การจัดตั้งหน่วยทะเบียนมะเร็ง และการควบคุมคุณภาพ กรรณิการ์ แจ้งเจนกิจ Oncology nurse หน่วยมะเร็ง โรงพยาบาลนครพิงค์
การจัดตั้งหน่วยทะเบียนมะเร็ง จุดมุ่งหมายของการทำทะเบียนมะเร็ง เพื่อรวบรวมสถิติข้อมูลผู้มารับบริการโรคมะเร็งรายใหม่ ทุกรายที่ใช้บริการในโรงพยาบาล เพื่อสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อประเมินถึงคุณภาพ การรักษาและภาระงาน เพื่อนำข้อมูลมาวางแผนเพื่อเพิ่มศักยภาพในทำงานและ การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งให้ดีขึ้น เป็นข้อมูลในการศึกษาระบาดวิทยา, วิจัย
ชนิดของการทำทะเบียนมะเร็ง 1. Population-based cancer registry (ระดับประชากร) 2. Hospital-based cancer registry (ระดับโรงพยาบาล)
Population-based cancer registry (ระดับประชากร) เป็นการรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยโรคมะเร็งจากแหล่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกลุ่ม ประชากร ในพื้นที่เป้าหมาย ประโยชน์ 1. แสดงปัญหาในชุมชน ทำให้ทราบอุบัติการณ์ อัตราตาย อัตราการอยู่ รอด 2. เป็นข้อมูลทางอ้อมที่ใช้ติดตามผู้ป่วย 3. ช่วยในการวางแผนและประเมินผลการควบคุมป้องกันและรักษา โรคมะเร็งในชุมชน 4. ข้อมูลพื้นฐานงานวิจัย
Hospital-based cancer registry (ระดับโรงพยาบาล) เป็นการรวบรวมข้อมูล ผู้ป่วยมะเร็งทุกราย ที่เข้ามารับการรักษา ในโรงพยาบาลแห่งนั้นๆโยไม่จำกัดภูมิลำเนาของผู้ป่วย ประโยชน์ 1. แสดงปัญหาของมะเร็งในโรงพยาบาล 2. แสดงถึงคุณภาพการให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วย 3. แสดงถึงอัตราการอยู่รอด, ภาวะแทรกซ้อนของโรงพยาบาล 4. ข้อมูลพื้นฐานงานวิจัย
การจัดตั้งหน่วยทะเบียนมะเร็ง
หน่วยทะเบียนมะเร็ง ค คน สอ จำนวนคน ขึ้นอยู่กับขนาดข้อมูล มะเร็ง/ปี องค์ความรู้ ประกอบด้วย * การทำทะเบียนมะเร็ง * การให้รหัส ICD –O * การวิเคราะห์ข้อมูลมะเร็ง พื้นฐาน * โปรแกรมที่ใช้การเก็บข้อมูล สอ อุปกรณ์ แบบฟอร์ม คอมพิวเตอร์ โปรแกรมที่ใช้เก็บข้อมูล งบประมาณ - ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละ โรงพยาบาล
ขั้นตอนการจัดตั้งทะเบียนมะเร็ง แต่งตั้งคณะกรรมการทะเบียนมะเร็ง กำหนดวัตถุประสงค์ ที่ตั้งของทะเบียนมะเร็ง การเงินและงบประมาณ บุคลากร การฝึกอบรม
แหล่งข้อมูลและตัวแปรรวบรวมข้อมูลทะเบียนมะเร็ง แหล่งข้อมูลจัดเป็น 3 กลุ่ม ข้อมูลจากโรงพยาบาล เป็นแหล่งข้อมูลหลักสำหรับการรวบรวมข้อมูล วิธีการคือ การคัดลอกข้อมูลจากแฟ้มระเบียน ICD 10 รวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์โรงพยาบาล ข้อมูลจากห้องปฏิบัติการตรวจทางพยาธิวิทยา ข้อมูลจากใบมรณะบัตร
วิธีการรวบรวมข้อมูลทะเบียนมะเร็ง Active method รวบรวมข้อมูลโยเจ้าหน้าที่ของทะเบียนมะเร็ง เข้าไปยังแหล่งข้อมูล ทำการคัดลอกข้อมูลและให้รหัสโรคเอง Passive method แหล่งข้อมูลต่างๆส่งรายงานข้อมูลที่คัดลอก แล้วมายังหน่วยทะเบียนมะเร็ง รวมทั้งการรวบรวมจากใบ รายงานผลพยาธิวิทยา รายงานใบมรณะบัตร Mixed method เป็นการรวบรวมทั้ง Active และ Passive method เช่น หน่วยทะเบียนจะรวบรวมข้อมูลโดยรับรายงาน ข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
ตัวแปรหลักการรวบรวมข้อมูลทะเบียนมะเร็ง ที่สำคัญต้องมีการรวบรวมข้อมูลดังนี้ แหล่งข้อมูล 1.1 โรงพยาบาลที่คัดลอกข้อมูล 1.2 เลขข้อมูล ข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วย 2.1 ชื่อ- สกุล 2.2 เลขบัตรประชาชน 2.3 เพศ 2.4 วันเดือนปีเกิด 2.5 ที่อยู่
3. ข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็ง 3. 1 วันที่วินิจฉัยโรคมะเร็ง 3 3. ข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็ง 3.1 วันที่วินิจฉัยโรคมะเร็ง 3.2 อายุที่วินิจฉัยมะเร็ง 3.3 ตำแหน่งโรคมะเร็ง (Topography) 3.4 ผลพยาธิวิทยา (Morphology) 3.5 ลักษณะของก้อนเนื้อ(Behavior) 3.6 ระยะของโรค (Stage) 3.7 ขอบเขตของการแพร่กระจาย (Extension) 3.8 ตำแหน่งที่แพร่กระจาย (Distant metastatic) 3.9 การรักษาโรคมะเร็ง( Treatment )
