แนวคิดจิตสาธารณะในมิติเยาวชน ดร.ทนุวงศ์ จักษุพา
จิตสาธารณะ (Public mind) หมายถึง จิตสำนึกเพื่อส่วนรวม ความรับผิดชอบต่อตนเอง ความรับผิดชอบต่อสังคม
ความสำคัญของจิตสาธารณะ
โลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เกิดจาก - ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีต่างๆ - ประเทศไทยต้องเร่งพัฒนาตนเองเพื่อให้ทันการเปลี่ยนแปลง - ผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในสังคมไทย ค่านิยมทางวัตถุสูงขึ้น มีการเอารัดเอาเปรียบ
มุ่งหาประโยชน์ให้กับตนเองมากกว่าส่วนรวม ขาดคุณธรรม-จริยธรรม ขาดสมดุลทั้งทางจิตใจและทางวัตถุโดยโน้มเอียงไปทางวัตถุนิยมมากกว่าจิตใจ คนในสังคมมีความสำนึกต่อส่วนรวมน้อยลง
ตัวบ่งชี้ที่เห็นกันอยู่เป็นประจำคือ โปรดเห็นใจแก่สตรีและคนชรา โปรดช่วยกันรักษาความสะอาด ห้ามบ้วนน้ำลายลงบนพื้น ห้ามทิ้งขยะ โปรดทิ้งขยะลงในถัง กรุณาอย่าทิ้งผ้าอนามัยลงในโถส้วม
ปัญหาการขาดจิตสาธารณะที่ใกล้ตัวเรา ปัญหายาเสพติด เกิดจากความเห็นแก่ตัวของผู้ขาย ไม่นึกถึงปัญหาส่วนรวมของสังคม การปล่อยน้ำเสียจากโรงงาน ไม่ผ่านการบำบัด เกิดความเสียหายต่อการเกษตรและชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน
ปัญหาการขาดจิตสาธารณะที่ใกล้ตัวเรา การจอดรถยนต์โดยไม่ดับเครื่องยนต์ ทำให้เกิดควันพิษโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ป่าไม้ถูกทำลาย ทำให้เกิดโรคร้อน เด็กถูกทอดทิ้ง เกิดปัญหาการเลี้ยงดูให้เป็นเด็กที่มีคุณภาพ
ปัญหาการขาดจิตสาธารณะที่ใกล้ตัวเรา การใช้ทางสาธารณะเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ทิ้งขยะลงแม่น้ำลำคลอง ทำให้น้ำเน่า ฉีดสารเร่งเนื้อแดงในสัตย์เลี้ยง ดื่มสุราแล้วขับรถยนต์ ฯลฯ
ผลกระทบจากการขาดจิตสาธารณะ ผลกระทบระดับตัวบุคคล สร้างความเดือดร้อนให้กับตนเอง สร้างความเดือดร้อนให้กับคนอื่น ผลกระทบระดับครอบครัว ความสามัคคีในครอบครัวน้อยลง ความขัดแย้ง แก่งแย่งในครอบครัว ทะเลาะเบาะแว้ง
ผลกระทบระดับองค์กร แบ่งพรรคแบ่งพวกในองค์กร ความเห็นแก่ตัวแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น การเบียดเบียนสมบัติขององค์กร สมบัติของส่วนรวม องค์กรไม่ก้าวหน้า ประสิทธิภาพและคุณภาพของงานลดลง
ผลกระทบต่อชุมชน ชุมชนอ่อนแอ ขาดการพัฒนา เพราะต่างคนต่างอยู่ สภาพสังคมยิ่งนานไปก็มีแต่เสื่อม ทรุดลง อาชญากรรมในชุมชนอยู่ในระดับสูง ขาดศูนย์รวมจิตใจ ขาดผู้นำที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เพราะทุกคนเห็นปัญหาของตนเองเป็นใหญ่ กลัวเสียเวลา เสียทรัพย์ หรือกลัวเป็นข้อครหา
ผลกระทบระดับประเทศ วิกฤตการณ์ภายในประเทศบ่อยครั้ง แก้ปัญหาไม่ได้ เกิดการเบียดเบียนทำลายทรัพยากรและสมบัติของส่วนรวม ประเทศชาติล้าหลัง ขาดพลังประชาชน ผู้นำประเทศออกมาตรการใดมาใช้ก็ไม่ได้รับความร่วมมือ แบ่งพรรคแบ่งพวก เกิดการแย่งแข่งขัน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง
แนวทางการสร้างจิตสาธารณะ แนวทางการสร้างจิตสาธารณะ 1. สร้างวินัยในตนเอง 2. ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม 3. ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคม 4. ยึดหลักธรรมในการดำเนินชีวิต
คนที่มีจิตสาธารณะมีลักษณะอย่างไร? คิดในทางบวก (Positive thinking) มีส่วนร่วม (Participation) ทำตัวเป็นประโยชน์ (Useful) ไม่เห็นแก่ตัว (Unselfish) มีความเข้าใจ (Understand) มีใจกว้าง (Broad Mind) มีความรัก (Love) มีการสื่อสารที่ดี (Communication)
หลักแนวคิดของ CSR เพื่อจิสาธารณะ
หลักแนวคิดของ CSR 1. การกำกับดูเเลกิจการที่ด ี 2. การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม 3. การเคารพสิทธิและการปฎิบัติต่อเเรงงานอย่างเป็นธรรม 4. ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค 5. การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม 6. การดูเเลรักษาสิ่งเเวดล้อม 7. การเผยเเพร่นวัตกรรมจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม 8. การจัดทำรายงานด้านสังคมและสิ่งเเวดล้อม
ประเภทของ CSR กิจกรรมเพื่อสังคม ธุรกิจเพื่อสังคม กิจการเพื่อสังคม
กิจกรรมเพื่อสังคม การดำเนินกิจกรรมของหน่วยงาน ส่วนมากเป็นธุรกิจที่แสวงหากำไร เพื่อสร้างประโยชน์แก่สังคมด้านต่างๆ กิจกรรมที่ทำมักแยกจากการดำเนินธุรกิจ เช่น การแก้ไขเยียวยาชุมชนจากมลพิษ การแจกจ่ายสิงของ อาสาสมัครบำเพ็ญประโยชน์ “เป็นกิจกรรมนอกเหนือเวลางานปกติ”
ธุรกิจเพื่อสังคม การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมทีอ ยู่ในกระบวนการทำงานหลัก ของกิจการ การทำธุรกิจที่หากำไรอย่างมีความรับผิดชอบ เช่น การป้องกัน หรือกำจัดมลพิษในกระบวนการผลิตไม่ให้ส่งผลกระทบต่อชุมชน
กิจการเพื่อสังคม องค์กรดำเนินงานโดยไม่แสวงหากำไรให้แก่ตนเอง เป็นหน่วยงานทีก่อตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์แก่สังคมในทุก กระบวนการจองกิจการ เช่น มูลนิธิ องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรประชาชน ส่วน ราชการต่างๆ