887420 มิติทางสังคมและจริยธรรมสำหรับนักเทคโนโลยีสารสนเทศ 13 July 2002 887420 มิติทางสังคมและจริยธรรมสำหรับนักเทคโนโลยีสารสนเทศ บทที่ 9 ทรัพย์สินทางปัญญา (ตอนที่ 2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิชัย บุญเจือ E-mail: wichai@buu.ac.th http://www.informatics.buu.ac.th/~wichai Email:wichai@buu.ac.th
เนื้อหาสังเขป ตอนที่ 1 1. ความหมายของทรัพย์สินทางปัญญา 2. การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ตอนที่ 2 3. การใช้งานอย่างชอบธรรม 4. ประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 5. กรณีศึกษา: Google Books 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
3 การใช้งานอย่างชอบธรรม 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
3 การใช้งานอย่างชอบธรรม การใช้งานอย่างชอบธรรม (Fair Use) หมายถึง การที่บุคคลสามารถทํางานอันมีลิขสิทธิ์ได้อย่างถูกกฎหมาย โดยไม่จําเป็นต้องขออนุญาตจากผู้ถือลิขสิทธิ์ (เจ้าของลิขสิทธิ์) [J. Quinn, 2010] อย่างไรก็ตาม งานที่นํามาทําซ้ํา หรือเผยแพร่จะต้องเป็นเพียงบางส่วน หรือเป็นการนํามาในปริมาณที่เหมาะสมจึงจะถือว่าเป็นการใช้งานอย่างชอบธรรม เช่น การตัดข้อความบางส่วนของงานที่มีลิขสิทธิ์มาใช้ และมีการอ้างอิงถึงเจ้าของลิขสิทธิ์นั้น เพื่อประโยชน์ในการสอน การวิจัย การวิจารณ์ หรือการรายงานข่าว เป็นต้น 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
3 การใช้งานอย่างชอบธรรม ในประเทศสหรัฐอเมริกา การใช้งานอย่างชอบธรรมได้ระบุไว้เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายลิขสิทธิ์ เช่นเดียวกับ ประเทศไทย ที่ได้ระบุการใช้งานอย่างชอบธรรมไว้ในลักษณะของ “ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์” ของพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 หมวดที่ 1 ส่วนที่ 6 ดังนี้ “มาตรา ๓๒ การกระทําแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้หากไม่ขัดต่อการแสวงหา ประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของ เจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
3 การใช้งานอย่างชอบธรรม ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทําอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทําดังต่อไปนี้ วิจัยหรือเพื่อศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทําเพื่อหากําไร 2. ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท 3. ติชม วิจารณ์ หรือแนะนําผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
3 การใช้งานอย่างชอบธรรม 4. เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น 5. ทําซ้ํา ดัดแปลง นําออกแสดง หรือทําให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอํานาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว 6. ทําซ้ํา ดัดแปลง นําออกแสดง หรือทําให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทําเพื่อหากําไร 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
3 การใช้งานอย่างชอบธรรม 7. ทําซ้ํา ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทําบทสรุปโดยผู้สอนหรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจําหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทําเพื่อหากําไร 8. นํางานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
3 การใช้งานอย่างชอบธรรม มาตรา ๓๓ การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควรจากงานอันมีลิขสิทธิ์ตาม พระราชบัญญัตินี้ โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้ปฏิบัติ ตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง จากข้อยกเว้นดังกล่าว สามารถสรุปเป็นหลักเกณฑ์การพิจารณา “การใช้งานอย่างชอบธรรม” ในงานอันมีลิขสิทธิ์ ได้ดังนี้ 1. วัตถุประสงค์และลักษณะการนําไปใช้ ส่วนใหญ่จะเป็นการนําไปใช้ด้วยวัตถุประสงค์ทางการศึกษา มากกว่าการนําไปใช้ในเชิงพาณิชย์ 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
