งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 8 การรับรู้และการตอบสนอง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 8 การรับรู้และการตอบสนอง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 8 การรับรู้และการตอบสนอง
บทที่ 8 การรับรู้และการตอบสนอง Biology (40243) Miss Lampoei Puangmalai

2 บทที่ 8 การรับรู้และการตอบสนอง
บทที่ 8 การรับรู้และการตอบสนอง 8.1 การรับรู้และการตอบสนอง 8.2 การตอบสนองของสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำและสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำบางชนิด 8.3 เซลล์ประสาท 8.4 การทำงานของเซลล์ประสาท 8.5 โครงสร้างของเซลล์ประสาท 8.6 การทำงานของระบบประสาทสั่งการ 8.7 อวัยวะรับความรู้สึก

3 จุดประสงค์การเรียนรู้
3. สืบค้นข้อมูล อภิปราย และอธิบายโครงสร้างและหน้าที่ของ สมองและไขสันหลัง 4. สืบค้นข้อมูล อธิบาย และเปรียบเทียบการทำงานของระบบประสาทโซมาติก และระบบประสาทอัตโนวัติ

4 8.5 โครงสร้างของระบบประสาท
ถ้าพิจารณาระบบประสาทตามตำแหน่งและโครงสร้างแบ่งได้เป็น 2 ระบบ คือ 1. ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System : CNS) สมอง ไขสันหลัง 2. ระบบประสาทรอบนอก (Peripheral Nervous System : PNS) เส้นประสาทสมอง เส้นประสาทไขสันหลัง

5

6 8.5.1 ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System : CNS)
สมอง ไขสันหลัง

7 Central Nervous System : CNS
สมอง (brain) เจริญมาจากส่วนหน้าสุดของ neural tube ซึ่งเจริญมากกว่าส่วนท้าย โดยมีการคอดเล็กลง และมีการขยายออก แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. Procencephalon (fore brain) ป้องกันการกระทบกระเทือนแก่สมองและไขสันหลัง 2. Mesencephalon (Mid brain) เป็นเยื่อบาง ๆ 3. Rhombencephalon (Hind brain) มีหลอดเลือดมาเลี้ยงอยู่มาก เพื่อนำอาหาร และออกซิเจนมาเลี้ยงเซลล์ชั้นในของสมองและไขสันหลัง ระหว่าง 2 และ 3 เป็นที่อยู่ของ น้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) มีหน้าที่ นำออกซิเจนและสารอาหารมาหล่อเลี้ยงเซลล์ประสาท และนำของเสียงออกจากเซลล์

8

9

10 สมอง (Brain) สมอง (Brain) หนักประมาณ 1.4 kg ประกอบไปด้วยเซลล์ประสาทมากกว่าร้อยละ 90 ของเซลล์ประสาทในร่างกาย โดยมี Association neuron เป็นส่วนใหญ่ มีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น (ตรงข้ามกับไขสันหลัง) คือ 1. สมองชั้นนอกมีสีเทา (Gray matter) ส่วนนี้เป็นส่วนที่อยู่ของเซลล์ประสาทและ Axon ที่ไม่มี Myelin sheath หุ้มทำให้เห็นส่วนของ protoplasm จึงเห็นเป็นสีเทา 2. สมองชั้นในมีสีขาว (White matter) เป็นเล้นประสาทที่งอกออกจากเซลล์ประสาท โดยเซลล์ประสาทเหล่านี้จะมีเปลือกซึ่งเป็นสารไขมัน (Myelin cheath) หุ้มอยู่ด้านนอก จึงเห็นชั้นนี้เป็นสีขาว สัตว์ยิ่งมีวิวัฒนาการสูงขึ้นสมองส่วนกลางจะลดลง สัตว์ชั้นสูงจะมีการพัฒนาของสมองส่วนหน้า (Cerebrum) ดีขึ้นมีลักษณะเป็นร่องสมอง เรียกว่า Fissure

