งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

INB3202 การจัดการการเงินระหว่างประเทศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "INB3202 การจัดการการเงินระหว่างประเทศ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 INB3202 การจัดการการเงินระหว่างประเทศ
บทที่3 ดุลการชำระเงิน อ.พัทธนันท์ ชัยบุตร INB3202 การจัดการการเงินระหว่างประเทศ

2 ดุลการชำระเงิน ดุลการชำระเงิน หมายถึง รายงานทางสถิติที่ได้จากการรวบรวมรายการทางเศรษฐกิจและการเงินอย่างเป็นระบบระหว่างผู้มีถิ่นฐานของประเทศหนึ่ง กับผู้มีถิ่นฐานของประเทศอื่น ๆ ในรอบระยะเวลาหนึ่ง ถ้ารายรับ > รายจ่าย ดุลการชำระเงินเกินดุล รายจ่าย > รายรับ ดุลการชำระเงินขาดดุล

3 ความสำคัญของดุลการชำระเงิน
เป็นรายการที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรเศรษฐกิจมหภาค เช่น GDP , เงินเฟ้อ, อัตราดอกเบี้ย, อัตราแลกเปลี่ยน ทราบถึงระดับทุนสำรองระหว่างประเทศ ดุลการชำระเงินจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงแรงกดดันที่มีต่อค่าเงินสกุลท้องถิ่นของประเทศนั้น ๆ ภาคธุรกิจสามารถคาดคะเนศักยภาพของตลาด

4 ดุลการชำระเงิน สามารถแสดงให้เห็นถึงฐานะทางการเงินของประเทศนั้น ๆ ว่ามีระดับของการขาดดุลหรือเกินดุลอย่างไร ภายในรอบระยะเวลาหนึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดทำ จัดทำรายเดือน รายไตรมาส และรายปี รัฐบาลปรับเปลี่ยนนโยบายทางเศรษฐกิจให้สอดคล้องและทันสมัยกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

5 ส่วนประกอบของดุลการชำระเงิน
1. บัญชีเดินสะพัด (Current Account) 2. บัญชีทุนเคลื่อนย้าย (Capital and Financial Account) 3. รายการสถิติคลาดเคลื่อน (Errors and Omissions) 4. บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ (International Reserve Account)

6 ดุลการชำระเงิน 1. บัญชีเดินสะพัด (Current Account) ประกอบด้วย 1.1 บัญชีดุลการค้า (Trade Account) คือ การบันทึกรายการสินค้านำเข้าและส่งออกของประเทศ 1.2 บัญชีดุลบริการ (Service Account) คือการบันทึกรายการรับและให้บริการทางด้านการขนส่ง ท่องเที่ยว การบริการของรัฐ และการบริการอื่น ๆ 1.3 บัญชีรายได้ (Income Account) รายได้รับจากแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ , รายได้จากการลงทุน ส่วนรายจ่ายนั้นจะเกี่ยวกับส่วนของทุนและหนี้สิน เช่น การจ่ายเงินปันผล 1.4 บัญชีเงินโอน (Current Transfer) คือ การบันทึกรายการให้เปล่าที่เป็นตัวเงินและสิ่งของเช่น การส่งเงินกลับมาให้ญาติ , การส่งเงินไปให้บุตรหลานที่เรียนในต่างประเทศ

7 2. บัญชีทุนเคลื่อนย้าย (Capital and Financial Account)
2.1 เงินลงทุนโดยตรง (Direct Investment) คือ รายการที่มีการเคลื่อนย้ายลงทุนไปยังอีกประเทศหนึ่งเพื่อหวังผลระยะยาว เช่น การสร้างโรงงาน 2.2 เงินลงทุนในหลักทรัพย์ (Portfolio Investment) ทั้งระยะสั้นและระยะยาว 2.3 เงินทุนประเภทอื่น ๆ (Other Investment) คือ รายการสินเชื่อทางการค้า เงินกู้ยืม และบัญชีเงินฝากระหว่างประเทศ

8 3. รายการสถิติคลาดเคลื่อน (Errors and Omission)
เกิดจากความผิดพลาดในการรวบรวมข้อมูล หรือ การเก็บข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนเนื่องจากอุปสรรคและปัญหาต่าง ๆ เช่น การลักลอบสินค้าหนีภาษี การค้ายาเสพติด การฟอกเงิน การจัดเก็บตัวเลขที่นักท่องเที่ยวใช้จ่ายในประเทศไทย

9 4. บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ (International Reserve Account)
คือ ยอดที่แสดงการเปลี่ยนแปลงในปริมาณทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของประเทศ ในรอบระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการปรับความแตกต่างระหว่างยอดรวมทางด้านรายรับและรายจ่ายเงินตราต่างประเทศ ของทั้งบัญชีเดินสะพัดและบัญชีทุนเคลื่อนย้ายของประเทศนั้น ๆ ทุนสำรองของประเทศจะประกอบด้วย ทองคำ หลักทรัพย์รัฐบาล, เงินตราสกุลหลัก, สิทธิไถ่ถอนพิเศษ และ เงินสำรองที่มีอยู่ที่ IMF