3 การใช้งานอย่างชอบธรรม 2. ลักษณะของงานอันมีลิขสิทธิ์ งานที่ไม่ใช่นวนิยาย หรือวรรณกรรม ส่วนใหญ่จะสามารถนําไปใช้อย่างชอบธรรมเพียงบางส่วนได้ ดังนั้น จึงไม่ควรนํางานที่เป็นนวนิยายหรือวรรณกรรมไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต 3. ปริมาณงานที่นํามาใช้ ควรตัดข้อความมาเพียงบางส่วนเท่านั้น ไม่ควรนํามาทั้งบท 4. ผลกระทบต่องานอันมีลิขสิทธิ์ หากงานที่นํามาใช้เป็นงานที่หมดอายุลิขสิทธิ์แล้ว จะมีโอกาสนําไปใช้อย่างชอบธรรมได้มากกว่างานที่ยังมีลิขสิทธิ์อยู่ ยังมีจําหน่ายในท้องตลาด) 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
3 การใช้งานอย่างชอบธรรม ยกตัวอย่างการใช้งานอย่างชอบธรรม โดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์ข้างต้น ดังนี้ “อาจารย์นําวารสารไปไว้ในห้องสมุด เพื่อใช้เป็นแหล่งเนื้อหาที่จะสั่งงานให้นักศึกษาไปค้นคว้าจากวารสารเล่ม ดังกล่าว แต่เนื่องจากจํานวนนักศึกษามากเกินกว่าจํานวนวารสารในห้องสมุด อาจารย์จึงนํามาสแกนแล้วนําไฟล์ สแกนโพสต์ขึ้นบนเว็บไซต์ส่วนตัว จากนั้นจึงแจกรหัสผ่านให้นักศึกษาเข้าไปใช้ไฟล์สแกนวารสารนั้นได้” 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
3 การใช้งานอย่างชอบธรรม กรณีข้างต้น เป็นการสแกนวารสารเพื่อวัตถุประสงค์ทางการศึกษาอย่างแท้จริง (ตามหลักข้อ 1) เป็นวารสาร ซึ่งมี ความเป็นไปได้ที่จะสามารถนํามาใช้โดยไม่ต้องขออนุญาต เนื่องจากไม่ใช่นวนิยายหรือวรรณกรรม (ตามหลักข้อ 2) เป็นการนําวารสารไปสแกนทั้งฉบับ (ขัดกับหลักข้อ 3) สําหรับหลักเกณฑ์ข้อที่ 4 หากวารสารนั้นยังวางจําหน่ายอยู่ จะ ถือว่าการกระทําของอาจารย์ได้ส่งผลกระทบต่อยอดขายของวารสาร แต่หากวารสารนั้นไม่มีวางจําหน่ายแล้ว จะถือว่า การกระทําของอาจารย์ไม่ส่งผลกระทบต่อยอดขายของวารสาร และถือว่าเป็นการนําไปใช้อย่างชอบธรรม 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
3 การใช้งานอย่างชอบธรรม สรุปตัวอย่างกรณีข้างต้น เป็นการกระทําที่ไม่ขัดหลักเกณฑ์ 3 ใน 4 ข้อ ถือว่าเป็นการกระทําที่ไม่เป็นการละเมิด ลิขสิทธิ์ นอกจากการที่ประเทศไทยได้มีการตราพระราชบัญญัติออกมาควบคุมการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว กรมทรัพย์สินทางปัญญาโดยกระทรวงพาณิชย์ ยังได้เข้าร่วมเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านทรัพย์สินทางปัญญาของ ต่างประเทศด้วย ได้แก่ 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
3 การใช้งานอย่างชอบธรรม องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization) องค์การการค้าโลก (World Trade Organization) พิธีสารกรุงมาดริด (Madrid Protocol) สนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (Paten Cooperation Treaty) ศึกษารายละเอียดของความร่วมมือแต่ละหน่วยงานได้จากเว็บไซต์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
4 ประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 4.1 การขโมยความคิด การขโมยความคิด (Plagiarism) คือ การที่บุคคลขโมยความคิดและคําพูดของบุคคลอื่นมาเป็นผลงานของตน [Reynolds, 2007] เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “การโจรกรรมผลงาน” หรือ “การโจรกรรมทางวิชาการ” 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
4.1 การขโมยความคิด การขโมยความคิดหรือผลงานของผู้อื่น เป็นประเด็นที่มีการกล่าวถึงและให้ความสําคัญมากขึ้น โดยเฉพาะใน แวดวงการทําวิจัยและวิทยานิพนธ์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากแหล่งการสืบค้นงาน วิจัยของผู้อื่นและบทความต่างๆ นั้นสามารถเข้าถึงได้ง่ายจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนั้น จึงควรระมัดระวังเมื่อ ต้องการนําข้อความหรือผลงานของบุคคลอื่นมาใช้ โดยสามารถนํามาใช้ได้อย่างชอบธรรมคือเพียงบางส่วน และจะต้อง อ้างอิงถึงเจ้าของผลงานด้วย มิฉะนั้น จะถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นการกระทําที่หลายมหาวิทยาลัยมีบทกําหนดโทษที่ ค่อนข้างรุนแรง 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
