งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ชื่อ –สกุล นายอนุพันธ์ วุธประดิษฐ์ ตำแหน่ง ผช.หัวหน้าหน่วย (พพธ.7)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ชื่อ –สกุล นายอนุพันธ์ วุธประดิษฐ์ ตำแหน่ง ผช.หัวหน้าหน่วย (พพธ.7)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ชื่อ –สกุล นายอนุพันธ์ วุธประดิษฐ์ ตำแหน่ง ผช.หัวหน้าหน่วย (พพธ.7)
ประวัติวิทยากร ชื่อ –สกุล นายอนุพันธ์ วุธประดิษฐ์ ตำแหน่ง ผช.หัวหน้าหน่วย (พพธ.7) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตร ( ธ.ก.ส.) กระทรวงการคลัง การศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง รัฐศาสตร์ การปกครอง รบ. นิติศาสตร์บัณฑิต นบ. อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

2 ประสบการณ์ - เจ้าหน้าที่ประสานงาน UN 2535 -2537
- ธนาคาร ธ.ก.ส ปัจจุบัน - อาจารย์พิเศษวิทยาลัยชุมชนตาก วุฒิบัตร ผู้เชี่ยวชาญการตรวจสอบข้าวและคุณภาพข้าว กระทรวงการคลัง , กระทรวงเกษตรฯ 2542 - หลักสูตรผู้เชี่ยวชาญการตรวจสอบสถาบันเกษตรกร กระทรวงการคลัง ,กรมตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ 2554 อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

3 วุฒิบัตร - หลักสูตรอาจารย์ผู้สอนระดับอนุปริญญา
วุฒิบัตร - หลักสูตรอาจารย์ผู้สอนระดับอนุปริญญา วิทยาลัยชุมชน สำนักงานคณะกรมการ การอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ วุฒิบัตร - หลักสูตร นวัตกรรมสำหรับผู้บริหาร ระดับสูง สำนักนวัตกรรมแห่งชาติ NIA อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

4 มาตรการสนับสนุนเงินทุนใหม่ๆ
สำหรับเกษตรกร/ผู้ประกอบการในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก

5 นโยบายสินเชื่อ ธ.ก.ส. ตามพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ.2509 มีเจตนารมณ์ให้ ธนาคารเป็นสถาบันการเงินเพื่อพัฒนาชนบท โดยให้ความช่วยเหลือทางการเงินหรือการบริหารจัดการ แก่เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร บุคคล กลุ่มบุคคล ผู้ประกอบการ สหกรณ์ กองทุนหมู่บ้านหรือชุมชน รวมทั้ง องค์กรที่มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนประกอบอาชีพของเกษตรกรหรือชุมชน และตามแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (ปีบัญชี 2560 – 2564) ซึ่งกำหนดภารกิจให้ธนาคาร มุ่งเน้นการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนแบบองค์รวม การเพิ่มขีดความสามารถภาคเกษตร การพัฒนาทางการเงินอย่างครบวงจร การบริหารเงินทุนให้สมดุลและเพียงพอ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร และความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อการยกระดับ คุณภาพชีวิตของเกษตรกร ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหาร และบริการ ประชาชน ธนาคารจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์สนับสนุนสินเชื่อเชิงรุกอย่างมีคุณภาพด้วยหลักธรรมาภิบาล เพื่อให้ สัดส่วนสินเชื่อภาคเกษตรต่อสินเชื่อนอกภาคเกษตรมีหลักการพิจารณาที่ชัดเจน สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์เงินกู้ ให้สอดคล้องกับศักยภาพที่เพิ่มขึ้นของลูกค้า อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

6 วิสัยทัศน์ของธนาคาร “เป็นธนาคารพัฒนาชนบทที่มั่นคง มีการจัดการที่ทันสมัย ให้บริการทางการเงินครบวงจร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรอย่างยั่งยืน” อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

7 พันธกิจ เพื่อก้าวสู่การเป็นธนาคารพัฒนาชนบทเต็มรูปแบบ ธ. ก. ส
พันธกิจ เพื่อก้าวสู่การเป็นธนาคารพัฒนาชนบทเต็มรูปแบบ ธ.ก.ส. ได้กำหนดพันธกิจสำคัญ ไว้5 ประการ คือ 1 บริการทางการเงินครบวงจร เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า มุ่งเน้นการเพิ่ม ประสิทธิภาพของห่วงโซ่คุณค่าสินค้าเกษตร โดยความร่วมมือกับเครือข่าย 2. พัฒนาการบริหารและการจัดการทรัพยากรร่วมกับเครือข่าย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ของเกษตรกร ชุมชน สถาบันเกษตรกร และองค์กรการเงินชุมชน อย่างเกื้อกูล แบ่งปัน เป็นธรรม 3. บริหารจัดการเงินทุนให้เพียงพอ และมีต้นทุนที่เหมาะสมต่อลูกค้าและการดำเนินงาน 4. ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร และการให้บริการ รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของลูกค้า 5. มุ่งมั่นหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและยึดมั่นในการสร้างคุณค่าร่วมที่สมดุลด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างมั่นคง ยั่งยืน อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

8 การให้กู้เบิกเงินเกินบัญชี (Overdraft)