10 ความหมายของรายได้ประชาชาติ
รายได้ประชาชาติ (national income)หมายถึงรายได้ของประชากรในประเทศใดประเทศหนึ่งรวมกันในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือมูลค่าของสินค้าและบริการรวมทั้งหมดที่ประชากรของประเทศนั้นผลิตได้ในรอบระยะช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง

11 รายได้ประชาชาติประกอบด้วย
1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (gross domestic product: GDP) หมายถึง มูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตในประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ โดยไม่คำนึงว่าผลผลิตนั้นจะผลิตขึ้นมาด้วยทรัพยากรของชาติใด ซึ่งคิดค้นโดย Simon Kuznets นักเศรษฐศาสตร์ชาวรัสเซีย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงมาตรฐานการครองชีพของประชากรในประเทศนั้น ๆ 2. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (Gross National Product, GNP) คือมูลค่าสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นด้วยทรัพยากรของประเทศในระยะเวลาหนึ่ง GNP = GDP + รายได้สุทธิจากต่างประเทศ

12 รายได้ประชาชาติประกอบด้วย
3. ผลิตภัณฑ์ในประเทศสุทธิ (Net Domestic Product, NDP)คือผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้น (GDP) หักด้วยค่าเสื่อมราคา (depreciation) 4. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิ (Net National Product, NNP)คือผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (GNP) หักด้วยค่าเสื่อมราคา เหตุที่นำค่าเสื่อมราคามาหัก ออกเพราะต้องการเฉพาะมูลค่าของผลผลิตสุทธิที่ประเทศผลิตได้แท้จริง 5. รายได้ประชาชาติ (National Income, NI)  รายได้ประชาชาติหมายถึงผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธินั่นเอง NI = NNP - ภาษีทางอ้อมธุรกิจ ในกรณีที่ไม่มีภาษีทางอ้อมธุรกิจ รายได้ประชาชาติและ NNP จะมีค่าเท่ากันพอดี

13 รายได้ประชาชาติประกอบด้วย
6. รายได้ส่วนบุคคล (Personal Income, PI)  คือรายได้ทั้งหมดก่อนหักภาษี เงินได้ที่ครัวเรือนได้รับจริง (income received) แตกต่างจากรายได้ประชาชาติคือ รายได้ประชาชาติเป็นรายได้ที่เกิดขึ้นจริงจากการผลิต (income earned) ซึ่งไม่จำเป็นต้องกลายเป็นรายได้ส่วนบุคคลทั้งหมด เพราะแม้รายได้จะเกิดขึ้นแล้วก็ตาม  รายได้ส่วนบุคคล = รายได้ประชาชาติ - (ภาษีประกันสังคม + ภาษีรายได้บริษัท + กำไรที่ยังไม่ได้จัดสรร) + เงินโอน + ดอกเบี้ยที่เอกชนได้รับจากรัฐบาล

14 รายได้ประชาชาติประกอบด้วย
7. รายได้ที่ใช้จ่ายได้จริง (Disposable Income, DI)  รายได้ทั้งหมดที่ครัวเรือนได้รับมา (PI) ส่วนหนึ่งจะต้องนำมาเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคล (personal income tax) ที่เหลือจึงจะสามารถนำไปใช้จ่ายได้ รายได้ชนิดนี้แสดงถึงอำนาจซื้อ (purchasing power) ที่แท้จริงของประชาชน รวมทั้งความสามารถในการออมด้วย DI = PI - ภาษีเงินได้

15 2. ความหมายของดุลการชำระเงิน
2.1 รายการทางเศรษฐกิจและการเงิน 2.2 ผู้มีถิ่นฐาน 2.3 รอบระยะเวลา

16 3.ความสำคัญของการจัดทำบัญชีดุลการชำระเงิน
3.1 การพิจารณารายรับและรายจ่ายของเงินตราสกุลต่างประเทศ เพื่อช่วยวางแผนเศรษฐกิจของประเทศ 3.2 การคาดคะเนของศักยภาพของตลาด (Market Potential) 3.3 การวางนโยบายการเงินและการคลังของประเทศ (Monetary and Fiscal Policies)  นโยบายการเงิน ได้แก่ นโยบายอัตราดอกเบี้ย การซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาลจากธนาคารพาณิชย์ (Repurchase Agreement) ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน นโยบายการคลัง เช่น การใช้จ่ายของภาครัฐบาล นโยบายการจัดเก็บภาษี

17 ความหมายของดุลการชำระเงิน
ดุลการชำระเงิน (Balance of Payments) คือ บัญชีที่จัดทำขึ้นเพื่อดูการไหลเข้าและออกของเงินตราต่างประเทศ จากการทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ซึ่งในที่นี้หมายถึง ระหว่างผู้มีถิ่นฐานในประเทศ (residents) กับผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศ (nonresidents) ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น ในรอบ 1 เดือน หรือในรอบ 1 ไตรมาส หรือในรอบ 1 ปี เป็นต้น มีทั้งในรูปของเงินสกุลบาทและเงินสกุลหลัก ได้แก่ ดอลลาร์สหรัฐฯ

