คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate)
คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) สารประกอบอินทรีย์ที่พบ มากที่สุด ในธรรมชาติ ประกอบด้วยธาตุ C, H, O และ H:O = 2:1 มี monomer คือ น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (CH2O)n สูตรโมเลกุล
คาร์โบไฮเดรต มอโนแซ็กคาไรด์ โอลิโกแซ็กคาไรด์ พอลิแซ็กคาไรด์
มอโนแซ็กคาไรด์ (monosaccharide) คาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดโมเลกุล เล็กที่สุด มีรสหวาน ละลายน้ำได้ สูตรทั่วไป CnH2nOn โดย n มีค่า ตั้งแต่ 3 – 7
มอโนแซ็กคาไรด์ เพื่อบ่งบอกจำนวนคาร์บอนในมอโนแซ็กคาไรด์ เรามักจะเรียกชื่อตาม จำนวนคาร์บอน ที่เป็นองค์ประกอบ ดังนี้ C3 C4 C5 C6 C7
น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว Triose (C3H6O3) Hexose (C6H12O6) Tetrose (C4H8O4) Heptose (C7H14O7) Pentose (C5H10O5)
Pentose (C5H10O5) Ribose (C5H10O5) Deoxyibose (C5H10O4)
Hexose (C6H12O6) Glucose Galactose Fructose
โอลิโกแซ็กคาไรด์ (oligosaccharide) มีรสหวาน ละลายน้ำได้ เกิดจากการเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเคมี (พันธะไกลโคซิดิก) ของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวตั้งแต่ 2-10 โมเลกุล ได้เป็น disaccharide, trisaccharide,…
น้ำตาลโมเลกุลคู่ Maltose Glucose Glucose Lactose Glucose Galactose Sucrose Glucose Fructose
น้ำตาลโมเลกุลคู่ Maltose Lactose Sucrose
พอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide) รสไม่หวาน ไม่ละลายน้ำ เกิดจากการเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเคมี (พันธะไกลโคซิดิก) ของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวตั้งแต่ 11 โมเลกุลขึ้นไปทำหน้าที่ในสิ่งมีชีวิต 2 แบบ คือ เป็นอาหารสะสม หรือ โครงสร้าง
พอลิแซ็กคาไรด์ อาหารสะสม โครงสร้าง แป้ง เซลลูโลส ไกลโคเจน ไคติน
แป้ง (Starch) อาหารสะสมในพืช ประกอบด้วยโครงสร้างย่อย 2 ชนิด คือ Amylose เป็นแบบไม่แตกแขนง และ Amylopectin เป็นแบบแตกแขนง
ไกลโคเจน (Glycogen) สะสมในคนและสัตว์ โดยสะสมอยู่ที่ ตับ และ กล้ามเนื้อลาย มีลักษณะคล้ายกับ amylopectin แต่มีขนาดใหญ่กว่า
เซลลูโลส (Cellulose) เป็นโครงสร้างในผนังเซลล์ของพืช โครงสร้างเป็นสายเรียงชิดติดกันไม่แตกแขนง
ไคติน (Chitin) เป็นโครงสร้างของสัตว์พวกที่มีโครงร่างแข็งภายนอก (Exoskeleton) เช่น พวก กุ้ง กั้ง ปู และผนังเซลล์ของพวกฟังไจ (เห็ด รา ยีสต์)
พอลิแซ็กคาไรด์อื่นๆ - ลิกนิน (lignin) ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้เนื้อเยื่อพืช - วุ้น (Agar) โครงสร้างของผนังเซลล์สาหร่ายสีแดง (กาแล็กโตส) - อินูลิน (Inulin) อาหารสะสมในพวกพลับพลึง (ฟรักโทส) - เพกติน (Pectin) พบในผลไม้ คล้ายวุ้น (กาแล็กโตส) - กรดไฮยารูโรนิก (Hyaluronic acid) พบทั่วไปในร่างกายมนุษย์
สาระสำคัญ
ประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย เป็นแหล่งพลังงานสำรอง (ไกลโคเจน และแป้ง) เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ ร่างกายสามารถเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตให้เป็นไขมัน ในวันหนึ่งๆ ควรบริโภคคาร์โบไฮเดรตอย่างน้อย 50–100 กรัม
การทดสอบคาร์โบไฮเดรต แป้งและไกลโคเจน หยดสารละลายไอโอดีน สีน้ำตาลลงไปแป้งจะ เป็นสีน้ำเงิน ไกลโคเจนจะเป็นสีแดง น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวและคู่ (ยกเว้น ซูโครส) เมื่อนำไปต้มกับสารละลายเบเนดิกต์สีฟ้า จะเกิดตะกอนสีแดงอิฐ