9 ลักษณะการให้สินเชื่อ
การให้กู้เบิกเงินเกินบัญชี (Overdraft) เป็นวิธีการให้สินเชื่อประเภทหนึ่งของธนาคาร ที่แตกต่างจากการให้สินเชื่อค่าใช้จ่ายและค่าลงทุนตามปกติ โดยธนาคารจะยินยอมให้ผู้กู้เบิกเงินเกินจำนวนที่มีอยู่ในบัญชีกระแสรายวันของผู้กู้ได้เท่ากับจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในอายุของวงเงิน ซึ่งธนาคารจะคิดดอกเบี้ยเฉพาะจำนวนเงินส่วนที่เกินกว่าจำนวนเงินฝากที่มีอยู่ในบัญชีกระแสรายวัน โดยมีกำหนดชำระคืนดอกเบี้ยเป็นรายเดือน และทบดอกเบี้ยส่วนที่ไม่ได้ชำระเข้าเป็นต้นเงิน ทั้งนี้ การเปิดบัญชีกระแสรายวันต้องเปิดในนามของผู้ใช้วงเงินเบิกเกินบัญชีเพียงคนเดียวเท่านั้น (ห้ามเปิดบัญชีร่วม) และกำหนดให้การเบิกใช้วงเงินผ่านบัญชีกระแสรายวัน โดยการสั่งจ่ายเช็ค (Cheque) ก็ดี เอกสารรูปแบบใดๆหรือ บัตรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น บัตร ATM เป็นต้น

10 คุณสมบัติของผู้ขอกู้
1. เป็นลูกค้าที่ขึ้นทะเบียนตามข้อบังคับของธนาคาร ได้แก่ เกษตรกร บุคคล กลุ่มบุคคล กลุ่มเกษตรกร กองทุนหมู่บ้านหรือชุมชน ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล องค์กร สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ร้านค้า สหกรณ์บริการ สหกรณ์ออมทรัพย์ และสหกรณ์เครดิตยูเนียน กรณีผู้ขอกู้ยังไม่เป็นลูกค้าของธนาคารให้สาขาดำเนินการรับผู้ขอกู้ขึ้นทะเบียนเป็นลูกค้าตามวิธีปฏิบัติและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องก่อนให้สินเชื่อ 2. เป็นลูกค้าที่ประกอบธุรกิจซึ่งมีความจำเป็นใช้เงินทุนหมุนเวียน เพื่อเสริมสภาพคล่องในการประกอบอาชีพ และมีแหล่งที่มาของรายได้สอดคล้องกับการกำหนดชำระหนี้เป็นรายเดือน 3. เป็นลูกค้าที่ชำระหนี้ได้ตามกำหนดและเปิดบัญชีกระแสรายวันกับธนาคาร

11 อายุและวงเงินกู้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี
1. ธนาคารกำหนดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นแบบไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด โดยกำหนดอายุวงเงินกู้ให้เป็นคราว ๆละไม่เกิน 12 เดือน ลูกค้าสามารถเบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงินที่ธนาคารอนุมัติได้ตลอด อายุวงเงิน เมื่อถึงกำหนดหักทอนบัญชีกระแสรายวัน ซึ่งธนาคารกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือนนับจากวันกู้ หากลูกค้ามีหนี้ในบัญชีกระแสรายวัน (ตัวแดง) ไม่เกินวงเงินที่ได้รับอนุมัติ ลูกค้าสามารถเบิกใช้วงเงินได้ต่อไป หากได้รับอนุมัติต่ออายุวงเงิน เว้นแต่ลูกค้ากระทำผิดเงื่อนไขเป็นเหตุให้ธนาคารบอกเลิกสัญญา 2. การกำหนดวงเงินของลูกค้าแต่ละรายขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ รายรับ รายจ่าย หนี้สิน รวมทั้งการใช้เงินกู้เบิกเกินบัญชีกับสถาบันการเงินอื่น สถานะทางการเงิน ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และหลักประกันเงินกู้ ทั้งนี้ ลูกค้าต้องเสนอคำขอกำหนดวงเงินกู้ตามแบบที่ธนาคารกำหนด โดยธนาคารจะพิจารณาวงเงินกู้ให้ลูกค้าขั้นต่ำ 200,000 บาท และกำหนดให้ลูกค้าหนึ่งรายเปิดบัญชีเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีได้หนึ่งบัญชีเท่านั้น

12 โครงสร้างอัตราดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ยให้กู้เบิกเงินเกินบัญชีสำหรับลูกค้าเกษตรกร เท่ากับ MOR บวกอัตราความเสี่ยง (Risk Premium ) ของลูกค้า ไม่เกินร้อยละ 3 7.125 ชั้น สัญลักษณ์ ลักษณะลูกค้า อัตราความเสี่ยง โครงสร้างอัตราดอกเบี้ย ลูกค้าชั้นดีเลิศ (PRIME PLUS) AAA+ ลูกค้าสามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดติดต่อกัน 4 ปีขึ้นไป 0.00 MOR ลูกค้าชั้นดีเยี่ยม (PRIME) AAA ลูกค้าสามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดติดต่อกัน 3 ปี 0.75 MOR ลูกค้าชั้นดีมาก (VERY GOOD) AA ลูกค้าสามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด 2 ปี 1.50 MOR ลูกค้าชั้นดี (GOOD) A ลูกค้าสามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด 1 ปีหรือเป็นลูกค้าใหม่ 2.25 MOR ลูกค้าชั้นทั่วไป (GENERAL) B ลูกค้าที่ผิดนัดชำระหนี้(Default) หรือลูกค้าที่ผิดนัดชำระหนี้แต่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดไม่เกิน 1 ปี 3.00 MOR

13 คะแนนประเมินปัจจัยความเสี่ยง โครงสร้างอัตราดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ยให้กู้เบิกเงินเกินบัญชีสำหรับลูกค้าบุคคล เท่ากับ MOR บวกอัตราความเสี่ยง (Risk Premium) ของลูกค้าไม่เกินร้อยละ 3 ระดับชั้นดอกเบี้ย คะแนนประเมินปัจจัยความเสี่ยง อัตราความเสี่ยง โครงสร้างอัตราดอกเบี้ย 1 > 0.00 MOR 2 > 0.50 MOR 3 > 1.00 MOR 4 > 1.50 MOR 5 > 2.00 MOR 6 > 2.50 MOR 7 3.00 MOR

