หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 แบ่งเป็น 4 เรื่อง สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ปฏิกิริยาเคมี ปฏิกิริยาเคมี ที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ปัจจัยที่มีผล ต่ออัตรา การเกิดปฏิกิริยาเคมี ครูอธิบายเนื้อหาในหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ปฏิกิริยาเคมี ตามผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้ ดังนี้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ปฏิกิริยาเคมี แบ่งเป็น 4 เรื่อง (ครูคลิกเพื่อแสดงทีละเรื่อง) ดังนี้ 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี (แผนที่ 6) 2. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี (แผนที่ 6) 3. ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี (แผนที่ 7–9) 4. ปฏิกิริยาเคมีที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม (แผนที่ 10) แบ่งเป็น 5 แผนการจัดการเรียนรู้ 7 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 สมการเคมีและอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 2 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 ความเข้มข้นและพื้นที่ผิวของสารเริ่มต้น ที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 2 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 อุณหภูมิที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 ตัวเร่งปฏิกิริยาและธรรมชาติของสาร ที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10 ปฏิกิริยาเคมีที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม 1 ชั่วโมง
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ชั่วโมงที่ 9–10 สมการเคมีและ อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 ชั่วโมงที่ 9–10 สมการเคมีและอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ปฏิกิริยาเคมี แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ปฏิกิริยาเคมี ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด (การทำแบบทดสอบใน PowerPoint อาจใช้เวลามาก ครูควร print ให้นักเรียนทำแล้วจึงใช้ PowerPoint ตรวจคำตอบ)
เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว 1. เราเรียกสารใหม่ที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาว่าอะไร ก สารเริ่มต้น ข ผลิตภัณฑ์ ค สารเร่งปฏิกิริยา ง สารร่วมปฏิกิริยา 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 1 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 1 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะสารเริ่มต้นเป็นสารที่ทำปฏิกิริยากันจนเกิดเป็นสารใหม่หรือผลิตภัณฑ์ ข ถูกต้อง เพราะผลิตภัณฑ์เป็นสารใหม่ที่เกิดขึ้นจากการทำปฏิกิริยาของสารเริ่มต้น ค ไม่ถูกต้อง เพราะสารเร่งปฏิกิริยาเป็นสารที่ช่วยให้สารเริ่มต้นเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ได้เร็วขึ้น ง ไม่ถูกต้อง เพราะสารร่วมปฏิกิริยาเป็นสารทั้งหมดที่เข้าร่วมในปฏิกิริยาเคมีแล้วได้สารใหม่ หรือผลิตภัณฑ์ คำอธิบาย: ข ถูกต้อง เพราะผลิตภัณฑ์เป็นสารใหม่ที่เกิดขึ้นจากการทำปฏิกิริยาของสารเริ่มต้น
2. ขณะกลั่นน้ำมันดิบ กำมะถันจะทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจน ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นสามารถเขียนสมการเคมีได้ดังสมการเคมีใด ก S + O2 SO2 ข SO2 + O2 SO4 ค 2SO2 + O2 2SO3 ง SO2 + H2O H2SO4 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 2 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 2 เฉลย ก ถูกต้อง เพราะจากข้อความแสดงว่า กำมะถัน (S) และแก๊สออกซิเจน (O2) เป็นสารเริ่มต้น และเมื่อกำมะถันและแก๊สออกซิเจนทำปฏิกิริยากันจะได้แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) เป็นผลิตภัณฑ์ ดังนั้น สมการเคมีที่เขียนได้จึงเป็น S + O2 SO2 ข ไม่ถูกต้อง เพราะ SO2 คือ แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งไม่ใช่สารเริ่มต้นในปฏิกิริยาเคมีนี้ ค ไม่ถูกต้อง เพราะ SO2 คือ แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งไม่ใช่สารเริ่มต้นในปฏิกิริยาเคมีนี้ ง ไม่ถูกต้อง เพราะ SO2 คือ แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และ H2O คือ น้ำ ซึ่งสารทั้ง 2 ชนิด ไม่ใช่สารเริ่มต้นในปฏิกิริยาเคมีนี้ คำอธิบาย: ก ถูกต้อง เพราะจากข้อความแสดงว่า กำมะถัน (S) และแก๊สออกซิเจน (O2) เป็นสารเริ่มต้น และเมื่อกำมะถันและแก๊สออกซิเจนทำปฏิกิริยากันจะได้แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) เป็นผลิตภัณฑ์ ดังนั้น สมการเคมีที่เขียนได้จึงเป็น S + O2 SO2
3. หลักการสำคัญในการดุลสมการเคมีคืออะไร ก ทำให้จำนวนสารเริ่มต้นเท่ากับผลิตภัณฑ์ ข ทำให้พลังงานของสารเริ่มต้นเท่ากับผลิตภัณฑ์ ค ทำให้จำนวนโมเลกุลของสารเริ่มต้นเท่ากับผลิตภัณฑ์ ง ทำให้อะตอมของธาตุเดียวกันในสารเริ่มต้นเท่ากับในผลิตภัณฑ์ 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 3 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 3 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะในการเกิดปฏิกิริยาเคมี สารเริ่มต้นและผลิตภัณฑ์อาจมีจำนวนไม่เท่ากัน แต่จำนวนอะตอมของธาตุเดียวกันในสารเริ่มต้นต้องเท่ากับในผลิตภัณฑ์ ข ไม่ถูกต้อง เพราะในการเกิดปฏิกิริยาเคมี สารเริ่มต้นและผลิตภัณฑ์ไม่จำเป็นต้องมีพลังงาน เท่ากัน ค ไม่ถูกต้อง เพราะผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นไม่จำเป็นต้องมีจำนวนโมเลกุลเท่ากับสารเริ่มต้น แต่จำนวนอะตอมของธาตุชนิดเดียวกันในสารเริ่มต้นต้องเท่ากับในผลิตภัณฑ์ ง ถูกต้อง เพราะในการเกิดปฏิกิริยาเคมี สารเริ่มต้นจะเปลี่ยนไปเป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งสารเริ่มต้นและ ผลิตภัณฑ์เป็นสารต่างชนิดที่มีการสร้างพันธะเคมีของอะตอมต่างกัน แต่อะตอมทั้งหมดที่เกิด เป็นผลิตภัณฑ์นั้นได้มาจากสารเริ่มต้นทั้งหมดโดยไม่มีอะตอมชนิดใหม่เกิดขึ้น ดังนั้นในการ ดุลสมการเคมีจึงต้องทำให้อะตอมของธาตุเดียวกันในสารเริ่มต้นเท่ากับในผลิตภัณฑ์ คำอธิบาย: ง ถูกต้อง เพราะในการเกิดปฏิกิริยาเคมี สารเริ่มต้นจะเปลี่ยนไปเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งสารเริ่มต้นและผลิตภัณฑ์เป็นสารต่างชนิดที่มีการสร้างพันธะเคมีของอะตอมต่างกัน แต่อะตอมทั้งหมดที่เกิดเป็นผลิตภัณฑ์นั้นได้มาจากสารเริ่มต้นทั้งหมดโดยไม่มีอะตอมชนิดใหม่เกิดขึ้น ดังนั้นในการดุลสมการเคมีจึงต้องทำให้อะตอมของธาตุเดียวกันในสารเริ่มต้นเท่ากับในผลิตภัณฑ์
4. การกระทำใดทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีมีแนวโน้มเดียวกัน ก เพิ่มตัวเร่งปฏิกิริยา เพิ่มขนาด ข เพิ่มอุณหภูมิ เพิ่มตัวหน่วงปฏิกิริยา ค ลดขนาด ลดความเข้มข้นของสาร ง ลดอุณหภูมิ ลดความเข้มข้นของสาร 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 4 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 4 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะการเพิ่มตัวเร่งปฏิกิริยาทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีเพิ่มขึ้น แต่การเพิ่มขนาดเป็นการลดพื้นที่ผิวทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีลดลง ข ไม่ถูกต้อง เพราะการเพิ่มอุณหภูมิทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีเพิ่มขึ้น แต่การเพิ่มตัวหน่วงปฏิกิริยาทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีลดลง ค ไม่ถูกต้อง เพราะการลดขนาดเป็นการเพิ่มพื้นที่ผิวทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีเพิ่มขึ้น แต่การลดความเข้มข้นของสารทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีลดลง ง ถูกต้อง เพราะการลดอุณหภูมิทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีลดลง และการลดความเข้มข้น ของสารก็ทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีลดลงด้วยเช่นกัน คำอธิบาย: ง ถูกต้อง เพราะการลดอุณหภูมิทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีลดลง และการลดความเข้มข้นของสารก็ทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีลดลงด้วยเช่นกัน
5. การเคี้ยวอาหารให้ละเอียดขึ้นช่วยให้ปฏิกิริยาการย่อยอาหาร เกิดเร็วขึ้นเพราะอะไร ก เพิ่มพื้นที่ผิวของอาหาร ข เพิ่มอุณหภูมิของอาหาร ค เพิ่มความเข้มข้นของอาหาร ง เพิ่มตัวเร่งปฏิกิริยาในการย่อยอาหาร 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 5 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 5 เฉลย ก ถูกต้อง เพราะการเคี้ยวอาหารเป็นการทำให้อาหารมีขนาดเล็กลง ซึ่งเป็นการเพิ่มพื้นที่ผิว ให้กับอาหาร เนื่องจากสารที่มีมวลเท่ากัน สารขนาดเล็กจะมีพื้นที่ผิวมากกว่าสารขนาดใหญ่ เมื่ออาหารมีพื้นที่ผิวมากขึ้น เอนไซม์จึงสัมผัสกับอาหารมากขึ้น อาหารจึงถูกย่อยได้เร็วขึ้น ข ไม่ถูกต้อง เพราะการเคี้ยวอาหารให้ละเอียดไม่ได้ทำให้อุณหภูมิของอาหารเพิ่มขึ้น ค ไม่ถูกต้อง เพราะการเคี้ยวอาหารให้ละเอียดไม่ได้ทำให้ความเข้มข้นของอาหารเพิ่มขึ้น ง ไม่ถูกต้อง เพราะการเคี้ยวอาหารให้ละเอียดไม่ได้ทำให้ตัวเร่งปฏิกิริยาในการย่อยอาหารเพิ่มขึ้น คำอธิบาย: ก ถูกต้อง เพราะการเคี้ยวอาหารเป็นการทำให้อาหารมีขนาดเล็กลง ซึ่งเป็นการเพิ่มพื้นที่ผิวให้กับอาหาร เนื่องจากสารที่มีมวลเท่ากัน สารขนาดเล็กจะมีพื้นที่ผิวมากกว่าสารขนาดใหญ่ เมื่ออาหารมีพื้นที่ผิว มากขึ้น เอนไซม์จึงสัมผัสกับอาหารมากขึ้น อาหารจึงถูกย่อยได้เร็วขึ้น
6. Mg(s) + 2HCl(aq) MgCl2(aq) + H2(g) วิธีใดที่ทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาของสมการเคมีนี้เพิ่มขึ้น ก เพิ่มขนาดของ Mg ข เพิ่มปริมาตรของ H2 ค เพิ่มความเข้มข้นของ HCl ง เพิ่มความเข้มข้นของ MgCl2 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 6 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 6 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะการเพิ่มขนาดของ Mg เป็นการลดพื้นที่ผิวของสารเริ่มต้นทำให้โอกาส ในการทำปฏิกิริยากันของสารเริ่มต้นลดลง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีจึงลดลง ข ไม่ถูกต้อง เพราะ H2 เป็นผลิตภัณฑ์ การเพิ่มปริมาตรของ H2 จึงไม่มีผลต่ออัตรา การเกิดปฏิกิริยาเคมี ค ถูกต้อง เพราะ HCl เป็นสารเริ่มต้น ซึ่งการเพิ่มความเข้มข้นของสารเริ่มต้นทำให้โอกาส ในการทำปฏิกิริยากันของสารเริ่มต้นสูงขึ้น อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีจึงเพิ่มขึ้น ง ไม่ถูกต้อง เพราะ MgCl2 เป็นผลิตภัณฑ์ การเพิ่มความเข้มข้นของ MgCl2 จึงไม่มีผลต่ออัตรา คำอธิบาย: ค ถูกต้อง เพราะ HCl เป็นสารเริ่มต้น ซึ่งการเพิ่มความเข้มข้นของสารเริ่มต้นทำให้โอกาสในการทำปฏิกิริยากันของสารเริ่มต้นสูงขึ้น อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีจึงเพิ่มขึ้น
7. ถ้านักเรียนต้องการศึกษาว่าความเข้มข้นของสารเริ่มต้นชนิดใดมีผลต่อ อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี นักเรียนจะออกแบบการทดลองอย่างไร ก กำหนดความเข้มข้นของสารทั้งหมดให้เท่ากัน ข กำหนดความเข้มข้นของสารทั้งหมดให้ไม่เท่ากัน ค ปรับความเข้มข้นของสารที่ต้องการศึกษาโดยให้สารอื่นมีความเข้มข้น คงที่ ง ให้ความเข้มข้นของสารที่ต้องการศึกษาคงที่และปรับความเข้มข้นของ สารอื่น 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 7 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 7 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะถ้าสารทั้งหมดมีความเข้มข้นเท่ากันจะไม่สามารถเปรียบเทียบได้ว่าสารใด มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ข ไม่ถูกต้อง เพราะการกำหนดความเข้มข้นของสารทั้งหมดให้ไม่เท่ากัน เมื่ออัตราการเกิด ปฏิกิริยาเปลี่ยนไปจะทำให้ไม่สามารถบอกได้ว่าสารใดเป็นตัวที่มีผลต่ออัตราการเกิด ปฏิกิริยาเคมี ค ถูกต้อง เพราะเมื่อให้ความเข้มข้นของสารอื่นคงที่และปรับความเข้มข้นเฉพาะสารที่ต้องการ ศึกษา ทำให้ผลการทดลองเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสาร ที่ต้องการศึกษาเท่านั้น ดังนั้นเราจึงสามารถสังเกตได้ว่าสารที่ต้องการศึกษามีผลต่ออัตรา การเกิดปฏิกิริยาเคมีหรือไม่ ง ไม่ถูกต้อง เพราะเมื่อความเข้มข้นของสารที่เราต้องการศึกษาคงที่ ในการทำการทดลองทุกครั้ง ผลของสารที่ต้องการศึกษาต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาจะเหมือนเดิม เราจึงสังเกตไม่ได้ว่าสาร ที่ต้องการศึกษามีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีหรือไม่ คำอธิบาย: ค ถูกต้อง เพราะเมื่อให้ความเข้มข้นของสารอื่นคงที่และปรับความเข้มข้นเฉพาะสารที่ต้องการศึกษาทำให้ผลการทดลองเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารที่ต้องการศึกษาเท่านั้น ดังนั้นเราจึงสามารถสังเกตได้ว่าสารที่ต้องการศึกษามีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีหรือไม่
8. กิจกรรมใดต่อไปนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ความรู้ในเรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ก การปรุงอาหารที่อุณหภูมิต่ำ ข การเพิ่มอุณหภูมิในการต้มน้ำให้เดือด ค การเก็บอาหารหรือยาบางชนิดในตู้เย็น ง การใช้แท่งแก้วคนสารตลอดเวลาระหว่างการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 8 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 8 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะการสุกของอาหารทำให้โครงสร้างของอาหารเปลี่ยนไป การใช้อุณหภูมิต่ำ ในการปรุงอาหารเป็นการลดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ทำให้อาหารสุกช้าและสุกอย่างทั่วถึง จึงเป็นการประยุกต์ใช้ความรู้ในเรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ข ถูกต้อง เพราะการต้มน้ำเป็นการทำให้น้ำเดือดซึ่งเป็นเพียงการเปลี่ยนสถานะจากของเหลว เป็นแก๊สหรือไอน้ำ ไม่ใช่การเกิดปฏิกิริยาเคมี ค ไม่ถูกต้อง เพราะอาหารเมื่อวางไว้ในที่อุณหภูมิสูงอาจทำให้อาหารบูด หรือยาบางชนิดเมื่อเก็บ ที่อุณหภูมิสูง ยาจะเกิดปฏิกิริยาเคมีกลายเป็นสารอีกชนิดหนึ่ง ทำให้ยาเสื่อมคุณภาพ ดังนั้นการเก็บอาหารหรือยาบางชนิดในตู้เย็นจึงเป็นการลดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ง ไม่ถูกต้อง เพราะการใช้แท่งแก้วคนสารเป็นการช่วยให้สารเคลื่อนที่มากขึ้น สารจึงมีโอกาส เข้าทำปฏิกิริยากันมากขึ้นเป็นการเพิ่มอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี จึงเป็นการประยุกต์ใช้ ความรู้ในเรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี คำอธิบาย: ข ถูกต้อง เพราะการต้มน้ำเป็นการทำให้น้ำเดือด ซึ่งเป็นเพียงการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นแก๊สหรือไอน้ำ ไม่ใช่การเกิดปฏิกิริยาเคมี
