งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ชั่วโมงที่ 38 โปรตีนในร่างกาย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ชั่วโมงที่ 38 โปรตีนในร่างกาย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ชั่วโมงที่ 38 โปรตีนในร่างกาย
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 22 ชั่วโมงที่ 38 โปรตีนในร่างกาย

2 สารและสมบัติของสาร ม. 4–6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 สารชีวโมเลกุล แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 22 โปรตีนในร่างกาย เวลา 1 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 22 โปรตีนในร่างกาย 1 ชั่วโมง สาระการเรียนรู้ 3. โปรตีน 3.3 โปรตีนในร่างกาย 3.4 บทบาทและหน้าที่ของโปรตีน จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด

3 โปรตีนประกอบด้วยองค์ประกอบใด
ถ้าองค์ประกอบของโปรตีนมีลำดับต่างกัน จะส่งผลต่อสมบัติของโปรตีนหรือไม่ 1) ครูกระตุ้นความสนใจของนักเรียน โดยถามคำถามกับนักเรียนว่า – โปรตีนประกอบด้วยองค์ประกอบใด – ถ้าองค์ประกอบของโปรตีนมีลำดับต่างกันจะส่งผลต่อสมบัติของโปรตีนหรือไม่ 2) ครูให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง และให้นักเรียนร่วมกันค้นหาคำตอบจากบทเรียนเพื่อ เชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่อง โปรตีนในร่างกาย ครูใช้เวลาในการนำเข้าสู่บทเรียนประมาณ 5 นาที (หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม)

4 3. โปรตีน 3.3 โปรตีนในร่างกาย
กรดแอมิโนในร่างกายแบ่งเป็นกี่ชนิด แต่ละชนิดมีสมบัติแตกต่างกันลักษณะใด กรดแอมิโนแบ่งเป็น 2 ชนิด กรดแอมิโนจำเป็น (essential amino acid) กรดแอมิโนไม่จำเป็น (non-essential amino acid) ร่างกายสังเคราะห์เองไม่ได้ ร่างกายสังเคราะห์เองได้ 3. โปรตีน 3.3 โปรตีนในร่างกาย 1) ครูถามคำถามกับนักเรียนว่า กรดแอมิโนในร่างกายแบ่งเป็นกี่ชนิด แต่ละชนิดมีสมบัติ แตกต่างกันลักษณะใด 2) ครูให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง 3) เมื่อนักเรียนอภิปรายคำตอบเสร็จแล้ว ครูคลิกตามลำดับ เพื่ออธิบายว่า กรดแอมิโนแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ กรดแอมิโนจำเป็น (essential amino acid) และ กรดแอมิโนไม่จำเป็น (non-essential amino acid) พร้อมทั้งเปรียบเทียบสมบัติของกรดแอมิโนทั้ง 2 ชนิด ครูใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประมาณ 35 นาที (หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม) ได้รับจากอาหาร ไม่จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร

5 Ile Leu Phe Ala Gly Asn Met Trp Thr Asp Cys Glu Arg Val Lys Gln Tyr
 3. โปรตีน 3.3 โปรตีนในร่างกาย กรดแอมิโนจำเป็น กรดแอมิโนไม่จำเป็น Ile Leu Phe Ala Gly Asn Met Trp Thr Asp Cys Glu Arg Val Lys Gln Tyr Pro 3. โปรตีน 3.3 โปรตีนในร่างกาย ครูคลิกแสดงชนิดของกรดแอมิโนจำเป็นและกรดแอมิโนไม่จำเป็นตามลำดับ พร้อมอธิบาย ชื่อและโครงสร้างในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด His Ser

6 O H2N – CH – C – OH R 3.3 โปรตีนในร่างกาย
 3. โปรตีน 3.3 โปรตีนในร่างกาย จากโครงสร้างของกรดแอมิโนทั้ง 20 ชนิด นักเรียนคิดว่ากรดแอมิโนแต่ละชนิดแตกต่างกันเพราะอะไร H2N – CH – C – OH R O 3. โปรตีน 3.3 โปรตีนในร่างกาย 1) ครูถามคำถามกับนักเรียนว่า จากโครงสร้างของกรดแอมิโนทั้ง 20 ชนิด นักเรียนคิดว่า กรดแอมิโนแต่ละชนิดแตกต่างกันเพราะอะไร 2) ครูให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง 3) เมื่อนักเรียนอภิปรายคำตอบเสร็จแล้ว ครูคลิกตามลำดับ เพื่อแสดงว่า หมู่ R เป็นหมู่ที่ทำให้เกิด กรดแอมิโนชนิดต่าง ๆ ที่มีสมบัติต่างกัน ทำให้เกิดกรดแอมิโนชนิดต่าง ๆ

