Kritsamai Plantation Present
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการทำงานภายในฟาร์ม เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในการผลิต และการดูแลรักษาเมล่อน รวมถึงการจำหน่ายผลผลิต เพื่อเรียนรู้การปฏิบัติงานจริง ทำให้ได้ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานในอนาคต เพื่อเรียนรู้การวางแผนการทำงาน การจัดการบริหาร และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อฝึกทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น และเตรียมความพร้อมในการทำงานในอนาคต
กระบวนการผลิตเมล่อน การเพาะเมล็ด การเตรียมวัสดุปลูก การย้ายกล้า การทำค้างและปลูกต้นเมล่อน การพันต้นเมล่อน การตัดแต่งแขนง การผสมดอก
กระบวนการผลิตเมล่อน(ต่อ) การแขวนลูก การตัดแต่งใบ การเด็ดแขนง ดอกและยอด การทำหวานเมล่อน การเก็บเกี่ยวผลผลิต และบรรจุภัณฑ์ การออกร้านจัดจำหน่ายผลผลิต
การเพาะเมล็ด แช่ในน้ำอุ่น ประมาณ 12 ชั่วโมง นำพีทมอสมาขยี้เป็นผงแล้วบรรจุวัสดุเพาะกล้าในถาดหลุมขนาด 60 หลุม นำเมล็ดที่ผ่านการแช่น้ำอุ่นมาหยอดลงในถาดเพาะ แล้วกลบให้เรียบร้อย
การเตรียมวัสดุปลูก เตรียมวัสดุปลูกโดยมีส่วนประกอบดังนี้ ดิน : ขี้วัว : กาบมะพร้าว ในสัดส่วน 3:3:1 หรือ ดิน : ขี้วัว : กาบมะพร้าว : C.O. phos ในสัดส่วน 3:3:1:1 ผสมให้เข้ากัน เมื่อผสมเสร็จแล้วก็นำวัสดุปลูกที่ผสมไว้มาใส่ในตะกร้าสีดำแล้วนำไปวางในโรงเรือน ในการผสมวัสดุปลูกสามารถใช้อุปกรณ์ทุ่นแรงได้ หากต้องการผสมวัสดุปลูกในปริมาณ มากๆ เช่น เครื่องโม่ดิ , เครื่องผสมปูน
การย้ายกล้า นำต้นกล้าย้ายลงหลุมที่เตรียมไว้ (ควรย้ายเมื่อกล้ามีใบแท้ 2-3 ใบ หรืออายุกล้าประมาณ 9-11 วัน) กลบดินบริเวณต้นให้เรียบร้อย
การทำค้างและการผูกต้นเมล่อน การทำค้างเมล่อนจะใช้เชือกด้ายสีขาว เอาเชือกผูกที่สายสลิงที่วางพาดไว้กับคานเหล็ก โดยขึงเชือกเป็นแนวดึงลงพื้น ให้ตรงกับกระถางเมล่อน 1 ต้น จะผูกเชือกไว้ 2 เส้น โดยเส้นที่1 ไว้สำหรับผูกต้นเมล่อน ส่วนอีกเส้นจะผูกให้เยื้องกับต้นเล็กน้อยเพื่อใช้ในการแขวนลูกเมล่อน
การพันต้นเมล่อน การพันต้นเมล่อนเริ่มพันจากข้อแรกของต้น พันขึ้นไปจนถึงยอดห้ามข้ามข้อ โดยพันวนซ้ายหรือวนขวาทิศทางใดทิศทางหนึ่ง การพันต้นเมล่อนจะพันได้ทุกช่วง ดูที่ต้น หากยอดโน้มลงควรที่จะพันยอดเพื่อป้องกันไม่ให้ยอดหัก
การตัดแต่งแขนง เมื่อเมล่อนอายุประมาณ 20 วัน จะมีแขนงออกมาจากข้อใบแต่ละข้อ นับจากข้อใบที่ 1-8 ให้เด็ดแขนงทิ้ง ให้ไว้แขนงที่ออกจากข้อใบที่ 9-11 เพื่อให้เมล่อนสร้างดอกตัวเมียและติดผลในแขนงดังกล่าว