14 คะแนนประเมินปัจจัยความเสี่ยง โครงสร้างอัตราดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ยให้กู้เบิกเงินเกินบัญชีสำหรับลูกค้าผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล เท่ากับ MOR บวกอัตราความเสี่ยง (Risk Premium) ของลูกค้าไม่เกินร้อยละ 5 ระดับชั้นดอกเบี้ย คะแนนประเมินปัจจัยความเสี่ยง อัตราความเสี่ยง โครงสร้างอัตราดอกเบี้ย 1 100 0.00 MOR 2 > 0.50 MOR 3 > 1.00 MOR 4 > 1.50 MOR 5 > 2.00 MOR 6 > 2.50 MOR 7 > 3.00 MOR 8 > 3.50 MOR 9 > 4.00 MOR 10 > 4.50 MOR 11 5.00 MOR

15 คะแนนประเมินปัจจัยความเสี่ยง โครงสร้างอัตราดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ยให้กู้เบิกเงินเกินบัญชีสำหรับลูกค้ากลุ่มบุคคล กองทุนหมู่บ้านหรือชุมชน องค์กร กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร หลักเกณฑ์การกำหนดอัตราดอกเบี้ย MOR บวกอัตราความเสี่ยง (Risk Premium) ไม่เกินร้อยละ 2 ระดับชั้นดอกเบี้ย คะแนนประเมินปัจจัยความเสี่ยง อัตราความเสี่ยง โครงสร้างอัตราดอกเบี้ย ระดับ 1 > 80 0.00 MOR ระดับ 2 > 77 – 80 0.25 MOR ระดับ 3 > 74 – 77 0.50 MOR ระดับ 4 > 71 – 74 0.75 MOR ระดับ 5 > 68 – 71 1.00 MOR ระดับ 6 > 65 – 68 1.25 MOR ระดับ 7 > 62 – 65 1.50 MOR ระดับ 8 ตั้งแต่ 60 – 62 1.75 MOR ระดับ 9 < 60 หรือมีปัญหาการดำเนินงาน 2.00 MOR

16 คะแนนประเมินปัจจัยความเสี่ยง อัตราความเสี่ยง
อัตราดอกเบี้ยให้กู้เบิกเงินเกินบัญชีสำหรับลูกค้าสหกรณ์ร้านค้า สหกรณ์บริการ สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน หลักเกณฑ์การกำหนดอัตราดอกเบี้ย MOR บวกอัตราความเสี่ยง (Risk Premium) ไม่เกินร้อยละ 2 ระดับชั้นดอกเบี้ย คะแนนประเมินปัจจัยความเสี่ยง อัตราความเสี่ยง โครงสร้างอัตราดอกเบี้ย ระดับ 1 > 80 0.00 MOR ระดับ 2 > 77 – 80 0.25 MOR ระดับ 3 > 74 – 77 0.50 MOR ระดับ 4 > 71 – 74 0.75 MOR ระดับ 5 > 68 – 71 1.00 MOR ระดับ 6 > 65 – 68 1.25 MOR ระดับ 7 > 62 – 65 1.50 MOR ระดับ 8 > 60 – 62 1.75 MOR ระดับ 9 < 60 หรือมีปัญหาการดำเนินงาน 2.00 MOR

17 หลักประกัน ให้มีหลักประกันตามข้อบังคับฉบับที่ 56 ว่าด้วยการให้กู้เบิกเงินเกินบัญชี ดังนี้ 1. มีอสังหาริมทรัพย์และหรือสังหาริมทรัพย์ที่จำนองได้ตามกฎหมายและไม่ได้จำนองต่อเจ้าหนี้อื่น จำนองเป็นประกันวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับหลักประกันจำนองให้เป็นไปตามคู่มือการปฏิบัติงานสินเชื่อเกษตรกร เล่ม 4 ว่าด้วยหลักประกันเงินกู้ หมวด เว้นแต่หลักประกันประเภทบุคคลค้ำประกัน ทั้งรับรองรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและบุคคลค้ำประกัน ยังไม่ให้นำมารวมสำหรับใช้ในการกู้เบิกเงินเกินบัญชี (OD) 2. มีตราสารทางการเงินที่ออกโดยธนาคาร เป็นประกันได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตราสาร เช่น สลากออมทรัพย์ทวีสิน บัตรเพิ่มทรัพย์ เป็นต้น โดยให้นำวิธีปฏิบัติในการใช้ตราสาร เป็นหลักประกัน ตามคู่มือการปฏิบัติงานสินเชื่อ ตามข้อบังคับฉบับที่ 35 ว่าด้วยการให้กู้เงินและการออกหนังสือค้ำประกันมาใช้โดยอนุโลม 3. กรณีกลุ่มบุคคล กลุ่มเกษตรกร กองทุนหมู่บ้านหรือชุมชน ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล องค์กร สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ร้านค้า สหกรณ์บริการ สหกรณ์ออมทรัพย์ และสหกรณ์เครดิตยูเนียน กู้เงินให้ใช้หลักประกันตามวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับหลักประกันของลูกค้าแต่ละประเภทตามที่ธนาคารกำหนดไว้แล้ว หากมีการค้ำประกันโดยคณะกรรมการ