9. ถ้านักเรียนต้องการให้ผลไม้ที่เก็บมาสุกเร็วขึ้นควรเก็บผลไม้ไว้ในลักษณะใด ก ในตู้เย็น ข ในภาชนะที่มีฝาปิด ค ในที่ที่ไม่มีแสงสว่าง ง ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 9 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 9 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะความเย็นจะทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีลดลง ซึ่งเป็นการทำให้ผลไม้ สุกช้า ข ถูกต้อง เพราะการสุกของผลไม้เป็นการเกิดปฏิกิริยาเคมีชนิดหนึ่ง การปิดฝาภาชนะทำให้ อากาศในภาชนะไม่เกิดการถ่ายเทและอุณหภูมิสูงขึ้น อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีจึงเพิ่มขึ้น ผลไม้จึงสุกเร็ว ค ไม่ถูกต้อง เพราะการที่ไม่มีแสงสว่าง อุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมจะไม่สูง ทำให้อัตราการเกิด ปฏิกิริยาเคมีไม่เพิ่มขึ้น ผลไม้จึงสุกช้า ง ไม่ถูกต้อง เพราะการที่อากาศถ่ายเทสะดวก อุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมจะไม่สูง ทำให้อัตรา การเกิดปฏิกิริยาเคมีไม่เพิ่มขึ้น ผลไม้จึงสุกช้า คำอธิบาย: ข ถูกต้อง เพราะการสุกของผลไม้เป็นการเกิดปฏิกิริยาเคมีชนิดหนึ่ง การปิดฝาภาชนะทำให้อากาศในภาชนะไม่เกิดการถ่ายเทและอุณหภูมิสูงขึ้น อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีจึงเพิ่มขึ้น ผลไม้จึงสุกเร็วขึ้น
10. ข้อความใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้อง ก ปฏิกิริยาเคมีบางชนิดก่อให้เกิดมลพิษต่อสภาพแวดล้อม ข ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นมีทั้งที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหรือนานเป็นเดือน ค แบตเตอรี่ชนิดต่าง ๆ มีสารที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ถ้าการใช้และ การจัดเก็บไม่ถูกวิธี ง ปฏิกิริยาเคมีทุกชนิดมีประโยชน์ต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ถ้ารู้จักควบคุมอัตราการเกิดปฏิกิริยา 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 10 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 10 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะปฏิกิริยาเคมีบางชนิดก่อให้เกิดมลพิษต่อสภาพแวดล้อม เช่น การเผาไหม้ เชื้อเพลิงที่ไม่สมบูรณ์เกิดแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ที่เป็นแก๊สพิษต่อร่างกาย ข ไม่ถูกต้อง เพราะปฏิกิริยาเคมีบางชนิดเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น การเผาไหม้กระดาษ ส่วนปฏิกิริยาเคมีบางชนิดเกิดนานเป็นเดือน เช่น ปฏิกิริยาการเกิดสนิม ค ไม่ถูกต้อง เพราะแบตเตอรี่มีโลหะหนักเป็นส่วนประกอบซึ่งเป็นอันตรายต่อมนุษย์ ซึ่งถ้าใช้ และจัดเก็บไม่ถูกวิธี โลหะหนักอาจเกิดการรั่วไหลและเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมได้ ง ถูกต้อง เพราะการควบคุมอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีได้ ไม่ได้แสดงว่าทำให้ปฏิกิริยาเคมี ทุกชนิดมีประโยชน์ต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น เช่น การควบคุมอัตราปฏิกิริยาการเกิดการ เน่าเสียของอาหารเป็นเพียงการชะลอการเน่าเสียของอาหาร ไม่ได้ทำให้ปฏิกิริยาการเน่าเสีย ของอาหารเกิดประโยชน์ต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ คำอธิบาย: ง ถูกต้อง เพราะการควบคุมอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีได้ ไม่ได้แสดงว่าทำให้ปฏิกิริยาเคมีทุกชนิดมีประโยชน์ต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น เช่น การควบคุมอัตราปฏิกิริยาการเกิดการเน่าเสียของอาหารเป็นเพียงการชะลอการเน่าเสียของอาหาร ไม่ได้ทำให้ปฏิกิริยาการเน่าเสียของอาหารเกิดประโยชน์ต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
สารและสมบัติของสาร หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ปฏิกิริยาเคมี แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 สมการเคมีและอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี เวลา 2 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 สมการเคมีและอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 2 ชั่วโมง สาระการเรียนรู้ 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี 2. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
นักเรียนสามารถระบุได้หรือไม่ว่า สารในรูปใดเกิดการเปลี่ยนแปลง ทางกายภาพ และสารในรูปใดเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เพราะอะไร 1 2 1) ครูกระตุ้นเกี่ยวกับประสบการณ์เดิมของนักเรียน โดยให้นักเรียนดูรูปแล้วถามคำถามว่า นักเรียนสามารถระบุได้หรือไม่ว่า สารในรูปใดเกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและสาร ในรูปใดเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เพราะอะไร 2) ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายคำตอบเกี่ยวกับคำถาม เพื่อเชื่อมโยงความรู้ใหม่จากบทเรียนกับ ประสบการณ์เดิมของนักเรียน เมื่อนักเรียนอภิปรายคำถามเสร็จแล้ว ครูสรุปแนวคำตอบ ร่วมกันกับนักเรียน (แนวคำตอบ รูปที่ 1 เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เพราะน้ำแข็งเกิด การหลอมเหลวซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงสถานะเท่านั้น รูปที่ 2 เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เพราะกระดาษเกิดการเผาไหม้กลายเป็นขี้เถ้าซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมี) ครูใช้เวลาในการนำเข้าสู่บทเรียนประมาณ 5 นาที (หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม)
1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี การอ่านและค้นคว้าล่วงหน้าเกี่ยวกับสมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี นักเรียนได้อะไรบ้าง 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1) ครูตรวจสอบว่านักเรียนปฏิบัติตามภาระงานก่อนเรียนที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยครู ถามคำถามกับนักเรียนว่า การอ่านและค้นคว้าล่วงหน้าเกี่ยวกับสมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี นักเรียนได้อะไรบ้าง 2) ครูและนักเรียนร่วมกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น ครูใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประมาณ 55 นาที (หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม)
แบ่งกลุ่มและนำเสนอสิ่งที่ได้ สิ่งที่ได้หน้าห้องเรียน 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี แบ่งกลุ่มและนำเสนอสิ่งที่ได้ ให้เพื่อนในกลุ่มฟัง ตัวแทนกลุ่มนำเสนอ สิ่งที่ได้หน้าห้องเรียน 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1) ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนแล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสมการและ การเกิดปฏิกิริยาเคมี ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง โดยครูให้ นักเรียนร่วมกันอภิปรายซักถามจนคาดว่าสมาชิกทุกคนในกลุ่มมีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน 2) ครูคลิกแสดงข้อความเพื่อให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมานำเสนอข้อมูลหน้าห้องเรียน
