อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
อัตราแลกเปลี่ยน (exchange rate) เป็นอัตราที่เทียบระหว่างค่าของเงินสกุลหนึ่ง(เช่น เงินสกุลท้องถิ่น)กับหนึ่งหน่วยของเงินสกุลหลัก เช่น ค่าของเงินบาทเทียบกับ 1 หน่วยดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 40 บาท
หน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน ธนาคารแห่งประเทศไทย(BOT) โดยกองทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน ( Exchange Equalization Fund ; EEF )
พัฒนาการนโยบายการเงินของไทย แบ่งเป็น 3 ช่วงของไทย ช่วงแรก (หลังสงครามโลกครั้งที่ 2-มิถุนายน พ.ศ. 2540 ) การผูกค่าเงินบาทกับค่าเงินสกุลอื่นหรือกับตะกร้าเงิน (Pegged Exchange Rate) ช่วงแรกผูกค่าเงินไว้กับสกุลอื่นหรือทองคำ ต่อมาช่วงพฤศจิกายน พ.ศ. 2527-มิถุนายน พ.ศ. 2540 ผูกค่าเงินบาทกับตะกร้าเงิน ภายใต้ระบบตะกร้าเงิน ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Equalization Fund : EEF) จะเป็นผู้ประกาศและปกป้องค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในแต่ละวัน สำหรับการดำเนินนโยบายการเงินในช่วงนี้ มุ่งเน้นให้ปัจจัยภายในประเทศสอดคล้องกับการกำหนดค่าเงิน ภายใต้ระบบดังกล่าวเป็นสำคัญ ช่วงแรก (หลังสงครามโลกครั้งที่ 2-มิถุนายน พ.ศ. 2540 ) การผูกค่าเงินบาทกับค่าเงินสกุลอื่นหรือกับตะกร้าเงิน (Pegged Exchange Rate) ช่วงแรกผูกค่าเงินไว้กับสกุลอื่นหรือทองคำ ต่อมาช่วงพฤศจิกายน 2527-มิถุนายน 2540 ผูกค่าเงินบาทกับตะกร้าเงิน ภายใต้ระบบตะกร้าเงิน ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Equalization Fund : EEF) จะเป็นผู้ประกาศและปกป้องค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในแต่ละวัน สำหรับการดำเนินนโยบายการเงินในช่วงนี้ มุ่งเน้นให้ปัจจัยภายในประเทศสอดคล้องกับการกำหนดค่าเงิน ภายใต้ระบบดังกล่าวเป็นสำคัญ พัฒนาการนโยบายการเงินของไทย แบ่งเป็น 3 ช่วงของไทย ช่วงที่สาม (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2543-ปัจจุบัน) การกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) แบงก์ชาติได้พิจารณาปัจจัยต่างๆ ในระบบการเงิน ทั้งปัจจุบันและในอนาคตแล้วเห็นว่า การใช้ปริมาณเงินเป็นเป้าหมายจะมีประสิทธิผลน้อยกว่าการใช้เงินเฟ้อเป็นเป้าหมาย เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเงินและการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจไม่มีเสถียรภาพ นอกจากนี้ การที่ระบบการเงินในประเทศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการสินเชื่อของภาคเอกชน รวมทั้งความสามารถของระบบการเงิน ในการขยายสินเชื่อในแต่ละช่วงมีความไม่แน่นอน แบงก์ชาติจึงเปลี่ยนมาใช้อัตราเงินเฟ้อเป็นเป้าหมายในการดำเนินนโยบายการเงินในปัจจุบันแทน