การผสมดอก เมื่อเมล่อนสร้างดอกตัวเมียที่แขนง ลักษณะดอกตัวเมียดูได้จากฐานรองดอกจะมีลักษณะกลมรี เป็นกระเปราะเห็นชัดเจน มื่อวันที่ดอกตัวเมียบาน เราต้องช่วยต้นเมล่อนในการผสมเกสรดอก โดยเด็ดดอกตัวผู้ ดึงกลีบดอกออกให้หมด นำช่อเกสรตัวผู้ มาเขี่ยกับเกสรของดอกตัวเมีย
การแขวนลูกเมล่อน ในการคัดเลือกผล ซึ่งหลังผสมดอก 5-7 วัน ผลเมล่อนจะมีขนาดเท่าไข่ไก่ ให้เลือกตัดแขนงที่มีผลเล็ก ผลไม่สมบูรณ์ ให้เหลือเพียงต้นล่ะ 1 ผล หลังจากคัดเลือกผลต้องทำการแขวนผล เพื่อรับน้ำหนักของผลเมล่อนที่จะเพิ่มมากขึ้น
การตัดแต่งใบ ให้ตัดใบล่างของเมล่อน ที่ไม่ได้รับแสงออกไปประมาณ 3-5 ใบ เพื่อป้องกันเชื้อรา และแมลงที่จะมารบกวน
การเด็ดแขนง ดอกและยอด หลังจากแขวนลูกแล้ว ให้เด็ดแขนงที่เหลือทิ้งเพื่อลดการแย่งอาหาร หลังจากผสมดอกเสร็จ ดอกตัวผู้ที่เหลือให้เด็ดออกให้หมด
การทำหวานเมล่อน ก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิตจะมีการทำหวาน 3 ครั้ง โดยนำปุ๋ย 750 กรัม ละลายน้ำ 100 ลิตร แล้วรดบริเวณโคนต้นเมล่อน
การเก็บเกี่ยวผลผลิตและบรรจุภัณฑ์ เมล่อนที่มีคุณภาพ ต้องมีความหวานอย่างน้อย 14 องศาบริกซ์ ก่อนการเก็บเกี่ยว 1 สัปดาห์ การแพ็คใส่กล่องเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลผลิต เมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จให้นำมาแต่งกิ่ง ใส่ตาข่ายโฟมป้องกันการกระแทก
การออกร้านจำหน่ายผลผลิต ในการผลิตเมล่อน ควรมีการติดต่อตลาดรองรับผลผลิต เพื่อสะดวกในการทำธุรกิจ และควรมีหน้าร้านจำหน่ายผลผลิต เพื่อเป็นการกระจายผลผลิตออกสู่ตลาด
โรคที่เกิดระหว่างปฏิบัติงาน
โรคใบด่าง
โรคราแป้ง
โรคผลเน่าที่เกิดจากเชื้อรา
โรคผลเน่าที่เกิดจากแบคทีเรีย
รายวิชาที่เกี่ยวข้อง กีฏวิทยาทางการเกษตร โรคพืชวิทยาเบื้องต้น ปฐพีวิทยาเบื้องต้น การติดต่อสื่อสารทางการเกษตร หลักการขยายพันธุ์พืช องค์กรและสถาบันเกษตรกร ระบบเกษตร
จุดแข็งของฟาร์ม เจ้าหน้าที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน เจ้าของฟาร์มมีความเป็นกันเองกับเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ทุกคนตรงต่อเวลา เจ้าหน้าที่ทุกคนมีความรับผิดชอบสูง การผลิตเมล่อนเป็นแบบประณีต เจ้าหน้าที่ทุกคนสามารถใช้อุปกรณ์ได้อย่างดี
จุดอ่อนของฟาร์ม การตลาดของฟาร์มยังไม่โตเท่าที่ควร บรรจุภัณฑ์ยังใช้พลาสติก เรื่องการป้องกันการเข้าทำลายของแมลง ระบบการให้ปุ๋ย ไม่มีกำหนดการการทำงาน
ขอบคุณครับ