สัทศาสตร์.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ขั้นตอนการลบรายการค่าใบอนุญาต และค่าปรับ
Advertisements

Atlas.ti demo – ให้code ได้ไม่เกิน 50
การใช้สูตร Excel x ให้พิมพ์ใน cell ว่า =5.7*1E+6
Proposal : Teaching & Media Evaluation  Login Page [1] & Main Page [2] o Grade Report Page [3] o Teaching Evaluation [subject] o Media Evaluation [university]
Menu and Interactive with Powerpoint ให้นำเรื่อง Input /Output Technology มา จัดทำ การนำเสนอ โดยใช้หลักการ Menu and Interactive with powerpoint มาประยุกต์
การรวมฐานข้อมูล. 1. เลือกฐานข้อมูลหลักสำหรับรวมกับฐานข้อมูลอื่นๆ 2. เปลี่ยนชื่อฐานข้อมูลให้ตรงกับฐานข้อมูลหลักในข้อ 1 ใน C:\Program Files\RegMis เปิดไฟล์
โปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ กลุ่มสถาบันราชภัฏภาคเหนือตอนบน
IMPACT THIRD MOLAR.
ส่วนปฏิบัติการวงจรระหว่างประเทศ บางรัก (ITMC) ฝ่ายควบคุมโครงข่าย การ Start Up 1353SH (Network Management System)
Aseansong วีดิโอเพลงอาเซียน. คลิก Addscreen ตั้งชื่อ Aseansong 1 2.
LI 395 บทที่ 3 หัวข้อการเรียน.
SolidWorks Week 1: 3D part modeling.
FRONT-END Beautiful & Responsive website. WEB STRUCTURE FRONT-END BACK-END SYSTEM MOBILE FRONT-END HTML CSS PHP Others lang. Ruby, Python java Others.
Lab 05 : Microsoft PowerPoint 2013 Part 1 ทพ 491 เทคโนโลยีสารสนเทศทางการเกษตร อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ
บทบาทภารกิจที่ เปลี่ยนแปลงของ สสจ. หลัง ยกเลิกการเป็น สปสช. สาขาจังหวัด นางประภาพร บรรยงค์ หัวหน้ากลุ่มงานประกันสุขภาพ สสจ. ขอนแก่น.
นางสาวสรัญญา ชื่นเย็น (พี่ออย) เจ้าหน้าที่ศูนย์นวัตกรรมการจัดการ อ.ก้องภู นิมานันท์ อาจารย์ที่ปรึกษา 1.น.ส.นพรัตน์ ปฏิกรณ์ (คุ๊กกี้) นายบุรินทร์
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ความหมายของกระดูกหัก
นิเทศและประเมินผลสัญจร โซนนาคราชซ้าย
Chapter 7 Nursing Care of the Child with Respiratory System
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 5 : การตรวจจับข้อผิดพลาด การควบคุมการไหลของข้อมูล และการควบคุมข้อผิดพลาด Part2 สธ313 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ.
การคัดเลือก (Selection)
กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียงพ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
บทที่ 8 การรับรู้และการตอบสนอง
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการพ.ศ. ๒๕๔๐
การบูรณาการการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาสังคมของ OSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคม
เมื่อเข้าสู่โปรแกรมจะแสดงหน้าจอสำหรับตรวจสอบสิทธิผู้ปฏิบัติงาน รหัสที่ใช้ต้องเป็นรหัสนายทะเบียนหรือผู้ช่วยนายทะเบียน และต้องมีสิทธิในการใช้งานฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร.
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
สร้างปกหนังสือด้วย Photo shop.
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง Sufficiency Economy
พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต
Cassava Family: Euphorbiaceae (พืชมีน้ำยาง)
โครงสร้างอัตรากำลังของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
ระเบียบวาระการประชุม
Agency Genius's confidential document
บทบาทของกระทรวงสาธารณสุขกับการดำเนินงานOSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคม
ปัญหาการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
ระบบการปลูกพืช และการส่งเสริมอาชีพในพื้นที่ลุ่มต่ำ
หลักเกณฑ์ในการตั้งตัวแทน
CEPS-ECRI, Place du Congrès, 1000 Brussels
ALLPPT.com _ Free PowerPoint Templates, Diagrams and Charts
แบบมาตรฐานระบบบำบัดน้ำเสียแบบได้ก๊าซชีวภาพ สำหรับฟาร์มสุกร
เรียนคำศัพท์ 5 Daily Activities
พระพุทธศาสนา.
เอกภพ หรือ จักรวาล เอกภพ หรือ จักรวาล (Universe) เป็นระบบที่ใหญ่ที่สุดและไร้ขอบเขต และเป็นห้วงอวกาศที่เต็มไปด้วยดวงดาวจำนวนมหาศาล ซึ่งเราจะเรียกดวงดาวที่เกาะกันเป็นกลุ่มว่า.
การใช้เครื่องมือในงานช่างยนต์
การกำจัดขยะและสารเคมี
Rabbi อาจารย์สอง Satit UP.
สอนอย่างมืออาชีพ หยุดยั้งพฤติกรรมเสี่ยง
นพ.ชลทิศ อุไรฤกษ์กุล 16 ธ.ค.58
หลักสูตรอาเซียน (ASEAN Curriculum Sourcebook)
สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
อวัยวะที่ใช้ในการออกเสียง
นวัตกรรมกลุ่มงานวิสัญญี ปี 2562 E Mobile
แนวทางปฏิบัติด้านการเงินของ ศบท. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562
นิเทศงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
ความรู้เกี่ยวกับการจัดการ
Happy work place index & Happy work life index
แนวทางการพัฒนาระบบราชการ ของกรมอนามัย และหน่วยงานในสังกัด
“ ทิศทางการขับเคลื่อนงานกองทุน
คปสจ.เดือนสิงหาคม สิงหาคม 59.
วัน เวลา และห้องสอบ เวลาสอบวันอังคารที่ 30 เมษายน 2562 เวลา 8.00 – สอบที่อาคารคณะนิติศาสตร์ (ห้อง 1401 และ 1404) ที่ปกสมุดคำตอบทุกเล่ม ต้องเขียนsection.
การขยายพันธุ์พืช.
เพิ่มเรื่อง (post) ลงเวิร์ดเพรส
แรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์
การส่งเสริมสุขภาพ การสร้างพลังใจ และวางแผนชีวิต และสิทธิ
แผนงานบูรณาการพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนของหน่วยงานภาครัฐ
แผนงานบูรณาการพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนของหน่วยงานภาครัฐ
ใบสำเนางานนำเสนอ:

