ตามเส้นทางการพัฒนาตามสายอาชีพ (Training Road Map:TRM) โครงการฝึกอบรม ตามเส้นทางการพัฒนาตามสายอาชีพ (Training Road Map:TRM)
พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวก ในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘
หัวข้อบรรยาย (๑) หลักการและเหตุผล (๒) ขอบเขตการใช้บังคับ (๓) การจัดทำคู่มือสำหรับประชาชน (๔) การรับคำขอ (๕) การพิจารณาคำขอ
(6) การชำระค่าธรรมเนียมแทนการต่อใบอนุญาต (7) ศูนย์บริการร่วม และศูนย์รับคำขออนุญาต (8) การทบทวนกฎหมาย (9) ระบบสารสนเทศการจัดทำคู่มือสำหรับ ประชาชนของกรุงเทพมหานคร
(๑) หลักการและเหตุผล กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาอนุญาต ของทางราชการ มีขั้นตอนและระยะเวลาในการ ดำเนินการเป็นไปโดยล่าช้า
(๒) ขอบเขตการใช้บังคับ ๒.๑ ระยะเวลา มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อย แปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่ มาตรา ๑๗ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ๒.๒ กฎหมาย มาตรา ๓ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับกับบรรดาการอนุญาต การจด ทะเบียน หรือการแจ้งที่มีกฎหมายหรือกฎกำหนดให้ต้องขออนุญาต จดทะเบียน หรือแจ้ง ก่อนจะดำเนินการใด
บทบัญญัติของกฎหมายหรือกฎใดที่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๔ “อนุญาต” หมายความว่า การที่เจ้าหน้าที่ยินยอมให้ บุคคลใดกระทำการใดที่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องได้รับความยินยอม ก่อนกระทำการนั้น และให้หมายความรวมถึงการออกใบอนุญาต การ อนุมัติ การจดทะเบียน การขึ้นทะเบียน การรับแจ้ง การให้ประทาน บัตรและการให้อาชญาบัตรด้วย ข้อยกเว้น มาตรา ๕ พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ (๑) รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี
(๒) การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลและการดำเนินงานของ เจ้าหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาคดี การบังคับคดี และการวางทรัพย์ (๓) การดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (๔) การอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม (๕) การอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการทางด้านยุทธการ รวมทั้งกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมยุทธภัณฑ์ และกฎหมายว่าด้วย โรงงานผลิตอาวุธของเอกชน
การยกเว้นไม่ให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับแก่ การดำเนินกิจการใดหรือกับหน่วยงานใดนอกจากที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ๒.๓ เจ้าหน้าที่และหน่วยงาน มาตรา ๔ “เจ้าหน้าที่” หมายความถึง เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วย วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 บัญญัติว่า เจ้าหน้าที่ หมายความว่า บุคคล คณะบุคคล หรือ นิติบุคคล ซึ่งใช้อำนาจหรือได้รับมอบให้ใช้อำนาจทางปกครองของรัฐ
(มาตรา 5 พ.ร.บ.วิปกครอง ต่อ) ในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐหรือไม่ก็ตาม ๒.๔ การให้บริการ - หน่วยงานของรัฐให้บริการประชาชน (อยู่ในบังคับ) - ระหว่างหน่วยงานของรัฐเป็นการประสาน (ไม่อยู่ในบังคับ)