ตอบคำถามต่อไปนี้ 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1. สมการเคมีคืออะไร สมการเคมี คือ การเขียนแสดงความสัมพันธ์ระหว่างสารเริ่มต้นกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้น 2. สัญลักษณ์ใดทำให้เราทราบว่าสารใดเป็นผลิตภัณฑ์ในสมการเคมี ลักษณะใด 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามเกี่ยวกับภาระงานก่อนเรียนแล้วให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิก คำถามและเฉลยทีละข้อ) ลูกศร โดยลูกศรจะชี้ไปทางผลิตภัณฑ์เสมอ
นักเรียนตั้งคำถามที่สงสัยไว้ว่าอย่างไร นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี นักเรียนตั้งคำถามที่สงสัยไว้ว่าอย่างไร นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง สมการเคมีใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสารเริ่มต้นกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมี 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1) ครูถามคำถามนักเรียนว่า นักเรียนตั้งคำถามที่สงสัยไว้ว่าอย่างไร เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียน ตั้งประเด็นคำถามที่สงสัยจากการทำภาระงานก่อนเรียน ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น 2) เมื่อนักเรียนตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นเสร็จแล้ว ครูคลิกเพื่อสรุปภาระงานก่อนเรียน โดยถามนักเรียนว่า นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง 3) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงานก่อนเรียนเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า สมการเคมีใช้ แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสารเริ่มต้นกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมี 4) ครูคลิกเพื่อแสดงข้อสรุปของภาระงานก่อนเรียน
ฟันเฟืองในรูปทำจากวัสดุชนิดใด 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี ฟันเฟืองในรูปทำจากวัสดุชนิดใด ฟันเฟืองในรูปเกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะใด 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1 ครูให้นักเรียนดูรูปแล้วคลิกตามลำดับ จากนั้นถามคำถามกับนักเรียนว่า – ฟันเฟืองในรูปทำจากวัสดุชนิดใด – ฟันเฟืองในรูปเกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะใด – ฟันเฟืองในรูปเกิดการเปลี่ยนแปลงเพราะอะไร 2) ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายคำตอบเกี่ยวกับคำถาม ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง และให้นักเรียนร่วมกันหาคำตอบจากบทเรียนเรื่อง สมการ และการเกิดปฏิกิริยาเคมีในเฟรมถัดไป ฟันเฟืองในรูปเกิดการ เปลี่ยนแปลงเพราะอะไร
เพราะเหล็กทำปฏิกิริยากับความชื้นในอากาศ 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี ฟันเฟืองทำจากเหล็ก ฟันเฟืองเกิดสนิม ขึ้นที่ผิว ฟันเฟืองเกิดสนิม เพราะเหล็กทำปฏิกิริยากับความชื้นในอากาศ 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี ครูคลิกตามลำดับ เพื่อตอบคำถามจากเฟรมที่ผ่านมา ดังนี้ – ฟันเฟืองในรูปทำจากวัสดุชนิดใด (คำตอบ ฟันเฟืองทำจากเหล็ก) – ฟันเฟืองในรูปเกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะใด (คำตอบ ฟันเฟืองเกิดสนิมขึ้นที่ผิว) – ฟันเฟืองในรูปเกิดการเปลี่ยนแปลงเพราะอะไร (คำตอบ ฟันเฟืองเกิดสนิม เพราะเหล็ก ทำปฏิกิริยากับความชื้นในอากาศ)
ตัวทำปฏิกิริยา (reactant) 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี ปฏิกิริยาเคมี (chemical reaction) เรียกว่า ฟันเฟืองเกิดสนิม เพราะเหล็ก ทำปฏิกิริยากับความชื้นในอากาศ ความชื้น สนิม เหล็ก 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1) ครูคลิกตามลำดับ เพื่ออธิบายความหมายของปฏิกิริยาเคมี สารเริ่มต้นหรือ ตัวทำปฏิกิริยา (reactant) และผลิตภัณฑ์ (product) จากการเกิดสนิมของฟันเฟือง 2) ครูอธิบายเกี่ยวกับสารเริ่มต้นและผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด สารเริ่มต้นหรือ ตัวทำปฏิกิริยา (reactant) ผลิตภัณฑ์ (product)
1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี นักวิทยาศาสตร์ใช้สัญลักษณ์ของธาตุจากตารางธาตุเขียนเป็นสูตรเคมีเพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ทุกคนเข้าใจตรงกันว่ากำลังกล่าวถึงสารชนิดใด O C C H นักเรียนคิดว่า นักวิทยาศาสตร์ใช้สิ่งใดเพื่อบอกการเกิดปฏิกิริยาเคมีให้เข้าใจ ตรงกันได้ 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1) ครูคลิกเพื่อแสดงว่า นักวิทยาศาสตร์ใช้สัญลักษณ์ของธาตุจากตารางธาตุเขียนเป็น สูตรเคมีเพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ทุกคนเข้าใจตรงกันว่ากำลังกล่าวถึงสารชนิดใด 2) ครูคลิกแล้วถามคำถามกับนักเรียนว่า นักเรียนคิดว่า นักวิทยาศาสตร์ใช้สิ่งใดเพื่อบอก การเกิดปฏิกิริยาเคมีให้เข้าใจตรงกันได้ 3) ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายคำตอบเกี่ยวกับคำถาม ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง และให้นักเรียนร่วมกันหาคำตอบจากบทเรียนเรื่อง ความหมายและการเขียนสมการเคมีในเฟรมถัดไป H O
1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี สมการเคมี (chemical equation) s (solid) แทน ของแข็ง l (liquid) แทน ของเหลว g (gas) แทน แก๊ส aq (aqueous) แทน สารละลายที่มีน้ำ เป็นตัวทำละลาย แทน ปฏิกิริยาเคมีเกิด ทิศทางเดียว แทน ปฏิกิริยาเคมีเกิด ไปข้างหน้าและ ย้อนกลับได้ ความสัมพันธ์ระหว่างสารเริ่มต้นกับผลิตภัณฑ์ ในการเกิดปฏิกิริยาเคมี เขียนแสดง ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ในวงเล็บเพื่อแสดง สถานะของสาร เขียนกำกับด้วย 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี ครูคลิกตามลำดับเพื่ออธิบายความหมายของสมการเคมี (chemical equation) ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
Fe(s) H2O(g) Fe3O4(s) H2(g) 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี ฟันเฟืองเกิดสนิม เพราะเหล็กทำปฏิกิริยากับความชื้นในอากาศ เขียนสมการเคมีได้เป็น เหล็ก Fe(s) ความชื้น H2O(g) สนิม Fe3O4(s) แก๊ส ไฮโดรเจน H2(g) 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี ครูคลิกตามลำดับเพื่ออธิบายการเขียนสมการเคมีของการเกิดสนิมของฟันเฟืองที่ทำจากเหล็ก โดยครูยังไม่ดุลสมการเคมีให้นักเรียนดู ซึ่งครูจะนำสมการเคมีนี้ไปดุลสมการเคมีเมื่อทราบหลัก ในการเขียนสมการเคมีแล้ว สารเริ่มต้น ผลิตภัณฑ์
นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ จากการปฏิบัติกิจกรรมต่อไปนี้ 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี เมื่อมีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้น นักเรียนจะเขียนสมการเคมีเพื่อแสดงการเกิดปฏิกิริยาเคมีนั้นได้อย่างไร นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ จากการปฏิบัติกิจกรรมต่อไปนี้ 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี 1) ครูคลิกตามลำดับแล้วถามนักเรียนว่า เมื่อมีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้น นักเรียนจะเขียนสมการเคมี เพื่อแสดงการเกิดปฏิกิริยาเคมีนั้นได้อย่างไร ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายคำตอบเกี่ยวกับ คำถาม ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง จากนั้น ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มแล้วร่วมกันค้นหาคำตอบ เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่การปฏิบัติกิจกรรม 2) นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมที่ 7 สังเกตการเกิดปฏิกิริยาเคมี ในแบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี กิจกรรมที่ 7 สังเกตการเกิดปฏิกิริยาเคมี ปัญหา ปฏิกิริยาระหว่างสังกะสีกับสารละลายกรดไฮโดรคลอริกจะได้ผลิตภัณฑ์ใด อุปกรณ์ 1. แผ่นสังกะสีขนาด 0.5 1 ซม. 1 แผ่น 2. สารละลายกรดไฮโดรคลอริก เข้มข้น 0.2 โมลต่อลิตร 20 ลบ.ซม. 3. น้ำกลั่น 250 ลบ.ซม. 4. หลอดทดลองขนาดกลาง 2 หลอด 5. หลอดนำแก๊ส 1 หลอด 6. บีกเกอร์ขนาด 500 ลบ.ซม. 1 ใบ 7. จุกยาง 1 อัน 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี 1) ครูให้นักเรียนร่วมกันตั้งคำถามเพื่อกำหนดปัญหาก่อนปฏิบัติกิจกรรม โดยครูช่วยสรุป การตั้งคำถามของนักเรียน แล้วร่วมกันกำหนดเป็นปัญหาที่สอดคล้องกับการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูคลิกเพื่อแสดงปัญหาของกิจกรรม 3) ครูคลิกเพื่อแสดงอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรม
1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี ขั้นตอน ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ แผ่นสังกะสี สารละลายกรดไฮโดรคลอริก หลอดนำแก๊ส จุกยาง 1. เทสารละลายกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น 0.2 โมลต่อลิตร จำนวน 20 ลูกบาศก์- เซนติเมตร ลงในหลอดทดลอง ใส่แผ่น สังกะสีขนาด 0.5 1 เซนติเมตร ลงใน หลอดทดลองขนาดกลาง แล้วปิดปาก หลอดทดลองด้วยจุกยางที่ต่อกับหลอด นำแก๊ส 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี 1) ครูคลิกเพื่อแสดงขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูอธิบายวิธีการเตรียมสารก่อนการปฏิบัติกิจกรรม คือ สารละลายกรดไฮโดรคลอริก (ครูดูวิธีการเตรียมสารจากหมายเหตุ ในแบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด) 3) ครูแนะนำให้นักเรียนใช้กระดาษทรายขัดแผ่นสังกะสีก่อนปฏิบัติกิจกรรม 4) ครูเตือนให้นักเรียนระวังการใช้สารละลายกรดไฮโดรคลอริก เนื่องจากกรดสามารถทำลาย เนื้อเยื่อผิวหนังได้
1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี น้ำกลั่น แผ่นสังกะสี สารละลายกรดไฮโดรคลอริก 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี 1) ครูคลิกเพื่อแสดงขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูแนะนำให้นักเรียนจุ่มปากหลอดทดลองให้อยู่ใต้ผิวน้ำในบีกเกอร์ 3) ครูคอยแนะนำช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและเปิด โอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา 2. ใส่ปลายหลอดนำแก๊สอีกด้านลงในหลอดทดลองที่มีน้ำกลั่นอยู่เต็ม ซึ่งจุ่มอยู่ ในบีกเกอร์บรรจุน้ำกลั่น สังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี บันทึกผล สารเริ่มต้น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น แผ่นสังกะสี + สารละลายกรดไฮโดรคลอริก มีฟองแก๊สเกิดขึ้น แผ่นสังกะสีมีขนาดเล็กลงจนหมดไป 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี 1) เมื่อปฏิบัติกิจกรรมเสร็จ ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน 2) ครูคลิกเพื่อแสดงตารางบันทึกผล 3) ครูคลิกเพื่อแสดงแนวคำตอบของการปฏิบัติกิจกรรม
1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี สรุปผล เมื่อใส่แผ่นสังกะสีลงในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก สารทั้ง 2 ชนิด เกิดปฏิกิริยาเคมี เพราะสังเกตเห็นแผ่นสังกะสีมีขนาดเล็กลง เรื่อย ๆ เกิดเป็นสารประกอบของเกลือที่ละลายน้ำได้ และมีฟองแก๊สเกิดขึ้น 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี 1) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูคลิกเพื่อแสดงสรุปผลของกิจกรรม
1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี ค้นหาคำตอบ 1. เมื่อใส่แผ่นสังกะสีลงในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก ผลที่เกิดขึ้นคืออะไร แผ่นสังกะสีมีขนาดเล็กลงและเกิดฟองแก๊ส 2. สารที่เกิดขึ้นมีสมบัติเหมือนสารเริ่มต้นหรือไม่ เพราะอะไร ไม่เหมือน สารที่เกิดขึ้นจะเป็นสารประกอบของเกลือ และสารที่อยู่ในสถานะแก๊ส 3. การเปลี่ยนแปลงของสารที่เกิดขึ้นเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมีหรือไม่ เพราะอะไร 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี 1) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายซักถามและแสดงความคิดเห็นผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคำถามจากกรอบค้นหาคำตอบท้ายกิจกรรม ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2) ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยทีละข้อ) เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เพราะได้สารผลิตภัณฑ์ที่มีสมบัติแตกต่างจากสารเริ่มต้น คือ สารที่ละลายในน้ำและสารที่มีสถานะเป็นแก๊ส
1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี ค้นหาคำตอบ 4. สารเริ่มต้นและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปฏิกิริยานี้คือสารใด สารเริ่มต้น คือ โลหะสังกะสี (Zn) กับสารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCl) ส่วนผลิตภัณฑ์ ที่เกิดขึ้น คือ สารประกอบเกลือของซิงก์ (II) คลอไรด์ (ZnCl2) กับแก๊สไฮโดรเจน (H2) 5. ปฏิกิริยาเคมีระหว่างสังกะสีกับสารละลายกรดไฮโดรคลอริกเขียนสมการเคมีได้ในลักษณะใด 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยทีละข้อ) Zn(s) + 2HCl(aq) ZnCl2 (aq)+ H2(g)
1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี จากผลการทดลองในกิจกรรมที่ 7 สารเริ่มต้น แผ่นสังกะสี (Zn) สารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCl) ผลิตภัณฑ์ สารประกอบเกลือของซิงก์ (II) คลอไรด์ (ZnCl2) แก๊สไฮโดรเจน (H2) Zn(s) + HCl(aq) ZnCl2(aq) + H2 (g) Zn Cl H 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี 1) ครูคลิกตามลำดับ เพื่อแสดงสารเริ่มต้นและผลิตภัณฑ์จากกิจกรรมที่ 7 2) ครูคลิกเพื่อแสดงสมการเคมีที่เขียนได้จากปฏิกิริยาเคมีในกิจกรรมที่ 7 3) ครูคลิกเพื่อแสดงว่า ถ้านำสูตรเคมีของสารเริ่มต้นและผลิตภัณฑ์มาเขียนสมการเคมี จำนวนธาตุแต่ละชนิดของสารเริ่มต้นและผลิตภัณฑ์นั้นจะไม่สมดุลกัน
1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี นักเรียนจะทำให้จำนวนธาตุแต่ละชนิดของสารเริ่มต้น และผลิตภัณฑ์ในสมการเคมีสมดุลกันได้ด้วยวิธีใด Cl H Zn Cl H Zn Cl H 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี 1) ครูถามคำถามนักเรียนว่า นักเรียนจะทำให้จำนวนธาตุแต่ละชนิดของสารเริ่มต้นและผลิตภัณฑ์ ในสมการเคมีสมดุลกันได้ด้วยวิธีใด 2) ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายคำตอบเกี่ยวกับคำถาม ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง 3) ครูคลิกแสดงรูปและอธิบายว่า ถ้าเพิ่มจำนวนกรดไฮโดรคลอริกของสารเริ่มต้น 1 โมเลกุล จะทำให้จำนวนธาตุแต่ละชนิดของสารเริ่มต้นและผลิตภัณฑ์ในสมการเคมีสมดุลกัน 4) ครูคลิกแสดงสมการเคมีที่ดุลสมการเคมีแล้ว โดยการเติมตัวเลข 2 ลงหน้าสูตรเคมีของ HCl Zn(s) + 2HCl(aq) ZnCl2(aq) + H2 (g)
