เมืองไทยกับกองทุน การเงินระหว่างประเทศ (IMF)
เมื่อสังคมเศรษฐกิจไทยล้มละลาย รัฐบาลไทยกับเงินกู้ฉุกเฉินจาก IMF เหตุใดรัฐบาลไทยจึงต้องขอเงิน ฉุกเฉินจาก IMF เงินกู้ฉุกเฉินจาก IMF กับอธิปไตยใน การกำหนดนโยบาย IMF ปีศาจหรือนักบุญ? IMF Policy Conditional ties
เมื่อสังคมเศรษฐกิจไทยล้มละลาย พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ รัฐบาลไทยสมัยนั้น ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ตัดการอิงสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ผลทำให้ค่าเงิน บาทลดลงอย่างมาก วิกฤตินี้ก็ขยายสู่ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งญี่ปุ่นอีกด้วย ส่งผลให้ ราคาสินทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ มีการ ปรับตัวลดลง ส่วนภาคเอกชนก็มีหนี้สินเพิ่มขึ้น ประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดนั้น ได้แก่ เกาหลีใต้ ไทย และอินโดนีเซีย
สาเหตุของวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง 1. หนี้ต่างประเทศ ประเทศไทยเกิดการขยายตัวทางระบบการเงิน เกิดการก่อหนี้ และการกู้เงินจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นผลมา จาก - พ.ศ. 2533 ไทยเปิดระบบการเงินสู่สากล ตามพันธะสัญญาใน IMF - พ.ศ. 2534 ไทยประกาศปริวรรตเงินตราต่างประเทศ (การปริวรรต เงินตราต่างประเทศ หรือ International Monetary System คือ แนว ทางการควบคุมปริมาณเงิน โดยประเทศต่าง ๆ จะรักษาค่าของเงินให้ คงที่ จากการเทียบกับสิ่งของบางอย่าง ส่วนใหญ่ใช้โลหะเงินและ ทองคำ) - พ.ศ. 2535 ธนาคารพาณิชย์ตั้งกิจการ “วิเทศธนกิจไทย” ( BIBF – Bangkok International Banking Facilities คือ ธนาคารที่ทำธุรกรรม การกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ แล้วนำมาให้กู้ทั้งภายในและนอกประเทศ ไทย หรือคือการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีนั่นเอง ) และในปี พ.ศ. 2536 มีธนาคารพาณิชย์ 46 แห่งได้รับอนุญาตให้ดำเนินการ แต่รัฐบาล ไม่มีการดูแลที่มีประสิทธิภาพ
สาเหตุของวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง 2. การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ประเทศไทยมีการพัฒนาการผลิตเพื่อ ส่งออก ที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ดุลบัญชี เดินสะพัดของไทยเกิดการขาดดุลอย่าง ต่อเนื่อง เพราะการส่งออกที่หดตัว
สาเหตุของวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง 3. ฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ช่วง พ.ศ. 2530 ถึง พ.ศ. 2539 กิจการอสังหาริมทรัพย์ เกิดขึ้น และเติบโตมาก แต่มีการกู้ยืมเงินต่างประเทศ และการระดมทุน ในตลาดหลักทรัพย์เพื่อมาลงทุน ต่อมาราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการ จึงเข้ามาลงทุนกันจำนวนมากเพื่อเก็งกำไร ก่อให้เกิด “ภาวะ เศรษฐกิจฟองสบู่” ( Economic Bubble / Bubble Economy ) ภาวะที่ราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มสูงกว่าความเป็นจริง และเพิ่ม อย่างต่อเนื่องสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ – Non Performing Loan หรือ NPL ส่วนหนี้สูญ คือ หนี้ที่เราไม่สามารถทวงจาก ลูกหนี้ได้ เพราะลูกหนี้อาจหายสาบสูญ หรือเสียชีวิต )
สาเหตุของวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง 4. การดำเนินงานของสถาบัน การเงิน - พ.ศ. 2539 ถึง พ.ศ. 2540 รัฐบาลไม่ เชื่อมั่นสถาบันการเงินในประเทศ และสั่งปิด สถาบันการเงินไปถึง 58 สถาบัน - โดยรัฐบาลต้องใช้เงินสนับสนุน สถาบันการเงินเหล่านั้นถึง 6 แสนล้านบาท จาก “กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบัน การเงิน” ซึ่งเป็นหน่วยงานของธนาคารแห่ง ประเทศไทย
สาเหตุของวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง 5. การโจมตีค่าเงินบาท โดยนักลงทุนต่างชาติ มีการจัดตั้งกองทุน “Hedge Funds” เพื่อโจมตีค่าเงินบาทไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงนำเงินทุนสำรองถึง 24,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐมาปกป้องค่าเงินบาท เมื่อเงินสำรองมีน้อยลง นายเริงชัย มะระกานนท์ ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจึงประกาศ “ลอยตัว ค่าเงินบาท” เมื่อ 2 ก.ค. 2540 เป็นการเริ่มต้นวิกฤติ เศรษฐกิจต้มยำกุ้ง