18 ค่าธรรมเนียม เรียกเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีตามประกาศของธนาคารโดยใช้หลักการและอัตราค่าธรรมเนียม เช่นเดียวกับค่าธรรมเนียมด้านสินเชื่อ ดังนี้ 1. ค่าธรรมเนียมการวิเคราะห์และเปิดวงเงินทุกระดับวงเงิน หรือขอเพิ่มวงเงินให้คิดเฉพาะส่วนวงเงินที่ขอเพิ่ม ให้คิดตามวงเงินที่ได้รับการอนุมัติ ในอัตราร้อยละ 0.25 ไม่จำกัดจำนวนเงินขั้นสูง กรณีสหกรณ์ทุกประเภท และกลุ่มเกษตรกร ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.20 ไม่จำกัดจำนวนเงินขั้นสูง 2. ค่าธรรมเนียมต่ออายุวงเงินเบิกเงินเกินบัญชี 1,000 บาท ให้เรียกเก็บทุกครั้งที่อนุมัติต่ออายุวงเงิน ปีละหนึ่งครั้ง 3. ค่าธรรมเนียมการใช้บริการรับเงินตามเช็คเงินฝากกระแสรายวันต่างสำนักงาน กรณีจ่ายเป็นเงินสดฉบับละไม่เกิน 3 แสนบาท ในเขตสำนักหักบัญชีเดียวกัน ค่าธรรมเนียมร้อยละ 0.10 ของจำนวนเงินตามเช็ค ขั้นต่ำ 10 บาท ข้ามเขตสำนักหักบัญชี ค่าธรรมเนียม ร้อยละ ของจำนวนเงินตามเช็ค ขั้นต่ำ 10 บาท และมีค่าคู่สายฉบับละ 20 บาท เงื่อนไข การรับเงินสดต้องเป็นผู้ทรงที่เป็นผู้ถือหรือผู้รับเงินตามหน้าเช็คเท่านั้น หากเป็นผู้ทรงในฐานะผู้รับสลักหลังต้องนำเข้าบัญชีเงินฝากที่สาขารับเช็คเท่านั้น 4. ค่าบริการและค่าธรรมเนียมตามเงื่อนไขอื่น ที่เกี่ยวกับการใช้เอกสารใดๆหรือ บัตรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น บัตร ATM เป็นต้น ให้ถือปฏิบัติตามวิธีปฏิบัติที่ธนาคารกำหนด

19 การชำระคืนเงินกู้ ภายในอายุวงเงินลูกค้าต้องชำระต้นเงินทั้งหมด หรือผ่อนชำระต้นเงินที่มีอยู่กับธนาคารให้มีต้นเงินคงเหลือไม่เกินวงเงินที่ได้รับอนุมัติ และต้องชำระดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวเป็นรายเดือนทุกๆเดือน ภายในวันทำการสุดท้ายของเดือน โดยการฝากเงินเข้าบัญชีกระแสรายวันหรือบัญชีอื่นตามที่ตกลงกับธนาคาร หากไม่ชำระหรือชำระดอกเบี้ยหรือชำระดอกเบี้ยได้เพียงบางส่วน ธนาคารจะโอนดอกเบี้ยส่วนที่ค้างชำระทบเป็นต้นเงินในเดือนถัดไป

20 ตามพระราชบัญญัติ ธ.ก.ส. พ.ศ. 2509 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 6 พ.ศ. 2549)
การให้สินเชื่อแก่กลุ่มบุคคล ธนาคารจึงได้กำหนดนโยบายสนับสนุนการให้บริการทางการเงินของธนาคารที่ครอบคลุมทั้งด้านกลุ่มอาชีพ (ONE- STEP LOAN) เช่น กลุ่มผลิตทางการเกษตร กลุ่มแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร กลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มพาณิชยกรรม กลุ่มบริการต่าง ๆในชุมชนเป็นต้น และด้าน กลุ่มการเงิน (TWO- STEP LOAN) เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มลูกค้าคุณภาพ ธ.ก.ส. ธนาคารหมู่บ้านตาม แนวพระราชดำริ กลุ่มการเงินขนาดเล็ก (MFI) กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ สถาบันการเงินชุมชน องค์กรการเงิน ชุมชน เป็นต้น

21 คุณลักษณะของกลุ่มอาชีพ
  กลุ่มอาชีพ นอกจากจะต้องมีลักษณะที่สำคัญตามข้อบังคับแล้ว จะพิจารณาคุณลักษณะเฉพาะของกลุ่มอาชีพโดยทั่ว ๆ ไปพึงมี เป็นองค์ประกอบในการพิจารณา ดังต่อไปนี้ มีความสามารถในด้านการวางแผนการตลาด การผลิต การบริหารจัดการ การเงินดีพอสมควร มีกฎระเบียบ ข้อบังคับในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มอย่างชัดเจน สมาชิกกลุ่มต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตท้องที่หรือเขตชุมชนเดียวกัน อาชีพที่กลุ่มประกอบธุรกิจต้องเป็นอาชีพไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ศีลธรรมอันดีสิ่งแวดล้อมของชุมชน สมาชิกกลุ่มต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมธุรกิจของกลุ่มอย่างแท้จริงมิใช่เป็นเพียงลูกจ้าง หรือพนักงานของธุรกิจนั้น ๆ 6. ต้องมีความรู้ความสามารถในธุรกิจที่กลุ่มดำเนินการอย่างแท้จริง ทั้งนี้อาจได้รับการฝึกอบรมจากส่วนงานต่าง ๆ หรือจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถได้รับการยอมรับโดยทั่วไป

