บทที่ 1 ประเภทของจุลินทรีย์ บทที่ 1 ประเภทของจุลินทรีย์
จุลินทรีย์ เป็นสิ่งชีวิตที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.0 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่า ตัวอย่าง เช่น -โปรโตซัว -แบคทีเรีย -เห็ดรา -แอคติโนไมซีส - สาหร่ายบางชนิด -ไวรัส ฯลฯ
จุลินทรีย์แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ตามลักษณะของเซลล์ คือ 1.Procaryotic cell -นิวเคลียสไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส(nuclear membrane)ห่อหุ้ม -สารพันธุกรรม(genetic material)อยู่กระจัดกระจายในไซโตพลาสซึม -ได้แก่ แบคทีเรีย, ริคเกตเซีย และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน 2.Eucaryotic cell -นิวเคลียสมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส(nuclear membrane)ห่อหุ้ม - สารพันธุกรรม(genetic material)อยู่รวมกลุ่มกันในไซโตพลาสซึม -ได้แก่ ฟังไจ, โปรโตซัว และสาหร่ายอื่น ๆ (ยกเว้นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน)
แบคทีเรีย(Bacteria) -มีขนาดเล็กต้องมองด้วยกล้องจุลทรรศน์(0.1-5 ไมครอน) -มีลักษณะเป็นเซลล์เดียว(unicellular) -ไม่มีนิวเคลียสที่เห็นได้ชัด -เพิ่มจำนวนโดยการแบ่งตัวตามขวาง(transverse fission)
โครงสร้างของแบคทีเรีย 1)ไมโครแคปซูล(microcapsule) -ประกอบด้วยโปรตีน, โพลีแซคคาไรด์ และลิปิด -เป็น endotoxin -พบในแบคทีเรียแกรมลบ 2)แคปซูล(capsule) -เป็นโครงสร้างที่หนาหุ้มอยู่รอบเซลล์ -เหนียวคล้ายเยลลี่ -มีรูปร่างไม่แน่นอน 3)ลูสสไลม์(loose slime) -คล้ายแคปซูล -ละลายหลุดออกมาได้ง่าย(เพราะโครงสร้างเกาะกันหลวม ๆ )
4)ผนังเซลล์(cell wall) -อยู่ภายใต้เมือกและแคปซูล แต่เป็นรอบนอกของไซโตพลาสซึมและเยื่อหุ้มเซลล์ -เป็นโครงสร้างที่แข็งเพื่อทำให้เซลล์คงรูป -หนาประมาณ 10-25 มิลลิไมครอน -โดยทั่วไปผนังเซลล์ของแบคทีเรียแกรมบวกจะหนากว่าของแบคทีเรียแกรมลบ -ส่วนประกอบสำคัญคือ amino sugar, sugars, amino acids และlipids 5)เยื่อหุ้มเซลล์(cytoplasmic membrane) -เป็นเยื่อบาง ๆ ที่อยู่ถัดเข้าไปภายใต้ผนังเซลล์ -มีความหนาประมาณ 50 แองสตรอม -ควบคุมการผ่านเข้าออกของอาหารและของเสียของเซลล์(selective membrane)
โครงสร้างของแบคทีเรีย
การสืบพันธุ์ของแบคทีเรีย สร้าง protoplasm ขึ้นมาใหม่ เซลล์มีการเจริญเติบโต เกิดการแบ่งนิวเคลียสขึ้น เกิดการแบ่งเซลล์โดยการที่เยื่อหุ้มเซลล์เจริญจากภายนอกเข้าไปภายใน เกิดเป็นแผ่นกั้นเซลล์ มีการสร้างผนังเซลล์และแบ่งแผ่นกั้นเซลล์ออกเป็นสองชั้น เซลล์ทั้งสองแยกออกจากกัน ได้เซลล์แบคทีเรียใหม่สองเซลล์