1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี หลักในการเขียนสมการเคมี รู้สูตรเคมีและสถานะของสารที่เกี่ยวข้องในปฏิกิริยาเคมี เขียนสารเริ่มต้นอยู่ด้านซ้าย ผลิตภัณฑ์อยู่ ด้านขวา และ มีลูกศร() คั่นกลาง ดุลจำนวนอะตอมของธาตุที่มีจำนวนมากก่อน 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี ครูคลิกตามลำดับเพื่อแสดงหลักในการเขียนสมการเคมี ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ดุลโมเลกุลของน้ำและธาตุอิสระภายหลัง
1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี เมื่อเหล็กทำปฏิกิริยากับความชื้นในอากาศ จะเกิดสนิมและแก๊สไฮโดรเจน 3 Fe(s) + H2O(aq) Fe3O4(s) + H2 (g) Fe Fe Fe H O Fe H O 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี 1) ครูอธิบายการเขียนสมการเคมีและการดุลสมการเคมีของปฏิกิริยาเคมี “เมื่อเหล็กทำปฏิกิริยา กับความชื้นในอากาศ จะเกิดสนิมและแก๊สไฮโดรเจน” 2) ครูคลิกแสดงสูตรเคมีของสารที่เกี่ยวข้องในปฏิกิริยาเคมี และการเขียนสมการเคมี โดยเขียน สารเริ่มต้นด้านซ้าย ผลิตภัณฑ์ด้านขวา และมีลูกศรคั่นกลาง ตามลำดับ 3) ครูคลิกเพื่อแสดงรูปแล้วอธิบายว่า จำนวนอะตอมของธาตุในสารเริ่มต้นและผลิตภัณฑ์ ไม่สมดุลกัน 4) ครูคลิกแสดงการดุลสมการเคมี ตามลำดับ โดยดุลสมการเคมีตามหลักในการเขียนสมการเคมี คือ ดุลจำนวนอะตอมของธาตุที่มีจำนวนมากก่อน แล้วจึงดุลโมเลกุลของน้ำและธาตุอิสระ ทีหลัง ดังนั้นสมการเคมีนี้จึงต้องทำจำนวนอะตอมของ Fe ให้เท่ากันก่อน โดยเพิ่มอะตอม ของ Fe อีก 2 อะตอมทางด้านสารเริ่มต้นให้เป็น 3 อะตอมเท่ากับอะตอมของ Fe ในผลิตภัณฑ์ 5) ครูคลิกแสดงการเพิ่มเลข 3 หน้า Fe ในสมการเคมี
1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี 3Fe(s) + H2O(aq) + H2 (g) Fe3O4(s) 4 H O H O H O Fe H O H O Fe 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี 1) ครูคลิกแสดงการดุลสมการเคมีตามลำดับ โดยการทำจำนวนอะตอมของ O ในสารเริ่มต้นให้ เท่ากับผลิตภัณฑ์ โดยเพิ่มโมเลกุลของ H2O อีก 3 โมเลกุลเพื่อทำให้สารเริ่มต้นและผลิตภัณฑ์ มีอะตอมของ O เท่ากัน คือ 4 อะตอม 2) ครูแสดงการเพิ่มเลข 4 หน้า H2O ในสมการเคมี
1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี 3Fe(s) + 4H2O(aq) Fe3O4(s) + H2 (g) 4 H H H H O Fe H O Fe 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี 1) ครูคลิกแสดงการดุลสมการเคมีตามลำดับ โดยการทำจำนวนอะตอมของ H ในสารเริ่มต้นให้ เท่ากับผลิตภัณฑ์ โดยเพิ่มโมเลกุลของ H2 ในผลิตภัณฑ์อีก 3 โมเลกุล เพื่อทำให้สารเริ่มต้น และผลิตภัณฑ์มีอะตอมของ H เท่ากัน คือ 8 อะตอม 2) ครูแสดงการเพิ่มเลข 4 หน้า H2 ในสมการเคมี 3) ครูสรุปว่าเมื่อทำการดุลสมการเคมีแล้ว จำนวนอะตอมของธาตุชนิดเดียวกันในสารเริ่มต้นและ ผลิตภัณฑ์ต้องเท่ากันเสมอ
1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี ปรับสมดุล เกม ดุลสมการเคมีต่อไปนี้ให้ถูกต้อง H2(g) + N2(aq) NH3(g) 1 3 2 Na(s) + H2O(l) NaOH(aq) + H2(g) 2 2 2 2 1. สมการและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.1 ความหมายและการเขียนสมการเคมี 1) ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 4 กลุ่ม เพื่อเล่นเกม โดยให้แต่ละกลุ่มแข่งกันดุลสมการเคมีต่อไปนี้ ให้ถูกต้อง กลุ่มใดตอบได้ถูกต้องมากกว่าเป็นฝ่ายชนะ 2) ครูคลิกเฉลยทีละข้อ (1) 3H2(g) + N2(aq) 2NH3(g) (2) 2Na(s) + 2H2O(l) 2NaOH(aq) + H2(g) (3) CaC2(s) +2H2O(l) Ca(OH)2(s) + C2H2(g) CaC2(s) + H2O(l) Ca(OH)2(s) + C2H2(g) 3 2
2. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี เมื่อมีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้น นักเรียนจะทราบได้อย่างไรว่า ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นนั้นเกิดช้าหรือเร็ว 2. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1) ครูกระตุ้นนักเรียนโดยถามคำถามกับนักเรียนว่า เมื่อมีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้น นักเรียนจะทราบได้ อย่างไรว่า ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นนั้นเกิดช้าหรือเร็ว 2) ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายคำตอบเกี่ยวกับคำถาม ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง และให้นักเรียนร่วมกันหาคำตอบจากบทเรียนเรื่องอัตรา การเกิดปฏิกิริยาเคมีในเฟรมถัดไป
ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสารเริ่มต้นและผลิตภัณฑ์ 2. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสารเริ่มต้นและผลิตภัณฑ์ กับเวลาเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมี เวลา ปริมาณ ปริมาณเพิ่มขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป ผลิตภัณฑ์ สารเริ่มต้น ปริมาณลดลง เมื่อเวลาผ่านไป 2. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1) ครูคลิกแสดงกราฟตามลำดับเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสารเริ่มต้นและผลิตภัณฑ์ กับเวลาเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมี 2) ครูคลิกเพื่อสรุปว่าการที่ปริมาตรของสารเริ่มต้นและผลิตภัณฑ์มีความสัมพันธ์กับเวลา จึงนำมาใช้บอกได้ว่าปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นนั้นเกิดช้าหรือเร็วได้ เราจึงสามารถนำความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสารเริ่มต้น และผลิตภัณฑ์ กับเวลามาบอกว่าปฏิกิริยาเคมีเกิดช้าหรือเร็วได้
ปริมาตรของสารเริ่มต้นที่ลดลง เวลาที่ใช้ในการเกิดปฏิกิริยาเคมี 2. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี = ปริมาตรของสารเริ่มต้นที่ลดลง เวลาที่ใช้ในการเกิดปฏิกิริยาเคมี อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี (rate of reaction) = ปริมาตรของผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น เวลาที่ใช้ในการเกิดปฏิกิริยาเคมี การหาอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีของสารในปฏิกิริยาเคมีทำได้อย่างไร นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้จากการปฏิบัติกิจกรรมต่อไปนี้ 2. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1) ครูคลิกแสดงความสัมพันธ์ของอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี (rate of reaction) ตามลำดับ พร้อมกับอธิบายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2) ครูคลิกถามนักเรียนว่าการหาอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีของสารในปฏิกิริยาเคมีทำได้ อย่างไร ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายคำตอบเกี่ยวกับคำถาม ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลาย คำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง จากนั้นครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มแล้วร่วมกันค้นหา คำตอบ เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่การปฏิบัติกิจกรรม 3) นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมที่ 8 สังเกตอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีของลวดแมกนีเซียมกับกรด ไฮโดรคลอริกในแบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ชั้น ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
2. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี กิจกรรมที่ 8 สังเกตอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีของลวดแมกนีเซียม กับกรดไฮโดรคลอริก อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างลวดแมกนีเซียมกับกรดไฮโดรคลอริกเกิดขึ้นเร็วหรือช้า ปัญหา อุปกรณ์ 1. ลวดแมกนีเซียมยาว 10 ซม. 1 เส้น 7. ขาตั้งและที่จับหลอดทดลอง 1 ชุด 2. น้ำกลั่น 50 ลบ.ซม. 8. คัตเตอร์ 1 เล่ม 3. สารละลายกรดไฮโดรคลอริก เข้มข้น 0.2 โมลต่อลิตร 10 ลบ.ซม. 9. กระดาษทราย 1 แผ่น 4. จุกคอร์กที่กรีดข้าง 1 อัน 5. กระบอกตวงขนาด10ลบ.ซม. 1 ใบ 6. บีกเกอร์ขนาด 100 ลบ.ซม. 1 ใบ 2. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1) ครูให้นักเรียนร่วมกันตั้งคำถามเพื่อกำหนดปัญหาก่อนปฏิบัติกิจกรรม โดยครูช่วยสรุป การตั้งคำถามของนักเรียน แล้วร่วมกันกำหนดเป็นปัญหาที่สอดคล้องกับการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูคลิกเพื่อแสดงปัญหาของกิจกรรม 3) ครูคลิกเพื่อแสดงอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรม
ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ 2. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ขั้นตอน ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ ลวดแมกนีเซียม จุกคอร์ก 1. นำจุกคอร์กขนาดพอดีกับปากกระบอกตวงขนาด 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร มาบากด้านข้าง ตามยาวให้เป็นร่องเล็ก ๆ เพื่อให้ของเหลวไหลออกได้ และกรีดที่บริเวณกึ่งกลางหน้าตัดของ จุกคอร์กปลายด้านที่เล็กกว่าให้เป็นแนวยาวเล็ก ๆ นำลวดแมกนีเซียมยาวประมาณ 10 เซนติเมตรที่ขัดสะอาดแล้ว ม้วนขดให้เป็นเกลียวคล้ายสปริงแล้วเสียบที่รอยกรีดกลาง จุกคอร์ก 2. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1) ครูคลิกเพื่อแสดงขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูอธิบายวิธีการเตรียมสารก่อนการปฏิบัติกิจกรรม ซึ่งประกอบด้วยสารต่าง ๆ ดังนี้ – ลวดแมกนีเซียม – สารละลายกรดไฮโดรคลอริก (ครูดูวิธีการเตรียมสารจากหมายเหตุ ในแบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด) 3) ครูแนะนำให้นักเรียนบากด้านข้างของจุกคอร์กให้ไม่เล็กหรือกว้างเกินไป เพื่อให้ของเหลว ไหลออกมาได้ในอัตราเร็วที่พอเหมาะ
สารละลายกรดไฮโดรคลอริก 2. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี น้ำกลั่น สารละลายกรดไฮโดรคลอริก 2.ใส่น้ำกลั่นจำนวน 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในบีกเกอร์ขนาด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร 3.ใส่สารละลายกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น 0.2 โมลต่อลิตร ลงในกระบอกตวงจนเต็มแล้ว ปิดปากกระบอกตวงด้วยจุกคอร์ก คว่ำกระบอกตวงลงในบีกเกอร์โดยให้ปากกระบอกตวง อยู่ใต้น้ำ สังเกตปริมาณของเหลวในกระบอกตวง เริ่มจับเวลาเมื่อของเหลวอยู่ที่ขีด 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร บันทึกเวลาที่ของเหลวลดลงทุก ๆ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร จนของเหลว ถึงขีด 8 ลูกบาศก์เซนติเมตร 2. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1) ครูคลิกเพื่อแสดงขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูเตือนให้นักเรียนระวังการใช้สารละลายกรดไฮโดรคลอริก เนื่องจากกรดสามารถทำลาย เนื้อเยื่อผิวหนังได้ 3) ครูคอยแนะนำช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและเปิด โอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
ปริมาตรของ H2 (ลบ.ซม.) เวลาที่ใช้ (วินาที) 1 2 3 4 5 6 7 60 80 95 110 2. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี บันทึกผล ปริมาตรของ H2 (ลบ.ซม.) เวลาที่ใช้ (วินาที) 1 2 3 4 5 6 7 60 80 95 110 270 2. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1) เมื่อปฏิบัติกิจกรรมเสร็จ ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน 2) ครูคลิกเพื่อแสดงตารางบันทึกผล 3) ครูคลิกเพื่อแสดงแนวคำตอบของการปฏิบัติกิจกรรม 450 785
โดยมีอัตราการลดลงไม่คงที่ 2. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สรุปผล เมื่อเริ่มต้นปฏิกิริยาเคมีระหว่างลวดแมกนีเซียมกับสารละลายกรดไฮโดรคลอริก อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี จะเร็ว เพราะมีแก๊สไฮโดรเจนเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีจะช้าลงเรื่อย ๆ ตามเวลาที่ผ่านไป โดยมีอัตราการลดลงไม่คงที่ 2. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูคลิกเพื่อแสดงสรุปผลของกิจกรรม
1. ในกิจกรรมนี้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีคงที่หรือไม่ มีลักษณะใด 2. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ค้นหาคำตอบ 1. ในกิจกรรมนี้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีคงที่หรือไม่ มีลักษณะใด อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีไม่คงที่ ในช่วงแรกอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี จะเร็ว และจะช้าลงเรื่อย ๆ ตามเวลาที่ผ่านไป 2. อัตราเร็วของการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นวัดจากสิ่งใด วัดจากปริมาณของสารเริ่มต้นที่ลดลงหรือปริมาณของผลิตภัณฑ์ ที่เพิ่มขึ้นใน 1 หน่วยเวลา 2. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายซักถามและแสดงความคิดเห็นผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคำถามจากกรอบค้นหาคำตอบท้ายกิจกรรม ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2) ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยทีละข้อ) 3. กิจกรรมนี้มีปริมาณสารเริ่มต้นใดบ้างที่ลดลง มวลของลวดแมกนีเซียมกับความเข้มข้นของสารละลายกรดไฮโดรคลอริก
4. กิจกรรมนี้เมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีแล้วได้ผลิตภัณฑ์ใด แก๊สไฮโดรเจน 2. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ค้นหาคำตอบ 4. กิจกรรมนี้เมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีแล้วได้ผลิตภัณฑ์ใด แก๊สไฮโดรเจน 5. ผลสรุปของกิจกรรมนี้คืออะไร ปฏิกิริยาเคมีระหว่างลวดแมกนีเซียมกับสารละลายกรดไฮโดรคลอริกได้สารใหม่ คือ แก๊สไฮโดรเจน โดยเมื่อเริ่มต้นปฏิกิริยาเคมีจะเกิดแก๊สไฮโดรเจนเร็วมาก และจะช้าลงเมื่อเวลาผ่านไป โดยมีอัตราการเกิดปริมาตรแก๊สไฮโดรเจนลดลงไม่คงที่ 2. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยทีละข้อ)
เมื่อนำปริมาตรของแก๊สไฮโดรเจน 2. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ปริมาตรแก๊ส H2 (ลบ.ซม.) เวลา (วินาที) เมื่อนำปริมาตรของแก๊สไฮโดรเจน ที่เกิดขึ้นกับเวลาที่ใช้มาแสดงความสัมพันธ์ด้วยกราฟได้ดังนี้ 2. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1) ครูคลิกตามลำดับ เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปริมาตรของแก๊สไฮโดรเจนที่เกิดขึ้น กับเวลาที่ใช้ ในการปฏิบัติกิจกรรมที่ 8 พร้อมกับอธิบายการเปลี่ยนแปลงของสารที่เกิดขึ้น ในปฏิกิริยาเคมี ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2) ครูคลิกแสดงสมการอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีจากการปฏิบัติกิจกรรมที่ 8 อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี = ปริมาตร H2 ที่เกิดขึ้น (ลบ.ซม.) เวลาที่ใช้ (วินาที)
