในการมีคำสั่งชี้ขาดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ข้อพิจาณาว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ พิจารณาเป็นรายกระทง มิใช่นำโทษแต่ละกระทงมารวมเข้าด้วยกัน อัตราโทษพิจารณาจาก ฐานความผิดที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเป็นสำคัญ มิใช่พิจารณาจากความผิดที่ศาลฟังในชั้นพิจารณาคดี กรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดหลายกรรมต่างกัน การพิจารณาข้อห้ามอุทธรณ์ ให้พิจารณาเป็นรายกระทงความผิดไป แม้จะรวมทุกกระทงมาในฟ้องเดียวกันก็ตาม
ข้อพิจาณาว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่(ต่อ) กรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท การพิจารณาข้อห้ามอุทธรณ์ต้องพิจารณาอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับบทที่มีอัตราโทษหนักสุดเท่านั้น หากบทหนักไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ ก็พลอยให้บทเบาไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ไปด้วย กรณีที่ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ ผู้เสียหายจะมีสิทธิอุทธรณ์ได้เฉพาะข้อหาความผิดที่เป็นผู้เสียหายได้เท่านั้น
การยื่นให้รับรองให้อุทธรณ์ ม. 193 ตรี คดีซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. ม. 193 ทวิ โจทก์จำเลย อาจยื่นคำร้องให้บุคคลดังต่อไปนี้ ให้รับรองให้อุทธรณ์ได้ เห็นว่าข้อความที่ตัดสิน นั้นเป็นปัญหาสำคัญอัน ควรสู่ศาลอุทธรณ์ และ อนุญาตให้อุทธรณ์ -ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดี -ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษา ผู้พิพากษาซึ่งทำความเห็นแย้ง อัยการสูงสุด หรือ ผู้ซึ่งอัยการสูงสุดมอบหมาย ลงลายมือชื่อรับรองใน อุทธรณ์ ว่ามีเหตุสมควร ที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัย
การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมาย การอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย โจทก์จำเลยสามารถอุทธรณ์ได้ไม่มีข้อห้าม แต่ปัญหาข้อกฎหมายนั้น ต้องได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ยกเว้นแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบ หรือการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ปัญหาข้อกฎหมาย คือ เป็นเรื่องการแปลความ หรือตีความกฎหมาย ซึ่งศาลจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดด้วยการนำข้อเท็จจริงที่รับฟังยุติแล้วไปปรับเข้ากับตัวบทกฎหมาย ตัวอย่างปัญหาข้อกฎหมาย ปัญหาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ , ศาลพิพากษาเกินคำขอหรือไม่ , ปัญหาเรื่องการบวกโทษ หรือเพิ่มเติมโทษจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ , สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับหรือไม่
การพิจารณาในชั้นอุทธรณ์ในกรณีที่มีการอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย มาตรา 194 คดีที่มีการอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจหยิบยกเอาปัญหาข้อกฎหมายเองได้ ม.195 ว.2 ศาลอุทธรณ์มีอำนาจหยิบยกเอาปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่เคยว่ากล่าวกันมาในศาลล่างถ้าเข้าเหตุประการหนึ่งประการใดตามมาตรา 195 วรรค 2 1. ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเช่น ปัญหาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ 2. ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.อ. อันว่าด้วยการอุทธรณ์ เช่น มิได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือน ตามมาตรา 198 วรรค 1
ห้ามมิให้ศาลอุทธรณ์เพิ่มเติมโทษจำเลย ม. 212 อำนาจของศาลอุทธรณ์ มาตรา 208 อำนาจของศาลอุทธรณ์ (1) เมื่อศาลเห็นว่าควรสืบพยานเพิ่มเติมให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจเรียกพยานมาสืบเอง หรือสั่งศาลชั้นต้นให้สืบพยานให้ เมื่อศาลชั้นต้นสืบพยานแล้วก็ให้ส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ทำคำวินิจฉัย (2) ถ้าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ศาลอุทธรณ์จึงจะย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ห้ามมิให้ศาลอุทธรณ์เพิ่มเติมโทษจำเลย ม. 212 ห้ามมิให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เว้นแต่โจทก์ได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลย
ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาเป็นคุณแก่จำเลยได้ ม.213 ศาลอุทธรณ์พิพากษามีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้อุทธรณ์ 1. ต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยหลายคนในความผิดฐานเดียวกันหรือต่อเนื่องกัน “ในความผิดฐานเดียวกัน” โดยอาจจะร่วมกระทำความผิดด้วยกันโดยร่วมกันเป็นตัวการ,หรือเป็นผู้ใช้, หรือผู้สนับสนุน “การกระทำความผิดต่อเนื่องกัน” เช่น ความผิดฐานรับของโจร 2. มีจำเลยบางคนอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นขึ้นมา แต่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ยังหมายถึงกรณีที่โจทก์อุทธรณ์ฝ่ายเดียวเฉพาะจำเลยบางคนที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องด้วย