22 คุณลักษณะของกลุ่มการเงิน
  กลุ่มการเงิน นอกจากจะต้องมีลักษณะที่สำคัญตามข้อบังคับแล้ว จะพิจารณาคุณลักษณะเฉพาะของกลุ่มการเงินโดยทั่ว ๆ ไปพึงมี เป็นองค์ประกอบในการพิจารณา ดังต่อไปนี้ กลุ่มต้องมีการพัฒนากระบวนการกลุ่มเข้มแข็งแล้ว โดยอาจได้รับการพัฒนาจากธนาคาร ส่วนราชการ องค์กรพัฒนาเอกชน กระบวนการพัฒนาตามแผนแม่บทชุมชน หรือการพัฒนาแบบพึ่งพาตนเองในรูปแบบต่าง ๆ ก็ได้ ต้องมีระบบการบริหารจัดการที่ดี น่าเชื่อถือ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ต้องมีการจัดทำระบบบัญชี ระบบเอกสาร ที่ถูกต้องมีระบบควบคุมภายในที่ดี ต้องมีกฎระเบียบ ข้อบังคับ ว่าด้วยคุณสมบัติของสมาชิก การออมเงินการถือหุ้น การให้กู้เงิน การปันผล การสวัสดิการ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ การประชุม รวมทั้งระเบียบข้อบังคับ อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินงานของกลุ่ม ต้องไม่มีปัญหาทุจริตทั้งคณะกรรมการและสมาชิกกลุ่ม ต้องบริหารงานโดยคณะกรรมการกลุ่ม ซึ่งได้รับการเลือกตั้งมาจากสมาชิกกลุ่ม 7. คณะกรรมการกลุ่ม ต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถทางการบริหารจัดการ มีความประพฤติดี ซื่อสัตย์ สุจริต ชื่อเสียงดี สมาชิกกลุ่มต้องอยู่ในเขตท้องที่ หรือชุมชนเดียวกัน

23 วัตถุประสงค์ในการกู้เงิน
1. เพื่อส่งเสริมหรือสนับสนุนการพัฒนาผลผลิต หรือผลิตภัณฑ์ของเกษตรกรหรือชุมชน ให้มีประสิทธิภาพในด้านการลงทุน การผลิต การแปรรูป และการตลาด เพื่อส่งเสริมหรือสนับสนุนให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในด้านเศรษฐกิจ โดยมุ่งหมายให้มีการประกอบอาชีพ ด้านอุตสาหกรรม ด้านพาณิชยกรรม หรือด้านบริการภายในชุมชน เพื่อเพิ่มรายได้หรือการดำเนินการอื่นใดที่จะมาซึ่งการลดค่าใช้จ่าย การส่งเสริมการออมและการพึ่งพาตนเองของชุมชน โดยต้องไม่เป็นอาชีพที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน 3. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนในลักษณะ ดังต่อไปนี้ การศึกษา อบรม สัมมนา ดูงานหรือฝึกงานในด้านการส่งเสริมอาชีพหรือเพื่อการพัฒนาอาชีพ หรือเพื่อการศึกษาของคนบุคคลในครอบครัว การสวัสดิการขั้นพื้นฐานแก่การดำรงชีวิต การจัดหา ปรับปรุงหรือซ่อมแซมที่อยู่อาศัย การจัดหาปัจจัยอื่นที่จำเป็นในการดำรงชีวิต เพื่อการดำเนินการที่สอดคล้องกับแนวนโยบายส่งเสริมการเกษตรและพัฒนาชนบทตามโครงการของรัฐหรือของธนาคาร

24 บริการการค้าต่างประเทศ (Trade Finance)
อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

25 ลักษณะ ของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือระบบงาน
 1. บริการด้านนำเข้า (Import)  2. บริการด้านส่งออก (Export)  3. บริการด้านซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า  (Forward Contract)  4. บริการประกันการส่งออก (Export Insurance) อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

26 1. บริการด้านนำเข้า (Import)
ลักษณะ ของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือระบบงาน 1. บริการด้านนำเข้า (Import)  1.1 บริการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (lssue/Open Letter of Credit : L/C) เป็นบริการของธนาคารสำหรับผู้นำเข้าที่เป็นลูกค้าของธนาคาร ในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตหรือ L/C เมื่อลูกค้าหรือผู้นำเข้าสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ โดยเลือกวิธีการชำระเงินด้วย L/C ลูกค้าจะต้องติดต่อให้ธนาคารเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตไปยังผู้ขายที่อยู่ในต่างประเทศ ผ่านธนาคารของผู้ขาย โดยธนาคารจะชำระเงินให้ผู้ขาย ต่อเมื่อผู้ขายสามารถปฏิบัติตามข้อตกลง และเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิตได้อย่างครบถ้วน อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

27 1.2 การแก้ไขเลตเตอร์ออฟเครดิต (Amendment L/C) เป็นบริการที่เกิดขึ้นกรณีที่ผู้นำเข้าได้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตไปเรียบร้อยแล้ว ต่อมาภายหลังอาจมีความจำเป็นต้องแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง เช่น การแก้ไข เพิ่มหรือลดจำนวนเงิน ราคาสินค้า จำนวนสินค้า ขยายเวลาการส่งมอบสินค้า ขยายวันหมดอายุของ L/C เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการส่งมอบสินค้า เป็นต้น อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

28  1.3 ชำระเงินตามเอกสารขาเข้าภายใต้ L/C  (Import Bill Under L/C ) เป็นบริการที่ธนาคารทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าในประเทศภายใต้เลตเตอร์ออฟเครดิต (L/C) เพื่อชำระให้แก่ผู้ขายหรือผู้ส่งออกในต่างประเทศ โดยชำระเงินผ่านธนาคารของผู้ซื้อที่เป็นผู้เปิด L/C ตามเงื่อนไขที่ผู้ซื้อและผู้ขายได้ตกลงกัน อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

29 1.4 ชำระเงินตามเอกสารขาเข้าภายใต้ B/C (Import Bill for Collection) เป็นบริการที่ธนาคารทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าในประเทศ เพื่อชำระให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศ โดยชำระเงินผ่านธนาคารตัวแทนของผู้ขายซึ่งเป็นผู้ส่งเอกสารมาเรียกเก็บเงินตามเงื่อนไขที่ผู้ซื้อและผู้ขายได้ตกลงกัน อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