7 กรดแอมิโนเพียง 20 ชนิดทำให้เกิดโปรตีน
 3. โปรตีน 3.3 โปรตีนในร่างกาย กรดแอมิโนเพียง 20 ชนิดทำให้เกิดโปรตีน ที่มีหน้าที่แตกต่างกันมากมายเพราะอะไร นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ จากการปฏิบัติกิจกรรมต่อไปนี้ 3. โปรตีน 3.3 โปรตีนในร่างกาย 1) ครูคลิกตามลำดับแล้วถามนักเรียนว่า กรดแอมิโนเพียง 20 ชนิดทำให้เกิดโปรตีนที่มีหน้าที่ แตกต่างกันมากมายเพราะอะไร ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายคำตอบเกี่ยวกับคำถาม ซึ่งคำตอบ อาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง จากนั้นครูให้นักเรียน แบ่งกลุ่ม แล้วร่วมกันค้นหาคำตอบ เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่การปฏิบัติกิจกรรม 2) นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมที่ 27 สำรวจการเรียงตัวของกรดแอมิโน ในแบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด

8 กิจกรรมที่ 27 สำรวจการเรียงตัวของกรดแอมิโน
 3. โปรตีน 3.3 โปรตีนในร่างกาย กิจกรรมที่ สำรวจการเรียงตัวของกรดแอมิโน ปัญหา กรดแอมิโนมีการเรียงตัวในรูปแบบใด อุปกรณ์ 1. กระดาษสี แผ่น 4. กรรไกรขนาดเล็ก เล่ม 2. ไม้บรรทัด อัน 5. ดินสอ แท่ง 3. วงเวียน อัน 3. โปรตีน 3.3 โปรตีนในร่างกาย 1) ครูให้นักเรียนร่วมกันตั้งคำถามเพื่อกำหนดปัญหาก่อนปฏิบัติกิจกรรม โดยครูช่วยสรุป การตั้งคำถามของนักเรียน แล้วร่วมกันกำหนดเป็นปัญหาที่สอดคล้องกับการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูคลิกเพื่อแสดงปัญหาของกิจกรรม 3) ครูคลิกเพื่อแสดงอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรม

9 ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
 3. โปรตีน 3.3 โปรตีนในร่างกาย ขั้นตอน ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ 3. โปรตีน 3.3 โปรตีนในร่างกาย ครูคลิกเพื่อแสดงขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม 1. นำกระดาษมาตัดเป็นรูปวงกลม สี่เหลี่ยม และสามเหลี่ยม ให้มีขนาด กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร อย่างละ 4 แผ่น โดยให้กระดาษรูปหนึ่ง ๆ แทนกรดแอมิโนชนิดหนึ่ง ๆ

10 2. นำกระดาษรูปวงกลม สี่เหลี่ยม และสามเหลี่ยมอย่างละ 3 แผ่นมา
 3. โปรตีน 3.3 โปรตีนในร่างกาย 3. โปรตีน 3.3 โปรตีนในร่างกาย ครูคลิกเพื่อแสดงขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรมตามลำดับ 2. นำกระดาษรูปวงกลม สี่เหลี่ยม และสามเหลี่ยมอย่างละ 3 แผ่นมา เรียงต่อกันให้มีรูปแบบไม่ซ้ำกัน โดยจะเรียงรูปอะไรก่อนหลังก็ได้ แล้ววาดรูปแบบการเรียงที่ได้ทั้งหมด

11 3. ทำเช่นเดียวกับข้อ 2 โดยเพิ่มจำนวนกระดาษเป็นอย่างละ 4 แผ่น
 3. โปรตีน 3.3 โปรตีนในร่างกาย 3. โปรตีน 3.3 โปรตีนในร่างกาย 1) ครูคลิกเพื่อแสดงขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรมตามลำดับ 2) ครูคอยแนะนำช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา 3. ทำเช่นเดียวกับข้อ 2 โดยเพิ่มจำนวนกระดาษเป็นอย่างละ 4 แผ่น

12 รูปแบบการเรียงกรดแอมิโน
 3. โปรตีน 3.3 โปรตีนในร่างกาย บันทึกผล จำนวนกระดาษ รูปแบบการเรียงกรดแอมิโน อย่างละ 3 แผ่น อย่างละ 4 แผ่น 3. โปรตีน 3.3 โปรตีนในร่างกาย 1) เมื่อปฏิบัติกิจกรรมเสร็จ ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน 2) ครูคลิกเพื่อแสดงตารางบันทึกผล 3) ครูคลิกเพื่อแสดงแนวคำตอบของการปฏิบัติกิจกรรม