จากการปฏิบัติกิจกรรมที่ 8 นักเรียนตอบได้หรือไม่ว่า 2. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี เพราะเหตุใดจึงเลือกบันทึก ปริมาตรของแก๊สไฮโดรเจน ที่เพิ่มขึ้น ปริมาตรแก๊สที่เพิ่มขึ้นบอก อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ได้เพราะอะไร จากการปฏิบัติกิจกรรมที่ 8 นักเรียนตอบได้หรือไม่ว่า อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ไม่คงที่เพราะอะไร 2. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 1) ครูขยายความรู้เกี่ยวกับอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยคลิกตามลำดับ แล้วถามคำถามกับ นักเรียนว่า – เพราะเหตุใดจึงเลือกบันทึกปริมาตรของแก๊สไฮโดรเจนที่เพิ่มขึ้น – ปริมาตรแก๊สที่เพิ่มขึ้นบอกอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีได้เพราะอะไร – อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีไม่คงที่เพราะอะไร 2) ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายคำตอบเกี่ยวกับคำถาม ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง และให้นักเรียนร่วมกันหาคำตอบในเฟรมถัดไป
การเลือกสารที่เหมาะสม การบอกอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 2. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี การเลือกสารที่เหมาะสม การวัดปริมาตรแก๊สไฮโดรเจนสะดวกและวัดการเปลี่ยนแปลงได้ต่อเนื่อง การบอกอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี แก๊สไฮโดรเจนเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจึงใช้บอกอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีได้ อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 2. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ครูคลิกตามลำดับเพื่อสรุป ดังนี้ – การเลือกสารที่เหมาะสม เพื่อนำมาบอกอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีจะต้องเลือกสารที่สามารถ วัดการเปลี่ยนแปลงปริมาณได้อย่างต่อเนื่อง – การบอกอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ต้องบอกโดยใช้สารที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี เท่านั้น – อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี มักมีค่าสูงเมื่อเริ่มต้นปฏิกิริยาเคมีและมีค่าลดลงในช่วงท้าย ปฏิกิริยาเคมี อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีมีค่ามากขณะเริ่มต้นปฏิกิริยาเคมี เนื่องจากโมเลกุลของสารเริ่มต้นมีมาก เมื่อปฏิกิริยาเคมีดำเนินไประยะหนึ่ง โมเลกุลของสารเริ่มต้นลดลง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีจึงลดลง
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง เรามาตรวจสอบความเข้าใจกัน 1. การเขียนสมการเคมีต้องทราบว่าสารใดเป็นสารเริ่มต้น สารใดเป็นผลิตภัณฑ์ เพราะอะไร เพราะการเขียนสมการเคมีจะเขียนสารเริ่มต้นรวมกันไว้ด้านหนึ่ง และเขียนผลิตภัณฑ์รวมกันไว้ด้านหนึ่ง โดยมีลูกศรที่หันหัวลูกศรไปทางผลิตภัณฑ์มาคั่นกลาง การเขียนสมการเคมีที่ถูกต้องทำให้นักวิทยาศาสตร์จากทุกประเทศเข้าใจตรงกันว่าปฏิกิริยาเคมีนี้มีสารเริ่มต้นใด และเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใด 2. การศึกษาอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีควรวัดจากสารที่สามารถติดตามการ เปลี่ยนแปลงได้ อย่างต่อเนื่องเพราะอะไร 1) ครูถามนักเรียนว่าในหัวข้อนี้มีจุดใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจ ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติม 2) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถาม 3) ครูคลิกเพื่อแสดงคำถาม ให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและคำตอบทีละข้อ) เพราะการเลือกวัดสารที่สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่องทำให้เราสามารถศึกษาอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีได้เที่ยงตรงมากขึ้น ซึ่งถ้าเราต้องหยุดการเกิดปฏิกิริยาเคมีเพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงของสาร อาจได้ผลที่ไม่เที่ยงตรง
ทบทวนคำศัพท์และหลักการทางวิทยาศาสตร์ 1. การเปลี่ยนแปลงของสารลักษณะใดที่แสดงว่ามีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นมีองค์ประกอบทางเคมีไม่เหมือนสารเริ่มต้น 2. สารที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมีมีอะไรบ้าง สารเริ่มต้นและผลิตภัณฑ์ 3. เมื่อเราเติมสารละลายเลด (II) ไนเตรตลงในสารละลายโพแทสเซียมไอโอไดด์ เกิดตะกอนสีเหลืองของเลด (II) ไอโอไดด์ แสดงว่าปฏิกิริยานี้มีสารเริ่มต้นและผลิตภัณฑ์คือสารใด 1) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถามจากกิจกรรมประจำหน่วย ใน หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2) ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามในหัวข้อทบทวนคำศัพท์และหลักการทางวิทยาศาสตร์ แล้วให้ นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยทีละข้อ) สารเริ่มต้น คือ เลด (II) ไนเตรตและโพแทสเซียมไอโอไดด์ ผลิตภัณฑ์ คือ เลด (II) ไอโอไดด์
ทบทวนคำศัพท์และหลักการทางวิทยาศาสตร์ 4. อัตราเร็วของการเกิดปฏิกิริยาเคมีจะวัดจากสิ่งใด อัตราส่วนระหว่างปริมาณของสารเริ่มต้นที่ลดลงหรือปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นกับเวลาที่ใช้ในการเกิดปฏิกิริยาเคมี ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามในหัวข้อทบทวนคำศัพท์และหลักการทางวิทยาศาสตร์ แล้วให้ นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยตามลำดับ)
ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน ใช้ตัวเลขที่เหมาะสมจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลดุลสมการเคมีต่อไปนี้ให้ถูกต้อง 1) H2 (g) + O2 (g) H2O (l) 2 2 2) NO (g) + O2 (g) NO2 (g) 2 2 3) Na (s) + H2O (l) NaOH (aq) + H2 (g) 2 2 2 4) CaCO3 (s) + HCl (aq) CaCl2 (aq) + H2O (l) + CO2 (g) ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามในหัวข้อทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทนแล้วให้นักเรียน ช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยทีละข้อ) 2 5) HCl (aq) + Na2S2O3 (aq) NaCl (aq) + SO2 (g) + H2O (l) + S (s) 2 2
ปฏิกิริยาเคมี สรุป สมการเคมี อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี เรียนรู้เกี่ยวกับ สมการเคมี อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี การเขียนแสดงความสัมพันธ์ระหว่างสารเริ่มต้นกับผลิตภัณฑ์ คือ ปริมาณสารเริ่มต้นที่ลดลง ใน 1 หน่วยเวลา ปริมาณผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คำนวณจาก เขียนแทนด้วยสูตรเคมีและลูกศรแสดงทิศทางจากสารเริ่มต้นไปหาผลิตภัณฑ์ ต้องดุลสมการเคมีให้จำนวนอะตอมของธาตุในสารเริ่มต้นเท่ากับผลิตภัณฑ์ หลักการ 1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับสมการเคมีและอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีโดยครูให้นักเรียน แต่ละคนเขียนสรุปเป็นแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์ 2) ครูคลิกเพื่อแสดงตัวอย่างแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์ทีละขั้น พร้อมสรุปทีละประเด็น 3) ครูอาจให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมเสนอแนะเพิ่มเติม โดยดูจากคู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ครูใช้เวลาในการสรุปประมาณ 5 นาที (หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม)