การผุพังอยู่กับที่ โดย นางสาวเนาวรัตน์ สุชีพ การผุพังอยู่กับที่ โดย นางสาวเนาวรัตน์ สุชีพ
การผุพังอยู่กับที่ (Weathering) หมายถึง การที่หินผุพังทำลายลงด้วยกรรมวิธีต่างๆ จากลมฟ้าอากาศกับน้ำฝน รวมทั้งการกระทำของต้นไม้กับแบคทีเรียตลอดจนการแตกตัวทางกลศาสตร์ มีการเพิ่ม-ลดอุณหภูมิสลับกัน เป็นต้น สาเหตุของการผุพังอยู่กับที่ ได้แก่ ความร้อน ความเย็น น้ำ น้ำแข็ง แก็สออกซิเจนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ประเภทของการผุพังอยู่กับที่ การผุพังอยู่กับที่แบ่งไก้เป็น 2 ประเภทคือ 1.การผุพังเชิงกล 2.การผุพังเชิงเคมี ซึ่งการผุพังทั้งสองประเภทนี้จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ แต่เมื่อผ่านไปนานๆก็สามารถทำให้หินหรือสสารอื่นๆพังทลายลงได้
1. การผุพังอยู่กับที่เชิงกล (Mechanical Weathering) คือกระบวนการอยู่กับที่ที่ทำให้หินหรือสสารอื่นๆแตกออกเป็นชิ้นๆได้ ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการผุพังอยู่กับที่เชิงกล - ความร้อนและความเย็น โดยความร้อนจากดวงอาทิตย์หรือไฟป่าทำให้ด้านนอกของหินร้อนกว่าด้านในของหิน ทำให้ด่านนอกของหินหลุดออกมาเป็นแผ่นๆ ส่วนความเย็นได้มาจากฝน ซึ่งทำให้หินที่ร้อนตัวเย็นลงอย่างรวดเร็ว จึงทำให้หินแตกออกเป็นรอยแยกได้ - การแข็งตัวและการละลาย เกิดจากน้ำที่อยู่ในรอยแตกของหินแข็งตัว น้ำจะขยายตัวออกทำให้รอยแยกของหินใหญ่มากขึ้นทำให้ถนนเกิดเป็นหลุมเป็นบ่อ - เกิดเจริญเติบโตของต้นไม้ โดยเกิดจากการไชชอนของรากต้นไม้ไปตามรอยแยกของหิน เมื่อรากต้นไม้ใหญ่ขึ้น ก็สามารถทำให้หินแตกออกได้
- การครูดถู เป็นการเสียดสีกันระหว่างหินกับทรายและเศษหินเล็กๆ ที่มากับน้ำ น้ำแข็ง ลมและแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้หินที่ถูกเสียดสีเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ - การกระทำของสัตว์ พบว่าสัตว์ที่ขุดรูอยู่ในพื้นดิน เช่น หนู ตัวตุ่น แมลงบางชนิด ช่วยทำให้หินที่ถูกเสียดสีเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ - การกัดเซาะของแม่น้ำ แม่น้ำมักมีแหล่งต้นน้ำอยู่บริเวณภูเขาสูงซึ่งอาจไหลมาจากธารน้ำแข็งละลายหรือมีฝนตกหนักในเขตป่าเขา แม่น้ำตอนบนจะมีกระแสไหลเชี่ยว เกิดการกัดเซาะพื้นดินในแนวตั้งทำให้มีฝั่งเป็นหุบเขารูปตัววีเกิดขึ้น ตอนกลางของแม่น้ำเป็นระยะหน่วง ทำให้หุบเขากว้างขึ้น ฝั่งชันน้อยลง มีคุ้งน้ำมากขึ้น ในขณะที่แม่น้ำไหลไปตามคุ้งกระแสน้ำทางฝั่งด้านนอก ของวงโค้ง จะไหลเร็ว จึงเกิดการกัดเซาะ
2. การผุพังอยู่กับที่เชิงเคมี(Chemical Weathering) เป็นกระบวนการ ที่ทำให้หินแตกสลายออกเป็นชิ้นเล็กๆ โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการผุพังอยู่กับที่ทางเคมี ได้แก่ - น้ำเป็นตัวการสำคัญที่สุด ที่ทำให้เกดการผุพังโดยการละลาย - แก็สออกซิเจน หินที่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบจะทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจนในสภาวะที่มีน้ำอยู่ด้วย และเกิดเป็นสนิม สนิมทำให้หินอ่อนตัวลงและแตกเป็นชิ้นเล็กๆ และให้สีน้ำตาลหรือสีแดง - แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สนี้จะเละลายรวมตัวกับน้ำฝนและน้ำที่อยู่ใน ซึ่งอากาศในดินทำให้เกิดเป็นกรดอ่อน เรียกว่า กรดคาร์บอนิก ซึ่งจะทำให้ หินอ่อนและหินปูนผุพังลงได้