ม.196 ห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา จนกว่าจะมี คำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้เป็นคำสั่งไม่รับ หรือคืนคำคู่ความก็ตาม ก็ห้ามอุทธรณ์ การอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาในคดีอาญา ผู้อุทธรณ์ไม่ต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ก่อนเหมือนคดีแพ่ง การจะอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาได้ต้องมีการอุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาในประเด็นสำคัญแห่งคดีด้วย จะอุทธรณ์เพียงคำสั่งระหว่างพิจารณาเหมือนดังคดีแพ่งไม่ได้
การยื่นฎีกา และการอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา ม.223 และ 224 การยื่นฎีกา ยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ตัดสินคดีนั้น และเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นในการตรวจรับฎีกา ม.223 ถ้าศาลชั้นต้นไม่รับฎีกา ผู้ฎีกาสามารถอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับฎีกานั้นได้ภายในกำหนด 15 วัน ม.224 คู่ความมีสิทธิฎีกาได้ทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ยกเว้นแต่ ป.วิ.อ. จะห้ามมิให้มีการฎีกาตาม มาตรา 218,219,219 ทวิ,219 ตรี และ 220
ศาลอุทธรณ์แก้เล็กน้อย ศาลอุทธรณ์แก้มาก ศาลอุทธรณ์แก้เล็กน้อย ศาลอุทธรณ์แก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้น โดยแก้ทั้งบทและโทษ ศาลอุทธรณ์แก้เรื่องรอการลงโทษ แก้แต่บท ไม่แก้โทษ แก้แต่โทษ ไม่แก้บท แก้กรรมเดียว หรือหลายกรรม แก้เรื่องริบทรัพย์ แก้เรื่องการขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์
ข้อห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ม.218 ว.1 โจทก์ ฎีกาไม่ได้ ยืน ลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี จำเลย ฎีกาไม่ได้ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ไขเล็ก กลับ ลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี โจทก์จำเลย ฎีกาได้
ห้ามโจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง กรณีศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกเกิน 5ปี ตาม ม ห้ามโจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง กรณีศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกเกิน 5ปี ตาม ม.218 ว.2 โจทก์ ฎีกาไม่ได้ ยืน ลงโทษจำคุกเกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ไขเล็ก จำเลย ฎีกาได้ กลับ ลงโทษจำคุกเกิน 5 ปี โจทก์จำเลย ฎีกาได้
ข้อสังเกต ม.218 ถ้าศาลอุทธรณ์แก้ไขมาก หรือพิพากษากลับ ย่อมไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ มาตรา 218 ทั้งสองวรรค ไม่คำนึกถึงโทษที่ศาลชั้นต้นลงโทษแก่จำเลยไว้ (อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่า 5 ปีก็ได้)
มาตรา 219 ข้อห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี 1. ศาลชั้นต้น ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท เงื่อนไข 2. ศาลอุทธรณ์ ยังคงลงโทษจำเลยไม่เกินกำหนดที่ว่ามานี้ หลัก ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ผล (ข้อยกเว้น) แต่ไม่ห้ามจำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แก้ไขมาก และ ถ้าศาลอุทธรณ์ เพิ่มเติมโทษจำเลย
ข้อสังเกต ม.219 ถ้าศาลอุทธรณ์แก้ไขมาก หรือพิพากษากลับ ย่อมไม่ต้องห้ามฎีกา มาตรา 219 คำนึกถึงโทษที่ศาลชั้นต้นลงโทษแก่จำเลยไว้ต้องไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท และศาลอุทธรณ์ก็ลงไม่เกินกว่านี้
ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ สิทธิในการฎีกา จำคุก 7 ปี จำคุก 4 ปี ไม่แก้บท -ห้ามคู่ความฎีกา ม.218 ว.1 จำคุก >5 ปี หรือ ยืน โดยไม่แก้บท -ห้ามโจทก์ฎีกา ม.218 ว.2 -จำเลยฎีกาได้ ม.218 ว.2 กลับ (ยกฟ้อง) -โจทก์ฎีกาได้ (แก้ไขมาก) แก้ไขมาก (แก้ทั้งบท แก้ทั้งโทษ) จำคุก 3 ปี -จำเลยฎีกาได้ (แก้ไขมาก) จำคุก 3 ปี จำคุก 6 ปี ไม่แก้บท -โจทก์ฎีกาไม่ได้ ม.218 ว.2 ยกฟ้อง -โจทก์ฎีกาได้ ม.218 ว.1 (แก้ไขมาก) -จำเลยฎีกา ได้
ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ สิทธิในการฎีกา ยกฟ้อง จำคุก 1 ปีครึ่ง -โจทก์ฎีกาได้ ม.218 ว.1 (แก้ไขมาก) -จำเลยฎีกาได้ ม.218 (แก้ไขมาก และเพิ่มโทษ) จำคุก 3 ปี -จำเลยฎีกาได้ ม.219 (แก้ไขมาก และเพิ่มโทษ) จำคุก 1 ปี จำคุก 1 ปีครึ่ง ไม่แก้บท -คู่ความฎีกาไม่ได้ ม.219 (แก้ไขเล็กน้อย แต่เพิ่มโทษ) จำคุก 6 เดือน ไม่แก้บท -คู่ความฎีกาไม่ได้ ม.219 (แก้ไขน้อย แต่ไม่เพิ่มโทษ) จำคุก 1 ปีครึ่ง แก้บท -โจทก์ฎีกาไม่ได้ ม.219 -จำเลยฎีกาได้ (เพิ่มโทษ แก้บท)
มาตรา 220 ข้อห้ามในการฎีกา กรณีที่ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง มาตรา 220 ข้อห้ามในการฎีกา กรณีที่ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง 1. ห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายหากศาลล่างทั้งสองศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ แม้ว่าศาลล่างทั้งสองศาลจะยกฟ้องคนละเหตุผลก็ตาม 2. กรณีความผิดตามฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง หากทั้งสองศาลลงโทษจำเลยเฉพาะบทเบาตามมาตรา 192 วรรคท้าย ต้องถือว่าบทหนักตามฟ้องทั้งสองศาลได้พิพากษายกฟ้องแล้ว ต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 220
การพิจารณา และพิพากษา และคำสั่งชั้นฎีกา ถ้ามีฎีกาเฉพาะในปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาแล้วจากหลักฐานในสำนวน ม.222 ห้ามศาลพิพากษาลงโทษจำเลยเว้นแต่ โจทก์จะฎีกาของให้เพิ่มโทษจำเลย ม.212 และ 225 ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกาได้ ม.213 ประกอบกับ ม.225 End