สัทศาสตร์

สาขาวิชาสัทศาสตร์ 1. สรีรสัทศาสตร์ (Articulatory Phonetics) เป็นการศึกษากลไกกระแสลมที่ใช้ในการเปล่งเสียงพูด อวัยวะต่างๆ ที่ใช้ในการพูด กระบวนการออกเสียง กระบวนการเปล่งเสียง ตลอดจนเสียงประเภทต่างๆ ที่เกิดจากอวัยวะที่ใช้ในการพูด

สาขาวิชาสัทศาสตร์ 2. กลสัทศาสตร์ (Acoustic Phonetics) เป็นการศึกษาลักษณะทางกายภาพของคำพูด เช่น คลื่นเสียงลักษณะต่างๆ ความถี่ของคลื่นเสียง ความกังวานของเสียง เสียงรบกวน (noise) ลักษณะต่างๆ เป็นต้น

สาขาวิชาสัทศาสตร์ 3. โสตสัทศาสตร์ (Auditory Phonetics) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับสรีระของหู การรับรู้คลื่นเสียงตลอดจนจิตวิทยาการรับรู้

อวัยวะที่ใช้ในการพูด ปอด กล่องเสียง กระดูกไทรอยด์ ไครคอยด์ อะรีทีนอยด์

อวัยวะที่ใช้ในการพูด ลิ้น ปลายสุดของลิ้น (tip) ปลายลิ้น (blade) ลิ้นส่วนหน้า (front) ลิ้นส่วนหลัง (back) โคนลิ้น (root)

อวัยวะที่ใช้ในการพูด เพดานปาก ฟัน ริมฝีปาก

การทำงานของเส้นเสียง เส้นเสียงปิดสนิท (Closed Glottis) เส้นเสียงเปิดกว้าง (Open Glottis) เส้นเสียงสั่น (Glottis in Vibration)

เส้นเสียงปิดสนิท (Closed Glottis) เส้นเสียงทั้งสองดึงตัวเข้ามาชิดติดกันสนิทแน่น โดยมีกระแสลมจากปอดอัดอั้นอยู่ข้างใต้ เมื่อเส้นเสียงเปิดออกครั้งหนึ่ง แรงดันของกระแสลมจากปอดทำให้เกิดเสียงได้ เช่น เสียงหยุดที่เส้นเสียง (glottal stop)

เส้นเสียงเปิดกว้าง (Open Glottis) ส่วนหลังของเส้นเสียงจะแยกออกจากกัน ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเส้นเสียงทั้งสอง เมื่อลมผ่านออกมาได้ยินเป็นเสียงลมหายใจ ซึ่งบางครั้งเรียกว่า เสียงเสียดแทรกที่เส้นเสียง ใช้สัทอักษร [h] เส้นเสียงในลักษณะนี้ก็คือสภาพปกติที่คนเราไม่พูด และเป็นสภาพของเส้นเสียงสำหรับเสียงอโฆษะหรือเสียงไม่ก้อง

เส้นเสียงสั่น (Glottis in Vibration) เส้นเสียงทั้งสองข้างดึงตัวเข้ามาติดกันและเปิดออกหลายครั้งต่อเนื่องกัน เสียงที่เปล่งออกมาโดยมีสภาพเส้นเสียงเช่นนี้เรียกว่า เสียงโฆษะ หรือ เสียงก้อง

กลไกกระแสลม

กลไกกระแสลม กลไกกระแสลมจากปอด ภาษาส่วนใหญ่ในโลกใช้กลไกประเภทนี้ กลไกกระแสลมจากกล่องเสียง เกิดขึ้นเมื่อเส้นเสียงปิดสนิท กลไกกระแสลมจากเพดานอ่อน ได้เสียงเดาะหรือ click

การบังคับกระแสลม หมายถึง การจัดอวัยวะที่ใช้ในการพูดให้อยู่ในสภาพต่างๆ ซึ่งมีผลทำให้กระแสลมที่ออกมาจากปอด หรือกล่องเสียง หรือเพดานอ่อน มีทางเดินที่แตกต่างกันไป

การบังคับกระแสลมแบบปิด เสียงระเบิด (plosive) หมายถึง เสียงที่มีฐานกรณ์จรดกันอย่างสนิทแน่น ทำให้มีการกักลมที่มาจากปอดไว้ที่หลังจุดนั้นระยะหนึ่ง ขณะเดียวกันเพดานอ่อนยกขึ้นจรดผนังคอป้องกันไม่ให้ลมออกทางจมูก เมื่อคลายการปิดกั้นของฐานกรณ์ในปากออก ลมจะพุ่งออกมาทางช่องปากอย่างแรง

การบังคับกระแสลมแบบปิด ข. เสียงนาสิก (Nasal) ลักษณะการจรดกันของฐานกรณ์สำหรับเสียงนาสิกเหมือนกับเสียงระเบิดคือจรดกันสนิทแน่น แต่เพดานอ่อนลดต่ำลง ตามธรรมชาติเสียงนี้เป็นเสียงก้องเสมอ