(๓) การจัดทำคู่มือสำหรับ ประชาชน ๓.๑ ผู้จัดทำคู่มือสำหรับประชาชน มาตรา ๗ วรรคหนึ่ง กำหนดให้ ผู้ อนุญาตจะต้องจัดทำคู่มือสำหรับประชาชน ให้ เสร็จสิ้นภายใน ๑๘๐ วัน นับแต่วันที่ พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา “ผู้อนุญาต” หมายความว่า ผู้ซึ่งกฎหมาย กำหนดให้มีอำนาจ ในการอนุญาต (ไม่รวมถึงผู้รับมอบอำนาจ)
๓.๒ รายละเอียดของคู่มือสำหรับ ประชาชน - หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข (ถ้ามี) ในการยื่นคำขอ - ขั้นตอนและระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณา อนุญาต - รายการเอกสารหรือหลักฐานที่ผู้ขอ อนุญาตจะต้องยื่นมาพร้อม กับคำขอ - จะกำหนดให้ยื่นคำขอผ่านทางสื่อ อิเล็กทรอนิกส์แทนการมายื่น คำขอด้วยตนเองก็ได้
- ปิดประกาศไว้ ณ สถานที่ที่กำหนดให้ ยื่นคำขอ ๓.๓ การเผยแพร่คู่มือสำหรับประชาชน (มาตรา ๗ วรรคสอง) - ปิดประกาศไว้ ณ สถานที่ที่กำหนดให้ ยื่นคำขอ - ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ - ประชาชนขอสำเนาฯ ให้พนักงาน เจ้าหน้าที่จัดสำเนาให้ โดยคิด ค่าใช้จ่ายตามควรได้ และให้ระบุ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวไว้ในคู่มือ สำหรับประชาชนด้วย
๓.๔ การตรวจสอบคู่มือสำหรับประชาชน (มาตรา ๗ วรรคสาม) - คณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ (ก.พ.ร.) ตรวจสอบ ขั้นตอนและระยะเวลาในคู่มือสำหรับประชาชน เหมาะสมหรือไม่ - หากเห็นว่าขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนด ล่าช้าเกินสมควร ให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและสั่งการให้ ผู้อนุญาตดำเนินการ แก้ไขให้เหมาะสมโดยเร็ว
(๔) การรับคำขอ ๔.๑ หน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ในการรับคำขอ (1) ตรวจสอบคำขอและรายการเอกสารหรือหลักฐานที่ยื่น พร้อมคำขอว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ (2) กรณีคำขอไม่ถูกต้องหรือยังขาดเอกสารหรือหลักฐานใด ให้แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบทันที แก้ไขทันทีในกรณีที่ทำได้ แก้ไขไม่ได้ในทันที ให้บันทึก ความบกพร่องและกำหนด ระยะเวลา และลงนามทั้ง สองฝ่ายไว้ในบันทึกนั้น
(3) กรณีคำขอถูกต้อง ครบถ้วน หรือแก้ไขแล้ว เรียกเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติม อื่นใดอีกไม่ได้ ปฏิเสธการพิจารณาคำขอโดยอ้าง ความไม่สมบูรณ์ ของคำขอหรือความไม่ ครบถ้วนของเอกสารหรือ หลักฐานไม่ได้ เว้นแต่ ความไม่สมบูรณ์หรือความ ไม่ครบถ้วนเกิดจากความ ประมาทเลินเล่อ หรือทุจริต ของพนักงานเจ้าหน้าที่ ทำให้ไม่อาจอนุญาตได้ กรณีนี้ ให้ผู้อนุญาตสั่งการตามที่ เห็นสมควร
(4) กรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่แก้ไขเพิ่มเติมคำขอหรือไม่ส่ง เอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติม (มาตรา ๙) คืนคำขอให้แก่ผู้ยื่นคำขอพร้อมทั้ง แจ้งเป็นหนังสือถึงเหตุ แห่งการคืนคำขอให้ทราบ ด้วย ผู้ยื่นคำขอมีสิทธิอุทธรณ์หรือยื่นคำ ขอใหม่ได้
๔.๒ ความรับผิดชอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการรับคำขอ - กรณีความไม่สมบูรณ์ของคำขอ หรือ ความไม่ครบถ้วนของ เอกสาร หรือหลักฐาน เกิดจากความ ประมาทเลินเล่อ หรือทุจริตของ พนักงานเจ้าหน้าที่ และเป็นผลทำให้ไม่อาจ อนุญาตได้ ในกรณีนี้ให้ ผู้อนุญาตสั่งการตามที่เห็นสมควรและให้ผู้ อนุญาตดำเนินการทางวินัย หรือดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ชักช้า
