อำนาจสืบสวน สอบสวน (มาตรา 17-21) อำนาจสืบสวน สอบสวน (มาตรา 17-21)
การสืบสวน หมายความถึงการแสวงหาข้อเท็จจริงและ หลักฐานซึ่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้ปฏิบัติไป ตามอำนาจและหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของ ประชาชนและเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความคิด (มาตรา 2 (10)) ผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา ได้แก่ พนักงานฝ่าย ปกครองหรือตำรวจ (มาตรา 17) โดยตำรวจมีอำนาจสืบสวนทั่ว ราชอาณาจักร ส่วนพนักงานฝ่ายปกครองมีอำนาจสืบสวนเฉพาะในเขตที่ตนรับผิดชอบ เท่านั้น (ฎีกาที่ 140/2490) ดังนี้ ตำรวจแม้จะได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้ทำหน้าที่อื่นก็ยัง มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาอยู่ ดูฎีกาที่ 500/2537, 2390 /2527, 1670/2509
อำนาจสืบสวนของเจ้าพนักงานตำรวจ แตกต่างกับ อำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวน กล่าวคือพนักงาน สอบสวนมีอำนาจสอบสวนเฉพาะคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของ ตน ทั้งนี้เป็นไปตามบัญญัติมาตรา 18 ถึงมาตรา 19 การสอบสวนจึงจะชอบด้วยกฎหมาย ส่วนอำนาจสืบสวน ไม่มีกฎหมายจำกัดอำนาจให้เจ้าพนักงานตำรวจทำการ สืบสวนได้เฉพาะในท้องที่ที่ตนประจำการได้เท่านั้น เจ้า พนักงานตำรวจจึงมีอำนาจสืบสวนในท้องที่อื่นได้ตาม มาตรา 17 และมีอำนาจจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดได้ ตามมาตรา 2 (16) ฎีกาที่ 4711/2542, 1259/2542
เขตอำนาจพนักงานสอบสวน (มาตรา 18) การสอบสวน หมายความถึงการรวบรวม พยานหลักฐานและการดำเนินการทั้งหลายอื่นตาม ป. วิ. อ. ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่ กล่าวหา เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ (มาตรา 2 (11))
ผู้มีอำนาจสอบสวน ในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร (มาตรา 18 วรรคหนึ่ง) ผู้มีอำนาจสอบสวน คือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ปลัดอำเภอและข้าราชการตำรวจ ซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรี หรือเทียบเท่าชั้นนาย ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่ง ได้เกิด หรืออ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของ ตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของ ตนได้
ในเขตกรุงเทพมหานคร (มาตรา 18 วรรคสอง) ผู้มีอำนาจสอบสวน คือข้าราชการตำรวจชั้นนายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป หรือเทียบเท่าชั้นนายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตนได้ ข้อสังเกต จะเห็นได้ว่าความผิดที่เกิดในกรุงเทพมหานคร พนักงานฝ่ายปกครองไม่มีอำนาจสอบสวนเหมือนต่างจังหวัด
โดยสรุป พนักงานสอบสวนในท้องที่ที่ความผิดได้ เกิดขึ้น หรืออ้างว่าได้เกิดขึ้นหรือเชื่อ ว่าได้เกิดขึ้นหรือผู้ต้องหามีที่อยู่หรือ ถูกจับในเขตอำนาจของตน เป็นผู้มีอำนาจสอบสวน ถ้าการสอบสวนกระทำโดยพนักงานสอบสวนท้องที่อื่นที่ไม่มี เขตอำนาจ การสอบสวนก็ไม่ชอบมีผลทำให้พนักงาน อัยการไม่มีอำนาจฟ้อง ฎีกาที่ 4634/2543, 518, 2506 การที่ผู้ต้องหาไปปรากฏตัวต่อหน้าพนักงานสอบสวนที่ สถานีตำรวจ พนักงานสอบสวนจึงแจ้งข้อหาและควบคุมตัว ดำเนินคดี ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยว่าเป็นการจับกุมตัวแล้ว พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจดังกล่าวจึงมีอำนาจสอบสวน ฎีกาที่ 6916 / 2542