4.1 การขโมยความคิด ดังนั้น จึงพบว่า หากใช้คําค้น “Plagiarism แปลว่า” ในเว็บไซต์ Google จะพบกับเว็บไซต์ที่เตือนให้ ระวังเรื่องการโจรกรรมผลงานทางวิชาการจํานวนมาก และการโจรกรรมผลงานทางวิชาการ ก็จัดว่าเป็น “การโจรกรรม ทรัพย์สินทางปัญญา” ประเภทหนึ่ง 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
4.1 การขโมยความคิด อย่างไรก็ตาม ได้มีหลายบริษัทจัดทําโปรแกรมให้บริการตรวจสอบการโจรกรรมความคิดดังกล่าวหลายราย ยกตัวอย่างเช่น บริษัท iParadigms ที่เว็บไซต์ www.ithenticate.com หรือ บริษัท Glatt Plagiarism Services ที่ เว็บไซต์ WWW.plagiarism.com 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
4.2 การจดทะเบียนโดเมนเนมเพื่อแสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบ เนื่องจากระบบการจดทะเบียนโดเมนเนม (Domain Name) ในปัจจุบันเป็นแบบ First-come, First-Served คือ บุคคลใดขอจดก่อนจะได้รับชื่อโดเมนเนมนั้นไปก่อน ดังนั้น จึงมีการแสวงหาผลประโยชน์จากช่องโหว่ของระบบ ดังกล่าว โดยการที่ผู้แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ จะไปขอจดทะเบียนโดเมนเนมที่มีชื่อตรงกับยี่ห้อสินค้าหรือชื่อบริษัท ที่มีชื่อเสียง ซึ่งหากเจ้าของชื่อบริษัทหรือยี่ห้อสินค้านั้นยังไม่ได้จดทะเบียนโดเมนเนมในชื่อดังกล่าว ผู้ประสงค์ร้ายก็จะ ได้สิทธิ์ในชื่อนั้นไป และหากเจ้าของชื่อบริษัทมาจดทะเบียนโดนเมนเนมภายหลัง จะไม่สามารถทําได้ เนื่องจากชื่อซ้ํา 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
4.2 การจดทะเบียนโดเมนเนมเพื่อแสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบ อาจเกิดกรณีที่เจ้าของชื่อบริษัทหรือยี่ห้อสินค้าไปขอซื้อชื่อโดเมนเนมจากผู้ประสงค์ร้ายต่ออีกทอดหนึ่ง ซึ่งแน่นอน ว่าผู้ประสงค์ร้ายจะต้องเรียกราคาที่สูงเกินความเป็นจริง เนื่องจากเป็นแผนการของผู้ประสงค์ร้ายเองที่ต้องการจะหา ผลกําไรจากผลต่างของค่าจดทะเบียน ลักษณะดังกล่าว เรียกว่า “การจดทะเบียนโดนเมนเนมเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ (Cybersquatting)” นั่นเอง 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
4.2 การจดทะเบียนโดเมนเนมเพื่อแสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบ ดังนั้น ปัจจุบันบริษัทต่างๆ จึงนิยมไปขอจดทะเบียนโดเมนเนมให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทําได้ โดยนอกจากจะต้อง จดทะเบียนโดเมนเนมทันทีที่ทราบว่าจะต้องพัฒนาเว็บไซต์ของบริษัทแล้ว ยังจะต้องจดทะเบียนให้ครอบคลุมทุกภาษา (หากเป็นธุรกิจข้ามชาติ) ด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ตนเสียผลประโยชน์ในส่วนนี้ไป 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
4.3 Open Source Software Open Source Software คือ ซอฟต์แวร์ที่โปรแกรมเมอร์หรือผู้ใช้รายอื่นสามารถนําซอร์สโค้ดไปใช้ต่อโดย ม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เช่น ระบบปฏิบัติการ Linux, Apache, Mozilla Firefox, OpenOffice, PHP, Ruby, GNU Compiler, MySQL, BIND เป็นต้น 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
4.3 Open Source Software แม้ว่าซอฟต์แวร์ที่มีเจ้าของ (Proprietary Software) จะทํารายได้จากค่าลิขสิทธิ์ให้กับผู้พัฒนา แต่ปัจจุบัน ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์หลายรายก็หันมาพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Open Source บ้างเช่นกัน ทั้งนี้ก็เนื่องจากภาวะการแข่งขัน ที่รุนแรงจนต้องหันมาเอาใจลูกค้า หรือแม้กระทั่งหันมาดึงดูดความสนใจด้วยการจัดชุดซอฟต์แวร์ ให้มีทั้งแบบ Open Source ที่สามารถทํางานได้ในระดับหนึ่ง และหากต้องการความสามารถที่เพิ่มขึ้นก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในจํานวนที่ ลูกค้าสามารถซื้อได้ 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