การจัดหมวดหมู่ของแบคทีเรีย โดยอาศัยลักษณะสำคัญดังนี้ 1)แหล่งของพลังงานที่ใช้ในการเจริญ -ใช้พลังงานจากแสง(phototrophic bacteria) -ใช้พลังงานที่ได้จากปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ (chemotrophic bacteria) 2)การเคลื่อนที่ -ม้วนตัวหรือกลิ้ง -ใช้แฟลกเจลลา 3)รูปร่าง -ทรงกลม -ท่อน -โค้งงอหรือเป็นเกลียว
4)การเรียงตัวของเซลล์ -เป็นเซลล์เดี่ยว ๆ อยู่อิสระต่อกัน เช่น Micrococcus spp., E. coli -เป็นคู่ ได้แก่ Diplo -เป็นสาย ได้แก่ Strepto -เป็นกลุ่ม ได้แก่ Staphylo 5)การติดสีกรัม -กรัมบวก -กรัมลบ 6)สภาวะการเจริญ -ต้องการออกซิเจนในการเจริญ(aerobic bacteria) -ไม่ต้องการออกซิเจนในการเจริญ(anaerobic bacteria) -เจริญได้ทั้งที่มีและไม่มีออกซิเจน(facultative anaerobic bacteria) -ต้องการออกซิเจนเพียงเล็กน้อยในการเจริญ(microaerophilic bacteria)
เกลียว แท่ง กลม
Micrococcus spp. E. coli
Streptococcus Staphylococcus
ฟังไจ(Fungi) -จุลินทรีย์ที่มีนิวเคลียสแบบ eucaryote -ไม่มีคลอโรฟิลล์ -สร้างสปอร์ได้ -สืบพันธุ์ทั้งแบบมีเพศและไม่มีเพศ -โครงสร้างแบบเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ -พวกเซลล์เดียวเรียกว่า ยีสต์ -พวกหลายเซลล์จะมีเส้นใยหรือไฮฟา(hypha) เรียกว่า รา
โครงสร้างของฟังไจ 1)ผนังเซลล์ -ทำให้เซลล์คงรูปร่างอยู่ได้ -ประกอบด้วยสารพวกไคตินหรือเซลลูโลสกับไคติน 2)เซลล์เมมเบรน -ห่อหุ้มโปรโตพลาสซึม -ควบคุมการนำสารเข้าสู่ภายในเซลล์ -ประกอบด้วยลิปิดและโปรตีนที่จัดเรียงต่อกันเป็น lipoprotein 3)organelles -ไมโตคอนเดรีย : สร้างพลังงานในขบวนการ oxidation phosphorylation -เอนโดพลาสมิดเรติคูลัม : เกี่ยวกับการเจริญในด้านขยายขนาดและความยาวไฮฟา -ไรโบโซม : สังเคราะห์โปรตีน
-กอลไจแอพพาราตัส : สังเคราะห์สารโมเลกุลใหญ่และสารประกอบเชิงซ้อนให้ กับเซลล์, สังเคราะห์เซลล์เมมเบรน 4)cell inclusion -เป็นอาหารสะสมพวกไกลโคเจนและลิปิด -โดยที่ไกลโคเจนจะพบมากในเซลล์ทั่วไปและเซลล์ที่ใช้สืบพันธุ์ -ส่วนลิปิดจะพบมากในสปอร์และนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานและแหล่งคาร์บอน ในการเจริญได้ดี 5)นิวเคลียส ในแต่ละเซลล์อาจมีหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่ง ฟังไจอาจมีการรวมกลุ่มเส้นใยจนมี ขนาดใหญ่เรียกว่า ไมซีเลียม(mycelium) เส้นใยของฟังไจจำแนกได้ 2 แบบคือ -เส้นใยมีผนังกั้น(non septate hypha) : มีลักษณะเป็นท่อทะลุถึงกันโดยตลอดและ มีหลายนิวเคลียส -เส้นใยมีผนังกั้น(septate hypha) : แต่ละเซลล์จะมีผนังกั้นไว้ทำให้มีลักษณะเป็น ห้อง ๆ ภายในแต่ละเซลล์อาจมีหนึ่งนิวเคลียสหรือหลายนิวเคลียส