30 1.5 ออกหนังสือค้ำประกันการรับสินค้าเข้าทางทะเล (Shipping Guarantee : S/G) เป็นบริการของธนาคารที่ออกหนังสือค้ำประกันมอบให้ลูกค้าของตนเพื่อนำไปยื่นต่อบริษัทเรือ เพื่อให้บริษัทเรือสั่งปล่อยสินค้าที่นำเข้าในกรณีที่เรือบรรทุกสินค้ามาถึงก่อนที่ธนาคารจะได้รับเอกสารสินค้าเข้าจากต่างประเทศ และใบตราส่งสินค้าต้นฉบับ (B/L) และเมื่อเอกสารขาเข้ามาถึง ลูกค้าต้องนำ B/L ไปแลกคืน S/G ส่งคืนธนาคาร อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

31 1.6  สลักหลังใบสั่งปล่อยสินค้าเข้าทางอากาศ (Delivery Order :D/O) เป็นบริการของธนาคาร สำหรับลูกค้าผู้นำเข้าที่นำเข้าสินค้าทางอากาศ โดยธนาคารสลักหลังใบสั่งปล่อยสินค้าที่นำเข้าทางอากาศยาน เพื่อให้ผู้นำเข้าสามารถรับสินค้าเข้าได้ ซึ่งการขอสลักหลังใบ D/O เกิดขึ้นได้ทั้งก่อนและหลังเอกสารขาเข้ามาถึงธนาคาร อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

32 2. บริการด้านส่งออก (Export)
  2.1 แจ้งการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Advice L/C) หรือ การแก้ไขเลตเตอร์ออฟเครดิต (Amendment L/C) เป็นบริการหนึ่งของธนาคารซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้แจ้ง L/C (Advising Bank) โดยเมื่อได้รับ L/C หรือการแก้ไข L/C จากธนาคารผู้เปิด L/C (Issuing Bank) ในต่างประเทศแล้ว ก็จะทำการแจ้งให้กับผู้รับประโยชน์ตาม L/C (ผู้ขาย/ลูกค้า) ทราบและให้มารับ L/C หรือการแก้ไข L/C ไปดำเนินการต่อ อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

33 2.2 เรียกเก็บเงินตามเอกสารส่งออกภายใต้เลตเตอร์ออฟเครดิต (Export Bill sent for Collection under L/C) ธนาคารรับเอกสารส่งออกภายใต้ L/C ของผู้ขาย และส่งไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารต่างประเทศตลอดจนติดตามการชำระเงินและเมื่อธนาคารได้รับชำระเงินแล้วจึงจะจ่ายเงินให้ผู้ขาย อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

34 2.3 เรียกเก็บเงินตามเอกสารส่งออกภายใต้ B/C (Export Bill sent for Collection under B/C) ธนาคารรับเอกสารส่งออกภายใต้ B/C ของผู้ขาย และส่งไปเรียกเก็บเงินจากผู้ซื้อผ่านธนาคารต่างประเทศตลอดจนติดตามการชำระเงินและเมื่อธนาคารได้รับชำระเงินแล้วจึงจะจ่ายเงินให้ผู้ขาย อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

35 3. บริการด้านซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Forward Contract)
  ป้องกันความเสี่ยงจากการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนทั้งผู้ส่งออกและผู้นำเข้า ช่วยให้ทราบต้นทุนสินค้าที่แน่นอนโดยธนาคารจะทำสัญญา  ตกลงที่จะซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าด้วยการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่แน่นอนในปัจจุบัน แต่จะทำการส่งมอบเงินตราต่างประเทศและชำระเงินในอนาคตตามข้อตกลงในสัญญา อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

36 4. บริการประกันการส่งออก (Export Insurance)
  ประกันความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อในต่างประเทศ ที่เกิดจากความเสี่ยงทางการค้าและการเมือง โดยธนาคารจะจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนให้ผู้ส่งออกในอัตราความคุ้มครองสูงสุด 90% ของความเสียหายที่เกิดขึ้น อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

37 จุดเด่น ของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือระบบงาน
– ผู้นำเข้า ได้รับสินค้าตามเงื่อนไขที่ตกลงกับผู้ขาย – ผู้ส่งออก ได้รับเงินค่าสินค้า ถ้าปฏิบัติตามเงื่อนไขใน L/C ครบถ้วนถูกต้อง อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

38 กลุ่มเป้าหมาย/คุณสมบัติ
1. บริการด้านนำเข้า (Import) – ผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าและบริการจากต่างประเทศ 2. บริการด้านส่งออก (Export) – ผู้ประกอบการส่งออกสินค้าและบริการไปต่างประเทศ 3. บริการด้านซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Forward Contract) – ผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออก สินค้าและบริการกับต่างประเทศ 4. บริการประกันการส่งออก (Export Insurance) อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

39 ระบบ BAAC Corporate Banking – Cheque อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

40 ระบบ BAAC Corporate Banking – Cheque ให้บริการเกี่ยวกับ
ลักษณะของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือระบบงาน ระบบ BAAC Corporate Banking – Cheque  ให้บริการเกี่ยวกับ 1.บันทึกรายการฝากเช็คเพื่อพิมพ์ใบรับฝาก 2.แจ้งสถานะเช็คที่ส่งเรียกเก็บกับธนาคาร 3.แจ้งรายการเคลื่อนไหวเช็คสั่งจ่ายบัญชีกระแสรายวัน 4.สั่งซื้อสมุดเช็คกระแสรายวัน อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

41 จุดเด่น ของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือระบบงาน
ผู้ใช้บริการ ตรวจสถานะเช็คที่ฝากกับธนาคารและสามารถสั่งซื้อสมุดเช็คในระบบด้วยตนเอง อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