4.3 Open Source Software ปัจจุบัน มีผู้ให้ความสนใจและสนับสนุน Open Source Software เพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากข้อดีของ Open Source Software มีหลายประการ เช่น 1. ไม่เสียค่าใช้จ่าย 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
4.3 Open Source Software 2. ซอฟต์แวร์บางผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ มีประสิทธิภาพและมีเสถียรภาพมากกว่าซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์บาง ผลิตภัณฑ์ เช่น ระบบปฏิบัติการ Linux ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงไม่แพ้ระบบปฏิบัติการ Windows ของ บริษัท Microsoft เป็นต้น ทั้งนี้ เนื่องจากกลุ่มโปรแกรมเมอร์อื่นๆ เมื่อพบว่ามี Bug หรือมีข้อบกพร่องเกิดขึ้นใน Open Source Software ที่ตนนํามาใช้ ก็จะร่วมกันแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว ซึ่งจะทําให้ซอฟต์แวร์นั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
4.3 Open Source Software 3. การนําซอร์สโค้ดมาพัฒนาต่อยอด ทําให้ซอฟต์แวร์มีความสามารถที่หลากหลายมากขึ้น เช่น ระบบปฏิบัติการ Linux ที่มีผู้นําไปพัฒนาต่อแตกต่างกันไปเป็น Ubuntu, Red Hat Fedora และ Mandriva ซึ่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจํานวนมากนิยมนําไปใช้บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของตน 4. เป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถอัพเกรด หรือจัดหาได้ง่าย โดยผ่านทางเว็บไซต์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
4.3 Open Source Software 5. ลดความลําบากใจเมื่อต้องแบ่งปันซอฟต์แวร์ให้เพื่อน กล่าวคือ หากเป็นซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ กรณีที่ต้องการแบ่งปันให้เพื่อนใช้ จะติดปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ ซึ่งทําให้เป็นการตัดสินใจที่ลําบาก แต่หากเป็น Open Source Software จะทําให้เพื่อนสามารถแบ่งปันซอฟต์แวร์ให้แก่กันโดยไม่ต้องลําบากใจ 6. ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการผลิตซอฟต์แวร์ ให้กลายเป็นอุตสาหกรรมที่ให้ความสําคัญกับการบริการเพิ่มมากขึ้น 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
4.3 Open Source Software คําถามสําหรับประเด็นนี้ คือ เหตุใดบริษัทหรือกลุ่มบุคคลยังคงพัฒนา Open Source Software ในเมื่อ ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ ไม่ก่อให้เกิดรายได้? คําตอบมีหลายประการ เช่น 1. ผู้พัฒนาต้องการวิธีแก้ Bug ของโปรแกรมที่ดีที่สุด จากสมาชิกในกลุ่ม Open Source 2. มีผู้ใช้บางกลุ่ม ที่เมื่อใช้งาน Open Source Software แล้วมีความรู้สึกต้องการจ่ายค่าตอบแทนแก่กลุ่มผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งการจ่ายค่าตอบแทนอาจอยู่ในรูปแบบการบริจาค 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
4.3 Open Source Software 3. บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ บางครั้งจําเป็นต้องพัฒนาโปรแกรมแบบ Open Source เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดบางอย่างของซอฟต์แวร์ที่จําหน่ายไป โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในส่วนของโปรแกรม Open Source แต่จะคิดเฉพาะค่าแรงของทีมงานติดตั้ง 4. บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์บางราย ได้ทําการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Open Source ขึ้นมา เพื่อมุ่งหวังผลตอบแทนในรูปแบบอื่น เช่น ต้องการค่าบํารุงรักษาด้วย Open Source Software ที่พัฒนาขึ้นมา แต่อ้างว่าไม่มีค่าใช้จ่าย มีเพียงค่าบริการบํารุงรักษาระบบเท่านั้น 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
5 กรณีศึกษา กรณีศึกษา: Google Books 9 Google Books.docx 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