A : non septate hypha B,C : septate hypha
การสืบพันธุ์ของฟังไจ 1)แบบไม่มีเพศ : เป็นการสืบพันธุ์ที่สำคัญที่สุดของฟังไจ เนื่องจากเกิดได้รวดเร็วและ ครั้งละเป็นจำนวนมาก -fragmentation : เกิดจากเส้นใยที่หักเป็นส่วน ๆ แล้วสามารถเจริญเป็นเส้นใยใหม่ ได้ -การแตกหน่อ : เป็นการที่เซลล์แบ่งออกเป็นหน่วยขนาดเล็ก แล้วเมื่อหน่อเจริญ เต็มที่จะหลุดออกมาเป็นอิสระและเจริญต่อไปได้(พบในยีสต์ทั่วไป) -fission : เป็นการแบ่งเซลล์ออกเป็นสองส่วนแล้วหลุดจากกันเป็นสองเซลล์(พบ ในยีสต์บางชนิดเท่านั้น) -การสร้างสปอร์ : เป็นแบบที่พบมากที่สุด ได้แก่ chlamydospore, conidiospore(conidia), sporangiospore
A : fragmentation B : chlamydospore C : fission D : budding
conidia sporangiospore
2)แบบมีเพศ การผสมของ gamete -มีโครงสร้างที่เรียกว่า gametangium ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และ เพศเมียที่เรียกว่า gamete เข้าผสมกัน -มีการสร้างสปอร์เช่นกัน ได้แก่ zygospore, oospore, ascospore, basidiospore การผสมของ gamete
การจำแนกหมวดหมู่ของฟังไจ ฟังไจทั้งหมดจัดอยู่ใน Division Eumycophyta มี 4 class คือ 1)Class Phycomycetes -เส้นใยไม่มีผนังกั้น -สร้างสปอร์ภายใน sporangium อย่างไม่จำกัดจำนวน -การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศจะสร้าง oospore หรือ zygospore -ดำรงชีวิตแบบ saprophyte(ภาวะย่อยสลาย) และปรสิต -ต้องการความชื้นค่อนข้างสูงในการเจริญ -สมาชิกส่วนใหญ่เป็นฟังไจอยู่ในน้ำ 2)Class Ascomycetes -เส้นใยมีผนังกั้น -สร้างสปอร์แบบมีเพศและไม่มีเพศ
-สร้างสปอร์แบบมีเพศเกิดใน ascus จำนวน 8 ascospore -ไม่ต้องการความชื้นมากในการเจริญ -ได้แก่ Aspergillus, Penicillium, Gibberella และยีสต์ Gibberella Aspergillus
Penicillium yeast
เห็ด 3)Class Basidiomycetes -เส้นใยมีผนังกั้น -เส้นใยเป็นชนิด binucleate mycelium(แต่ละเซลล์มี 2 นิวเคลียส) -การสืบพันธุ์แบบมีเพศจะสร้าง basidiospore -ได้แก่ เห็ดชนิดต่าง ๆ เห็ด
4)Class Deuteromycetes -เส้นใยมีผนังกั้น -สืบพันธุ์เฉพาะแบบไม่มีเพศเท่านั้น และสร้างสปอร์แบบ conidia -มีชื่อสามัญว่า fungi imperfecti -หากศึกษาจนพบระยะที่มีการสืบพันธุ์แบบมีเพศก็จะจัดไว้ในกลุ่มอื่น ๆ -ประกอบด้วยสมาชิกเกือบ 2,000 สกุล และ15,000-20,000 ชนิด
สาหร่าย(Algae) -มีคลอโรฟิลล์และรงควัตถุอื่น ๆ อยู่ในออร์แกเนลล์ที่เรียกว่า คลอโรพลาสต์(chloroplast) -สามารถสังเคราะห์แสงได้ -เป็นเซลล์ชนิดยูคาริโอต -ผนังเซลล์บางแต่แข็งแรง -มีนิวเคลียสเห็นได้ชัดเจน