18 ดุลการชำระเงิน ดุลการชำระเงินอาจจะเกินดุล (Surplus) สมดุล (Balance) หรือขาดดุล (Deficit) ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบแต่ละประเภทที่เกี่ยวข้องในบัญชีดุลการชำระเงิน โดย -       เกินดุล เมื่อมีการไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศมากกว่าการไหลออกของเงินตราต่างประเทศ -       สมดุล เมื่อมีการไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศเท่ากับการไหลออกของเงินตราต่างประเทศ -       ขาดดุล เมื่อมีการไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศน้อยกว่าการไหลออกของเงินตราต่างประเทศ

19 บัญชีดุลการชำระเงินมีองค์ประกอบดังนี้
1. บัญชีเดินสะพัด (Current Account) ซึ่งประกอบไปด้วย 1) บัญชีการค้า (Trade Account) ได้แก่ รายการการค้าสินค้าระหว่างประเทศ หรือส่วนที่เรียกว่า การส่งออก และการนำเข้า 2) บัญชีบริการ (Service Account) ได้แก่ รายการการค้าบริการระหว่างประเทศ 3) บัญชีรายได้และเงินโอน (Income and Current Transfers Account) เช่น รายได้จากแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ หรือการส่งกลับรายได้ของชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในไทย

20 2. บัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย (Capital and Financial Account)
ประกอบไปด้วยการเคลื่อนย้ายเงินทุนของภาคเอกชนและภาคทางการ        1) การเคลื่อนย้ายเงินทุนของภาคเอกชน เช่น  - การลงทุนโดยตรง ที่เรียกว่า FDI (Foreign Direct Investment) เช่น การเข้ามาเปิดบริษัท เปิดโรงงานผลิตสินค้าในไทย 2) การเคลื่อนย้ายเงินทุนของภาคทางการ ได้แก่ เงินกู้และสินเชื่อระหว่างประเทศ เช่น การกู้ยืมเงินมาเพื่อลงทุนในโครงการสร้างรถไฟฟ้าของรัฐบาล เป็นต้น

21 3. บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ (International Reserve Account)
เป็นบัญชีที่เป็นทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของประเทศ ซึ่งเมื่อตอนที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ทุนสำรองตัวนี้เองที่เป็นตัวที่ปรับลดลงค่อนข้างมาก โดยประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นทองคำที่ฝากไว้กับ IMF (กองทุนการเงินระหว่างประเทศ) และธนาคารแห่งประเทศไทย นอกจากทองคำแล้วยังมีส่วนที่เป็นเงินตราต่างประเทศสกุลหลัก อาทิ ดอลลาร์สหรัฐฯ เยนญี่ปุ่น ยูโร ฯลฯ รวมทั้งตั๋วเงินระยะสั้นที่ในรูปของเงินตราต่างประเทศ ที่มีผลตอบแทน เป็นต้น

22 4. บัญชีความผิดพลาดและคลาดเคลื่อนทางสถิติ (Errors and Omissions)
บัญชีนี้เกิดขึ้นเพื่อเก็บตกข้อผิดพลาดและความคลาดเคลื่อนในการจัดเก็บสถิติที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศดังที่ได้กล่าวไปแล้ว กับการเปลี่ยนแปลงของระดับทุนสำรองระหว่างประเทศในแต่ละช่วงเวลา กล่าวคือ บัญชีนี้เป็นตัวปรับรายการความคลาดเคลื่อนทางสถิติ เพื่อให้ผลรวมของกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นมีค่าเท่ากับการเปลี่ยนแปลงของทุนสำรองระหว่างประเทศ

23 สรุป ดุลการค้า ก็ให้คิดถึงแต่เฉพาะเรื่องของนำเข้า-ส่งออกสินค้า  -       ดุลบริการ ก็นึกถึงเรื่องการบริการ โดยเฉพาะเรื่องของการท่องเที่ยว และค่าขนส่ง -       ดุลรายได้และเงินโอน ให้นึกถึงการส่งกลับรายได้จากการไปทำงานในต่างแดน และการโอนเงินบริจาค -       ดุลบัญชีเดินสะพัด = ดุลการค้า + ดุลบริการ + ดุลรายได้และเงินโอน -       ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย   ให้คิดถึงเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการเดินทางของเงินทุน เช่น ลงทุนในตลาดหุ้น การเอาเงินมาลงทุนเปิดกิจการโรงงาน เป็นต้น -       ดุลการชำระเงิน = ดุลบัญชีเดินสะพัด + ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย -       การเปลี่ยนแปลงในดุลการชำระเงิน = การเปลี่ยนแปลงในบัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ + ความผิดพลาดคลาดเคลื่อนทางสถิติ


ดาวน์โหลด ppt INB3202 การจัดการการเงินระหว่างประเทศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google