การบังคับกระแสลมแบบปิด ค. เสียงกักเสียดแทรก (Affricate) การออกเสียงกักเสียดแทรกเริ่มด้วยการจรดฐานกรณ์ ณ ที่ใดที่หนึ่งในช่องปากอย่างสนิทแน่นไว้ระยะหนึ่ง เพดานอ่อนยกสูงจรดผนังคอ แต่เมื่อคลายการปิดกั้นออกจะค่อยๆ คลายอย่างช้าๆ ทำให้เกิดเสียงเสียดแทรกตามมา

การบังคับกระแสลมแบบปิด เสียงข้างลิ้น (Lateral) บังคับกระแสลมแบบปิดเพียงบางส่วน คือส่วนปลายลิ้นจรดกับปุ่มเหงือกอย่างสนิทแน่น แต่ลดข้างลิ้นลง ทำให้ลมออกข้างลิ้นเท่านั้น แบ่งเป็น เสียงข้างลิ้นแบบเปิด (lateral approximant) เสียงเสียดแทรกข้างลิ้น (lateral fricative)

การบังคับกระแสลมแบบปิด เสียงลิ้นรัว ลิ้นกระทบ และลิ้นสะบัด ทั้งสามเสียงมีการบังคับกระแสลมแบบปิดๆ เปิดๆ เป็นระยะ

เสียงลิ้นรัว อวัยวะจรดกันแล้วเปิดออกหลายครั้งติดต่อกัน เสียงลิ้นกระทบ อวัยวะจรดกันแล้วเปิดออกเพียงครั้งเดียว เสียงลิ้นสะบัด อวัยวะจรดกันแล้วเปิดออกเพียงครั้งเดียว แต่มีการสะบัดปลายลิ้นด้วย

การบังคับกระแสลมแบบเปิดแคบ ฐานและกรณ์เข้ามาใกล้กันมาก ทำให้ลมต้องแทรกออกมาจากบริเวณอวัยวะนั้นๆ เกิดเป็นเสียงเสียดแทรก (fricative) เป็นเสียงก้องหรือไม่ก้องก็ได้

การบังคับกระแสลมแบบเปิดกว้าง อวัยวะที่ใช้ในการออกเสียงทั้งฐานและกรณ์อยู่ห่างกันพอประมาณ ทำให้ลมผ่านออกมาได้อย่างสะดวกและไม่มีเสียงแทรกเกิดขึ้น เสียงประเภทนี้เรียกว่า เสียงเปิด (approximant) เสียงประเภทนี้จะเป็นเสียงก้องเสมอ เสียงสระมีธรรมชาติในการออกเสียงเหมือนกันกับเสียงเปิด

ฐานที่เกิดเสียง ฐานริมฝีปาก (bilabiol) ฐานริมฝีปากกับฟัน (labio-dental) ฐานฟัน (dental) ฐานปุ่มเหงือก (alveolar) ฐานบริเวณหลังปุ่มเหงือก (post-alveolar) ฐานปุ่มเหงือกเพดานแข็ง (palato-alveolar)

ฐานที่เกิดเสียง (place of Articulation) ฐานเพดานแข็งปุ่มเหงือก (alveolo-palatal) ฐานเพดานแข็ง (palatal) ฐานเพดานอ่อน (velar) ฐานลิ้นไก่ (uvular) ฐานผนังคอ (pharyngal) ฐานเส้นเสียง (glottal)

ฐานริมฝีปาก (bilabial) ฐานนี้เกิดจากการใช้ริมฝีปากทั้งสอง ซึ่งอาจจัดตัวในลักษณะใดลักษณะหนึ่งตามประเภทของเสียง

ฐานริมฝีปากกับฟัน (labio-dental) ฐานนี้เกิดจากการใช้ริมฝีปากล่างกับฟันบน

ฐานฟัน (dental) ฐานนี้เกิดจากการใช้ปลายลิ้นกับฟันบน เช่น เสียงเสียดแทรกฐานฟัน [] [] ในภาษาอังกฤษ

ฐานปุ่มเหงือก (alveolar) เสียงจากฐานนี้เกิดจากการใช้ปลายลิ้นกับปุ่มเหงือก เช่น เสียงเสียดแทรกจากฐานปุ่มเหงือก [s] [z]