ฎีกาที่ 6916/2542 จำเลยได้มาปรากฏตัวต่อ หน้าพนักงานสอบสวน ณ สถานีตำรวจนครบาลทุ่ง มหาเมฆ พนักงานสอบสวนจึงแจ้งข้อหาให้ทราบและ ควบคุมตัวดำเนินคดี สถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆจึง เป็นสถานที่ที่จำเลยถูกจับ พนักงานสอบสวนสถานี ตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆจึงมีอำนาจทำการสอบสวนได้ ตาม ป. วิ. อ. มาตรา 18 วรรคสอง พนักงานอัยการ จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อสังเกต ตาม ป. วิ. อ. มาตรา 134 วรรคท้าย บัญญัติให้พนักงานสอบสวนมีหน้าที่ต้องนำตัวผู้ต้องหาที่เข้ามอบตัวไปศาลเพื่อให้ศาลออกหมายขัง (กรณีมีเหตุออกหมายขังตามมาตรา 71) และเมื่อพิจารณาประกอบข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการออกคำสั่งหรือหมายอาญา พ. ศ. 2548 ข้อ 7 ที่ว่าการที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาให้ผู้ต้องหาซึ่งเข้าหาพนักงานสอบสวนเองทราบ ไม่ถือเป็นการจับ.... และตามฎีกาที่ 8708 /2547
วินิจฉัยว่าการที่ผู้ต้องหามาพบพนักงานสอบสวนตามที่ ถูกเรียกและพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาให้ทราบทันที ยังถือไม่ได้ว่าผู้ต้องหาถูกจับ เพราะยังไม่มี คำสั่งหรือหมายของศาล….. ดังนั้น สถานีตำรวจที่รับ มอบตัวผู้ต้องหา จึงไม่เป็นท้องที่ที่จับกุมตัวจำเลยได้ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจดังกล่าวจึงไม่มีอำนาจ สอบสวน (เว้นแต่จะเป็นท้องที่เดียวกับท้องที่ความผิดเกิด อ้าง หรือเชื่อว่าเกิด หรือผู้ต้องหามีที่อยู่)
อย่างไรก็ตามมี ฎ. 1997/2550 วินิจฉัยว่าการที่ จำเลยเข้ามอบตัวและพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาให้ จำเลยทราบ ย่อมถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว และ มีฎีกาที่ 8726/2556 วินิจฉัยว่าพนักงานสอบสวนท้องที่ ที่รับคำร้องทุกข์ และจำเลยได้เข้ามอบตัวอันเป็นการ ถูกจับภายในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวน แล้วตามมาตรา 18 วรรคสอง จึงเป็นการสอบสวน โดยชอบด้วยกฎหมาย แต่มีฎีกาที่ 6635/2551 กลับไปวินิจฉัยตามแนวฎีกาที่ 8708 / 2547 ว่ายังถือ ไม่ได้ว่าจำเลยถูกจับ
พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจ ของตนเป็นการไม่ชอบ แม้จะเป็นการสอบสวนเพียง บางส่วนโดยส่วนอื่นจะเป็นการสอบสวนโดยพนักงาน สอบสวนผู้มีอำนาจก็ตาม ถือว่าคดีนั้นมีการ สอบสวนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการไม่ มีอำนาจฟ้อง ฎีกาที่ 371/2531 เมื่อการสอบสวนกระทำโดยพนักงานสอบสวนผู้มี อำนาจแล้ว การสอบสวนนั้นจะกระทำ ณ ที่ใดก็ได้ ซึ่งอาจทำการสอบสวนท้องที่อื่นก็ย่อมทำ ได้ ฎีกาที่ 661/2490
ฎีกาที่ 661/2490 เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ สอบสวน จะทำการสอบสวน ณ ที่ใดเวลาใดก็ได้ แล้วแต่จะเห็นสมควร แม้จะทำการสอบสวนในที่ซึ่งอยู่ ต่างจังหวัดกับท้องที่ของตนก็ย่อมทำได้ การสอบสวนที่มีพนักงานสอบสวนซึ่งไม่มีอำนาจ สอบสวนร่วมรับฟังอยู่ด้วย ไม่ทำให้การสอบสวนเสียไป ฎีกาที่ 7475/2553
ฎีกาที่ 7475/2553 ร้อยตำรวจเอก ส ฎีกาที่ 7475/2553 ร้อยตำรวจเอก ส. เป็น ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดขึ้นภายในเขต อำนาจของตนตาม ป. วิ. อ. มาตรา 18 วรรคหนึ่ง แม้ระหว่างสอบสวนจะมีพนักงานสอบสวนซึ่งไม่ มีอำนาจสอบสวนร่วมรับฟังอยู่ด้วยก็ไม่ทำ ให้การสอบสวนนั้นเสียไป เมื่อพันตำรวจโท น. ได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ พันตำรวจโท น. ย่อมมีอำนาจสอบสวนก่อนร้อยตำรวจ เอก ส. โอนสำนวนการสอบสวน และหลังจากนั้นร้อย ตำรวจเอก ส. ยังคงมีอำนาจสอบสวนเพื่อช่วยเหลือพัน ตำรวจโท น. ได้ดังนั้น การสอบสวนคดีนี้ขอบด้วย กฎหมาย พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องตาม ป. วิ. อ. มาตรา 120
ข้อสังเกต เรื่องนี้ มีข้อเท็จจริงน่าสนใจหลาย ประการ ประการแรก การสอบสวนคดีนี้กระทำต่อหน้าพนักงาน สอบสวน สภ. นาทวี ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนนอกเขต อำนาจ ไม่ทำให้การสอบสวนเสียไป ประการที่ 2 เมื่อพันตำรวจโท น. ได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ย่อมมีอำนาจ สอบสวนทันที แม้ยังไม่ได้รับโอนสำนวนการสอบสวนจาก ร้อยตำรวจเอก ส. ก็ตาม