การสืบพันธุ์ของสาหร่าย 1)แบบไม่อาศัยเพศ -โดยแตกหักของสาหร่ายออกเป็นท่อน ๆ -สำหรับสาหร่ายในน้ำจะสร้างสปอร์ที่เคลื่อนที่ได้ เรียกว่า zoospore -สำหรับสาหร่ายบนบกจะสร้างสปอร์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เรียกว่า aplanospore zoospore
2)แบบอาศัยเพศ - มีการผสมกันของเซลล์สืบพันธุ์ที่เรียกว่า แกมีต(gametes)จนได้ไซโกต(zygote) -ถ้าแกมีตเหมือนกันไม่มีความแตกต่างกันระหว่างเพศ = isogamous -ถ้าแกมีตทั้งสองมีขนาดแตกต่างกัน = heterogamous -ถ้าแกมีตเพศเมียมีขนาดใหญ่ไม่เคลื่อนที่และแกมีตเพศผู้มีขนาดเล็กกว่าและ เคลื่อนที่ได้ = oogamy
การจัดจำแนกสาหร่าย สามารถแบ่งออกเป็นดิวิชันต่าง ๆ ได้ดังนี้ 1)Rhodophycophyta(สาหร่ายสีแดง) -อาศัยอยู่ในทะเลเป็นส่วนใหญ่ -สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยใช้สปอร์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ -สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยการผสมของแกมีต 2 เพศ -เช่น Gellidium, Corallina Gellidium Corallina
2)Xanthophycophyta(สาหร่ายสีเขียวแกมเหลือง) -พบมากในเขตอบอุ่นทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม -สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยโดยการสร้าง zoospore ที่มีแฟลกเจลลา, การแตกหักของ ท่อนสาหร่าย, แบ่งเซลล์ -บางครั้งมีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ -ผนังเซลล์ประกอบด้วยเซลลูโลสและแพกทิน -เช่น Vaucheria Vaucheria
Ochromonas 3)Chrysophycophyta(สาหร่ายสีแดง) -มีแฟลกเจลลา -สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยแบ่งเซลล์จากหนึ่งเป็นสอง -เช่น Ochromonas Ochromonas
4)Phaephycophyta(สาหร่ายสีน้ำตาล) -เป็นสาหร่ายที่มีขนาดใหญ่ที่สุด -มีแฟลกเจลลา 2 เส้น -ผนังเซลล์ประกอบด้วยเซลลูโลส กรดอัลจินิก -สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยสร้าง zoospore -มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ -เช่น Kelp Kelp
diatom 5)Bacillariophycophyta(ไดอะตอม) -เป็นเซลล์เดี่ยว ๆ โคโลนีหรือเป็นเส้นสาย -ผนังเซลล์ประกอบด้วยซิลิกา -เมื่อตายทับถมกันจะกลายเป็น diatomaceous earth อยู่ในทะเล diatom
6)Euglemophycophyta(Euglenoids) -มีแฟลกเจลลาอยู่หนึ่งหรือสองหรือสามเส้นอยู่ทางด้านบนสุดของเซลล์ -มีช่องคอ -สืบพันธุ์โดยแบ่งเซลล์ตามยาว -ผนังเซลล์ไม่มีเซลลูโลส -เยื่อหุ้มชั้นนอกเป็นเพอริพลาสต์ -มีจุดรับแสง(eyespot), คอนแทรกไทล์, แอคิวโอล และไฟบริลอยู่ในเซลล์ -เช่น Euglena, Phacus Euglena Phacus