13 3.3 โปรตีนในร่างกาย สรุปผล
 3. โปรตีน 3.3 โปรตีนในร่างกาย สรุปผล การเรียงตัวของกระดาษรูปแบบต่าง ๆ ยิ่งมีจำนวนและรูปแบบของกระดาษมากขึ้น ก็ยิ่งสามารถนำมาเรียงต่อกันได้รูปแบบต่าง ๆ มากขึ้นเป็นทวีคูณ เช่นเดียวกับการเรียงตัวของกรดแอมิโน ยิ่งมีจำนวนและชนิดของกรดแอมิโนมากขึ้น ก็สามารถเรียงตัวและเชื่อมต่อกันได้โปรตีนชนิดต่าง ๆ มากขึ้น 3. โปรตีน 3.3 โปรตีนในร่างกาย 1) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูคลิกเพื่อแสดงสรุปผลของกิจกรรม

14 3.3 โปรตีนในร่างกาย ค้นหาคำตอบ
 3. โปรตีน 3.3 โปรตีนในร่างกาย ค้นหาคำตอบ 1. การทดลองนี้ใช้กระดาษที่มีรูปแบบต่าง ๆ กันเพื่อแทนสิ่งใด ชนิดของกรดแอมิโน 2. นักเรียนคิดว่ารูปแบบและจำนวนของกระดาษมีผลต่อการจัดเรียงหรือไม่ อย่างไร รูปแบบและจำนวนของกระดาษมีผลต่อการจัดเรียง เพราะยิ่งมีจำนวนและรูปแบบของกระดาษมากขึ้น ก็สามารถเรียงต่อกันเป็นรูปแบบต่าง ๆ ที่ไม่ซ้ำกันได้มากขึ้น 3. โปรตีน 3.3 โปรตีนในร่างกาย 1) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายซักถามและแสดงความคิดเห็นผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคำถามจากกรอบค้นหาคำตอบท้ายกิจกรรม ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ม. 4–6 สารและสมบัติของสาร ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2) ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยทีละข้อ) 3. ผลสรุปของกิจกรรมนี้คืออะไร การจัดเรียงตัวของกระดาษรูปแบบต่าง ๆ ที่ไม่ซ้ำกัน เปรียบได้กับการจัดเรียงตัวของกรดแอมิโน ยิ่งมีจำนวนและชนิดของกรดแอมิโนมากขึ้นก็จะสามารถเรียงตัวและเชื่อมต่อกันเป็นโปรตีนชนิดต่าง ๆ ได้มากขึ้น

15 ชนิด จำนวน และลำดับ ของกรดแอมิโน
 3. โปรตีน 3.3 โปรตีนในร่างกาย ชนิด จำนวน และลำดับ ของกรดแอมิโน มีผลต่อ สมบัติของโปรตีน โปรตีนหลากหลายชนิดที่มีหน้าที่เฉพาะ ทำให้เกิด 3. โปรตีน 3.3 โปรตีนในร่างกาย ครูคลิกตามลำดับเพื่อสรุปว่า ชนิด จำนวน และลำดับของกรดแอมิโนมีผลต่อสมบัติ ของโปรตีนและทำให้เกิดโปรตีนหลากหลายชนิดที่มีหน้าที่เฉพาะ

16 โครงสร้างทางกายภาพของเฮโมโกลบินและเคราติน
 3. โปรตีน 3.3 โปรตีนในร่างกาย ตัวอย่างโปรตีน โครงสร้างทางกายภาพของเฮโมโกลบินและเคราติน เคราติน เฮโมโกลบิน 3. โปรตีน 3.3 โปรตีนในร่างกาย 1) ครูคลิกตัวอย่างโปรตีน เช่น เฮโมโกลบินและเคราติน เพื่อแสดงว่า เฮโมโกลบินและเคราติน ประกอบด้วยสายโปรตีนที่แตกต่างกัน เฮโมโกลบินและเคราตินจึงมีสมบัติแตกต่างกัน 2) ครูอธิบายประเภทและหน้าที่ของโปรตีนบางชนิดในร่างกายมนุษย์ ในหนังสือเรียน รายวิชา พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด

17 เรื่องน่ารู้: โครงสร้างของโปรตีน
 3. โปรตีน 3.3 โปรตีนในร่างกาย เรื่องน่ารู้: โครงสร้างของโปรตีน โครงสร้างของโปรตีนแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ โครงสร้างปฐมภูมิ โครงสร้างทุติยภูมิ โครงสร้างตติยภูมิ โครงสร้างจตุรภูมิ โครงสร้างปฐมภูมิ โครงสร้างทุติยภูมิ โครงสร้างตติยภูมิ โครงสร้างจตุรภูมิ 3. โปรตีน 3.3 โปรตีนในร่างกาย ครูคลิกเรื่องน่ารู้ เรื่อง โครงสร้างของโปรตีน พร้อมอธิบายเพิ่มเติมว่า โครงสร้างของโปรตีนแบ่งเป็น 4 ระดับ ซึ่งแตกต่างกันดังนี้ – โครงสร้างปฐมภูมิ เป็นลำดับการเรียงตัวของกรดแอมิโน – โครงสร้างทุติยภูมิ เป็นสายโปรตีนช่วงที่ขดเป็นเกลียวหรือเป็นแผ่น – โครงสร้างตติยภูมิ เป็นโครงรูปทรงกลมที่เป็นการขดตัวของโปรตีนทั้งโมเลกุล – โครงสร้างจตุรภูมิ เป็นโครงรูปโปรตีนที่มีหน่วยย่อย ๆ มาจับรวมกันเพื่อทำหน้าที่บางอย่าง เช่น เฮโมโกลบินที่ประกอบด้วยหน่วยย่อย 4 หน่วย

18 นักเรียนรู้จักเนยแข็ง (cheese) หรือไม่ เนยแข็งทำมาจากอะไร
 3. โปรตีน 3.3 โปรตีนในร่างกาย นักเรียนรู้จักเนยแข็ง (cheese) หรือไม่ เนยแข็งทำมาจากอะไร โปรตีน นำไปใช้ประโยชน์ในกระบวนการฆ่าเชื้อ (sterilization) การแปลงสภาพโปรตีน (denaturation of protein) ได้จากกระบวนการ 3. โปรตีน 3.3 โปรตีนในร่างกาย 1) ครูถามคำถามกับนักเรียนว่า นักเรียนรู้จักเนยแข็ง (cheese) หรือไม่ เนยแข็งทำมาจากอะไร 2) ครูให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง 3) เมื่อนักเรียนอภิปรายคำตอบเสร็จแล้ว ครูคลิกตามลำดับ เพื่ออธิบายว่า เนยแข็งเป็นโปรตีน ที่ได้จากกระบวนการ การแปลงสภาพโปรตีน (denaturation of protein) 4) ครูคลิกเพื่อแสดงลำดับการแปลงสภาพโปรตีนจากนมไปเป็นเนยแข็งโดยการใช้ความร้อนหรือ ปรับสภาพความเป็นกรด–เบสของน้ำนม จนเกิดการตกตะกอนของโปรตีน จากนั้นนำตะกอน ของโปรตีนไปผ่านกระบวนการทำเนยแข็ง เนยแข็ง น้ำนม ตะกอนโปรตีน ความร้อน กรด – เบส

19 3.4 บทบาทและหน้าที่ของโปรตีน
 3. โปรตีน 3.4 บทบาทและหน้าที่ของโปรตีน เป็นสารที่ให้กรดแอมิโน สร้างสารที่ควบคุม การทำงานของร่างกาย ช่วยในการขนส่ง สารต่าง ๆ ในเลือด บทบาทและหน้าที่ของโปรตีน 3. โปรตีน 3.4 บทบาทและหน้าที่ของโปรตีน ครูขยายความรู้ โดยคลิกตามลำดับ เพื่อแสดงบทบาทและหน้าที่ของโปรตีน พร้อมอธิบาย ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ให้พลังงานแก่ร่างกาย รักษาสภาพแวดล้อม ภายในร่างกายให้คงที่

20 3.4 บทบาทและหน้าที่ของโปรตีน
 3. โปรตีน 3.4 บทบาทและหน้าที่ของโปรตีน ถ้าร่างกายขาดโปรตีนจะส่งผลลักษณะใด เด็ก พุงโร ก้นปอด กล้ามเนื้อลีบเล็ก ผิวหนังเหี่ยวแห้ง สมองไม่ค่อยพัฒนา ผู้ใหญ่ 3. โปรตีน 3.4 บทบาทและหน้าที่ของโปรตีน 1) ครูถามคำถามกับนักเรียนว่า ถ้าร่างกายขาดโปรตีนจะส่งผลลักษณะใด 2) ครูให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง 3) เมื่อนักเรียนอภิปรายคำตอบเสร็จแล้ว ครูคลิกข้อความตามลำดับ เพื่ออธิบายอาการขาดโปรตีน ของเด็กและผู้ใหญ่ ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด อาการอ่อนเพลีย ร่างกายซูบผอม มีภูมิต้านทานโรคต่ำ

21 นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง เรามาตรวจสอบความเข้าใจกัน
1. เราต้องรับประทานโปรตีนหลากหลายประเภทเพราะอะไร เพื่อให้ร่างกายได้รับกรดแอมิโนครบทุกชนิด โดยเฉพาะกรดแอมิโนจำเป็น 2. ถ้าเรารับประทานอาหารที่มีสารอาหารโปรตีนในปริมาณมากเกินไป จะส่งผลต่อร่างกายหรือไม่ เพราะอะไร มีผล เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักในการกำจัดโปรตีนส่วนเกิน และไตต้องกำจัดกรดยูเรียที่มากเกินไป 1) ครูถามนักเรียนว่าในหัวข้อนี้มีจุดใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจ ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติม 2) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถาม 3) ครูคลิกเพื่อแสดงคำถาม ให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและคำตอบทีละข้อ)

22 ทบทวนคำศัพท์และหลักการทางวิทยาศาสตร์
โครงสร้างทางกายภาพของโปรตีนจะถูกทำลายลงทำให้โปรตีนเปลี่ยนสภาพไป ไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิม เรียกกระบวนการนี้ว่าอะไร การแปลงสภาพโปรตีน 1) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถามจากกิจกรรมประจำหน่วย ใน หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2) ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามในหัวข้อทบทวนคำศัพท์และหลักการทางวิทยาศาสตร์ แล้วให้ นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยตามลำดับ)

23 ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
ถ้าเราเลือกรับประทานอาหารหรือรับประทานอาหารไม่หลากหลายจะมีโอกาสขาดโปรตีนหรือไม่ เพราะเหตุใด มีโอกาส เพราะอาหารทุกชนิดไม่ได้ประกอบด้วยโปรตีนและอาหารที่มีโปรตีนเป็นหลักแต่ละชนิดก็ประกอบด้วยกรดแอมิโนที่แตกต่างกัน ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามในหัวข้อทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทนแล้วให้นักเรียน ช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยตามลำดับ)

24 การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
1. การรับประทานอาหารมังสวิรัติติดต่อกันเป็นเวลานาน ส่งผลกระทบต่อร่างกายหรือไม่ ลักษณะใด ขึ้นอยู่กับลักษณะของการรับประทาน ถ้าเรารับประทานอาหารหลากหลาย ไม่เน้นเฉพาะแป้ง ร่างกายก็จะได้รับสารอาหารครบถ้วน 2. ถ้าเรารับประทานอาหารที่มีสารอาหารโปรตีนในปริมาณมากเกินไป จะมีผลต่อร่างกายหรือไม่ ลักษณะใด ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามในหัวข้อการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันแล้วให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยทีละข้อ) มีผล ถ้าเราไม่นำพลังงานจากโปรตีนที่ได้รับมากเกินไป ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นไขมันและสะสมไว้ตามร่างกายทำให้เกิดโรคอ้วน และการบริโภคโปรตีนในปริมาณมากทำให้มีกรดยูริกในกระแสเลือดมาก ซึ่งส่งผลเสียต่อผู้ป่วยโรคเกาต์

25 สรุป โปรตีน กรดแอมิโน สมบัติของโปรตีน กรดแอมิโนจำเป็น
เป็นสารที่ให้กรดแอมิโน สร้างสารที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย รักษาสภาพแวดล้อมภายในร่างกายให้คงที่ ให้พลังงานแก่ร่างกาย ช่วยในการขนส่งสารต่าง ๆ ในเลือด หน้าที่ เช่น โปรตีน กรดแอมิโน ประกอบด้วย สมบัติของโปรตีน ลำดับที่ต่างกัน ส่งผลต่อ กรดแอมิโนจำเป็น กรดแอมิโนไม่จำเป็น แบ่งเป็น 1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับโปรตีนในร่างกาย โดยครูให้นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุป เป็นแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์ 2) ครูคลิกเพื่อแสดงตัวอย่างแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์ทีละขั้น พร้อมสรุปทีละประเด็น 3) ครูอาจให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมเสนอแนะเพิ่มเติม โดยดูจากคู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ครูใช้เวลาในการสรุปประมาณ 5 นาที (หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม) ร่างกายสังเคราะห์ เองไม่ได้ สมบัติ ร่างกายสังเคราะห์ เองได้ สมบัติ


ดาวน์โหลด ppt ชั่วโมงที่ 38 โปรตีนในร่างกาย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google