พัฒนาการอัตราแลกเปลี่ยนของไทย ต้องมีทุนสำรองระหว่างประเทศจำนวนมาก ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (ปี 2506-2521) อัตราแลกเปลี่ยนรายวัน (ปี 2521-2524) พัฒนาการอัตราแลกเปลี่ยนของไทย อัตราแลกเปลี่ยนกำหนดโดย EEF (ปี 2524-2527) อัตราแลกเปลี่ยนอิงกับตะกร้าเงิน (ปี 2527-2540) อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบจัดการ (ปี 2540-ปัจจุบัน) ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนมาเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ประเทศไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาท หรือกล่าวได้ว่ามีการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนสะท้อนความเป็นจริงตามความต้องการถือครองเงินบาท จากครั้งนี้ทำให้เงินบาทอ่อนค่าสูงสุด ณ ระดับ 54 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
ระบบอัตราแลกเปลี่ยน ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ อัตราแลกเปลี่ยนลอย ต้องมีทุนสำรองระหว่างประเทศจำนวนมาก ระบบอัตราแลกเปลี่ยน เปลี่ยนแปลงตามอุปสงค์ อุปทาน ของปริมาณเงิน อัตราแลกเปลี่ยนลอย เปลี่ยนแปลงตามอุปสงค์ อุปทาน ของปริมาณเงิน โดยรัฐบาลเข้าแทรกแซงค่าเงินบางครั้ง อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบจัดการ
การเพิ่มขึ้นของค่าเงิน ( Revaluation) เดิม : อัตราแลกเปลี่ยน 40 ฿ : 1 $ ต่อมา : อัตราแลกเปลี่ยนเป็น 35 ฿ : 1 $ การเพิ่มขึ้นของค่าเงิน ( Revaluation) เงินบาทแข็งตัว(เพิ่มค่าเงินบาท) ด้านการส่งออกในสายตาของชาวต่างชาติจะรู้สึกว่าสินค้าส่งออกของไทยมีราคาแพงขึ้น ด้านการนำเข้าในสายตาของคนไทยจะรู้สึกว่าสินค้านำเข้ามีราคาถูกลง นั่นคือสินค้าส่งออกของไทยจะมีราคาแพงขึ้น แต่ราคาสินค้านำเข้าจะถูกลง ดังนั้นจึงส่งผลให้การส่งออกน้อยลงและนำเข้ามากขึ้น เช่นเดิมไทยนำเข้าแอปเปิ้ลจากสหรัฐอเมริกา กิโลกรัมละ ละ 1 $ (หรือ 40 บาท/ก.ก.) เมื่อเพิ่มค่าเงินบาทเป็น 35 ฿ : 1 $ ทำให้คนไทยต้องใช้เงินบาทน้อยลงในการซื้อแอปเปิ้ล 1 กิโลกรัม (เพราะเงิน 1 $ สามารถแลกเป็นเงินบาทได้น้อยลงหรืออีกนัยหนึ่งก็คือต้องใช้เงิน $ ในจำนวนมากขึ้นเพื่อซื้อสินค้าไทย) เช่นเดิมไทยส่งออกข้าวไปขายให้สหรัฐฯในราคากิโลกรัมละ 40 ฿ : 1 $ แต่เมื่อเพิ่มค่าเงินบาทเป็น 35 ฿ : 1 $ ทำให้คนสหรัฐฯต้องใช้เงินดอลลาร์มากขึ้นในการซื้อข้าว 1 กิโลกรัม
การลดค่าเงิน ( Devaluation ) เดิม : อัตราแลกเปลี่ยนเป็น 35 ฿ : 1 $ ต่อมา : อัตราแลกเปลี่ยน 40 ฿ : 1 $ การลดค่าเงิน ( Devaluation ) เงินบาทอ่อนตัว(ลดค่าเงินบาท) ด้านการส่งออกในสายตาของชาวต่างชาติจะรู้สึกว่าสินค้าส่งออกของไทยมีราคาถูกลง ด้านการนำเข้า ในสายตาคนไทยจะรู้สึกว่าสินค้านำเข้ามีราคาแพงขึ้น นั่นคือราคาสินค้าส่งออกจะถูก แต่ราคาสินค้านำเข้าจะแพง ดังนั้นจึงส่งผลให้การส่งออกมากขึ้น และนำเข้าน้อยลง (เพราะต้องใช้เงินบาทมากขึ้นเพื่อแลกกับเงิน $ ในการซื้อสินค้านำเข้า) เช่นเดิมไทยนำเข้าช็อคโกแลตจากสหรัฐอเมริกา แท่งละ 1 $ (หรือ 40 บาท/แท่ง) เมื่อลดค่าเงินบาทเป็น 42 ฿ : 1 $ ทำให้คนไทยต้องใช้เงินบาทมากขึ้นในการซื้อช็อคโกแลต 1 แท่ง (เพราะเงิน 1 $ สามารถแลกเป็นเงินบาทได้มากขึ้น ) เช่นถ้าเดิมไทยส่งออกข้าวไปขายให้สหรัฐฯในราคากิโลกรัมละ 40 ฿ : 1 $ แต่เมื่อลดค่าเงินบาทเป็น 42 ฿ : 1 $ ทำให้คนสหรัฐฯต้องใช้เงินดอลลาร์ลดลงในการซื้อข้าว 1 กิโลกรัม