จัดทำโดย นาย วรปรัชญ์ ชาวเมือง เลขที่ 8 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.3 อดัม สมิธ Adam Smith จัดทำโดย นาย วรปรัชญ์ ชาวเมือง เลขที่ 8 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.3
ประวัติ อดัม สมิธ นักปรัชญาศีลธรรม และ นักเศรษฐศาสตร์การเมืองผู้บุกเบิกชาวสกอตแลนด์ เป็นเจ้าของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ลัทธิเสรีนิยม ในยุค ค.ศ.ที่ 18 สมิธเชื่อในสิทธิ์ของ บุคคลที่จะใช้อิทธิพลของตนเองสร้างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของตนเองได้อย่าง เสรี ทฤษฎีนี้มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐศาสตร์เดิมของยุโรป ทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบการค้าเสรี ที่ยอมให้ผู้ประกอบการรวมตัวกันได้ และต่อมา ได้รับการยกย่องเป็น "บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์"
แนวคิดคลาสสิกของ อดัม สมิธ สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงศตวรรษที่ 18 และ 19 ทำให้ เกิดแนวคิดเสรีนิยม แนวคิดทางปรัชญาการเมืองและสังคมของ อดัม สมิธ เป็นพื้นฐานและประยุกต์เข้ากับแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ในแง่ของ การส่งเสริมการแข่งขันเสรี การแบ่งงานกันทำก่อให้เกิดความมั่งคั่งของ ประเทศ การค้าระหว่างประเทศ ซึ่งการแบ่งงานกันทำระหว่างประเทศ จำทำให้สวัสดิการทางเศรษฐกิจของโลกดีขึ้น
ประวัติ ผลงาน และปรัชญา ทางสังคมและการเมืองของ อดัม สมิธ อดัม สมิธ ได้รับการศึกษาสูง ทั้งยังได้มีโอกาสพบกับนักคิดที่มีชื่อเสียงหลายคน และหลายประเทศ จนทำให้เขาเขียนผลงานที่ดีคือ The Wealth of Nations ออกมาได้ หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงหัวเรื่อง อย่างการแบ่งงานกันทำ ผลิตภาพและ ตลาดเสรี ผ่านการสะท้อนต่อเศรษฐกิจในยุคเริ่มต้นการปฏิวัติอุตสาหกรรม อดัม สมิธ เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนทำอะไรก็เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว
ปรัชญาทางสังคมและการเมืองของ อดัม สมิธ ความคิดของ อดัม สมิธ เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัวและบทบาทของรัฐ อาจไม่เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน เพราะความแตกต่างทั้งทางสังคมและทาง เศรษฐกิจ ของสมาชิกในสังคมหลายสังคม นำไปสู่ความขัดแย้งในด้านผลประโยชน์ จนผลประโยชน์ส่วนตัวไม่สามารถทำงานได้ และรัฐบาลจำเป็นต้องมีบทบาทมากขึ้น ในฐานะเป็นผู้ประสานผลประโยชน์ และคุ้มครองผู้ที่อ่อนแอกว่า
บทบาทและอิทธิพลแนวคิดของ อดัม สมิธ แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ของ อดัม สมิธ มิใช่แนวคิดใหม่ ดังนั้น สมิธจึงมิได้มี บทบาทสำคัญในการพัฒนา แต่เขามีส่วนอย่างมากในการพัฒนาแนวคิดที่มีอยู่เดิมให้ ชัดเจนและเป็นระบบยิ่งขึ้น และก่อให้เกิดประเด็นปัญหาซึ่งนำไปสู่แนวคิดใหม่ต่อไป เช่น ทฤษฎีมูลค่าของสมิธได้อธิบายถึงการปรับตัวของอุปสงค์และอุปทาน จนในที่สุด มูลค่าของสิ่งของจะเท่ากับต้นทุนการผลิต แต่การที่สมิธไม่ให้ความสำคัญต่ออุปสงค์ ในการกำหนดราคา ซึ่งทำให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับอรรถประโยชน์ส่วนเพิ่ม ซึ่งแนวคิดนี้ ได้ถูกนำไปใช้ในการสร้างทฤษฎีอุปสงค์