11 สมอง (Brain) สมอง (Brain) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
สมองส่วนหน้า (forebrain) ประกอบด้วย olfactory bulb cerebrum hypothalamus thalamus สมองส่วนกลาง (midbrain) ประกอบด้วย optic lobe สมองส่วนท้าย (hindbrain) ประกอบด้วย cerebellum medulla oblongata pons

12

13

14 หน้าที่ของสมองส่วนต่าง ๆ
สมองส่วนหน้า (Forebrain) ประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้ 1. Cerebrum มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาสมองทั้งหมด มีหน้าที่ เป็นศูนย์กลางเรียนรู้ ความคิด ความจำ เชาวน์ปัญญา การรับรู้ เช่น การมองเห็น การรับรส กลิ่นเสียง สัมผัส ความเจ็บปวด การพูด และการออกเสียง ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลาย 2. Alfactory bulb ทำหน้าที่ เกี่ยวข้องกับการดมกลิ่นเจริญได้ดีในปลา 3. Hypothalamus อยู่ด้านล่างของสมองส่วนหน้ายื่นมาติดกับต่อมใต้สมอง มีหน้าที่ เกี่ยวข้องกับการควบคุมการสร้างฮอร์โมนภายในร่างกาย ควบคุมการทำงานที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทอัตโนมัติ เช่นการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิในร่างกาย เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ ความหิว ความอิ่ม และความรู้สึกทางเพศ 4. Thalamus เป็นศูนย์รวมและแยกกระแสประสาท สมองส่วนกลาง (Midbrain) ลดรูปเหลือเฉพาะ optic lobe มีหน้าที่ ควบคุมการเคลื่อนไหวของนัยน์ตา เป็นสถานีถ่ายทอดกระแสประสาท ระหว่างสมองส่วนหน้ากับสมองส่วนท้าย

15 หน้าที่ของสมองส่วนต่าง ๆ (ต่อ)
สมองส่วนท้าย (Hindbrain) 1. Cerebellum ควบคุมการทรงตัวของร่างกาย ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อให้เป็นไปอย่างละเอียดอ่อนสละสลวย 2. Medulla oblongata ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เป็นศูนย์ควบคุมการหายใจ การทำงานของหัวใจ การไอ การจาม การกระพริบตา 3. Pons ควบคุมการเคลื่อนไหวบริเวณใบหน้า เช่น การเคี้ยว การกลืน การยิ้ม การหลั่งน้ำลาย

16 ก้านสมอง (Brain stem) ก้านสมอง (Brain stem) หมายถึง Midbrain , pons , medulla oblongata จะมีกลุ่มเซลล์ประสาทและใยประสาทเชื่อมโยงกัน ทำหน้าที่ เป็นศูนย์ควบคุมการนอนหลับ สติสัมปชัญญะ การหายใจความดันเลือด อุณหภูมิ และ การหลั่งเอนไซม์ การทำงานของระบบประสาท

17 ไขสันหลัง (spinal cord)
อยู่ภายในกระดูกสันหลัง ตั้งแต่กระดูกสันหลังบริเวณคอ ถึงกระดูกสันหลังบริเวณเอวข้อที่ 2 ส่วนปลายจะเรียวเล็ก จนเหลือเพียงส่วนของเยื่อหุ้มไขสันหลัง

18 8.5.2 ระบบประสาทรอบนอก หรือระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nervous System : PNS)
เส้นประสาทสมอง (cranial nerve) เส้นประสาทไขสันหลัง (spinal nerve)

19 เส้นประสาท (nerve) เส้นประสาท คือ ใยประสาทหลายชั้นรวมกันเข้าเป็นมัด และห่อหุ้มไว้ด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) เส้นประสาทที่นำคำสั่งเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของอวัยวะและเนื้อเยื่อ เรียกว่า motor nerve เส้นประสาทที่นำกระแสประสาทรับความรู้สึกต่างๆ เข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง เรียกว่า sensory nerve เส้นประสาทนี้จะพบอยู่ภายนอกระบบประสาทส่วนกลาง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ เส้นประสาทสมอง (cranial nerve) มีจำนวน 12 คู่ เส้นประสาทไขสันหลัง (spinal nerve) มีจำนวน 31 คู่

20 ประสาทสมอง (cranial nerve)
เป็นเส้นประสาทที่มีจุดกำเนิดจากบริเวณฐานของสมอง มีทั้งหมด 12 คู่ ดังนี้ 1. Olfactory nerve รับความรู้สึกด้านกลิ่น โดยมีเซลล์รับกลิ่นอยู่ที่เยื่อบุของโพรงจมูกส่วนบน 2. Optic nerve รับความรู้สึกเกี่ยวกับการมองเห็น มีเซลล์รับภาพอยู่ที่ retina ของนัยน์ตา 3. Oculomotor nerve ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อภายนอกลูกตาทั้งหมดยกเว้น superior oblique และ lateral nerve เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวของลูกตาชนิดใต้อำนาจจิตใจ 4. Trochlear nerve ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ superior oblique ของลูกตาทำให้มีการเคลื่อนไหว 5. Trigeminal nerve รับความรู้สึกจากบริเวณหน้า ศีรษะ ฟัน เกี่ยวกับความรู้สึกเจ็บปวด สัมผัส ร้อน เย็น และไปสู่เนื้อเยื่อตั้งแต่ศีรษะลงไปถึงในปาก ฟัน ขากรรไกร และลิ้น ส่วนหน้าเพื่อควบคุมการเคี้ยว 6. Abducens nerve ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ lateral rectus ของลูกตา ทำให้ลูกตาเคลื่อนไหว

21 ประสาทสมอง (cranial nerve)
7. Facial nerve ไปเลี้ยงที่ลิ้นส่วนหน้าประมาณ 2/3 ทำให้รู้รสและควบคุมการหดและคลาย ตัวของกล้ามเนื้อบริเวณหน้าและศีรษะ ทำให้มีการเคลื่อนไหวแสดงสีหน้าต่างๆ 8. Acoustic หรือ Auditory หรือ vestibulocochlear nerve มี 2 แขนง คือ vestibular ควบคุมการทรงตัวและ cochlear ทำให้ได้ยินเสียง 9. Glossopharyngeal nerve ไปเลี้ยงที่ลิ้นส่วนหลังประมาณ 1/3 รับความรู้สึกจากลิ้นทำให้หลั่งน้ำลาย และทำให้กล้ามเนื้อของหลอดคอเคลื่อนไหว เกิดการกลืน 10. Vagus nerve ประกอบด้วยเส้นประสาทหลายเส้นไปสู่อวัยวะต่างๆเช่น ฟาริงซ์ ลาริงซ์ หลอดคอ หลอดลม อวัยวะในช่องอกและช่องท้อง ได้แก่ หัวใจ ปอด หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ถุงน้ำดี เป็นต้น และทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทอัตโนมัติ 11. Accessory nerve เลี้ยงกล้ามเนื้อ trapezius และ sternocleidimaltoid ทำให้ ศีรษะและไหล่มีการเคลื่อนไหว 12. Hypoglossal nerve ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อของลิ้นทั้งหมด ช่วยให้มีการเคลื่อนไหวของลิ้น

22

23 The 12 Cranial Nerves I - Olfactory II - Optic III - Oculomotor
IV - Trochlear V - Trigeminal VI - Abducens VII - Facial VIII - Auditory IX - Glossopharyngeal X - Vagus XI - Accessory XII - Hypoglassal

24 กระดูกสันหลัง (vertebral column)
กระดูกสันหลัง ประกอบด้วยกระดูก 33 ชิ้น ได้แก่ กระดูกสันหลังส่วนคอ (cervical) 7 ชิ้น กระดูกสันหลังส่วนอก (thoracic) 12 ชิ้น กระดูกสันหลังส่วนเอว (lumbar) 5 ชิ้น กระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ (sacrum) 5 ชิ้นเชื่อมติดกัน กระดูกสันหลังส่วนก้นกบ (coccyx) 4 ชิ้นเชื่อมติดต่อกัน กระดูกสันหลังแต่ละชิ้นจะต่อเชื่อมกันโดยมีหมอนรองกระดูก (intervertebral disc) กั้นอยู่ และภายในกระดูกสันหลังแต่ละชิ้น จะมีช่องว่างอยู่ตรงกลาง (vertebral foramen) ซึ่งเป็นทางผ่านของไขสันหลัง โดยมีประสาทไขสันหลัง 31 คู่แตกแขนงออกมาจากด้านซ้ายและขวาระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละชิ้น สำหรับประสาทไขสันหลังคู่แรกจะตั้งต้นเหนือกระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นที่ 1

25 ประสาทไขสันหลัง (spinal nerve)
เป็นเส้นประสาทที่ออกจากไขสันหลังมี 31 คู่ มีชื่อเรียกตามตำแหน่งของกระดูกสันหลัง ดังนี้ 1. Cervical nerve เป็นเส้นประสาทของกระดูกสันหลังส่วนคอ มี 8 คู่ ไปเลี้ยงบริเวณด้านหลังของศีรษะ บริเวณคอ อกส่วนบน และเกือบทั้งหมดของแขน 2. Thoracic nerve เป็นเส้นประสาทของกระดูกสันหลังส่วนอก มี 12 คู่ ไปเลี้ยงบริเวณลำตัว ตั้งแต่อกส่วนบนถึงท้องน้อย รวมทั้งแขนด้านใน 3. Lumbar nerve เป็นเส้นประสาทของกระดูกสันหลังส่วนเอว มี 5 คู่ ไปเลี้ยงบริเวณขา หนีบ หน้าแข้ง และหลังเท้า 4. Sacral nerve เป็นเส้นประสาทของกระดูกกระเบนเหน็บ มี 5 คู่ ไปเลี้ยงบริเวณ สะโพก ขาด้านหลัง และเท้าด้านนอก 5. Coccygeal nerve เป็นเส้นประสาทของกระดูกก้นกบ มี 1 คู่ ไปเลี้ยงบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ และทวารหนัก

26

27 There are a total of 31 bilaterally-paired spinal nerves :
8 cervical 12 thoracic 5 lumbar 5 sacral 1 coccygeal

28 ไขสันหลัง (spinal cord)
ไขสันหลังจะมี gray mater เป็นแกนอยู่ตรงกลาง มีลักษณะเป็นรูปผีเสื้อ (butterfly shape) ตรงกลางมีรู (central canal) gray mater ประกอบด้วยเซลล์ประสาทและเส้นใยประสาท จะถูกล้อมรอบด้วย white mater ที่อยู่ด้านนอก

29 Spinal cord gray mater แบ่งออกเป็น
dorsal horn ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ประสาทที่แบ่งออกเป็น sensory neuron รับกระแสประสาทที่เข้ามาสู่ไขสันหลัง โดยผ่านทาง dorsal root ventral horn ประกอบด้วย กลุ่มเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่เป็น motor neuron นำกระแสประสาทออกจากไขสันหลังโดยผ่านทาง ventral root intermediate zone (lateral intermediated substance) ประกอบด้วย กลุ่มเซลล์ประสาทที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของอวัยวะภายใน (visceral function) ในไขสันหลังระดับอก และระดับส่วนต้นของเอว จะมีส่วนที่ยื่นทางด้านข้างของ intermediate zone เรียกว่า lateral horn ซึ่งจะมีกลุ่มเซลล์ประสาท ที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทอัตโนมัติส่วน sympathetic white mater ประกอบด้วยเส้นใยประสาทต่างๆ ที่นำข้อมูลไปสู่สมองส่วนอื่นๆ และเส้นใยประสาทที่นำข้อมูลจากส่วนอื่นๆ มาสู่ไขสันหลัง