- สิ่งมีชีวิต พบว่ารากพืชที่เติบโตขึ้นจะผลิตกรดอ่อนที่ละลายหินรอบๆรากได้และสิ่งที่คลายพืชที่เรียกว่า ไลเคน ที่เติบโตบนหิน จะสร้างกรดอ่อนที่ทำให้หินผุพังได้ ปัจจัยทำให้เกิดการผุพังอยู่กับที่ มีดังนี้ 1. การผุพังทางกายภาพ เป็นกระบวนการที่ทำให้แร่และหินแตกตัวมีขนาดเล็กลง เช่น การผุพังเนื่องมาจากการหายไปของความดันที่เคยกดทับ ทำให้หินแตกเป็นกาบมน (พบมากกับหินแกรนิต) - การผุพังเนื่องจากน้ำมีการแข็งตัว เกิดในสภาพภูมิอากาศหนาว น้ำเมื่อเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง ปริมาตรจะขยายตัว 9%
2. การผุพังทางเคมี เป็นกระบวนการผุพังที่ทำให้แร่และหิน เปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมี และ/หรือละลายจากวัสดุต้นกำเนิด บริเวณสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นกระบวนการดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ดี ผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการดังกล่าว จะได้ตะกอน (แร่ใหม่) และสารละลาย ปฏิกิริยาที่เกิดจากกระบวนการผุพังทางเคมี ที่พบโดยทั่วไป คือ - ปฎิกิริยาการละลาย และปฎิกิริยาจากน้ำฝนที่เป็นกรดอ่อน เป็นปฎิกิริยาระหว่างแร่ประกอบหิน เป็นแร่ที่สามารถละลายน้ำได้ (แร่เฮไลต์ ในหินเกลือ หรือแร่ยิปซัมในหินยิปซั่ม) หรือแร่แคลไซต์ ในหินปูน เช่น เกลือสินเธาว์ และแร่ยิปซั่ม ที่ละลายโดยน้ำใต้ดิน หินปูนที่ละลายจากน้ำฝนและน้ำใต้ดิน
- ปฎิกิริยาไฮโดรไลซิส เป็นปฎิกิริยาระหว่างแร่ประกอบหิน กับน้ำฝน หรือน้ำใต้ดิน ทำให้เกิดแร่ใหม่ที่มีความแข็งแรงน้อยลง เช่น การเปลี่ยนของแร่โพแทสเซียมเฟลด์สปาร์เปลี่ยนไปเป็นแร่เคลย์ - ปฎิกิริยาออกซิเดชัน เป็นปฎิกิริยาที่ธาตุโลหะที่เป็นส่วนประกอบของแร่ ทำปฎิกิริยากับออกซิเจน เกิดเป็นแร่ใหม่ เช่น การเปลี่ยนของแร่แมกนีไทต์ ไปเป็นแร่ฮีมาไทต์ และการเปลี่ยนแปลงของแร่ไพไรต์ ไปเป็น ไลมอไนต์ (ข้าวตอกพระร่วง ) เป็นต้น
3. การผุพังทางชีวะ กระบวนการผุพังทางชีวะ เป็นกระบวนการผุพังที่เป็นผลมาจากกิจกรรมของสิ่งมีชีวิต ที่เคลื่อนย้ายวัตถุต้นกำเนิด ออกจากบริเวณเดิม และ/หรือ การย่อยสลายวัตถุต้นกำเนิด กระบวนการผุพังทางชีวะสามารถจำแนก เป็น 2 กลุ่มตามขนาดของสิ่งมีชีวิต - กระบวนการผุพังทางชีวะจากสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดใหญ่สามารถมองเห็นด้วยตา เช่น พืชที่โตในรอยแตกของหิน - กระบวนการผุพังทางชีวะจากสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กไม่สามารถมองเห็นด้วยตา เช่น ไลเคนที่เจริญเติบโตบนหิน
จบการนำเสนอ