(๕) การพิจารณาคำขอ (มาตรา ๑๐) ๕.๑ ผู้อนุญาตพิจารณาแล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนดไว้ในคู่มือสำหรับประชาชน ต้องแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบภายใน ๗ วัน นับแต่วัน พิจารณาแล้วเสร็จ ๕.๒ ผู้อนุญาตยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ในคู่มือสำหรับประชาชน แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้า ทุก ๗ วัน จนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ ส่งสำเนาการแจ้งดังกล่าวให้ ก.พ.ร. ทราบทุกครั้ง
๕.๓ กรณี ก.พ.ร. เห็นว่าความล่าช้านั้นเกินสมควรแก่เหตุหรือเกิดจากการขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานของผู้อนุญาต รายงานต่อคณะรัฐมนตรีพร้อมทั้งเสนอแนะให้มีการ พัฒนาหรือปรับปรุงหน่วยงานหรือระบบการปฏิบัติ ราชการของหน่วยงานนั้น ๕.๔ กรณีไม่แจ้งตาม ๕.๑ และ ๕.๒ ถือว่าผู้อนุญาตกระทำการ หรือละเว้นการกระทำการ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น เว้นแต่จะเป็นเพราะ เหตุสุดวิสัย
(6) การชำระค่าธรรมเนียมแทนการต่อใบอนุญาต (มาตรา 12) - กฎหมายกำหนดอายุใบอนุญาตไว้ และ - กิจการหรือการดำเนินการที่มีลักษณะเป็นกิจการ หรือดำเนินการที่ต่อเนื่องกัน - คณะรัฐมนตรีจะกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตชำระ ค่าธรรมเนียมการต่อใบอนุญาตแทนการยื่นคำขอ การยื่นคำขอใบอนุญาตก็ได้ โดยตราเป็น พระราชกฤษฎีกา
(7) ศูนย์บริการร่วม และศูนย์รับคำขออนุญาต 7.1 ศูนย์บริการร่วม ให้ส่วนราชการจัดให้มีศูนย์บริการร่วมเพื่อรับคำขอ และชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการอนุญาตต่าง ๆ ตามกฎหมาย ว่าด้วยการอนุญาตไว้ ณ ที่เดียวกัน โดย สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนดแนวทางการจัดตั้งศูนย์บริการร่วมรับคำขอและชี้แจง รายละเอียดเกี่ยวกับการอนุญาตต่าง ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยการ อนุญาตไว้ ณ ที่เดียวกัน
7.2 ศูนย์รับคำขออนุญาต - กรณีจำเป็นและสมควรเพื่อประโยชน์ในการอำนวย ความสะดวกแก่ประชาชนให้คณะรัฐมนตรีมีมติจัดตั้งศูนย์รับคำ ขออนุญาต - ศูนย์รับคำขอมีฐานะเป็นส่วนราชการตามมาตรา 18 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี และจะให้มีสาขาของศูนย์ ประจำกระทรวงหรือประจำจังหวัดด้วยก็ได้ - การจัดตั้งศูนย์รับคำขออนุญาตให้ตราเป็นพระราช กฤษฎีกา
- ทุกห้าปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (8) ทบทวนกฎหมาย - ทุกห้าปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ - ผู้อนุญาตพิจารณากฎหมายว่าสมควรปรับปรุงกฎหมาย นั้นเพื่อยกเลิกการอนุญาตหรือจัดให้มีมาตรการอื่นแทนการ อนุญาตหรือไม่ - ในกรณีจำเป็นผู้อนุญาตจะพิจารณาปรับปรุงกฎหมาย หรือจัดให้มีมาตรการอื่นแทนในกำหนดระยะเวลาที่เร็วกว่า นั้นก็ได้
(8) ทบทวนกฎหมาย (ต่อ) - กรณีเห็นว่าสมควรปรับปรุงกฎหมาย ให้ผู้อนุญาตเสนอผลการพิจารณาต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณายกเลิกการอนุญาตหรือจัดให้มีมาตรการอื่นแทนการอนุญาต
(9) ระบบสารสนเทศการจัดทำคู่มือสำหรับประชาชนของกรุงเทพมหานคร - การจัดทำคู่มือกลางของกรุงเทพมหานคร - การจัดทำคู่มือสำหรับสำหรับสำนักงานเขต
จบการบรรยาย สำนักงานปกครองและทะเบียน