30 http://faculty. southwest. tn

31 http://www. mhhe. com/biosci/ap/dynamichuman2/content/nervous/visuals

32

33 8.6 การทำงานของระบบประสาทสั่งการ
1. ระบบประสาทใต้อำนาจจิตใจ (voluntary nervous system) หรือ ระบบประสาทโซมาติก (somatic nervous system) ทำหน้าที่ ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลาย 2. ระบบประสาทอัตโนวัติ (Involuntary nervous system หรือ Autononic nervous system) หรือ ระบบประสาทนอกอำนาจจิตใจ ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อเรียบ ประกอบด้วย ระบบประสาทซิมพาเทติก (sympathetic nervous system) ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetic nervous system)

34 การทำงานของเส้นประสาทใน PNS
แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. ส่วนรับความรู้สึก (sensory division) 2. ส่วนที่สั่งการ (motor division) 2.1 เกิดกับหน่วยปฏิบัติการที่บังคับได้ เช่น กล้ามเนื้อยึดกระดูก จัดเป็น ระบบประสาทโซมาติก (somatic nervous system : SNS) 2.2 เกิดกับหน่วยปฏิบัติการที่บังคับไม่ได้ เช่น อวัยวะภายใน และต่อมต่าง ๆ จัดเป็น ระบบประสาทอัตโนวัติ (autonomic nervous system : SNS) แบ่งเป็น 2 ระบบย่อย คือ Sympathetic nervous system Parasympathetic nervous system

35 http://faculty. southwest. tn

36 8.6.1 ระบบประสาทโซมาติก (somatic nervous system : SNS)
ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อยึดกระดูก (skeleton muscle) โดยเซลล์ประสาทรับความรู้สึก จะรับกระแสประสาทจากหน่วยรับความรู้สึก ผ่านเส้นประสาทไขสันหลัง / เส้นประสาทสมอง เข้าสู่ไขสันหลัง / สมอง กระแสประสาทจะถูกส่งผ่านเส้นประสาทไขสันหลัง / เส้นประสาทสมอง ไปยังหน่วยปฏิบัติงาน (กล้ามเนื้อ) บางครั้งอาจทำงานโดยผ่านไขสันหลังเท่านั้น เช่น กระตุกขาเมื่อถูกหนามแทง หรือถูกเคาะหัวเข่า เป็นต้น

37

38 Knee-jerk reflex The knee-jerk reflex involves a sudden kicking movement of your lower leg after the tendon just below your kneecap has been tapped. Doctors often trigger this reflex to test the function of your nervous system. If the reaction is exaggerated or absent, it may indicate a damage to the central nervous system.

39 http://faculty. southwest. tn

40

41 Reflex action การตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้น โดยการกระตุกขา เกิดขึ้นเองโดยอัตโนวัติ เรียกว่า reflex อาการที่แสดงออก เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ เรียกว่า reflex action เป็นการตอบสนองทันทีทันใด เป็นการสั่งการของไขสันหลัง ไม่ต้องอาศัยคำสั่งจากสมอง การทำงานของระบบประสาทที่เป็นวงจร เรียกว่า reflex arc

42 Reflex arc Most reflexes don't have to travel up to your brain to be processed, which is why they take place so quickly. A reflex action often involves a very simple nervous pathway called a reflex arc. A reflex arc starts off with receptors being excited. They then send signals along a sensory neuron to your spinal cord, where the signals are passed on to a motor neuron. As a result, one of your muscles or glands is stimulated.

43 Reflex arc

44 8.6.2 ระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system)
ระบบประสาทชนิดนี้ศูนย์กลางอยู่ภายในไขสันหลัง แกนสมอง และ hypothalamus จะทำงานเป็นอิสระอยู่นอกอำนาจจิตใจ ทำหน้าที่ ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในของร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติ ระบบประสาทอัตโนมัตินี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้ 1. ระบบประสาทซิมพาเทติก (sympathetic nervous system) 2. ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetic nervous system) ระบบทั้ง 2 จะทำงานในสภาวะตรงข้ามกัน เพื่อควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในของร่างกาย

45

46

47 http://fig. cox. miami. edu/~cmallery/150/neuro/c7. 48. 22. systems

48 Sympthetic nervous system
ระบบประสาทซิมพาเทติก (sympathetic nervous system) จะเริ่มต้นจากไขสันหลังส่วนอกที่ 1 จนถึงกระดูกสันหลังส่วนเอวที่ 2 โดยมีศูนย์กลางอยู่ในไขสันหลัง ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์อยู่ใน lateral column ของเนื้อสีเทาของไขสัน หลังจากศูนย์กลางจะมีเส้นใยประสาท (preganglionic fiber) ไปสู่ปมประสาท คือ sympathetic ganglia ซึ่งจะอยู่ห่างจากอวัยวะเป้าหมาย แต่จะมีเส้นทางประสาทแยกออกไปควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ดังกล่าว การเร้าประสาทซิมพาเตติกจะทำให้ร่างกายเตรียมพร้อมสำหรับเผชิญอันตราย หรือภาวะฉุกเฉิน

49

50 Parasympathetic nervous system
โดยผ่านร่วมไปกับเส้นประสาทสมองบางเส้น และประสาทไขสันหลัง ส่วนกระเบนเหน็บ (sacral) ใยประสาทพาราซิมพาเทติกมากกว่าร้อยละ 80 อยู่ในเส้นประสาทเวกัส (vagus nerve) ซึ่งไปเลี้ยงบริเวณช่องอกและช่องท้อง ทำหน้าที่ ควบคุมการสะสมพลังงาน ควบคุมระดับการทำงานของอวัยวะภายใน หลอดเลือดส่วนต่างๆให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะทำงานได้

51

52 การทำงานของ ANS ประกอบด้วยหน่วยรับความรู้สึก มีเซลล์ประสาทรับความรู้สึก รับกระแสประสาท ผ่านรากบนของเส้นประสาทไขสันหลัง เข้าสู่ไขสันหลัง จากไขสันหลังจะมีเซลล์ประสาทออกจากไขสันหลังไป synapse กับเซลล์ประสาทสั่งการ ที่ปมประสาทอัตโนวัติ (autonomic ganglion) เรียก เซลล์ประสาทที่ออกจากไขสันหลัง ว่า เซลล์ประสาทก่อนไซแนปส์ เรียก เซลล์ประสาทสั่งการที่ออกจากปมประสาทอัตโนวัติ ว่า เซลล์ประสาทหลังไซแนปส์ ซึ่งนำกระแสประสาทสั่งการไปยังกล้ามเนื้อเรียบของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อหัวใจ และต่อมต่าง ๆ

53

54

55 Neurotransmitter สารสื่อประสาทที่ใช้ระหว่างเซลล์ประสาทก่อนและหลังไซแนปส์ของทั้ง 2 ระบบ คือ Acetylcholine สารสื่อประสาทที่ควบคุมหน่วยปฏิบัติงานของทั้ง 2 ระบบต่างกัน คือ sympathetic nervous system คือ Norepinephine parasympathetic nervous system คือ Acetylcholine

56

57 Autonomic reflexes Most reflexes go completely unnoticed because they don't involve a visible and sudden movement. Body functions such as digestion or blood pressure, for example, are all regulated by reflexes. These reflexes are known as autonomic reflexes.

58 References สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 3. กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : หน้า.

59 Thank you Miss Lampoei Puangmalai Major of biology
Department of science St. Louis College Chachoengsao


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 8 การรับรู้และการตอบสนอง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google