บทสรุปกรณีศึกษา ผู้อ่านจะเห็นว่าในต่างประเทศจะจริงจังกับเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างมาก แม้ว่าแผนงานห้องสมุดดิจิทัลของ Google จะได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยชื่อดังหลายแห่ง รวมทั้งห้องสมุดประชาชนในนิวยอร์กก็ตาม อย่างไรก็ตาม เมื่อ Google ถูกฟ้องร้อง ก็ได้หาวิธีการแก้ไขที่ได้รับความพึงพอใจจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น สํานักพิมพ์ นักเขียน ประชาชน หรือแม้แต่ Google เองก็ยังได้รับผลประโยชน์จากการสร้างฐานข้อมูลหนังสือในกรณี นี้ด้วย 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
สรุป ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) หมายถึง ผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้น หรือ สร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชํานาญ โดยไม่คํานึงถึงชนิดของการสร้างสรรค์หรือวิธี ในการแสดงออก ดังนั้น ทรัพย์สินทางปัญญาจึงสามารถแสดงออกได้ทั้งในรูปแบบของสิ่งที่จับต้องได้และสิ่งที่จับต้อง ไม่ได้ เนื่องจาก “สิทธิความเป็นเจ้าของ (Property Rights)” ของสิ่งที่มนุษย์ได้ลงแรงสร้างขึ้นมาด้วยความคิดและ ความพยายาม จึงทําให้เกิดความหวงแหนในทรัพย์สินที่สร้างขึ้น รวมถึงทรัพย์สินทางปัญญาด้วย ดังนั้น ตามกฎหมาย คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของหลายประเทศ จึงได้จําแนกการคุ้มครองออกเป็นหลายประเภท ประเภทที่สําคัญ ได้แก่ ลิขสิทธิ์, เครื่องหมายการค้า, ความลับทางการค้า และสิทธิบัตร 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
สรุป ลิขสิทธิ์ (Copyrights) สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทําการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทําขึ้นโดยการใช้ สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครอง ผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครอง ทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของ บุคคลอื่น 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
สรุป ความลับทางการค้า (Trade Secret) หมายถึง ข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่รู้จักกันโดยทั่วไป หรือยังเข้าถึงไม่ได้ ในหมู่บุคคลซึ่งโดยปกติแล้วต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว โดยเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เนื่องจาก การเป็นความลับ และเป็นข้อมูลที่ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้ใช้ มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาไว้เป็นความลับ สิทธิบัตร (Patent) หมายถึง หนังสือสําคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) หรือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) ตามที่กําหนดไว้ใน พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2542 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
สรุป การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา คือการนําผลงานซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นไปใช้โดยไม่รับอนุญาต หรือ โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทําให้เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาเกิดความเสียหาย โดยเฉพาะด้านมูลค่าในทางพาณิชย์ ใน หลายประเทศจึงพยายามบังคับใช้กฎหมายให้ครอบคลุม เนื่องจากทรัพย์สินทางปัญญานั้นเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเป็น ส่วนใหญ่ ซึ่งเทคโนโลยีมักมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว หากกฎหมายไม่ครอบคลุมอาจกลายเป็นช่องโหว่ของการ ละเมิดได้ 20 October 2012 wichai@buu.ac.th
1 June 2010 E-mail:wichai@buu.ac.th 13 July 2002
คำถามท้ายบทที่ 9 ตอนที่ 2 ทั้งหมดอยู่ในตอนที่ 1 13 October 2007 E-mail:wichai@buu.ac.th
ส วั ส ดี บทที่ 2 ไอทีคืออะไร