7)Chlorophycophyta(สาหร่ายสีเขียว) -ส่วนใหญ่อยู่ในน้ำจืด -มีทั้งเป็นเซลล์เดียวและเป็นโคโลนี -มีนิวเคลียสชัดเจน -ส่วนใหญ่มีหนึ่งนิวเคลียสต่อเซลล์ -สืบพันธุ์โดย zoospore, แบ่งตัว -เช่น Chlorella, Desmids, Spirogyra Chlorella Desmids Spirogyra
8)Crytophycophyta(Crytomonads) -เป็นเซลล์เดี่ยว ๆ รูปร่างคล้ายรองเท้าแตะ -ลักษณะแบนทางด้านบนด้านล่าง -มีแฟลกเจลลา 2 เส้น -บางชนิดมีช่องคอ -บางชนิดมีผนังเซลล์เป็นเซลลูโลส -บางชนิดเซลล์เปลือยมีเยื่อหุ้มเซลล์ล้อมรอบเท่านั้น -สืบพันธุ์โดยการแบ่งตัวตามยาวหรือสร้าง zoospore หรือซีสต์ 9)Pryrophycophyta(dinoflagellates) -เป็นเซลล์เดี่ยว ๆ พบในน้ำเค็ม -ลักษณะแบน -มีร่องตามขวางและตามยาว
Ceratium Noctiluca -มีแฟลกเจลลา 2 เส้น -ส่วนใหญ่เซลล์ถูกปกคลุมด้วยเยื่อหุ้มเซลล์เท่านั้น -บางชนิดมีแผ่นเซลลูโลสในเยื่อหุ้มเซลล์ที่เรียกว่า thecal plates -เช่น Ceretium, Noctiluca Ceratium Noctiluca
โพรโตซัว(Prozoa) -เป็นยูคาริโอติกโพรทิสต์ที่พบเป็นเซลล์เดียวเป็นส่วนใหญ่ -ไม่มีผนังเซลล์ -ส่วนใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 5-250 ไมครอน -อาจรวมกันเป็นกลุ่มก้อนที่เรียกว่าโคโลนีโดยมีสายไซโตพลาสซึมเชื่อมกัน -มักพบในแหล่งชื้นแฉะ, ทะเล, ดิน และน้ำจืด -แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ พวกดำรงชีวิตแบบอิสระและพวกที่อาศัยอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่น
โครงสร้างภายในเซลล์ของโพรโตซัว 1)ไซโตพลาสซึม -ประกอบด้วยโปรตีนชนิดกลอบิวลาร์ที่ยึดกันหลวม ๆ เป็นโครงร่างเซลล์ -บางชนิดอาจมีรงควัตถุกระจายอยู่ในไซโตพลาสซึม 2)นิวเคลียส -อย่างน้อยต้องมีนิวเคลียส 1 อัน -หลายชนิดอาจมีมากกว่า 1 ซึ่งจะมีนิวเคลียสสองอันที่ต่างกัน คือ macronucleus และ micronucleus
3)เยื่อหุ้มเซลล์ -ป้องกันเซลล์ไม่ให้มีอันตรายจากภายนอก -ควบคุมการแลกเปลี่ยนสาร -รับการกระตุ้นทางเคมีและกายภาพ -ผิวชั้นนอกสุดของเยื่อหุ้มเซลล์เรียกว่า pellicle ซึ่งสามารถป้องกันความแห้งแล้งและสารเคมีได้
อวัยวะในการเคลื่อนที่ 1)ซูโดโพเดีย(pseudopodia) -เกิดจากการไหลของไซโตพลาสซึมกลายเป็นเท้าเทียมที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของ พวกอมีบา -ไม่มี pellicle ห่อหุ้ม
flagella 2)แฟลกเจลลา(flagella) -เป็นเส้นสายที่ยื่นออกมาจากไซโตพลาสซึม -มีจำนวนหนึ่งถึงแปดเส้น(ส่วนใหญ่มีหนึ่งถึงสองเส้น) flagella