ฐานบริเวณหลังปุ่มเหงือก (post-alveolar) เสียงจากฐานนี้เกิดจากการใช้ปลายลิ้นในลักษณะพับไปข้างหลังเล็กน้อยกับบริเวณปุ่มเหงือก เช่นเสียงเปิดจากฐานบริเวณหลังปุ่มเหงือก [] เป็นต้น

เสียงลิ้นม้วน (retroflex) เกิดจากการม้วนปลายลิ้นไปบริเวณเพดานแข็งตอนหน้าหรือเพดานแข็ง แต่พับลิ้นมากกว่าเสียงฐานบริเวณหลังปุ่มเหงือก เช่น เสียงระเบิดลิ้นม้วน [] เสียงเสียดแทรกลิ้นม้วน []

ฐานปุ่มเหงือกเพดานแข็ง (palato-alveolar) เสียงนี้เกิดจากการยกปลายลิ้นไปบริเวณปุ่มเหงือกหรือหลังปุ่มเหงือกเล็กน้อย แต่ขณะเดียวกันลิ้นส่วนหน้ายกขึ้นสู่เพดานแข็ง เช่น เสียงเสียดแทรกจากฐานปุ่มเหงือกเพดานแข็ง [] หรือคือเสียงคล้าย sh ของคำในภาษาอังกฤษ

ฐานเพดานแข็งปุ่มเหงือก (alveolo-palatal) เสียงนี้เกิดจากการให้ปลายลิ้นอยู่ในระดับปกติหรือลดต่ำลงใกล้กับฟันล่าง ในขณะเดียวกันลิ้นส่วนหน้ายกขึ้นสู่เพดานแข็ง

ฐานเพดานแข็ง (palatal) เสียงนี้เกิดจากการยกลิ้นส่วนหน้าขึ้นสู่บริเวณเพดานแข็ง เช่น เสียงเสียดแทรกจากฐานเพดานแข็ง []

ฐานเพดานอ่อน (velar) เสียงจากฐานนี้เกิดจากการยกลิ้นส่วนหลังขึ้นสู่บริเวณเพดานอ่อน เช่น เสียงเสียดแทรกจากฐานเพดานอ่อน [x]

ฐานลิ้นไก่ (uvular) เสียงจากฐานนี้เกิดจากการยกลิ้นส่วนหลังขึ้นสู่บริเวณลิ้นไก่ เช่นเสียงเสียดแทรกฐานลิ้นไก่ [] [] (เกิดจากการยกลิ้นส่วนหลังไปใกล้ลิ้นไก่มาก แล้วให้ลมผ่านออกมาได้)

ฐานผนังคอ (pharyngal) เสียงนี้เกิดจากการลดโคนลิ้นลงสู่บริเวณช่องคอ เช่น ลดโคนลิ้นลงใกล้กับผนังคอมากจนมีกระแสลมแทรกออกมาได้ []

ฐานเส้นเสียง (glottal) เกิดจากการที่เส้นเสียงเข้ามาชิดติดกัน ได้เสียงหยุดจากฐานเส้นเสียง [] หรือเส้นเสียงเข้ามาใกล้กัน มีลมแทรกออกมาได้เสียดแทรกจากฐานเส้นเสียง [] เป็นต้น

การบรรยายเสียงพยัญชนะ กลไกกระแสลม (ละได้) ทิศทางของกระแสลม (ละได้) การทำงานของกล่องเสียง ลักษณะของเพดานอ่อน (ละได้) ประเภทของเสียง ที่เกิดเสียง

ตัวอย่างการบรรยายเสียงพยัญชนะ [p] เสียงไม่ก้อง ฐานริมฝีปาก เป็นเสียงระเบิด [n] เสียงก้อง ฐานปุ่มเหงือก เป็นเสียงนาสิก [f] เสียงไม่ก้อง ฐานริมฝีปากกับฟัน เป็นเสียงเสียดแทรก

ระดับของลิ้น

เสียงสระ

ผังสระในภาษาไทย