4. ข้อมูลสถานะผู้ป่วย (Follow up Data) 4.1 สถานะปัจจุบัน (มีชีวิต/เสียชีวิต) 4.2 วันที่ติดต่อล่าสุด 4.3 สาเหตุของการเสียชีวิต
การควบคุมคุณภาพข้อมูลทะเบียนมะเร็ง คือ การควบคุมคุณภาพของการทำทะเบียนมะเร็ง เพื่อให้ ได้มาซึ่งสถิติโรคมะเร็งที่มีความเที่ยงตรง ถูกต้อง แม่นยำ ขึ้นกับ กระบวนการเก็บรวบรวม การจำแนก การลงรหัสโรค การบันทึก การวิเคราะห์ การรายงาน
คุณภาพของข้อมูล (Data quality) แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ความเปรียบเทียบกันได้ (Comparability) ต้องเริ่มจากการให้คำจำกัดความ หรือนิยามของตัวแปรจ่างๆ เช่น วันวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง ตามเกณฑ์ ของ (ENCR) การให้รหัสโรคมะเร็งโดยใช้ หนังสือ ICD-O การให้รหัสโดยใช้กฎของ International Rules for multiples primary cancers
วันที่วินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง * วันที่พบว่าเป็นมะเร็งได้จากผล ชิ้นเนื้อ = วันที่ตัด วันที่ส่ง วันที่ รายงาน ตามลำดับ วันที่นอนรักษาที่ รพ. เนื่องจาก วินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง วันที่มาตรวจรักษาที่ผู้ป่วยนอก และไดรับการวินิจฉัย วันที่เป็นมะเร็งซ้ำ วันที่ได้ผลชิ้นเนื้อจากการผ่าศพ Multiple primaries มะเร็งตำแหน่งใหม่หลาย ตำแหน่ง International Rules for multiples primary cancers * ข้างที่เป็น * ชนิดของชิ้นเนื้อ * เวลาในการเกิด
ความสมบูรณ์ (Completeness) ความสมบูรณ์ของข้อมูลควรจะเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ (ความเป็นจริงยังไม่มีทะเบียนใดสมบูรณ์100 เปอร์เซ็นต์ ) แบ่งออกเป็น แหล่งข้อมูล (data sources) ความอิสระของข้อมูล(Independent case ascertainmen) ข้อมูลเดิม(Historical data medthod) การติดตามข้อมูล (Follow up infomation)
1. แหล่งข้อมูล 1.1 จำนวนของแหล่งข้อมูลต่อ 1 ราย ผู้ป่วย1 รายอาจได้ข้อมูลมาจากหลายแหล่ง เช่น เวชระเบียน ผลพยาธิ และมรณะบัตร แต่ถ้าได้ แหล่งเดียว ข้อมูลอาจขาดความสมบูรณ์ 1.2 มรณะบัตร เป็นแหล่งข้อมูลที่ได้จากมรณะบัตรอย่างเดียว (Death certificate onl y =DCO) - ถ้าค่าเป็น 0 อาจถือว่าทะเบียนละเลยข้อมูลจากมรณบัตร - ถ้าสูง อาจแสดงว่าการเก็บรวบรวมข้อมูลน้อยกว่าที่ควรจะเป็น 1.3 การวินิจฉัยที่ได้จากผลชิ้นเนื้อ การใช้ร้อยละเป็นการบอกความครบถ้วนของ ข้อมูล (Percentage of case morphological verified = MV%)
2. ความเป็นอิสระของข้อมูล เพื่อหาความครบถ้วน กรณีที่มี 2 แหล่งข้อมูล มีข้อตกลงเบื้องต้น คือ แหล่งข้อมูลต้องเป็นอิสระต่อกัน และทุกรายโอกาสที่ในการ เก็บตรวจ ข้อมูลเท่าๆกัน 3. ข้อมูลที่เก็บย้อนหลัง คือข้อมูลที่เก็บย้อนหลังหลายปีเพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ หรือ หาแนวโน้มด้วยวิธีการต่างๆ 4. การติดตามข้อมูล ความถูกต้องของข้อมูลจะถูกต้องเพิ่มเติมและได้รับการแก้ไขให้ สมบูรณ์ เมื่อระยะเวลาผ่านไป โยข้อมูลที่ได้จะนำไปใช้ในการศึกษาอัตรา รอดชีพ (Survival analysis)
ความน่าเชื่อถือ (Validity) ความถูกต้องเป็นอัตราส่วน ของจำนวนผู้ป่วยในทะเบียนที่เก็บ ข้อมูลได้ถูกต้องตามความเป็นจริง ความถูกต้องของการบันทึกข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ความชำนาญในการดึงข้อมูลออกจากแหล่งข้อมูล การให้รหัสโรค การตรวจสอบรหัส
เวลา (Timeliness) ระยะเวลาแต่ละขั้นตอนวัดคุณภาพของทะเบียนมะเร็งได้ ระยะเวลาของการทำทะเบียน แบ่งเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูล กระบวนการตรวจสอบ การลงรหัส การวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการรายงาน การจัดการเวลาหรือการกำหนดเวลาถือว่ามีความสำคัญต่อผู้ที่ใช้ข้อมูล โรงพยาบาลควรจะมรการกำหนดมาตรฐานในเรื่องของระยะเวลา
END