ประการที่ 3 แม้พันตำรวจโท น ประการที่ 3 แม้พันตำรวจโท น. ได้รับแต่งตั้ง เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบก็ตาม ร้อยตำรวจ เอก ส. ก็ยังมีอำนาจสอบสวนอันเป็นการช่วยเหลือพัน ตำรวจโท น. อยู่ ผู้ที่มีอำนาจสอบสวนเป็นไปตาม ป. วิ. อ. มาตรา 18 แม้จะขัดแย้งแตกต่างจากระเบียบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก็ไม่ทำให้ อำนาจสอบสวนเปลี่ยนแปลงไป ถือว่าการสอบสวนยังชอบด้วยกฎหมาย ฎีกา ที่ 876/2555
ความผิดเกิด อ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิด เมื่อพนักงานสอบสวนทราบแน่ชัดแล้วว่าความผิดเกิด ในท้องที่อื่นที่ไม่ใช่ท้องที่ของตนแล้ว ก็ไม่ใช่ กรณีที่พนักงานสอบสวนคนดังกล่าว จะอ้างหรือเชื่อว่า ความผิดเกิดในท้องที่ของตนได้อีก พนักงานสอบสวน ดังกล่าวไม่มีอำนาจสอบสวน ฎีกาที่ 6142/2548
กรณีพนักงานสอบสวนเชื่อว่าความผิดได้เกิดภายในเขต อำนาจของตน ซึ่งความจริงเหตุเกิดขึ้นอีกท้องที่หนึ่ง ย่อมมีอำนาจสอบสวนได้ เช่น เหตุเกิดบริเวณแนวเขต ติดต่อต่างท้องที่กัน โดยบริเวณดังกล่าวไม่มีสิ่งใดบ่งบอก ว่าเป็นเขตของท้องที่ใด ย่อมทำให้เจ้าพนักงาน ตำรวจและพนักงานสอบสวนเชื่อว่าความผิดนั้น เกิดภายในเขตอำนาจของตน การสอบสวนนั้นชอบด้วย มาตรา 18 ฎีกาที่ 5982/2550
จำเลยรับฝากทรัพย์จากผู้เสียหายแล้วปฏิเสธว่าไม่ได้ รับฝากไว้ ถือว่าเหตุความผิดฐานยักยอกเกิดใน ห้องที่ที่จำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝาก ทรัพย์ พนักงานสอบสวนในท้องที่ดังกล่าวมีอำนาจ สอบสวนได้ ฎีกาที่ 1573/2555 จำเลยวางยาพิษผู้ตายในท้องที่หนึ่ง แต่ผู้ตายไปถึง แก่ความตายอีกท้องที่หนึ่ง ถือว่าในท้องที่ จำเลยวางยาพิษเป็นท้องที่ความผิดเกิด ฎีกา ที่ 3337/2543 ความผิดที่เกิดขึ้นในเรือไทย ถือว่าเป็นการกระทำ ความผิดในราชอาณาจักรตาม ป. อ. มาตรา 4 พนักงานสอบสวนกองปราบปราม สำนักงานตำรวจ แห่งชาติ มีอำนาจสอบสวน ฎีกาที่ 2670/2535
คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจเพิ่มเติม ฎีกาที่ 2094/2536 การที่จะพิจารณาว่าพนักงานสอบสวนหรือไม่ จะต้องพิจารณาข้อบังคับทั้งหลายซึ่งว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของตำรวจประกอบด้วย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป. วิ. อ. มาตรา 16 เมื่อตามระเบียบกรมตำรวจและประกาศ กระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดหน่วยงานและเขตอำนาจการรับผิดชอบ ฯ ของหน่วย ราชการในกรมตำรวจระบุไว้ในข้อ 7 ว่ากองกำกับการ 7 มีอำนาจหน้าที่สืบสวน สอบสวนคดีอาญาต่าง ๆ ตามกฎหมายด้วยยาเสพติดให้โทษ ฯลฯ ทั่วราชอาณาจักรซึ่ง เป็นข้อบังคับว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ตำรวจ ดังนั้น พนักงานสอบสวนในกองกำกับการ 7 กองปราบปรามจึงมีอำนาจสอบสวนคดีความผิดต่อ พ. ร. บ. ยาเสพติดให้โทษ พ. ศ. 2522 ซึ่งเหตุเกิดที่จังหวัดเชียงใหม่ได้
ฎีกาที่ 3941/2541 ข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยที่ 1/2509 วางระเบียบในการสอบสวนข้าราชการฝ่ายปกครองว่าต้องมีพนักงานฝ่ายปกครองร่วมกับพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจด้วยนั้น ก็เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ต้องหาที่มีลักษณะพิเศษ เช่น กรณีผู้ต้องหาให้การรับสารภาพโดยถูกพนักงานสอบสวนขู่เข็ญ เป็นต้น หากการสอบสวนนั้นไม่มีพนักงานฝ่ายปกครองร่วมด้วย การสอบสวนนั้นย่อมไม่ชอบ รับฟังไม่ได้ว่าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพแต่คดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอด สิทธิของจำเลยไม่ได้รับการกระทบกระเทือนแต่อย่างใด การสอบสวนจึงชอบตาม ป. วิ. อ. มาตรา 18 แล้ว