cilia 3)ซีเลีย(cilia) -มีลักษณะเป็นขนละเอียดและสั้น -นอกจากช่วยในการเคลื่อนที่ยังช่วยในการกินอาหารและเป็นอวัยวะรับสัมผัส cilia
การสืบพันธุ์ของโพรโตซัว 1)แบบไม่อาศัยเพศ -เกิดการแบ่งเซลล์จากหนึ่งเป็นสอง โดยเซลล์ลูกที่ได้อาจมีขนาดเท่ากันหรือไม่ เท่ากัน -ถ้าแบ่งได้หลาย ๆ เซลล์เรียกว่า multiple fission -อาจใช้วิธีการแตกหน่อด้วย 2)แบบอาศัยเพศ : มีการผสมกันของเซลล์สืบพันธุ์สองชนิด เรียกว่า syngamy หรือ gametogamy
การจัดจำแนกโพรโตซัว Amoeba 1)Sarcomastigophora -มีนิวเคลียสชนิดเดียว -สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศโดยวิธี syngamy -ไม่สร้างสปอร์ -เคลื่อนที่โดยใช้แฟลกเจลลาหรือซูโดโพเดีย -เช่น Amoeba Amoeba
merozoite 2)Apicomplexa -ในวงจรชีวิตจะมีการสร้างสปอร์ -สืบพันธุ์แบบอาศัยโดยวิธี syngamy -ไม่มีซีเลีย -เป็นปรสิต -มีเอพิคอลคอมเพล็กซ์ ซึ่งประกอบไปด้วย polarring, rhoptries, micronemes -เช่น merozoite merozoite
Paramecium 3)Ciliophora -ในระยะหนึ่งของวงจรชีวิตจะมีซีเลีย -มีนิวเคลียสสองแบบ(macronucleus, micronucleus) -สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยแบ่งจากหนึ่งเป็นสองตามขวาง -สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยวิธีคอนจูเกชัน -มักดำรงชีวิตแบบอิสระ -เช่น Paramecium Paramecium
ไวรัส(Virus) -เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่มองค์ประกอบพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเจริญและทวีจำนวนอย่างสมบูรณ์ -มักเรียกโครงสร้างของไวรัสว่าอนุภาคหรือไวริออน -มีขนาดเล็กมากจนถึงระดับนาโนเมตร
รูปร่างไวรัส จำแนกได้เป็น 4 ชนิดคือ 1)helical -มีรูปร่างท่อนตรงหรือโค้งงอหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า -เช่น TMV, mosaic virus, mump virus 2)icosaedral -รูปร่างแบบลูกบาศก์และมี 20 เหลี่ยม -เช่น poliovirus, enterovirus, reovirus 3)binal -รูปร่างคล้ายลูกอ๊อด แบ่งเป็นสองส่วน คือ ส่วนหัวและส่วนหาง -ได้แก่ bacteriophage
รูปร่างไวรัส 4)complex -มีรูปร่างที่ซับซ้อน -เช่น vaccinia virus, arthopox virus รูปร่างไวรัส
โครงสร้างของไวรัส โดยทั่วไปประกอบด้วยกรดนิวคลีอิคอยู่ภายใน และมีปลอกโปรตีนหรือ capsid ห่อหุ้ม ภายนอก บางชนิดอาจมี envelope ห่อหุ้ม capsid อีกชั้นหนึ่ง 1)capsid -เป็นโปรตีนที่เป็นโครงสร้างของอนุภาคไวรัส -ประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า capsomere -ซึ่งป้องกันกรดนิวคลีอิค 2)กรดนิวคลีอิค -มีเฉพาะ DNA หรือ RNA อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น -จะบดเป็นเกลียวภายใน capsid