42 ผู้ใช้บริการ: หน่วยงานราชการ องค์กร นิติบุคคล
กลุ่มเป้าหมาย/คุณสมบัติ ผู้ใช้บริการ: หน่วยงานราชการ องค์กร นิติบุคคล อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

43 ค่าธรรมเนียม/ค่าบริการ
ระยะเวลาดำเนินการ บริการทุกวันในเวลาทำการของธนาคารระบบแจ้งสถานะเช็คต่าง ๆ ในระบบ ตามเวลาที่ธนาคารกำหนด ค่าธรรมเนียม/ค่าบริการ ตามประกาศอัตราค่าบริการและค่าธรรมเนียมธนาคาร อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

44 เงื่อนไข 1.การรับฝากเช็ค : ผู้ใช้บริการต้องพิมพ์ใบรับฝากเช็คพร้อมตัวเช็คจริง ส่งมอบให้ธนาคารดำเนินฝากเช็ค 2.การสั่งซื้อสมุดเช็ค ได้ด้วยตนเองภายในเวลา น. 2.1 ระบบจะหักค่าสมุดเช็ค (ถ้ามี) ภายในเวลา น. หาก 2.2 เมื่อหักค่าสมุดเช็คแล้ว จึงส่งคำสั่งซื้อเข้าระบบเบิกเช็คของธนาคาร เพื่อสั่งพิมพ์สมุดเช็ค อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

45 นโยบายสินเชื่อของธนาคาร (Lending Policy)
3.1 สนับสนุนสินเชื่อแก่เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร บุคคล กลุ่มบุคคล ผู้ประกอบการ สหกรณ์กองทุน หมู่บ้านหรือชุมชน และองค์กร ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างพอเพียง ควบคู่กับการส่งเสริมการออมเงิน ด้วยบริการ ที่ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว การพัฒนาความรู้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของลูกค้า อย่างมั่นคงและยั่งยืน 3.2 สนับสนุนสินเชื่อตลอดห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain Financing) แบบครบวงจร เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิต และเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) 3.3 พัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการสินเชื่อ เพื่ออำนวยความสะดวก และลดต้นทุนในการเข้าถึง บริการสินเชื่อของลูกค้า รวมทั้งสนับสนุนการให้ความรู้ทางการเงินแก่เกษตรกร (Financial Literacy) อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

46 3.4 สนับสนุนสินเชื่ออย่างมีคุณภาพ ภายใต้กฎเกณฑ์ ข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับดูแลสถาบันการเงิน โดยมุ่งเน้นกระบวนการให้สินเชื่อที่ดี เช่น การบริหารความเสี่ยงทั้งก่อน และหลังการให้สินเชื่อ การควบคุมติดตาม การปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดโดยคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ พิธีการสินเชื่อ การเร่งรัดติดตามหนี้ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และการสอบทานสินเชื่อ เป็นต้น ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพ บุคลากร เพื่อสร้างวัฒนธรรมการให้สินเชื่อที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล 3.5 สนับสนุนกระบวนการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยการขยายฐาน ลูกค้าใหม่ให้ใช้บริการสินเชื่อเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งเสริมสร้างเครือข่ายลูกค้าเพื่อรักษาลูกค้าเดิม อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

47 3.6 สนับสนุนให้ลูกค้าจัดทำการประกันความเสี่ยงและความเสียหายในชีวิต ทรัพย์สิน และอาชีพ แบบครบวงจร เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกค้า และปูองกันความเสี่ยงด้านสินเชื่อของธนาคาร 3.7 การบริหารจัดการสัดส่วนสินเชื่อ (Portfolio) เพื่อการบริหารสภาพคล่องให้เพียงพอและสร้าง ผลตอบแทนที่เหมาะสม รวมถึงการสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพ โดย จัดทำบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account : PSA) แยกจากธุรกรรมปกติของธนาคารอย่างชัดเจน 3.8 สนับสนุนสินเชื่อภาคเกษตรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเงินที่ให้กู้ในแต่ละรอบปีบัญชี อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

48 สินเชื่อที่ธนาคารให้การสนับสนุน
เพื่อสนับสนุนสินเชื่อให้สอดคล้องกับ การขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการผลิตภาคเกษตร ที่มีการขยายตัวของผลผลิตพืชและปศุสัตว์ รวมถึงสนับสนุนการยกระดับมาตรฐานผลผลิตให้มีคุณภาพสูงและรักษา ส่วนแบ่งการตลาดสินเชื่อเกษตร ธนาคารจึงสนับสนุนสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์เชื่อมโยงแบบครบวงจร และสินเชื่อ ที่ให้ความสำคัญต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม การสร้างงานในชนบทและเศรษฐกิจชุมชน รวมทั้งการลงทุนเพื่อรองรับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยให้การสนับสนุนสินเชื่อเชิงรุกอย่างมีคุณภาพ ดังนี้ อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

49 1. สินเชื่อเกษตร 1.1 สินเชื่อเพื่อการผลิตในกลุ่มผลิตผลหลักที่เป็นที่ต้องการของตลาดและมี ความเหมาะสมกับพื้นที่ 1.2 สินเชื่ออาหารปลอดภัย เช่น ส่งเสริมการผลิตตามแนวคิดทฤษฎีใหม่ เกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์ และการผลิตตามมาตรฐาน GAP เป็นต้น เพื่อสร้างมาตรฐานคุณภาพผลผลิต ให้ผู้บริโภคมั่นใจ 1.3 สินเชื่อเพื่อการสร้างและพัฒนาแหล่งน้ำหรือระบบน้ำเพื่อการเกษตร เพื่อลดความเสี่ยงการผลิตและเพิ่มผลผลิตของเกษตรกร 1.4 สินเชื่อเพื่อลงทุนซื้อหรือปรับปรุงเครื่องจักรกลการเกษตร เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิต หรือลดค่าใช้จ่ายการผลิตของเกษตรกร อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

