ประชากร นำเสนอโดย ผศ.ดร.สมาน แก้วไวยุทธ
1.1 ความหมายของประชากรในทางชีววิทยา ประชากร (Population) 1.1 ความหมายของประชากรในทางชีววิทยา ประชากร หมายถึง กลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่เป็นชนิดเดียวกัน อาศัยและแพร่พันธุ์อยู่ในแหล่งที่อยู่เดียวกันในช่วงเวลาหนึ่ง ประชากร = สิ่งมีชีวิตเดียวกัน + แหล่งที่อยู่ + เวลา (Population) (single species) (Habitat) (Time)
ตัวอย่างเช่น ค้างคาวในถ้ำจอมพล จ. ราชบุรี เมื่อปีที่แล้ว ลูกอ๊อดและกบ กำลังวายน้ำมากมายในสระ ตั๊กแตนปาทังก้า ในไร่ข้าวโพด เมื่อวานนี้ คำที่ไม่ได้ระบุเป็นประชากร เช่น แพลงก์ตอน แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ ส่วนใดๆ ของพืชหรือสัตว์ เช่น ไข่ ดอก ผล เมล็ด ฯลฯ
ความหนาแน่นของประชากร (Population density) 1.2 การศึกษาประชากร จะศึกษาเกี่ยวกับ ความหนาแน่นของประชากร (Population density) รูปแบบการกระจายของประชากร (Distribution) การเติบโตของประชากร (Population growth form) และขนาดประชากร (Population size) การรอดชีวิตของประชากร (Survivorship curve) โครงสร้างอายุ (Age structure)
ความหนาแน่นของประชากร (Population density) 1. ความหนาแน่นของประชากร ความหนาแน่นของประชากร หมายถึง จำนวนสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันต่อหน่วยพื้นที่หรือปริมาตร ความหนาแน่นของประชากร = จำนวนประชากร พื้นที่หรือปริมาตร หน่วย จำนวนต้นหรือตัว/m2 หรือ m3
2. การหาความหนาแน่นของประชากร นักนิเวศวิทยาสามารถประเมินหาความหนาแน่นของประชากรได้ 2 วิธี คือ 2.1 การหาความหนาแน่นแบบหยาบ (Crude density) เป็นการหาจำนวนประชากรต่อพื้นที่ทั้งหมดที่ศึกษา (Total space) 2.2 การหาความหนาแน่นเชิงนิเวศ (Ecological density) เป็นการหาจำนวนหรือมวลของประชากรต่อหน่วยพื้นที่ที่ประชากรนั้นอาศัยอยู่จริง (Habital space)
ในการหาความหนาแน่นของประชากรที่แท้จริง (true density) โดยการนับจำนวนสิ่งมีชีวิตทั้งหมด (Total count) ต่อหน่วยพื้นที่หรือปริมาตรนั้นทำได้ยาก เนื่องจากสิ่งมีชีวิตอาจมีการเคลื่อนย้าย ดังนั้นจึงทำการหา ความหนาแน่นของประชากรโดยการสุ่มตัวอย่าง (Sampling) ดังนี้
1. การสุ่มตัวอย่างแบบวางแปลง (Quadrant sampling method) การสุ่มตัวอย่างแบบวางแปลงเป็นวิธีการวางแปลงสุ่มตัวอย่างสิ่งมีชีวิตบางส่วนจากทั้งหมดในบริเวณที่ต้องการศึกษา แล้วนำมาคำนวณหาความหนาแน่น วิธีนี้เหมาะกับสิ่งมีชีวิตที่อยู่กับที่ เช่น พืช เพรียงหิน ปะการัง