โครงสร้างไวรัส 3)envelope -มักพบในไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์และสัตว์ -มีโครงสร้างเป็นเมมเบรนบาง ๆ ห่อหุ้ม capsid อีกชั้นหนึ่ง -ประกอบด้วยสารพวกลิปิด, โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต -เป็นที่อยู่ของ spike หรือ peplomers หลายชนิดที่ใช้ทำลายเซลล์ของผู้ให้อาศัย โครงสร้างไวรัส
การสืบพันธุ์ของไวรัส -ไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ด้วยตนเอง -ต้องอาศัยขบวนการเมตาบอลิซึมของผู้ให้อาศัยเป็นสำคัญ 1)การเพิ่มจำนวนของ bacteriophage : จะเพิ่มจำนวนภายในเซลล์ของแบคทีเรียโดยมี 3 ระยะคือ -inflection : เป็นระยะที่นำส่วนหางมาเกาะกับผนังเซลล์แบคทีเรียแล้วเกิดเป็นรูขึ้น จากนั้นจะปล่อย DNA เข้าไปภายในเซลล์แบคทีเรีย -systhesis : เป็นระยะสังเคราะห์ส่วนประกอบของอนุภาคใหม่ในเซลล์แบคทีเรีย -lysis : เป็นระยะที่ bacteriophage ทำให้เซลล์แบคทีเรียแตกแล้วหลุดสู่ภายนอก
การเพิ่มจำนวนของ bacteriophage
ใช้ตำแหน่งที่เฉพาะบนอนุภาคจับกับตำแหน่ง receptor site ของเซลล์ 2 )การเพิ่มจำนวนของไวรัสสัตว์ ใช้ตำแหน่งที่เฉพาะบนอนุภาคจับกับตำแหน่ง receptor site ของเซลล์ ไวรัสที่ไม่มี envelope ไวรัสที่มี envelope เข้าสู่ภายในเซลล์ เข้าสู่ภายในเซลล์ โดยขบวนการ phagocytosis โดยขบวนการ membrane fusion
phagocytosis membrane fusion
3)การเพิ่มจำนวนของไวรัสพืช ไวรัสเข้าสู่ภายในเซลล์ทั้งอนุภาค capsid และกรดนิวคลีอิคแยกออกจากกัน กรดนิวคลีอิคเคลื่อนเข้าสู่นิวเคลียสของเซลล์เพื่อจำลองตัวเอง กรดนิวคลีอิคที่จำลองตัวเองแล้วจะออกสู่ไซโตพลาสซึมเพื่อสังเคราะห์ capsid และองค์ประกอบต่าง ๆ เป็นอนุภาคใหม่ เซลล์แตกหลุดเป็นอิสระ
การจัดจำแนกหมวดหมู่ ใช้หลักเกณฑ์ดังนี้ -ลักษณะกรดนิวคลีอิค -โครงสร้างอนุภาค -การมีหรือไม่มี envelope ห่อหุ้ม -จำนวนของ capsomere -ขนาดของอนุภาค -ตำแหน่งที่มีการเพิ่มจำนวนในเซลล์ -การทนหรือถูกทำลายได้ง่ายด้วยสารเคมีและสภาวะทางกายภาพ จากหลักเกณฑ์ดังกล่าวทำให้สามารถแยกไวรัสได้เป็น 16 กลุ่ม โดยเป็นไวรัสที่มี กรดนิวคลีอิคชนิด DNA 5 กลุ่ม, ชนิด RNA 11 กลุ่ม นอกจากนี้ยังได้จัดไวรอยด์ไว้เป็นกลุ่มเดียวกับไวรัสอีกด้วย
ไวรอยด์(Viroids) -มีโครงสร้างเรียกว่า ไวริออนเช่นเดียวกับไวรัส -อนุภาคประกอบด้วย RNA เท่านั้น -ไม่มี capsid ห่อหุ้ม -RNA มีลักษณะเป็นสายสั้น ๆ ที่เป็นแบบสายเดี่ยวหรือสายคู่ที่มีความ ยาว 400-500 อังสตรอม
เปรียบเทียบลักษณะของไวรัสและไวรอยด์