50 1.5 สินเชื่อการผลิตทางการเกษตรรูปแบบใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ของเกษตรกร เช่น สนับสนุนการทำการเกษตรแปลงใหญ่ การผลิตในลักษณะนวัตกรรม (Smart Farmer) การปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของกิจการตามโครงการสินเชื่อ 1 ตำบล 1 SME เกษตร เพื่อสร้างความยั่งยืนของภาคเกษตรไทย เป็นต้น อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

51 2.สินเชื่อห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain Financing)
2.1 สินเชื่อห่วงโซ่มูลค่าในกลุ่มผลิตผลหลักตามความต้องการของตลาด เพื่อเป็น ทุนหมุนเวียน หรือค่าลงทุนในการดำเนินธุรกิจครบวงจรตลอดห่วงโซ่มูลค่า เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้กับผลิตผลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร 2.2 สินเชื่อเพื่อให้สหกรณ์ขยายกิจการเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างกัน พัฒนาด้าน การตลาด เพื่อก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มและเพิ่มรายได้ให้แก่สหกรณ์ รวมถึงสมาชิกสหกรณ์ 2.3 สินเชื่อเพื่อสนับสนุนการประกอบการที่มีลักษณะเชื่อมโยงธุรกิจครบวงจร ตลอดห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรหรือผลิตภัณฑ์การเกษตร อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

52 3 สินเชื่อเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน
3.1 สินเชื่อเพื่อเป็นทุนหมุนเวียน หรือค่าลงทุนที่มีลักษณะอนุรักษ์ธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม เช่น การเกษตรเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจ การประหยัด พลังงาน การสร้างมูลค่าเพิ่มจากของเหลือใช้ เป็นต้น หรือการนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ เช่น โรงงานกำจัดขยะ มูลฝอย โรงงานปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

53 3.2 สินเชื่อเพื่อสร้างพลังงานทดแทน เช่น การผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ การผลิต ไฟฟ้าจากชีวมวลซึ่งดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นต้นเพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ และลดการใช้พลังงานจากฟอสซิล อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

54 4 สินเชื่อเพื่อสร้างงานในชนบท
4.1 สินเชื่อเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนให้กับสถาบันเกษตรกร กองทุนหมู่บ้าน สถาบันการเงิน ชุมชน เพื่อนำไปให้สมาชิกกู้ยืม เพื่อสร้างงานสร้างรายได้แก่ชุมชน และเป็นการพัฒนาศักยภาพการประกอบการขององค์กรชุมชน 4.2 สินเชื่อเพื่อให้กองทุนหมู่บ้าน สถาบันการเงินชุมชน หรือองค์กรที่สมาชิกประสงค์ จะใช้บริการสินเชื่อของธนาคาร อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

55 4.3 สินเชื่อเพื่อการลงทุนที่เกิดประโยชน์โดยตรงต่อการประกอบอาชีพเกษตรหรือ เกี่ยวเนื่องกับอาชีพเกษตร
4.4 สินเชื่อเพื่อให้เกษตรกร และบุคคลในครอบครัวประกอบอาชีพเกี่ยวเนื่อง หรือ อาชีพนอกภาคเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือน อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

56 5 สินเชื่อเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและที่อยู่อาศัย
5.1 สินเชื่อเพื่อการศึกษา ฝึกอบรม และศึกษาดูงานภายในประเทศของเกษตรกร และบุคคลในครอบครัว เพื่อการพัฒนาศักยภาพการประกอบอาชีพของลูกค้า 5.2 สินเชื่อเพื่อลงทุนก่อสร้าง หรือซื้อที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับเกษตรกรและ ครอบครัวตามความจำเป็นพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

57 6 สินเชื่อเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
6.1 สินเชื่อเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้และสร้าง โอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชนในพื้นที่ หรือภูมิภาค เช่น การให้สินเชื่อแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นทุนหมุนเวียนในกิจการสถานธนานุบาล (โรงรับจำนำ) เป็นต้น 6.2 สินเชื่อเพื่อส่งเสริม หรือสนับสนุนการพัฒนาผลิตผล หรือผลิตภัณฑ์ของเกษตรกร หรือชุมชน เช่น การสร้างโรงชำแหละเนื้อสัตว์ สร้างโรงสีข้าวชุมชน เป็นต้น 6.3 สินเชื่อเพื่อส่งเสริม หรือสนับสนุนให้ชุมชนมีความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจ เช่น สร้างตลาดนัด ตลาดสด การส่งเสริมพัฒนากลุ่มอาชีพต่างๆ และการปรับปรุงระบบชลประทาน เป็นต้น อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

58 6.4 สินเชื่อเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน เช่น การลงทุนสร้าง ศูนย์เรียนรู้ชุมชน การสร้างสถานพยาบาลในชุมชน เป็นต้น 6.5 สินเชื่อเพื่อให้กลุ่มบุคคล วิสาหกิจชุมชน ในการดำเนินธุรกิจท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ท่องเที่ยวการเกษตร และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชน เช่น ศูนย์จำหน่ายสินค้าชุมชน เป็นต้น อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

59 อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

60 อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

61 อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

62 อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

63 อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

64 อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

65 อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

66 อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

67 อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

68 อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

69 อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

70 อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

71 อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

72 อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

73 อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

74 อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

75 อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

76 อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์

77 อนุพันธ์ วุธประดิษฐ์


ดาวน์โหลด ppt ชื่อ –สกุล นายอนุพันธ์ วุธประดิษฐ์ ตำแหน่ง ผช.หัวหน้าหน่วย (พพธ.7)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google